วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2552

พื้นฐานอุปนิสัยเป็นสิ่งสำคัญ

พระสูตรในวันนี้ว่าด้วยเรื่องการที่ภิกษุรูปหนึ่งๆจะบรรลุธรรมได้นั้น ควรที่จะมีอุปนิสัยพื้นฐานที่ดีก่อนครับ

พระสูตรในวันนี้ยกมาจากพระสุตตันตปิฎก เล่ม12 อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต ครับ

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
**********************************************************************
[๒๘๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถีสมัยนั้นแล ท่านพระ สารีบุตรอยู่ที่ปราสาทของนางวิสาขา มิคารมารดาในบุพพาราม ใกล้พระนคร สาวัตถี ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรผู้มีอายุ ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นตอบรับท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราจักแสดงบุคคลที่มีสังโยชน์ในภายใน และบุคคลที่มี สังโยชน์ในภายนอก ท่านทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้น ตอบรับท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลที่มีสังโยชน์ในภายในเป็นไฉน ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมแล้วในปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปรกติเห็นภัยใน โทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย เมื่อแตกกายตายไป ภิกษุนั้นย่อมเข้าถึงหมู่เทพหมู่ใดหมู่หนึ่ง ครั้นจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว เป็นอนาคามี กลับมาสู่ความเป็นผู้เช่นนี้ นี้เรียกว่าบุคคลผู้มีสังโยชน์ในภายใน เป็นอนาคามี กลับมาสู่ความเป็นผู้เช่นนี้ ฯ
[ครั้งหนึ่ง ซึ่งองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ในพระนครสาวัตถี ขณะที่ท่านพระสารีบุตรนั้นกำลังสั่งสอนภิกษุอยู่ที่วัดบุพพาราม ในพระนครสาวัตถีเข่นเดียวกันนั้น ณ ที่นั้นแล อาจเป็นด้วยท่านพระสารีบุตรมีความยินดีในความสำเร็จในพระบวรพุทธศาสนาบางประการ ท่านสั่งสอนภิกษุทั้งหลายด้วยเรื่องการบรรลุเป็นพระอนาคามีอันอาจบรรลุได้ด้วยวิธีที่ไม่ถึงกับต้องลำบากดลย เพียงแค่ตั้งใจสมาทานศีลและสำรวมในพระปาติโมกข์จนตลอดชีวิต เมื่อเสียชีวิตแล้วก็จะถึงซึ่งความเป็นพระอนาคามี ซึ่งที่บรรลุได้ไม่ลำบากเช่นนี้นั้นก็เพราะความสำเร็จในพระบวรพุทธศาสนาบางประการดังที่กล่าวแล้วนั่นเอง]
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้มีสังโยชน์ในภายนอกเป็นไฉน ภิกษุใน พระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมแล้วในพระปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วย อาจาระและโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ใน สิกขาบททั้งหลาย ภิกษุนั้นย่อมบรรลุเจโตวิมุติอันสงบอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อแตก กายตายไป ย่อมเข้าถึงหมู่เทพหมู่ใดหมู่หนึ่ง ครั้นจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว เป็น อนาคามีไม่กลับมาสู่ความเป็นผู้เช่นนี้ นี้เรียกว่า บุคคลผู้มีสังโยชน์ในภายนอก เป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นผู้เช่นนี้ ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีศีล สำรวมแล้วใน ปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษเพียง เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ภิกษุนั้นย่อมปฏิบัติเพื่อความ หน่าย เพื่อคลาย เพื่อความดับกามทั้งหลาย ย่อมปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อ คลาย เพื่อความดับภพทั้งหลาย ย่อมปฏิบัติเพื่อสิ้นตัณหา เพื่อสิ้นความโลภ ภิกษุนั้นเมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงหมู่เทพหมู่ใดหมู่หนึ่ง ครั้นจุติจากอัตภาพ นั้นแล้ว เป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นผู้เช่นนี้ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย นี้เรียกว่า บุคคลมีสังโยชน์ในภายนอก เป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นผู้ เช่นนี้ ฯ ครั้งนั้นแล เทวดาที่มีจิตเสมอกันมากองค์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้น แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระสารีบุตรนั่น กำลังเทศนาถึงบุคคลที่มีสังโยชน์ในภายใน และบุคคลที่มีสังโยชน์ในภายนอก แก่ภิกษุทั้งหลาย อยู่ที่ปราสาทของนางวิสาขามิคารมารดาในบุพพาราม ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ บริษัทร่าเริง ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคจงทรง พระกรุณา เสด็จไปหาท่านพระสารีบุตรจนถึงที่อยู่เถิด พระผู้มีพระภาคทรงรับคำ อาราธนาด้วยดุษณีภาพ ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคทรงหายจากพระเชตวันวิหาร ไปปรากฏเฉพาะหน้าท่านพระสารีบุตร ที่ปราสาทของนางวิสาขามิคารมารดาใน บุพพาราม เหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู้หรือคู้แขนที่เหยียดฉะนั้น พระผู้มี- *พระภาคประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ แม้ท่านพระสารีบุตรก็ได้ถวายบังคมพระ ผู้มีพระภาค แล้วนั่งลง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคได้ตรัส กะท่านพระสารีบุตรว่า ดูกรสารีบุตร เทวดาที่มีจิตเสมอกันมากองค์เข้าไปหาเรา จนถึงที่อยู่ ไหว้เราแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วบอกว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระสารีบุตรกำลังเทศนาถึงบุคคลที่มีสังโยชน์ในภายใน และบุคคลที่มีสังโยชน์ในภายนอก แก่ภิกษุทั้งหลาย อยู่ที่ปราสาทของนาง วิสาขามิคารมารดาในบุพพาราม ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บริษัทร่าเริง ขอประทาน พระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคทรงพระกรุณาเสด็จไปหาท่านพระสารีบุตรจนถึง ที่อยู่เถิด ดูกรสารีบุตร ก็เทวดาเหล่านั้นยืนอยู่ในโอกาสแม้เท่าปลายเหล็กแหลม จดลง ๑๐ องค์บ้าง ๒๐ องค์บ้าง ๓๐ องค์บ้าง ๔๐ องค์บ้าง ๕๐ องค์บ้าง ๖๐ องค์บ้าง แต่ก็ไม่เบียดกันและกัน ดูกรสารีบุตร ก็เธอพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า จิตอย่างนั้น ซึ่งเป็นเหตุให้เทวดาเหล่านั้นยืนอยู่ได้ในโอกาสแม้เท่าปลายเหล็ก แหลมจดลง ๑๐ องค์บ้าง ... ๖๐ องค์บ้าง เป็นจิตอันเทวดาเหล่านั้นอบรมแล้ว ในภพนั้นแน่นอน ดูกรสารีบุตร ก็ข้อนั้นเธอไม่ควรเห็นเช่นนี้ ดูกรสารีบุตร ก็จิตอย่างนั้น ซึ่งเป็นเหตุให้เทวดาเหล่านั้นยืนอยู่ได้ในโอกาสแม้เท่าปลายเหล็ก แหลมจดลง ๑๐ องค์บ้าง ฯลฯ แต่ก็ไม่เบียดกันและกัน เทวดาเหล่านั้นได้อบรม แล้วในศาสนานี้เอง เพราะฉะนั้นแหละสารีบุตร เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จักเป็น ผู้มีอินทรีย์สงบ มีใจระงับอยู่ เธอควรศึกษาเช่นนี้แหละ สารีบุตร กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมของผู้มีอินทรีย์สงบ มีใจระงับ จักสงบระงับ เพราะฉะนั้น แหละ สารีบุตร เธอพึงศึกษาว่า จักนำกายและจิตที่สงบระงับแล้วเท่านั้นเข้าไป ในพรหมจารีทั้งหลาย ดูกรสารีบุตร เธอควรศึกษาเช่นนี้แหละ ดูกรสารีบุตร พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกที่ไม่ได้ฟังธรรมบรรยายนี้ ได้พากันฉิบหายเสียแล้ว ฯ
[ครั้งนั้นเอง เทวดาจำนวนมากผู้ซึ่งมีจิตเสมอกันได้ไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้กราบทูลเรื่องดังกล่าวที่ท่านพระสารีบุตรสอนพระสาวกเรื่องพระอนาคามีผู้มีสังโยชน์ภายในและพระอนาคามีผู้มีสังโยชน์ภายนอก และภิกษุสาวกทั้งหลายต่างมีจิตร่าเริง นั้น และเทวดาเหล่านั้นได้กราบทูลอาราธนาพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อทรงเสด็จไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่วัดบุพพารามนั้น ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับอาราธนาโดยดุษณียภาพ

ลำดับนั้น องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหายจากพระวิหารเชตวันไปปรากฏที่เบื้องหน้าท่านพระสารีบุตรที่วัดบุพพารามอันนางวิสาขามิคารมาตาสร้างถวายพระบวรพุทธศาสนา ประหนึ่งบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนที่คู้หรือคู้แขนที่เหยียดฉะนั้น พระองค์ทรงประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ แม้ท่านพระสารีบุตรก็ได้ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่งลง ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรสารีบุตร เทวดาผู้มีจิตเสมอกันจำนวนมากได้มากราบทูลพระองค์เรื่องที่ท่านพระสารีบุตรเทศนาพระภิกษุเพื่อความเป็นพระอนาคามี และภิกษุเหล่านั้นพากันร่าเริง ดูกรสารีบุตร เทวดาเหล่านั้น 10องค์บ้าง 20องค์บ้าง 30องค์บ้าง 40องค์บ้าง 50องค์บ้าง 60องค์บ้าง สามารถยืนอยู่ในที่ปลายแหลมของเข็มเล่มเดียวโดยไม่เบียดเสียดกัน ท่านพระสารีบุตรนั้นพึงพิจารณาว่าจิตของเทวดาเหล่านั้นอย่างนั้นเกิดจากการอบรมมาแต่ปางก่อนนับได้เป็นเวลานาน ดูกรสารีบุตร ท่านพระสารีบุตรไม่พึงเข้าใจอย่างนั้น ความจริงแล้วเทวดาเหล่านั้นอบรมจิตจนเป็นเช่นนั้นได้ในพระศาสนานี้เอง เพราะฉะนั้นแล ท่านพระสารีบุตรพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จะพึงเป็นผู้มีอินทรีย์สงบระงับ มีใจระงับอยู่ มีกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมสงบระงับ พึงนำเอากายและจิตที่สงบระงับแล้วเท่านั้นเข้าไปในหมู่เพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย

ขออธิบายเพิ่มเติมครับว่า พระอนาคามีนั้นยังไม่สามารถละสังโยชน์เบื้องสูงเช่นมานะ-ความถือตน ได้ เป็นการดีกว่าที่จะอบรมกายและจิตภิกษุเหล่านั้นให้ละจากความถือตน เป็นผู้มีจิตยินดีในความมีจิตเสมอด้วยเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายเสียก่อนเพื่อป้องกันความขัดแย้งวิวาทในภายหลังของเหล่าภิกษุสัทธิวิหาริกในรุ่นหลังๆ ก็ชนนอกศาสนาทั้งหลายมิได้ทราบว่าการรีบร้อนในการเผยแผ่พระธรรมคำสอนของศาสดาของตนโดยไม่อบรมพื้นฐานจิตใจของเหล่าสาวกให้เหมาะสมก่อนนั้นเป็นทางแห่งความเสื่อม]
*******************************************************************
ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่านครับ

วันพุธที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2552

ว่าด้วยเรื่องความมีมิตรดี

พระสูตรในวันนี้ผมนำมาแสดงพร้อมกันสองวรรค เพราะว่ามีใจความต่อเนื่องกัน ที่บอกว่าเรื่องความมีมิตรดีนั้น ไม่ได้จะมาว่าใครครับเพราะการพูดกันถึงมิตรดีมิตรไม่ดีมันออกจะเก่าไปสักหน่อยครับ เอาเป็นว่าเราทราบก็แล้วกันว่ามิตรดีเป็นอย่างไร พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ความมีมิตรดีนั้นไม่ใช่แค่ครึ่งหนึ่งของพรหมจรรย์ดังที่ท่านพระอานนท์กราบทูลพระผู้มีพระภาคในอุปัฑฒสูตร พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ความเป็นผู้มีมิตรดีนั้นคือพรหมจรรย์ทั้งสิ้นทีเดียว และท่านพระสารีบุตรก็ได้กล่าวยืนยันในสารีปุตตสูตร

ใจความตอนนี้พอจะทำความเข้าใจได้ว่า ท่านพระอานนท์ได้รับความอนุเคราะห์จากเพื่อนภิกษุเป็นอย่างมากจนได้มากราบทูลพระผู้มีพระภาค แต่ว่าท่านพระอานนท์ยังเป็นพระโสดาบันจึงกล่าวอย่างนี้ ท่านพระสารีบุตรนั้นแหละที่เป็นภิกษุอรหันตสาวกชั้นเลิศนั่นเองครับที่กล่าวได้ถูกต้องที่สุด

ใจความในข้อนี้ย่อมขยายความได้จนถึงภูมิแห่งพระโพธิสัตว์ พระผู้มีพระภาคพระนามว่าพระศรีศากยมุนีโคดมพระองค์นี้ย่อมทรงผ่านความลำบากมามากมายจนผู้ที่ปรารถนาพุทธภูมิทราบแล้วบางทีอาจจะนึกกลัว เพราะวาสนาที่มีต่อกันมาก่อนแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าบางพระองค์ พระนิยตโพธิสัตว์บางท่านได้รับความอนุเคราะห์เป็นพิเศษ แต่ความจริงคือเขารับกรรมมามากว่าคนอื่นๆในอดีต ในเวลานี้ผ่านเคราะห์ไปมากแล้ว แต่บังเอิญเจ้าตัวเองก็จำไม่ได้ กรณีอย่างนี้ก็อย่างเช่นพระเจ้าปเสนทิโกศล ซึ่งพระผุ้มีพระภาคเจ้าทรงประทับในแคว้นโกศลของพระองค์เป็นเวลามากถึงกว่า20พรรษา มากกว่าแคว้นอื่นๆมาก แต่การเป็นผุ้มีมิตรดีนี่แหละ ที่พระโพธิสัตว์ทั้งหลายอนุเคราะห์ต่อกัน จะช่วยให้ผุ้ที่ต่างก็กำลังสร้างสมบารมีธรรมนั้นผ่านพ้นความลำบากไปได้แม้ว่าจะไม่ได้รับความอนุเคราะห์จากพระผู้มีพระภาคพระองค์ใดๆเป็นพิเศษ ท่านที่มีมิตรดีๆย่อมนึกภาพออกได้ครับ อีกประการหนึ่งคือการยึดมั่นในอริยมรรคมีองค์แปดครับ

พระสูตรในวันนี้ยกมาจากพระสุตตันตปิฎก เล่ม11 สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ครับ

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

****************************************************** ๑. มัคคสังยุต อวิชชาวรรคที่ ๑ อวิชชาสูตร ว่าด้วยอวิชชา และวิชชาเป็นหัวหน้าแห่งอกุศลและกุศล [๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก- *เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคได้ ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า. [๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อวิชชาเป็นหัวหน้าในการยังอกุศลธรรมให้ถึงพร้อม เกิดร่วม กับความไม่ละอายบาป ความไม่สะดุ้งกลัวบาป ความเห็นผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้ไม่รู้แจ้ง ประกอบ ด้วยอวิชชา ความดำริผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้มีความเห็นผิด เจรจาผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้มีความดำริผิด การงานผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้เจรจาผิด การเลี้ยงชีพผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้ทำการงานผิด พยายามผิดย่อมเกิด มีแก่ผู้เลี้ยงชีพผิด ระลึกผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้พยายามผิด ตั้งใจผิดย่อมเกิดมีแก่ผู้ระลึกผิด. [๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนวิชชา เป็นหัวหน้าในการยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม เกิด ร่วมกับความละอายบาป ความสะดุ้งกลัวบาป ความเห็นชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้รู้แจ้ง ประกอบด้วย วิชชา ความดำริชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้มีความเห็นชอบ เจรจาชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้มีความดำริชอบ การงานชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้เจรจาชอบ การเลี้ยงชีพชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้ทำการงานชอบ พยายาม ชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้เลี้ยงชีพชอบ ระลึกชอบย่อมเกิดมีแก่ผู้พยายามชอบ ตั้งใจชอบย่อมเกิด มีแก่ผู้ระลึกชอบ แล. จบ สูตรที่ ๑ อุปัฑฒสูตร ความเป็นผู้มีมิตรดี เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้น [๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวศักยะชื่อสักระ ในแคว้น สักกะของชาวศากยะทั้งหลาย ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี นี้เป็นกึ่งหนึ่งแห่งพรหมจรรย์ เทียวนะ พระเจ้าข้า. [๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ เธออย่าได้กล่าวอย่างนั้น เธออย่าได้ กล่าวอย่างนั้น ก็ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี นี้เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้นทีเดียว ดูกร อานนท์ อันภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคประกอบ ด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘. [๖] ดูกรอานนท์ ก็ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี ย่อมเจริญอริยมรรคประกอบ ด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า? ดูกรอานนท์ ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ย่อมเจริญสัมมาสังกัปปะ ... สัมมาวาจา ... สัมมากัมมันตะ ... สัมมาอาชีวะ ... สัมมาวายามะ ... สัมมาสติ ... สัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกร อานนท์ ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี ย่อมเจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อม กระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล. [๗] ดูกรอานนท์ ข้อว่า ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี เป็นพรหมจรรย์ ทั้งสิ้นทีเดียวนั้น พึงทราบโดยปริยายแม้นี้ ด้วยว่าเหล่าสัตว์ผู้มีชาติเป็นธรรมดา ย่อมพ้นไปจาก ชาติ ผู้มีชราเป็นธรรมดา ย่อมพ้นไปจากชรา ผู้มีมรณะเป็นธรรมดา ย่อมพ้นไปจากมรณะ ผู้มี โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เป็นธรรมดา ย่อมพ้นไปจากโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เพราะอาศัยเราผู้เป็นกัลยาณมิตร ดูกรอานนท์ ข้อว่า ความเป็นผู้มี มิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้นทีเดียวนั้น พึงทราบโดยปริยายนี้แล. จบ สูตรที่ ๒ สารีปุตตสูตร ความเป็นผู้มีมิตรดีเป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้น [๘] สาวัตถีนิทาน ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี นี้เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้น เทียวนะ พระเจ้าข้า. [๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ถูกละ ถูกละ สารีบุตร ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี นี้เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้น ดูกรสารีบุตร ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวัง ข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘. [๑๐] ดูกรสารีบุตร ก็ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี ย่อมเจริญอริยมรรค ประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไรเล่า? ดูกร สารีบุตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรสารีบุตร ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี ย่อมเจริญอริยมรรค ประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างนี้แล. [๑๑] ดูกรสารีบุตร ข้อว่า ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี นี้เป็นพรหม- *จรรย์ทั้งสิ้น นั้นพึงทราบโดยปริยายแม้นี้ ด้วยว่าเหล่าสัตว์ผู้มีชาติเป็นธรรมดา ย่อมพ้นไปจาก ชาติ ผู้มีชราเป็นธรรมดา ย่อมพ้นไปจากชรา ผู้มีมรณะเป็นธรรมดา ย่อมพ้นไปจากมรณะ ผู้มี โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสเป็นธรรมดา ย่อมพ้นไปจากโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เพราะอาศัยเราผู้เป็นกัลยาณมิตร ดูกรสารีบุตร ข้อว่า ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้นนั้น พึงทราบโดยปริยายนี้แล. จบ สูตรที่ ๓ พราหมณสูตร อริยมรรคเรียกชื่อได้ ๓ อย่าง [๑๒] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น เวลาเช้า ท่านพระอานนท์นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี ได้เห็นชาณุสโสณีพราหมณ์ออกจากพระนครสาวัตถี ด้วยรถ เทียมด้วยม้าขาวล้วน ได้ยินว่า ม้าที่เทียมเป็นม้าขาว เครื่องประดับขาว ตัวรถขาว ประทุนรถ ขาว เชือกขาว ด้ามประตักขาว ร่มขาว ผ้าโพกขาว ผ้านุ่งขาว รองเท้าขาว พัดวาลวิชนีที่ ด้ามพัดก็ขาว ชนเห็นท่านผู้นี้แล้ว พูดอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ยานประเสริฐหนอ รูป ของยานประเสริฐหนอ ดังนี้. [๑๓] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เที่ยวบิณฑบาตในพระนครสาวัตถีแล้ว เวลาปัจฉาภัต กลับจากบิณฑบาต เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ของประทาน พระวโรกาส เวลาเช้า ข้าพระองค์นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี ข้าพระองค์เห็นชาณุสโสณีพราหมณ์ออกจากพระนครสาวัตถี ด้วยรถม้าขาวล้วน ได้ยินว่า ม้าที่ เทียมเป็นม้าขาว เครื่องประดับขาว ตัวรถขาว ประทุนรถขาว เชือกขาว ด้ามประตักขาว ร่มขาว ผ้าโพกขาว ผ้านุ่งขาว รองเท้าขาว พัดวาลวิชนีที่ด้ามก็ขาว ชนเห็นท่านผู้นี้แล้ว พูดอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ยานประเสริฐหนอ รูปของยานประเสริฐหนอ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์อาจทรงบัญญัติยานอันประเสริฐในธรรมวินัยนี้ได้ไหมหนอ? [๑๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ อาจบัญญัติได้ คำว่ายานอันประเสริฐ เป็นชื่อของอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้เอง เรียกกันว่า พรหมยานบ้าง ธรรมยานบ้าง รถ พิชัยสงครามอันยอดเยี่ยมบ้าง. [๑๕] ดูกรอานนท์ สัมมาทิฏฐิบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว มีการกำจัดราคะ เป็นที่สุด มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีการกำจัดโมหะเป็นที่สุด. [๑๖] ดูกรอานนท์ สัมมาสังกัปปะที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว มีการกำจัด ราคะเป็นที่สุด มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีการกำจัดโมหะเป็นที่สุด. [๑๗] ดูกรอานนท์ สัมมาวาจาที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว มีการกำจัด ราคะเป็นที่สุด มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีการกำจัดโมหะเป็นที่สุด. [๑๘] ดูกรอานนท์ สัมมากัมมันตะที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว มีการกำจัด ราคะเป็นที่สุด มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีการกำจัดโมหะเป็นที่สุด. [๑๙] ดูกรอานนท์ สัมมาอาชีวะที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว มีการกำจัด ราคะเป็นที่สุด มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีการกำจัดโมหะเป็นที่สุด. [๒๐] ดูกรอานนท์ สัมมาวายามะที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว มีการกำจัด ราคะเป็นที่สุด มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีการกำจัดโมหะเป็นที่สุด. [๒๑] ดูกรอานนท์ สัมมาสติที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว มีการกำจัดราคะ เป็นที่สุด มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีการกำจัดโมหะเป็นที่สุด. [๒๒] ดูกรอานนท์ สัมมาสมาธิที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว มีการกำจัด ราคะเป็นที่สุด มีการกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีการกำจัดโมหะเป็นที่สุด. [๒๓] ดูกรอานนท์ ข้อว่า ยานอันประเสริฐ เป็นชื่อของอริยมรรคประกอบด้วย องค์ ๘ นี้เอง เรียกกันว่า พรหมยานบ้าง ธรรมยานบ้าง รถพิชัยสงครามอันยอดเยี่ยมบ้าง นั้น พึงทราบโดยปริยายนี้แล. พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถา ประพันธ์ต่อไปอีกว่า [๒๔] อริยมรรคญาณนั้นมีธรรม คือ ศรัทธากับปัญญาเป็นเอก มีศรัทธา เป็นทูบ มีหิริเป็นงอน มีใจเป็นเชือกชัก มีสติเป็นสารถีผู้ควบคุม รถนี้มีศีลเป็นเครื่องประดับ มีญาณเป็นเพลา มีความเพียรเป็นล้อ มีอุเบกขากับสมาธิเป็นทูบ ความไม่อยากได้เป็นประทุน กุลบุตร ใดมีความไม่พยาบาท ความไม่เบียดเบียน และวิเวกเป็นอาวุธ มีความอดทนเป็นเกราะหนัง กุลบุตรนั้นย่อมเป็นไปเพื่อความเกษม จากโยคะ พรหมยานอันยอดเยี่ยมนี้ เกิดแล้วในตนของบุคคล เหล่าใด บุคคลเหล่านั้นเป็นนักปราชญ์ ย่อมออกไปจากโลกโดย ความแน่ใจว่า มีชัยชนะโดยแท้. จบ สูตรที่ ๔[พระสูตรนี้กล่าวถึงชานุสโสณีพราหมณ์ ผู้นิยมแต่งชุดขาว เครื่องประดับทั้งปวงสีขาว ยานเทียมด้วยม้า ทั้งตัวยานทั้งตัวม้ามีสีขาวล้วน ก็ด้วยกรรมอันดีเลิศในอดีตที่ท่านเผาตัวเองต่างประทีปบูชาพระผุ้มีพระภาคเจ้าพระองค์หนึ่งในอดีต ซึ่งชนทั้งหลายต่างสรรเสริญว่าหาผู้เสมอท่านมิได้ แม้กระนั้นพระผู้มีพระภาคก็ตรัสว่ามีธรรมยานหรือพรหมยานอย่างหนึ่งที่อาจเปรียบเทียบได้กับยานของพระรามโพธิสัตว์พระองค์นี้ นั่นคือ อริยมรรคญาณนั้นมีธรรม คือ ศรัทธากับปัญญาเป็นเอก มีศรัทธา เป็นทูบ มีหิริเป็นงอน มีใจเป็นเชือกชัก มีสติเป็นสารถีผู้ควบคุม รถนี้มีศีลเป็นเครื่องประดับ มีญาณเป็นเพลา มีความเพียรเป็นล้อ มีอุเบกขากับสมาธิเป็นทูบ ความไม่อยากได้เป็นประทุน กุลบุตร ใดมีความไม่พยาบาท ความไม่เบียดเบียน และวิเวกเป็นอาวุธ มีความอดทนเป็นเกราะหนัง กุลบุตรนั้นย่อมเป็นไปเพื่อความเกษม จากโยคะ พรหมยานอันยอดเยี่ยมนี้ เกิดแล้วในตนของบุคคล เหล่าใด บุคคลเหล่านั้นเป็นนักปราชญ์ ย่อมออกไปจากโลกโดย ความแน่ใจว่า มีชัยชนะโดยแท้.แต่อยากเสริมสักนิดว่าการเผาตัวเองในเหตุประท้วงทางการเมืองพวกนั้นไม่ได้กุศลผลบุญอะไรครับ] กิมัตถิยสูตร ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อกำหนดรู้ทุกข์ [๒๕] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้นแล ภิกษุมากรูปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ถามพวกข้าพระองค์ อย่างนี้ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พวกท่านอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดมเพื่อประโยชน์ อะไร? พวกข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้แล้ว จึงพยากรณ์แก่พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น อย่างนี้ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พวกเราอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อกำหนด รู้ทุกข์ พวกข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้แล้ว พยากรณ์อย่างนี้ ชื่อว่ากล่าวตามพระดำรัสที่พระผู้มี พระภาคตรัสไว้แล้ว ไม่กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำไม่จริง พยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้ง การคล้อยตามวาทะที่ถูกไรๆ จะไม่พึงถึงฐานะอันวิญญูชนพึงติเตียนได้ละหรือ. [๒๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ช่างเถิด พวกเธอถูกถามอย่างนั้น แล้ว พยากรณ์อย่างนั้น ชื่อว่ากล่าวตามคำที่เรากล่าวไว้แล้ว ไม่กล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง พยากรณ์ ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ถูกไรๆ จะไม่ถึงฐานะอันวิญญูชนพึงติเตียนได้ เพราะพวกเธออยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในเรา เพื่อกำหนดรู้ทุกข์. [๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก พึงถามพวกเธออย่างนี้ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็หนทางมีอยู่หรือ ปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ทุกข์นั้นมีอยู่หรือ? พวกเธอถูกถาม อย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์แก่พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย หนทางมีอยู่ ปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ทุกข์นั้นมีอยู่. [๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็หนทางเป็นไฉน ปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ทุกข์เป็นไฉน. อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เป็นหนทาง นี้เป็น ปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ทุกข์นั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอถูกถามอย่างนั้นแล้ว พึงพยากรณ์แก่ พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้. จบ สูตรที่ ๕ ภิกขุสูตรที่ ๑ ว่าด้วยพรหมจรรย์และที่สุดพรหมจรรย์ [๒๙] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่าพรหมจรรย์ๆ ดังนี้ ก็พรหมจรรย์เป็นไฉน ที่สุดแห่ง พรหมจรรย์เป็นไฉน? [๓๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ คือ สัมมา ทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้แลเป็นพรหมจรรย์ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์. จบ สูตรที่ ๖ ภิกขุสูตรที่ ๒ ความกำจัดราคะ เป็นชื่อนิพพานธาตุ [๓๑] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า ความกำจัดราคะ ความกำจัดโทสะ ความกำจัดโมหะ ดังนี้ คำว่า ความกำจัดราคะ ความกำจัดโทสะ ความกำจัดโมหะ นี้เป็นชื่อแห่งอะไรหนอ? พระผู้มีพระภาค ตรัสตอบว่า ดูกรภิกษุ คำว่า ความกำจัดราคะ ความกำจัดโทสะ ความกำจัดโมหะ นี้เป็นชื่อ แห่งนิพพานธาตุ เพราะเหตุนั้น จึงเรียกว่าธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะ. ความสิ้นราคะ ชื่อว่าอมตะ [๓๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้นได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้า แต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า อมตะๆ ดังนี้ อมตะเป็นไฉน? ทางที่จะให้ถึงอมตะเป็นไฉน? พ. ดูกรภิกษุ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่าอมตะ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้แลเรียกว่าทางที่จะให้ถึง อมตะ. จบ สูตรที่ ๗ วิภังคสูตร อริยมรรค ๘ [๓๓] สาวัตถีนิทาน. พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง จักจำแนกอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง อริยมรรคนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุพวกนั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นไฉน? คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ. [๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฏฐิเป็นไฉน? ความรู้ในทุกข์ ในทุกขสมุทัย ในทุกขนิโรธ ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ. [๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสังกัปปะเป็นไฉน? ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในอันไม่พยาบาท ความดำริในอันไม่เบียดเบียน นี้เรียกว่าสัมมาสังกัปปะ. [๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาวาจาเป็นไหน? เจตนาเครื่องงดเว้นจากพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ นี้เรียกว่า สัมมาวาจา. [๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมากัมมันตะเป็นไฉน? เจตนาเครื่องงดเว้นจากปาณา- *ติบาต อทินนาทาน จากอพรหมจรรย์ นี้เรียกว่า สัสมากัมมันตะ. [๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาอาชีวะเป็นไฉน? อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ละการ เลี้ยงชีพที่ผิดเสีย สำเร็จชีวิตอยู่ด้วยการเลี้ยงชีพที่ชอบ นี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ. [๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมมาวายามะเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยังฉันทะ ให้เกิด พยายาม ปรารถนาความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อมิให้อกุศลธรรมอันลามก ที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด บังเกิดขึ้น พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน เพิ่มพูน ไพบูลย์ เจริญ บริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ. [๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสติเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณา เห็นกายในกายเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสใน โลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึง กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มี สัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม เนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย นี้ เรียกว่า สัมมาสติ. [๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสมาธิเป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอบรรลุทุติย- *ฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตก วิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วย นามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มี อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข เธอบรรลุจตุตถฌาณ ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ. จบ สูตรที่ ๘ สุภสูตร มรรคภาวนาที่ตั้งไว้ผิดและตั้งไว้ถูก [๔๒] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเดือยข้าวสาลี หรือเดือยข้าว ยวะที่บุคคลตั้งไว้ผิด มือหรือเท้าย่ำเหยียบแล้ว จักทำลายมือหรือเท้า หรือว่าจักให้ห้อเลือด ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเดือยบุคคลตั้งไว้ผิด ฉันใดก็ดี ภิกษุนั้นแล ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักทำลายอวิชชา จักยังวิชชาให้เกิด จักทำนิพพานให้แจ้ง ด้วยความเห็น ที่ตั้งไว้ผิด ด้วยการเจริญมรรคที่ตั้งไว้ผิด ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะ ความเห็นตั้งไว้ผิด. [๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเดือยข้าวสาลี หรือเดือยข้าวยวะที่บุคคลตั้ง ไว้ถูก มือหรือเท้าย่ำเหยียบแล้ว จักทำลายมือหรือเท้า หรือว่าจักให้ห้อเลือด ข้อนี้เป็นฐานะที่มี ได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะเดือยบุคคลตั้งไว้ถูก ฉันใดก็ดี ภิกษุนั้นแล ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักทำลายอวิชชา จักยังวิชชาให้เกิด จักทำนิพพานให้แจ้ง ด้วยความเห็นที่ตั้งไว้ถูก ด้วยการ เจริญมรรคที่ตั้งไว้ถูก ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะความเห็นตั้งไว้ถูก. [๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุจักทำลายอวิชชา จักยังวิชชาให้เกิด จักทำนิพพาน ให้แจ้ง ด้วยความเห็นที่ตั้งไว้ถูก ด้วยการเจริญมรรคที่ตั้งไว้ถูกอย่างไรเล่า? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ฯลฯ ย่อม เจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุจักทำลายอวิชชา จักยังวิชชาให้เกิด จักทำนิพพานให้แจ้ง ด้วยความเห็นที่ตั้งไว้ ถูก ด้วยการเจริญมรรคที่ตั้งไว้ถูก อย่างนี้แล. จบ สูตรที่ ๙ นันทิยสูตร ธรรม ๘ ประการ เป็นเหตุให้ถึงพระนิพพาน [๔๕] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้นแล นันทิยปริพาชกเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ธรรมเท่าไรหนอแล ที่บุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน มีนิพพานเป็นเบื้องหน้า มีนิพพาน เป็นที่สุด? พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรนันทิยะ ธรรม ๘ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำ ให้มากแล้ว เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน มีนิพพานเป็นเบื้องหน้า มีนิพพานเป็นที่สุด ธรรม ๘ ประการ เป็นไฉน? คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ดูกรนันทิยะ ธรรม ๘ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญ แล้ว กระทำให้มากแล้ว เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน มีนิพพานเป็นเบื้องหน้า มีนิพพานเป็นที่สุด. [๔๖] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว นันทิยปริพาชกได้กราบทูล พระผู้มี พระภาคว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของ พระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดม ท่านพระโคดมทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปไว้ใน ที่มืด ด้วยหวังว่าผู้มีจักษุจักเห็นรูป ฉะนั้น ข้าพระองค์ขอถึงท่านพระโคดม กับทั้งพระธรรม และพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกถึงสรณะ จนตลอดชีวิต จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป. จบ สูตรที่ ๑๐ จบ อวิชชาวรรค ------------ รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. อวิชชาสูตร ๒. อุปัฑฒสูตร ๓. สาริปุตตสูตร ๔. พราหมณสูตร ๕. กิมัต- *ถิยสูตร ๖. ภิกขุสูตรที่ ๑ ๗. ภิกขุสูตรที่ ๒ ๘. วิภังคสูตร ๙. สุภสูตร ๑๐. นันทิยสูตร ----------- วิหารวรรคที่ ๒ วิหารสูตรที่ ๑ ว่าด้วยปัจจัยแห่งเวทนา [๔๗] สาวัตถีนิทาน. พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราปรารถนาจะหลีกเร้นอยู่ตลอดกึ่งเดือน ใครๆ ไม่พึงเข้าไปหาเรา นอกจากภิกษุผู้นำบิณฑบาต ไปให้รูปเดียว ภิกษุทั้งหลายรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว ในกึ่งเดือนนี้ไม่มีใครเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาค นอกจากภิกษุผู้นำบิณฑบาตไปถวายรูปเดียว. [๔๘] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงออกจากที่หลีกเร้นโดยล่วงไปกึ่งเดือนนั้นแล้ว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราแรกตรัสรู้ ย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรม อันใด เราอยู่แล้วโดยส่วนแห่งวิหารธรรมอันนั้น เรารู้ชัดอย่างนี้ว่า เวทนาย่อมมี เพราะความ เห็นผิดเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความเห็นชอบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความดำริผิดเป็นปัจจัยบ้าง เพราะ ความดำริชอบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะเจรจาผิดเป็นปัจจัยบ้าง เพราะเจรจาชอบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะ การงานผิดเป็นปัจจัยบ้าง เพราะการงานชอบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะเลี้ยงชีพผิดเป็นปัจจัยบ้าง เพราะ เลี้ยงชีพชอบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะพยายามผิดเป็นปัจจัยบ้าง เพราะพยายามชอบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความระลึกผิดเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความระลึกชอบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความตั้งใจผิดเป็น ปัจจัยบ้าง เพราะความตั้งใจชอบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะฉันทะเป็นปัจจัยบ้าง เพราะวิตกเป็นปัจจัย บ้าง เพราะสัญญาเป็นปัจจัยบ้าง เพราะฉันทวิตกและสัญญายังไม่สงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะฉันท- *วิตกและสัญญาสงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะมีความพยายามเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง และเมื่อถึงฐานะ นั้นแล้วเป็นปัจจัยบ้าง.[พระสูตรนี้กล่าวถึงการที่พระผุ้มีพระภาคทรงใช้เวลาบางช่วงเพื่อหลีกออกเร้น หลังจากทรงสั่งสอนทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์มาเป็นระยะเวลานาน เมื่อพระองค์ทรงออกจากที่หลีกเร้นแล้วก็ทรงอยู่ได้วิหารธรรมเช่นเดียวกับเมื่อทรงแรกตรัสรู้ ก็วิหารธรรมนั้นได้เคยเสื่อมโทรมไปบ้างเพราะเวทนาต่างๆอันมีปัจจัยเช่น เพราะความเห็นชอบบ้าง เพราะความเห็นผิดบ้าง เพราะความดำริชอบบ้าง เพราะความดำริผิดบ้าง ฯลฯ] จบ สูตรที่ ๑ วิหารสูตรที่ ๒ ว่าด้วยปัจจัยแห่งเวทนา [๔๙] สาวัตถีนิทาน. พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า เราปรารถนาจะหลีกเร้น อยู่ตลอด ๓ เดือน ใครๆ ไม่พึงเข้าไปหาเรา นอกจากภิกษุผู้นำบิณฑบาตไปให้รูปเดียว ภิกษุ ทั้งหลายรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้วใน ๓ เดือนนี้ ไม่มีใครเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค นอกจากภิกษุผู้นำบิณฑบาตไปถวายรูปเดียว. [๕๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงออกจากที่หลีกเร้นโดยล่วงไป ๓ เดือนนั้นแล้ว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราแรกตรัสรู้ ย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรม อันใด เราอยู่แล้วโดยส่วนแห่งวิหารธรรมอันนั้น เรารู้ชัดอย่างนี้ว่า เวทนาย่อมมีเพราะความเห็น ผิดเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความเห็นผิดสงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความเห็นชอบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความเห็นสงบชอบเป็นปัจจัยบ้าง ฯลฯ เพราะความตั้งใจผิดเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความ ตั้งใจผิดสงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความตั้งใจชอบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะความตั้งใจชอบสงบเป็น ปัจจัยบ้าง เพราะฉันทะเป็นปัจจัยบ้าง เพราะฉันทะสงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะวิตกเป็นปัจจัยบ้าง เพราะวิตกสงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะสัญญาเป็นปัจจัยบ้าง เพราะสัญญาสงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะ ฉันทวิตกและสัญญายังไม่สงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะฉันทวิตกและสัญญาสงบเป็นปัจจัยบ้าง เพราะ มีความพยายามเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง และเมื่อถึงฐานะนั้นแล้วเป็นปัจจัยบ้าง. จบ สูตรที่ ๒ เสขสูตร องคคุณ ๘ ของพระเสขะ [๕๑] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า พระเสขะๆ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ? จึงจะชื่อว่าเป็นพระเสขะ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิอันเป็นของพระเสขะ ฯลฯ ประกอบด้วยสัมมาสมาธิอัน เป็นของพระเสขะ ดูกรภิกษุ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล จึงจะชื่อว่าเป็นพระเสขะ. จบ สูตรที่ ๓ อุปปาทสูตรที่ ๑ ธรรม ๘ ประการ ย่อมมีเพราะการปรากฏแห่งพระตถาคต [๕๒] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น ไม่เกิดขึ้นนอกจากความปรากฏแห่งพระตถาคตอรหันต- *สัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน? คือสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น ไม่เกิด ขึ้นนอกจากความปรากฏแห่งพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า.[อริยมรรคมีองคืแปดนี้เป็นธรรมอันประเสริฐ มีปรากฏแก่สรรพสัตว์ทั้งหลายในโลกก็เฉพาะเวลาที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเสด็จอุบัติขึ้นในโลกเท่านั้น] จบ สูตรที่ ๔ อุปปาทสูตรที่ ๒ ธรรม ๘ ประการ ย่อมมีเพราะพระวินัยของพระสุคต [๕๓] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น ไม่เกิดขึ้นนอกจากวินัยของพระสุคต ธรรม ๘ ประการ เป็นไฉน คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้แล อัน บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น ไม่เกิดขึ้นนอกจากวินัยของพระสุคต. จบ สูตรที่ ๕ ปริสุทธิสูตรที่ ๑ ธรรม ๘ ประการ ย่อมเกิดเพราะความปรากฏแห่งพระตถาคต [๕๔] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มี กิเลสเครื่องยั่วยวน ปราศจากอุปกิเลส ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น ไม่เกิดขึ้นนอกจากความปรากฏ แห่งพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน? คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้แล บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเครื่องยั่วยวน ปราศจากอุปกิเลส ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น ไม่เกิดขึ้นนอกจากความปรากฏแห่งพระตถาคตอรหันต- *สัมมาสัมพุทธเจ้า. จบ สูตรที่ ๖ ปริสุทธิสูตรที่ ๒ ธรรม ๘ ประการ ย่อมบริสุทธิ์เพราะวินัยของพระสุคต [๕๕] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มี กิเลสเครื่องยั่วยวน ปราศจากอุปกิเลส ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น ไม่เกิดขึ้นนอกจากวินัยของ พระสุคต ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน? คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๘ ประการนี้แล บริสุทธิ์ผุดผ่องไม่มีกิเลสเครื่องยั่วยวน ปราศจากอุปกิเลส ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น ไม่เกิดขึ้นนอกจากวินัยของพระสุคต. จบ สูตรที่ ๗ กุกกุฏารามสูตรที่ ๑ มิจฉามรรค ว่าด้วยอพรหมจรรย์ [๕๖] ข้าพเจ้าได้สดับแล้วอย่างนี้:- สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์และท่านพระภัททะอยู่ ณ กุกกุฏาราม ใกล้นครปาฏลีบุตร ครั้งนั้น ท่านพระภัททะออกจากที่เร้นในเวลาเย็น เข้าไปหาท่านพระอานนท์ ได้ปราศรัยกับท่าน พระอานนท์ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ถามท่านพระอานนท์ว่า ท่านอานนท์ ที่เรียกว่า อพรหมจรรย์ๆ ดังนี้ อพรหมจรรย์เป็นไฉน หนอ? ท่านพระอานนท์ตอบว่า ดีละๆ ท่านภัททะ ท่านช่างคิด ช่างหลักแหลม ช่างไต่ถาม ก็ท่านถามอย่างนี้หรือว่า ท่านอานนท์ ที่เรียกว่า อพรหมจรรย์ๆ ดังนี้ อพรหมจรรย์เป็นไฉนหนอ? ภ. อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ? อา. มิจฉามรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ คือ มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ มิจฉาสมาธิ นี้แล เป็นอพรหมจรรย์.[ครั้งหนึ่ง ท่านพระภัททะ ได้ไปหาท่านพระอานนท์เพื่อเจรจาปราศรัย ท่านพระภัททะถามท่านอานนท์ว่า ท่านอานนท์ อพรหมจรรย์นี้เป็นไฉน ท่านพระอานนท์กล่าวชมว่าท่านพระภัททะช่างถามคำถามได้หลักแหลมดีแท้ อันอพรหมจรรย์นั้นก็คือมิจฉามรรคที่มีองค์8 มีอาทิเช่นมิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ นั่นเอง] จบ สูตรที่ ๘ กุกกุฏารามสูตรที่ ๒ ว่าด้วยพรหมจรรย์ [๕๗] ปาฏลิปุตตนิทาน. ภ. ท่านอานนท์ ที่เรียกว่าพรหมจรรย์ๆ ดังนี้ พรหมจรรย์ เป็นไฉนหนอ? ที่สุดของพรหมจรรย์เป็นไฉน? อา. ดีละๆ ท่านภัททะ ท่านช่างคิด ช่างหลักแหลม ช่างไต่ถาม ก็ท่านถามอย่างนี้ หรือว่า ท่านอานนท์ ที่เรียกว่า พรหมจรรย์ๆ ดังนี้ พรหมจรรย์เป็นไฉนหนอ? ที่สุดของ พรหมจรรย์เป็นไฉน? ภ. อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ. อา. อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้แลเป็น พรหมจรรย์ ความสิ้นราคะ โทสะ โมหะ นี้เป็นที่สุดของพรหมจรรย์. จบ สูตรที่ ๙ กุกกุฏารามสูตรที่ ๓ ว่าด้วยพรหมจรรย์และพรหมจารี [๕๘] ปาฏลิปุตตนิทาน. ภ. ท่านอานนท์ ที่เรียกว่า พรหมจรรย์ๆ ดังนี้ พรหมจรรย์ เป็นไฉนหนอ? พรหมจารีเป็นไฉน? ที่สุดของพรหมจรรย์เป็นไฉน? อา. ดีละๆ ท่านภัททะ ท่านช่างคิด ช่างหลักแหลม ช่างไต่ถาม ก็ท่านถามอย่างนี้ หรือว่า ท่านอานนท์ ที่เรียกว่า พรหมจรรย์ๆ ดังนี้ พรหมจรรย์เป็นไฉนหนอ? พรหมจารี เป็นไฉน? ที่สุดของพรหมจรรย์เป็นไฉน? ภ. อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ อา. อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้แล เป็นพรหมจรรย์ บุคคลผู้ประกอบด้วยอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้เรียกว่าเป็นพรหมจารี ความสิ้นราคะ โทสะ โมหะ นี้เป็นที่สุดของพรหมจรรย์.[ท่านพระภัททะถามท่านพระอานนท์ว่า ที่ว่าพรหมจารีหรือพรหมจรรย์นั้นคืออย่างไร และที่สุดแห่งพรหมจรรย์นั้นอย่างไร ท่านพระอานนท์กล่าวชมว่าปัญหาที่ท่านพระภัททะถามนั้นช่างหลักแหลมจริงหนอ ความจริงแล้วพรหมจรรย์หรือพรหมจารีนั้นก็คืออริยมรรคมีองค์8นั่นเอง และที่สุดของพรหมจรรย์นั้นก็คือความสิ้นราคะ โทสะ โมหะ] จบ สูตรที่ ๑๐ จบ วิหารวรรคที่ ๒ รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. วิหารสูตรที่ ๑ ๒. วิหารสูตรที่ ๒ ๓. เสขสูตร ๔. อุปปาทสูตรที่ ๑ ๕. อุปปาทสูตรที่ ๒ ๖. ปริสุทธิสูตรที่ ๑ ๗. ปริสุทธิสูตรที่ ๒ ๘. กุกกุฏารามสูตรที่ ๑ ๙. กุกกุฏารามสูตรที่ ๒ ๑๐. กุกกุฏารามสูตรที่ ๓
***********************************************
ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่านครับ

คำแนะนำเรื่องการยังศรัทธาให้เกิดขึ้นครับ

พระสูตรในวันนี้ผมนำมาจากจิตตคหปติปุจฉาสังยุตต์ ว่าด้วยเรื่องราวของจิตตคฤหบดี ท่านผู้นี้เป้นอุบาสกที่พระผุ้มีพระภาคเจ้าตรัสสรรเสริญว่าเป็นอุบาสกที่เป็นเลิศกว่าอุบาสกท่านอื่นๆ คู่เคียงกับหัตถอุบาสกชาวเมืองอาฬวี ท่านนั้นเป็นพระอนาคามี จากที่อ่านพระสูตรในสังยุตต์นี้แล้วกล่าวได้ว่า ความสามารถของท่านจิตตคฤหบดีนั้นคือท่านมีญาณจักษุพอที่จะอธิบายพระธรรมอันพระผุ้พระภาคเจ้าตรัสไว้ให้ผู้ฟังเข้าใจได้อย่างชัดเจน และเชื่อในพระสัทธรรมด้วยญาณจริงๆ ไม่ใช่ด้วยเพียงความศรัทธา แต่ว่าท่านนั้นยังไม่ถึงขนาดที่สามารถบันดาลอิทธาภิสังขารเช่น ทำให้ฝนตก บันดาลไฟให้เกิดขึ้นด้วยฤทธิ์ ดังนั้นผมพอจะอธิบายได้ว่าท่านทั้งหลายมีศักยภาพจะไปถึงขั้นของจิตตคฤหบดีได้ครับ ขอเพียงท่านผุ้อ่านมีความศรัทธา

วิธีที่ว่านั้นคือการศึกษาพระธรรมคำสอนในพระศาสนานี้ไปเรื่อยๆ เข้าใจไปทีละน้อย ตรงไหนยังไม่ค่อยเชื่อเพราะอิงปาฏิหาริย์มากไปหน่อยก็ผ่านไปก่อน เลือกยึดถือเอาแต่ที่คิดว่ามีเหตุผลแน่นหนาไว้ สะสมความคิดความเข้าใจอย่างนี้ไปเรื่อยๆครับ แบบเดียวกับการศึกษาความรู้ทางโลกเลยครับ ปัญหาแต่ว่าทำอย่างไรจึงจะมีศรัทธา และอาศัยอะไรที่เป็นแนวทางพอจะยึดถือได้บ้าง

เมื่อนานมาแล้ว ผมเคยไปรับการอบรมเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาที่ใกล้ๆบางลำภู และก็อยู่ใกล้ๆม.ธรรมศาสตร์ ในการอบรม มีช่วงหนึ่งวิทยากรได้สาธิตเรื่องการฝึกอานาปานสติภาวนา ท่านกล่าวว่าท่านนั้นฝึกฝนการควบคุมลมหายใจมาเกินสิบปีแล้ว ควบคุมกล้ามเนื้อที่หน้าท้องได้ทั้งยุบเมื่อหายใจออกและพองเมื่อหายใจเข้า จากนั้นท่านได้สาธิตให้ชมผลการฝึกฝนลมหายใจโดยท่านนอนคว่ำบนเวที จากนั้นท่านก็ใช้กำลังแขนยกร่างท่อนล่างขึ้นในท่าตัวตรงจนร่างทอนล่างยกสูงจากพื้นเป็นมุม45องศา ดูราวกับนักยิมนาสติกระดับโลก แต่ว่าผมดูร่างท่านไม่ได้มีกล้ามเนื้อแบบนักยิมนาสติก และก็ไม่ใช่การเล่นกล ดูท่านวิทยากรนั้นอายุก็ราววัยกลางคนแล้ว ตั้งแต่นั้นผมเองก็เชื่อถือเรื่องการฝึกกายและการฝึกจิตในพระบวรพุทธศาสนา ด้วยการที่ได้เห็นเรื่องไม่น่าเชื่อแต่เป็นจริงอย่างนี้ครับ ผมจึงมีความศรัทธา ในส่วนของแนวทางที่พอจะยึดถือนั้น ผมเห็นว่าหนังสือ"ลิงจอมโจก" ที่ผมเคยแนะนำครับ ที่น่าจะยึดถือเป็นแนวทางได้ครับ

สุดท้ายสำหรับวันนี้นั้น ผมขอน้อมจิตรำลึกถึงและถวายอภิวาทท่านจิตตคฤหบดีซึ่งในเวลานี้หากยังมิได้ปรินิพพานในภพของพรหมโลกชั้นสุทธาวาสแล้วก็คงจะยังทรงประทับอยู่ ณ ที่นั้นครับ

พระสูตรในวันนี้ยกมาจากพระสุตตันตปิฎก เล่ม10 สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค ครับ

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
****************************
จิตตคหปติปุจฉาสังยุตต์ สังโยชนสูตร [๕๓๗] สมัยหนึ่ง ภิกษุผู้เถระมากด้วยกันอยู่ที่อัมพาฏกวัน ใกล้ราวป่า มัจฉิกาสณฑ์ ก็สมัยนั้นแล ภิกษุผู้เถระมากด้วยกันกลับจากบิณฑบาตภายหลังภัต นั่งประชุมสนทนากันที่โรงกลมได้สนทนากันว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรม เหล่านี้ คือสังโยชน์ก็ดี สังโยชนียธรรมก็ดี มีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะต่างกัน หรือว่ามีอรรถเหมือนกัน พยัญชนะเท่านั้นต่างกัน บรรดาภิกษุผู้เถระเหล่านั้น ภิกษุผู้เถระบางพวกพยากรณ์อย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ คือ สังโยชน์ก็ดี สังโยชนียธรรมก็ดี มีอรรถต่างกันและมีพยัญชนะต่างกัน บางพวก พยากรณ์อย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ คือ สังโยชน์ก็ดี สังโยชนียธรรมก็ดี มีอรรถเหมือนกัน พยัญชนะเท่านั้นต่างกัน ฯ [๕๓๘] ก็สมัยนั้นแล จิตตคฤหบดีได้ไปยังบ้านส่วยชื่อมิคปถกะด้วย กรณียกิจบางอย่าง ได้สดับข่าวว่า ภิกษุผู้เถระมากด้วยกันกลับจากบิณฑบาตภายหลัง ภัตแล้ว นั่งประชุมกันที่โรงกลม ได้สนทนากันว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ คือ สังโยชน์ก็ดี สังโยชนียธรรมก็ดี มีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะ ต่างกัน หรือว่ามีอรรถเหมือนกัน พยัญชนะเท่านั้นต่างกัน บรรดาภิกษุผู้เถระเหล่านั้น ภิกษุผู้เถระบางพวกพยากรณ์อย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ คือ สังโยชน์ก็ดี สังโยชนียธรรมก็ดี มีอรรถต่างกันและมีพยัญชนะต่างกัน บางพวก พยากรณ์อย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ คือ สังโยชน์ก็ดี สังโยชนียธรรมก็ดี มีอรรถเหมือนกัน พยัญชนะเท่านั้นต่างกัน ฯ [๕๓๙] ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีได้เข้าไปหาภิกษุผู้เถระทั้งหลายถึงที่อยู่ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามภิกษุผู้เถระทั้งหลายว่า ข้าแต่ ท่านทั้งหลายผู้เจริญ กระผมได้สดับข่าวว่า ภิกษุผู้เถระมากด้วยกันกลับจากบิณฑบาต ภายหลังภัตแล้ว นั่งประชุมกันที่โรงกลม ได้สนทนากันว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ คือ สังโยชน์ก็ดี สังโยชนียธรรมก็ดี มีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะต่างกัน หรือว่ามีอรรถเหมือนกัน พยัญชนะเท่านั้นต่างกัน ภิกษุผู้เถระ บางพวกพยากรณ์อย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ คือ สังโยชน์ ก็ดี สังโยชนียธรรมก็ดี มีอรรถต่างกันและมีพยัญชนะต่างกัน บางพวกพยากรณ์ อย่างนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ คือ สังโยชน์ก็ดี สังโยชนีย ธรรมก็ดี มีอรรถเหมือนกัน พยัญชนะเท่านั้นต่างกัน ดังนี้หรือ ภิกษุเหล่านั้น ตอบว่า อย่างนั้นคฤหบดี จิตตคฤหบดีได้กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ คือ สังโยชน์ก็ดี สังโยชนียธรรมก็ดี มีอรรถต่างกัน และมี พยัญชนะต่างกัน ถ้ากระนั้นกระผมจักอุปมาให้ฟัง เพราะวิญญูชนบางพวกในโลกนี้ ย่อมเข้าใจเนื้อความแห่งภาษิตแม้ด้วยข้ออุปมา ฯ [๕๔๐] ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย เปรียบเหมือนโคดำตัวหนึ่งโคขาว ตัวหนึ่ง เขาผูกด้วยทามหรือเชือกเส้นเดียวกัน ผู้ใดแลพึงกล่าวอย่างนี้ว่า โคดำ ติดกับโคขาว โคขาวติดกับโคดำ ดังนี้ ผู้นั้นชื่อว่ากล่าวถูกละหรือ ฯ ภิ. ไม่ถูก คฤหบดี เพราะโคดำไม่ติดกับโคขาว แม้โคขาวก็ไม่ติดกับ โคดำ ทามหรือเชือกที่ผูกโคทั้งสองนั้น ชื่อว่าเป็นเครื่องผูก ฯ จิตต. ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล จักษุไม่ติดกับรูป รูปไม่ติดกับจักษุ ฉันทราคะที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุและรูปทั้ง ๒ นั้น ชื่อว่าเป็น เครื่องติด หูไม่ติดกับเสียง เสียงไม่ติดกับหู ฉันทราคะที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยหู และเสียงทั้ง ๒ นั้น ชื่อว่าเป็นเครื่องติด จมูกไม่ติดกับกลิ่น กลิ่นไม่ติดกับจมูก ฉันทราคะที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจมูกและกลิ่นทั้ง ๒ นั้น ชื่อว่าเป็นเครื่องติด ลิ้นไม่ ติดกับรส รสไม่ติดกับลิ้น ฉันทราคะที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยลิ้นและรสทั้ง ๒ นั้น ชื่อว่าเป็นเครื่องติด กายไม่ติดกับโผฏฐัพพะ โผฏฐัพพะไม่ติดกับกาย ฉันทราคะ ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะทั้ง ๒ นั้น ชื่อว่าเป็นเครื่องติด ใจไม่ติด กับธรรมารมณ์ ธรรมารมณ์ไม่ติดกับใจ ฉันทราคะที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและ ธรรมารมณ์ทั้ง ๒ นั้น ชื่อว่าเป็นเครื่องติด ภิ. ดูกรคฤหบดี การที่ปัญญาจักษุของท่านหยั่งทราบในพระพุทธพจน์ที่ ลึกซึ้ง ชื่อว่าเป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว ฯ จบสูตรที่ ๑ อิสิทัตตสูตรที่ ๑ [๕๔๑] สมัยหนึ่ง ภิกษุผู้เถระมากด้วยกันอยู่ที่อัมพาฏกวัน ใกล้ราวป่า มัจฉิกาสณฑ์ ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีได้เข้าไปหาภิกษุผู้เถระเหล่านั้น ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้อาราธนาว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ทั้งหลาย ขอพระเถระทั้งหลาย โปรดรับภัตตาหารของกระผมในวันพรุ่งนี้ ภิกษุผู้ เถระทั้งหลายได้รับอาราธนาโดยดุษณีภาพ ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีทราบการรับ อาราธนาของภิกษุผู้เถระทั้งหลายแล้ว ลุกจากที่นั่ง กราบไหว้ กระทำประทักษิณ แล้วจากไป ฯ [๕๔๒] ครั้งนั้นแล พอล่วงราตรีนั้นไป เป็นเวลาเช้า ภิกษุผู้เถระ ทั้งหลายนุ่งแล้วถือบาตรและจีวร พากันเข้าไปยังนิเวสน์ของจิตตคฤหบดี แล้วนั่ง บนอาสนะที่ตบแต่งไว้ถวาย ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีเข้าไปหาภิกษุผู้เถระทั้งหลาย ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามพระเถระผู้เป็นประธานว่า ข้าแต่พระเถระผู้เจริญ คำที่กล่าวกันว่า ความต่างแห่งธาตุๆ ดังนี้ ความต่างแห่ง ธาตุ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ด้วยเหตุเท่าไรหนอแล ฯ [๕๔๓] เมื่อจิตตคฤหบดีถามอย่างนี้แล้ว พระเถระผู้เป็นประธานได้ นิ่งอยู่ แม้ครั้งที่ ๒ จิตตคฤหบดีได้ถามพระเถระผู้เป็นประธานว่า ข้าแต่พระเถระ ผู้เจริญ คำที่กล่าวกันว่า ความต่างแห่งธาตุๆ ดังนี้ ความต่างแห่งธาตุ พระผู้มี- *พระภาคตรัสไว้ด้วยเหตุเท่าไรหนอแล แม้ครั้งที่ ๒ พระเถระผู้เป็นประธานก็ได้ นิ่งอยู่ แม้ครั้งที่ ๓ จิตตคฤหบดีก็ได้ถามพระเถระผู้เป็นประธานว่า ข้าแต่พระเถระ ผู้เจริญ คำที่กล่าวกันว่า ความต่างแห่งธาตุๆ ดังนี้ ความต่างแห่งธาตุ พระผู้มี- *พระภาคตรัสไว้ด้วยเหตุเท่าไรหนอแล แม้ครั้งที่ ๓ พระเถระผู้เป็นประธานก็ได้ นิ่งอยู่ ฯ [๕๔๔] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านอิสิทัตตะเป็นผู้ใหม่กว่าทุกองค์ในภิกษุ สงฆ์หมู่นั้น ครั้งนั้นแล ท่านอิสิทัตตะได้ขอโอกาสกะพระเถระผู้เป็นประธานว่า ข้าแต่พระเถระผู้เจริญ กระผมขอพยากรณ์ปัญหาข้อนั้นของจิตตคฤหบดี พระเถระกล่าวว่า ดูกรท่านอิสิทัตตะ เชิญท่านพยากรณ์ปัญหาข้อนั้นของ จิตตคฤหบดีเถิด ฯ อิ. ดูกรคฤหบดี ก็ท่านกล่าวถามอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระเถระผู้เจริญ คำที่ กล่าวกันว่า ความต่างแห่งธาตุๆ ดังนี้ ความต่างแห่งธาตุ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ ด้วยเหตุเท่าไรหนอแล ดังนี้หรือ จิตต. อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ ฯ อิ. ดูกรคฤหบดี ความต่างแห่งธาตุ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดังนี้ คือ จักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ โสตธาตุ สัททธาตุ โสตวิญญาณธาตุ ฆานธาตุ คันธธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาธาตุ รสธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ กายธาตุ โผฏฐัพพธาตุ กายวิญญาณธาตุ มโนธาตุ ธัมมธาตุ มโนวิญญาณธาตุ ดูกร คฤหบดี ความต่างแห่งธาตุ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ด้วยเหตุเท่านี้แล ฯ [๕๔๕] ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของท่านอิสิทัตตะ แล้วได้อังคาสภิกษุผู้เถระทั้งหลายให้อิ่มหนำเพียงพอ ด้วยขาทนียโภชนียาหารอัน ประณีต ด้วยมือของตน ครั้งนั้นแล ภิกษุผู้เถระทั้งหลายฉันเสร็จแล้ว ลดมือ จากบาตรแล้ว ลุกขึ้นจากอาสนะหลีกไป ครั้งนั้นแล พระเถระผู้เป็นประธานได้ กล่าวกะท่านอิสิทัตตะว่า ดีแล้ว ท่านอิสิทัตตะ ปัญหาข้อนั้นแจ่มแจ้งแก่ท่าน มิได้แจ่มแจ้งแก่เรา ดูกรท่านอิสิทัตตะ ต่อไป ถ้าปัญหาเช่นนี้พึงมีมาแม้โดย ประการอื่นในกาลใด ท่านนั่นแหละพึงกล่าวตอบปัญหาเช่นนั้นในกาลนั้น ฯ จบสูตรที่ ๒ อิสิทัตตสูตรที่ ๒ [๕๔๖] สมัยหนึ่ง ภิกษุผู้เถระมากด้วยกันอยู่ที่อัมพาฏกวัน ใกล้ราวป่า มัจฉิกาสณฑ์ ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีได้เข้าไปหาภิกษุผู้เถระทั้งหลายถึงที่อยู่ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้อาราธนาว่า ข้าแต่ท่านทั้งหลาย ผู้เจริญ ขอพระเถระทั้งหลายโปรดรับภัตตาหารของกระผมในวันพรุ่งนี้ ภิกษุผู้เถระ ทั้งหลายรับอาราธนาโดยดุษณีภาพ ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีทราบการรับอาราธนา ของภิกษุผู้เถระทั้งหลายแล้ว ลุกจากอาสนะ ไหว้กระทำประทักษิณแล้วจากไป ฯ [๕๔๗] ครั้งนั้นแล พอล่วงราตรีนั้นไปเป็นเวลาเช้า ภิกษุผู้เถระทั้งหลาย นุ่งแล้วถือบาตรและจีวรพากันเข้าไปยังนิเวสน์ของจิตตคฤหบดีแล้วนั่งบนอาสนะที่ ตบแต่งไว้ถวาย ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีเข้าไปหาภิกษุผู้เถระทั้งหลาย ไหว้แล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามพระเถระผู้เป็นประธานว่า ข้าแต่ พระเถระผู้เจริญ ทิฐิหลายอย่างย่อมเกิดขึ้นในโลกดังนี้ว่า โลกเที่ยงบ้าง โลกไม่เที่ยง บ้าง โลกมีที่สุดบ้าง โลกไม่มีที่สุดบ้าง ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้นบ้าง ชีพเป็น อื่น สรีระก็เป็นอื่นบ้าง สัตว์ตายแล้วย่อมเป็นอีกบ้าง สัตว์ตายแล้วย่อมไม่เป็น อีกบ้าง สัตว์ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มีบ้าง สัตว์ตายแล้วย่อม เป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้บ้าง (ก็ทิฐิ ๖๒ อย่างเหล่านี้ ได้กล่าว ไว้ในพรหมชาลสูตร) ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เมื่ออะไรมี ทิฐิเหล่านี้จึงมี เมื่ออะไร ไม่มี ทิฐิเหล่านี้จึงไม่มี ฯ [๕๔๘] เมื่อจิตตคฤหบดีได้ถามอย่างนี้แล้ว พระเถระผู้เป็นประธานได้ นิ่งอยู่ แม้ครั้งที่ ๒ ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ จิตตคฤหบดีได้ถามพระเถระผู้เป็นประธาน ว่า ข้าแต่พระเถระผู้เจริญ ทิฐิหลายอย่างย่อมเกิดขึ้นในโลกดังนี้ว่า โลกเที่ยงบ้าง โลกไม่เที่ยงบ้าง โลกมีที่สุดบ้าง โลกไม่มีที่สุดบ้าง ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้นบ้าง ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่นบ้าง สัตว์ตายแล้วย่อมเป็นอีกบ้าง สัตว์ตายแล้วย่อม ไม่เป็นอีกบ้าง สัตว์ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มีบ้าง สัตว์ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้บ้าง แม้ครั้งที่ ๓ พระเถระผู้เป็น ประธานก็ได้นิ่งอยู่ ฯ [๕๔๙] ก็สมัยนั้นแล ท่านพระอิสิทัตตะเป็นผู้ใหม่กว่าทุกองค์ในภิกษุ สงฆ์หมู่นั้น ครั้งนั้นแล ท่านพระอิสิทัตตะได้ขอโอกาสกะพระเถระผู้เป็นประธานว่า ข้าแต่พระเถระผู้เจริญ กระผมขอพยากรณ์ปัญหาข้อนั้นของจิตตคฤหบดี พระเถระ กล่าวว่า ดูกรท่านอิสิทัตตะ ท่านจงพยากรณ์ปัญหาข้อนั้นของจิตตคฤหบดีเถิด ท่านอิสิทัตตะได้ถามว่า ดูกรคฤหบดี ก็ท่านถามอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระเถระผู้เจริญ ทิฐิหลายอย่างย่อมเกิดขึ้นในโลกดังนี้ว่า โลกเที่ยงบ้าง โลกไม่เที่ยงบ้าง โลกมี ที่สุดบ้าง โลกไม่มีที่สุดบ้าง ฯลฯ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เมื่ออะไรมี ทิฐิเหล่านี้จึงมี เมื่ออะไรไม่มี ทิฐิเหล่านี้จึงไม่มี ดังนี้หรือ จิตตคฤหบดีกล่าวว่า อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ ฯ อิ. ดูกรคฤหบดี ทิฐิหลายอย่างย่อมเกิดขึ้นในโลกดังนี้ว่า โลกเที่ยงบ้าง โลกไม่เที่ยงบ้าง... สัตว์ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้บ้าง (ทิฐิ ๖๒ เหล่านี้ ได้กล่าวไว้แล้วในพรหมชาลสูตร) ดูกรคฤหบดี เมื่อสักกายทิฐิ มี ทิฐิเหล่านี้ก็มี เมื่อสักกายทิฐิไม่มี ทิฐิเหล่านี้ก็ไม่มี ฯ [๕๕๐] จิตต. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็สักกายทิฐิย่อมเกิดมีได้อย่างไร ฯ อิ. ดูกรคฤหบดี ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ ไม่เห็นพระอริยเจ้า ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้ เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตน ๑ เห็นตนมีรูป ๑ เห็นรูปในตน ๑ เห็นตนในรูป ๑ เห็นเวทนาโดยความเป็นตน ๑ เห็นตนมีเวทนา ๑ เห็นเวทนาในตน ๑ เห็นตน ในเวทนา ๑ เห็นสัญญาโดยความเป็นตน ๑ เห็นตนมีสัญญา ๑ เห็นสัญญาใน ตน ๑ เห็นตนในสัญญา ๑ เห็นสังขารโดยความเป็นตน ๑ เห็นตนมีสังขาร ๑ เห็นสังขารในตน ๑ เห็นตนในสังขาร ๑ เห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ๑ เห็น ตนมีวิญญาณ ๑ เห็นวิญญาณในตน ๑ เห็นตนในวิญญาณ ๑ ดูกรคฤหบดี สักกายทิฐิย่อมเกิดมีได้อย่างนี้แล ฯ [๕๕๑] จิตต. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็สักกายทิฐิย่อมไม่เกิดมีได้อย่างไร ฯ อิ. ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ ผู้ได้สดับแล้ว ได้เห็น พระอริยเจ้า ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ได้รับแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมไม่เห็นรูปโดยความเป็นตน ๑ ไม่เห็นตนมีรูป ๑ ไม่เห็นรูปในตน ๑ ไม่ เห็นตนในรูป ๑ ไม่เห็นเวทนาโดยความเป็นตน ๑ ไม่เห็นตนมีเวทนา ๑ ไม่เห็น เวทนาในตน ๑ ไม่เห็นตนในเวทนา ๑ ไม่เห็นสัญญาโดยความเป็นตน ๑ ไม่ เห็นตนมีสัญญา ๑ ไม่เห็นสัญญาในตน ๑ ไม่เห็นตนในสัญญา ๑ ไม่เห็นสังขาร โดยความเป็นตน ๑ ไม่เห็นตนมีสังขาร ๑ ไม่เห็นสังขารในตน ๑ ไม่เห็นตน ในสังขาร ๑ ไม่เห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ๑ ไม่เห็นตนมีวิญญาณ ๑ ไม่เห็น วิญญาณในตน ๑ ไม่เห็นตนในวิญญาณ ๑ ดูกรคฤหบดี สักกายทิฐิย่อมไม่เกิด มีได้อย่างนี้แล ฯ จิตต. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระคุณเจ้าอิสิทัตตะมาจากไหน ฯ อิ. ดูกรคฤหบดี อาตมภาพมาจากอวันตีชนบท ฯ จิตต. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กุลบุตรมีนามว่าอิสิทัตตะในอวันตีชนบท เป็น สหายที่ไม่เคยเห็นกันของข้าพเจ้า ได้ออกบรรพชามีอยู่ พระคุณเจ้าได้เห็นท่าน หรือไม่ ฯ อิ. ได้เห็น คฤหบดี ฯ จิตต. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เดี๋ยวนี้ ท่านผู้มีอายุรูปนั้นอยู่ที่ไหนหนอ ฯ [๕๕๒] เมื่อจิตตคฤหบดีได้ถามอย่างนี้ ท่านอิสิทัตตะได้นิ่งอยู่ ฯ จิตต. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านอิสิทัตตะของข้าพเจ้า คือพระคุณเจ้าหรือ ฯ อิ. ใช่ละ คฤหบดี ฯ จิตต. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอให้พระคุณเจ้าอิสิทัตตะจงชอบใจอัมพาฏก วันอันเป็นที่น่ารื่นรมย์ใกล้ราวป่ามัจฉิกาสณฑ์เถิด ข้าพเจ้าจักบำรุงด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานเภสัชบริขาร อิ. ดูกรคฤหบดี ท่านกล่าวดีแล้ว ฯ [๕๕๓] ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของท่านพระอิสิ- *ทัตตะแล้ว ได้อังคาสภิกษุผู้เถระทั้งหลายให้อิ่มหนำสำราญ ด้วยขาทนียะ- *โภชนียาหารอันประณีต ด้วยมือของตน ครั้งนั้นแล ภิกษุผู้เถระทั้งหลายฉัน เสร็จแล้ว ลดมือจากบาตร ลุกขึ้นจากอาสนะกลับไป ลำดับนั้นแล พระเถระ ผู้เป็นประธานได้ให้โอกาสท่านพระอิสิทัตตะว่า ดีแล้ว ท่านอิสิทัตตะ ปัญหา ข้อนั้นแจ่มแจ้งแก่ท่าน มิได้แจ่มแจ้งแก่ผม ต่อไป ถ้าปัญหาเช่นนี้พึงมีมาแม้ โดยประการอื่นในกาลใด ท่านนั่นแหละพึงกล่าวตอบปัญหาเช่นนั้นในกาลนั้น ครั้งนั้นแล ท่านอิสิทัตตะได้เก็บเสนาสนะ ถือเอาบาตรและจีวร เดินทางออกจาก ราวป่าชื่อมัจฉิกาสณฑ์ไม่ได้กลับมาอีก เหมือนกับภิกษุรูปอื่นที่ได้ออกเดินทาง จากไป ฯ จบสูตรที่ ๓ มหกสูตร [๕๕๔] สมัยหนึ่ง ภิกษุผู้เถระมากรูปอยู่ที่อัมพาฏกวัน ใกล้ราวป่า มัจฉิกาสณฑ์ ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีได้เข้าไปหาภิกษุผู้เถระทั้งหลาย ไหว้แล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้อาราธนาว่า ข้าแต่ท่านทั้งหลายผู้เจริญ ขอพระเถระทั้งหลายจงรับภัตตาหารที่โรงโคของข้าพเจ้าในวันพรุ่งนี้ ภิกษุผู้เถระ ทั้งหลายได้รับอาราธนาโดยดุษณีภาพ ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีทราบการรับอาราธนา ของภิกษุผู้เถระทั้งหลายแล้ว ลุกจากที่นั่งไหว้ทำประทักษิณแล้วจากไป ฯ [๕๕๕] ครั้งนั้นแล พอล่วงราตรีนั้นไป เป็นเวลาเช้า ภิกษุผู้เถระ ทั้งหลายนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังโรงโคของจิตตคฤหบดี ได้นั่ง ณ อาสนะที่ได้ตบแต่งไว้ ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดี ได้อังคาสภิกษุผู้เถระทั้งหลาย ให้อิ่มหนำสำราญเพียงพอ ด้วยข้าวปายาสเจือด้วยเนยใสอย่างประณีต ด้วยมือ ของตนเอง ครั้งนั้นแล ภิกษุผู้เถระทั้งหลายฉันเสร็จแล้ว ลดมือจากบาตร ลุก จากอาสนะแล้วจากไป แม้จิตตคฤหบดีได้สั่งทาสกรรมกรว่า พวกท่านจงทิ้งส่วน ที่เหลือเสีย แล้วจึงได้ตามไปส่งภิกษุผู้เถระทั้งหลายข้างหลังๆ ก็โดยสมัยนั้นแล ได้เกิดร้อนจัด ภิกษุผู้เถระทั้งหลายได้เดินไปด้วยกายที่คล้ายกับจะหดเข้าฉะนั้น (จะเปื่อย) ทั้งที่ได้ฉันโภชนะอิ่มแล้ว ฯ [๕๕๖] ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระมหกะเป็นผู้อ่อนกว่าทุกองค์ในภิกษุ สงฆ์หมู่นั้น ครั้งนั้นแล ท่านพระมหกะได้พูดกะพระเถระผู้เป็นประธานว่า ข้าแต่ ท่านผู้เจริญ เป็นการดีทีเดียวที่พึงมีลมเย็นพัดมา และพึงมีแดดอ่อน ทั้งฝนพึง โปรยลงมาทีละเม็ดๆ พระเถระกล่าวว่า ท่านมหกะ เป็นการดีทีเดียวที่พึงมี ลมเย็นพัดมา และพึงมีแดดอ่อน ทั้งฝนพึงโปรยลงมาทีละเม็ดๆ ครั้งนั้นแล ท่านพระมหกะได้บันดาลอิทธาภิสังขารให้มีลมเย็นพัดมา และมีแดดอ่อน ทั้งให้ มีฝนโปรยลงมาทีละเม็ดๆ ฯ [๕๕๗] ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีได้คิดว่า ภิกษุผู้อ่อนกว่าทุกองค์ใน ภิกษุสงฆ์หมู่นี้ เป็นผู้มีฤทธานุภาพเห็นปานนี้ทีเดียว ครั้งนั้นแล ท่านพระมหกะ ไปถึงอารามแล้ว ได้ถามพระเถระผู้เป็นประธานว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ การบันดาล อิทธาภิสังขารเท่านี้เป็นการเพียงพอหรือ พระเถระผู้เป็นประธานได้กล่าวว่า ท่าน มหกะ การบันดาลอิทธาภิสังขารเท่านี้เป็นการเพียงพอ ท่านมหกะ การบันดาล อิทธาภิสังขารเพียงเท่านี้เป็นอันเราทำแล้ว เป็นอันเราบูชาแล้ว ครั้นนั้นแล ภิกษุ ผู้เถระทั้งหลายได้ไปตามที่อยู่ แม้ท่านมหกะก็ได้ไปยังที่อยู่ของตน ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีเข้าไปหาท่านพระมหกะถึงที่อยู่ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ขอร้องว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอพระคุณเจ้ามหกะจงแสดงอิทธิ ปาฏิหารย์ที่เป็นอุตริมนุสธรรมแก่ข้าพเจ้าเถิด ท่านพระมหกะพูดว่า ดูกรคฤหบดี ถ้าเช่นนั้น ท่านจงปูผ้าห่มที่ระเบียง แล้วจงเอาฟ่อนหญ้ามาโปรยลงที่ผ้านั้น จิตตคฤหบดีได้รับคำท่านพระมหกะแล้วจึงปูผ้าห่มที่ระเบียง แล้วเอาฟ่อนหญ้ามา โปรยลงที่ผ้านั้น ครั้งนั้นแล ท่านพระมหกะได้เข้าไปสู่วิหารใส่ลูกดานแล้ว ได้บันดาลอิทธาภิสังขารให้เปลวไฟแลบออกมาโดยช่องลูกดานและระหว่างลูกดาน ไหม้หญ้า ไม่ไหม้ผ้าห่ม ครั้งนั้น จิตตคฤหบดีได้สลัดผ้าห่มแล้ว สลดใจ (ตกใจ) ขนลุกชัน ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ลำดับนั้นแล ท่านพระมหกะได้ ออกจากวิหาร (ห้องใน) ได้ถามจิตตคฤหบดีว่า ดูกรคฤหบดี การบันดาลอิทธาภิ สังขารเท่านี้ เป็นการเพียงพอหรือ จิตตคฤหบดีได้กล่าวว่า ท่านมหกะผู้เจริญ การบันดาลอิทธาภิสังขารเท่านี้เป็นการเพียงพอ ท่านมหกะผู้เจริญ การบันดาล อิทธาภิสังขารเพียงเท่านี้ เป็นอันท่านกระทำแล้ว เป็นอันท่านบูชาแล้ว ขอ พระคุณเจ้ามหกะจงชอบใจอัมพาฏกวนารามที่น่ารื่นรมย์ใกล้ราวป่ามัจฉิกาสณฑ์เถิด ข้าพเจ้าจักบำรุงด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานเภสัชบริขาร ท่าน พระมหกะได้กล่าวว่า ดูกรคฤหบดี นั่นท่านกล่าวดีแล้ว ครั้งนั้นแล ท่านพระมหกะ ได้เก็บเสนาสนะ ถือบาตรและจีวรเดินทางออกจากราวป่าชื่อมัจฉิกาสณฑ์ ไม่ได้ กลับมาอีก เหมือนกับภิกษุรูปอื่นๆ ที่เดินทางจากไป ฉะนั้น ฯ จบสูตรที่ ๔ กามภูสูตรที่ ๑ [๕๕๘] สมัยหนึ่ง ท่านพระกามภูอยู่ที่อัมพาฏกวัน ใกล้ราวป่า มัจฉิกาสณฑ์ ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีได้เข้าไปหาท่านพระกามภูถึงที่อยู่ ไหว้ แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วท่านพระกามภูได้กล่าวกะจิตตคฤหบดีว่า ดูกรคฤหบดี พระผู้มีพระภาคได้ตรัสประพันธ์คาถาไว้ดังนี้ว่า เธอจงดูรถอันไม่มีโทษ มีหลังคาขาว มีเพลาเดียว ไม่มีทุกข์ แล่นไปถึงที่หมาย ตัดกระแสตัณหาขาด ไม่มีกิเลสเครื่อง ผูกพัน ฯ [๕๕๙] ดูกรคฤหบดี ท่านพึงเห็นเนื้อความแห่งคาถาประพันธ์นี้ ที่ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยย่อโดยพิสดารอย่างไรหนอ ฯ จิ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ คาถาประพันธ์นี้ พระผู้มีพระภาคตรัสหรือ ฯ กา. อย่างนั้น คฤหบดี ฯ จิ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ถ้าเช่นนั้น ขอท่านโปรดรอคอยอยู่ครู่หนึ่ง จนกว่า กระผมจักเพ่งเนื้อความแห่งคาถาประพันธ์นั้นได้ ฯ ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีนิ่งอยู่ครู่หนึ่ง จึงได้ตอบท่านกามภูว่าข้าแต่ท่าน ผู้เจริญ คำว่า ไม่มีโทษนั้น เป็นชื่อของศีล คำว่า มีหลังคาขาวนั้น เป็น ชื่อของวิมุตติ คำว่า มีเพลาเดียวนั้น เป็นชื่อของสติ คำว่า ย่อมแล่นไป นั้น เป็นชื่อของการก้าวไปและการถอยกลับ คำว่า รถนั้น เป็นชื่อของร่างกายนี้ ซึ่งประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ มีมารดาบิดาเป็นแดนเกิด เจริญขึ้นด้วยข้าวสุกและ ขนมสด มีความไม่เที่ยง ต้องลูบไล้ นวดเฟ้น มีการแตกทำลายและกระจัด กระจายเป็นธรรมดา ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ราคะ โทสะ โมหะ ชื่อว่าทุกข์ ทุกข์ เหล่านั้นอันภิกษุผู้ขีณาสพละได้แล้ว ตัดมูลรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาล ยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา เพราะเหตุนั้น ภิกษุ ผู้ขีณาสพพระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ไม่มีทุกข์ คำว่า แล่นไปถึงที่หมาย นั้น เป็นชื่อของพระอรหันต์ คำว่า กระแสนั้น เป็นชื่อของตัณหา ตัณหานั้น อัน ภิกษุผู้ขีณาสพละได้แล้ว ตัดมูลรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา เพราะเหตุนั้น ภิกษุผู้ขีณาสพ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ตัดกระแสตัณหาขาด ราคะ โทสะ โมหะ ชื่อว่ากิเลส เครื่องผูกพัน กิเลสเครื่องผูกพันเหล่านั้น อันภิกษุผู้ขีณาสพละได้แล้ว ตัดมูล รากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไป เป็นธรรมดา เพราะเหตุนั้น ภิกษุผู้ขีณาสพพระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า ผู้ไม่มีกิเลส เครื่องผูกพัน ข้าแต่ท่านผู้เจริญ คาถาประพันธ์ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า เธอจงดูรถอันไม่มีโทษ มีหลังคาขาว มีเพลาเดียว ไม่มี ทุกข์ แล่นไปถึงที่หมาย ตัดกระแสตัณหาขาด ไม่มีกิเลส เครื่องผูกพัน ดังนี้ กระผมย่อมรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งคาถาประพันธ์นี้ ที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ โดยย่อได้โดยพิสดารอย่างนี้ ฯ กา. ดูกรคฤหบดี การที่ปัญญาจักษุของท่านหยั่งทราบในพระพุทธพจน์ ที่ลึกซึ้งนี้ ชื่อว่าเป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว ฯ จบสูตรที่ ๕ กามภูสูตรที่ ๒ [๕๖๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระกามภูอยู่ที่อัมพาฏกวัน ใกล้ราวป่ามัจฉิกาสณฑ์ ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีได้เข้าไปหาท่านพระกามภูถึงที่อยู่ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระกามภูว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ สังขารมี เท่าไรหนอแล ท่านพระกามภูตอบว่า ดูกรคฤหบดี สังขารมี ๓ คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร [๕๖๑] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของท่านพระกามภู แล้วได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่าน ผู้เจริญ ก็กายสังขารเป็นไฉน วจีสังขารเป็นไฉน จิตตสังขารเป็นไฉน ฯ กา. ดูกรคฤหบดี ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกแลชื่อว่ากายสังขาร วิตกวิจารชื่อว่าวจีสังขาร สัญญาและเวทนาชื่อว่าจิตตสังขาร ฯ [๕๖๒] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้ถามปัญหา ยิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็เพราะเหตุไร ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก จึงชื่อว่ากายสังขาร วิตกวิจารจึงชื่อว่าวจีสังขาร สัญญาและเวทนาจึงชื่อว่าจิตต- *สังขาร ฯ กา. ดูกรคฤหบดี ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกเป็นของเกิดที่กาย ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยกาย ฉะนั้น ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกจึงชื่อว่ากาย สังขาร บุคคลย่อมตรึกตรองก่อนแล้ว จึงเปล่งวาจาภายหลัง ฉะนั้น วิตกวิจาร จึงชื่อว่าวจีสังขาร สัญญาและเวทนาเป็นของเกิดที่จิต ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิต ฉะนั้น สัญญาและเวทนาจึงชื่อว่าจิตตสังขาร ฯ [๕๖๓] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้ถามปัญหา ยิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติเกิดมีได้อย่างไร ฯ กา. ดูกรคฤหบดี ภิกษุเมื่อจะเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ไม่ได้คิด อย่างนี้ว่า เราจักเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง เรากำลังเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธบ้าง เราเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธแล้วบ้าง โดยที่ถูกก่อนแต่จะเข้า ท่านได้อบรมจิตที่ จะน้อมไปเพื่อความเป็นจิตแท้ (จิตดั้งเดิม) ฯ [๕๖๔] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้ถามปัญหา ยิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็เมื่อภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ ธรรม เหล่าไหนดับก่อน คือ กายสังขาร วจีสังขาร หรือจิตตสังขารดับก่อน ฯ กา. ดูกรคฤหบดี เมื่อภิกษุเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ วจีสังขารดับก่อน ต่อจากนั้นกายสังขารดับ ต่อจากนั้นจิตตสังขารจึงดับ ฯ [๕๖๕] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้ถามปัญหา ยิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ คนที่ตายแล้ว ทำกาละแล้ว กับภิกษุผู้เข้า สัญญาเวทยิตนิโรธ ทั้งสองนี้มีความต่างกันอย่างไร ฯ กา. ดูกรคฤหบดี คนที่ตายแล้ว ทำกาละแล้ว มีกายสังขารดับสงบ มีวจีสังขารดับสงบ มีจิตตสังขารดับสงบ มีอายุสิ้นไป ไออุ่นสงบ อินทรีย์ แตกกระจาย ส่วนภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ กายสังขารดับสงบ วจีสังขาร ดับสงบ จิตตสังขารดับสงบ (แต่) ยังไม่สิ้นอายุ ไออุ่นยังไม่สงบ อินทรีย์ ผ่องใส ดูกรคฤหบดี คนตายแล้ว ทำกาละแล้ว กับภิกษุผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ มีความต่างกันอย่างนี้ ฯ [๕๖๖] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้วได้ ถามปัญหา ยิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็การออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ย่อมมี อย่างไร ฯ กา. ดูกรคฤหบดี ภิกษุเมื่อจะออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ไม่ได้ คิดอย่างนี้ว่า เราจักออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติบ้าง เรากำลังออกจาก สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติบ้าง เราออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติแล้วบ้าง โดยที่แท้ ก่อนแต่จะออก ท่านได้อบรมจิตที่น้อมเข้าไปเพื่อความเป็นจิตแท้ ฯ [๕๖๗] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้ถามปัญหา ยิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็เมื่อภิกษุออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ธรรมเหล่าไหนเกิดก่อน คือกายสังขาร วจีสังขาร หรือจิตตสังขารเกิดก่อน ฯ กา. ดูกรคฤหบดี เมื่อภิกษุออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ จิตตสังขาร เกิดก่อน ต่อจากนั้นกายสังขารจึงเกิด ต่อจากนั้นวจีสังขารจึงเกิด ฯ [๕๖๘] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้ถามปัญหา ยิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็ผัสสะเท่าไร ย่อมถูกต้องภิกษุผู้ออกจากสัญญา เวทยิตนิโรธสมาบัติ ฯ กา. ดูกรคฤหบดี ผัสสะ ๓ อย่าง คือ ๑ สุญญผัสสะ อนิมิตตผัสสะ อัปปณิหิตผัสสะ ย่อมถูกต้องภิกษุผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ฯ [๕๖๙] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ได้ถาม ปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็จิตของภิกษุผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธ สมาบัติ ย่อมเป็นธรรมชาติน้อมไปสู่อะไร โน้มไปสู่อะไร เงื้อมไปสู่อะไร ฯ กา. ดูกรคฤหบดี จิตของภิกษุผู้ออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ย่อมเป็นธรรมชาติน้อมไปสู่วิเวก โน้มไปสู่วิเวก เงื้อมไปสู่วิเวก ฯ [๕๗๐] จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ดังนี้แล้ว ชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของท่านพระกามภูแล้ว ได้ถามปัญหายิ่งขึ้นไปอีกว่า ข้าแต่ท่าน ผู้เจริญ ก็ธรรมเท่าไร ย่อมมีอุปการะมากแก่สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ฯ กา. ดูกรคฤหบดี ท่านถามปัญหาที่ควรจะถามก่อนล่าช้าไปหน่อย แต่ว่า อาตมาจักพยากรณ์ปัญหาแก่ท่าน ดูกรคฤหบดี ธรรม ๒ อย่าง คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑ ย่อมมีอุปการะมากแก่สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ฯ จบสูตรที่ ๖ โคทัตตสูตร [๕๗๑] สมัยหนึ่ง ท่านพระโคทัตตะอยู่ที่อัมพาฏกวัน ใกล้ราวป่ามัจฉิ กาสณฑ์ ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีได้เข้าไปหาท่านพระโคทัตตะถึงที่อยู่ ไหว้แล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วท่านพระโคทัตตะได้ถามจิตตคฤหบดีว่า ดูกร คฤหบดี ธรรมเหล่านี้ คือ อัปปมาณาเจโตวิมุติ อากิญจัญญาเจโตวิมุติ สูญญตาเจโตวิมุติ และอนิมิตตาเจโตวิมุติ มีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะต่างกัน หรือว่ามีอรรถเหมือนกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น จิตตคฤหบดีตอบว่า ข้าแต่ ท่านผู้เจริญ ปริยายที่เป็นเหตุให้ธรรมเหล่านี้อาศัยแล้ว เป็นธรรมมีอรรถต่างกัน มีพยัญชนะต่างกัน มีอยู่ และปริยายที่เป็นเหตุให้ธรรมเหล่านี้อาศัยแล้ว เป็น ธรรมมีอรรถเหมือนกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น มีอยู่ ฯ [๕๗๒] ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็ปริยายที่เป็นเหตุให้ธรรมเหล่านี้อาศัยแล้ว เป็นธรรมมีอรรถต่างกัน และมีพยัญชนะต่างกันเป็นไฉน ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ภิกษุ ในพระธรรมวินัยนี้ มีจิตประกอบด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ทิศ ที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน โดยนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจอันประกอบด้วยเมตตาอัน ไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ มีใจประกอบด้วยกรุณา...ประกอบด้วยมุทิตา...ประกอบด้วยอุเบกขาแผ่ไปตลอดทิศ หนึ่งอยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน โดยนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจ อันประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ นี้เรียกว่า อัปปมาณาเจโตวิมุติ ฯ [๕๗๓] ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็อากิญจัญญาเจโตวิมุติเป็นไฉน ข้าแต่ท่าน ผู้เจริญ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง แล้ว เข้าอากิญจัญญายตนฌานด้วยมนสิการว่า อะไรๆ หน่อยหนึ่งไม่มีดังนี้อยู่ นี้เรียกว่า อากิญจัญญาเจโตวิมุติ ฯ [๕๗๔] ข้าแต่ท่านผู้เจริญก็สูญญตาเจโตวิมุติเป็นไฉน ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ตาม อยู่โคนต้นไม้ก็ตาม อยู่ในเรือนว่างเปล่า ก็ตาม ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า นี้ว่างเปล่าจากตนหรือจากสิ่งที่เนื่องในตน นี้ เรียกว่า สูญญตาเจโตวิมุติ ฯ [๕๗๕] ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็อนิมิตตาเจโตวิมุติเป็นไฉน ข้าแต่ท่าน ผู้เจริญ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเข้าถึงอนิมิตตาเจโตสมาธิเพราะไม่มนสิการถึง นิมิตทั้งปวงอยู่ นี้เรียกว่าอนิมิตตาเจโตวิมุติ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ นี้คือปริยายที่เป็น เหตุให้ธรรมเหล่านี้อาศัยแล้ว มีอรรถต่างกันและมีพยัญชนะต่างกัน ฯ [๕๗๖] ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็ปริยายที่เป็นเหตุให้ธรรมเหล่านี้อาศัยแล้ว มีอรรถเป็นอันเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้นเป็นไฉน ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ราคะ โทสะ โมหะ ชื่อว่ากิเลสกระทำประมาณ กิเลสเหล่านั้นอันภิกษุผู้ขีณาสพ ละได้ แล้ว ตัดมูลรากขาดแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้น อีกต่อไปเป็นธรรมดา อัปปมาณาเจโตวิมุติอันไม่กำเริบมีประมาณเท่าใด เจโตวิมุติ บัณฑิตกล่าวว่าเป็นเลิศกว่าอัปปมาณาเจโตวิมุติเหล่านั้น ก็เจโตวิมุติอันไม่กำเริบ นั้นว่างเปล่าจากราคะ โทสะ โมหะ ราคะ โทสะ โมหะ ชื่อว่าเป็นกิเลสเครื่อง กังวล กิเลสเหล่านั้นอันภิกษุผู้ขีณาสพ ละได้แล้ว ตัดมูลรากขาดแล้ว ทำให้เป็น เหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา อากิญจัญญา- *เจโตวิมุติอันไม่กำเริบมีประมาณเท่าใด เจโตวิมุติบัณฑิตกล่าวว่า เป็นเลิศกว่า อากิญจัญญาเจโตวิมุติเหล่านั้น ก็เจโตวิมุติอันไม่กำเริบนั้นว่างเปล่าจากราคะ โทสะ โมหะ ราคะ โทสะ โมหะ ชื่อว่าเป็นกิเลสเครื่องกระทำนิมิต (เครื่อง หมาย) กิเลสเหล่านั้นอันภิกษุผู้ขีณาสพ ละได้แล้ว ตัดมูลรากขาดแล้ว ทำให้เป็น เหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา อนิมิตตาเจโต วิมุติอันไม่กำเริบมีประมาณเท่าใด เจโตวิมุติบัณฑิตกล่าวว่า เป็นเลิศกว่าอนิมิตตา เจโตวิมุติเหล่านั้น ก็เจโตวิมุติอันไม่กำเริบนั้นว่างเปล่าจากราคะ โทสะ โมหะ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ปริยายนี้เป็นเหตุให้ธรรมเหล่านี้อาศัยแล้ว มีอรรถเป็นอันเดียว กัน ต่างกันแต่พยัญชนะเท่านั้น ท่านพระโคทัตตะกล่าวว่า ดูกรคฤหบดี การที่ ปัญญาจักษุของท่านหยั่งทราบในพระพุทธพจน์ที่ลึกซึ้ง ชื่อว่าเป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว ฯ จบสูตรที่ ๗ นิคัณฐสูตร [๕๗๗] ก็สมัยนั้นแล นิครณฐ์นาฏบุตรได้ไปถึงราวป่าชื่อว่ามัจฉิกาสณฑ์ พร้อมด้วยนิครณฐ์บริษัทเป็นอันมาก จิตตคฤหบดีได้สดับข่าวว่า นิครณฐ์นาฏบุตร ได้มาถึงราวป่าชื่อว่ามัจฉิกาสณฑ์พร้อมด้วยนิครณฐ์บริษัทเป็นอันมาก ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีพร้อมด้วยอุบาสกหลายคนเข้าไปหานิครณฐ์นาฏบุตรแล้ว ได้ปราศรัย กับนิครณฐ์นาฏบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงได้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วนิครณฐ์นาฏบุตรได้ถามจิตตคฤหบดีว่า ดูกรคฤหบดี ท่านย่อมเชื่อต่อพระสมณโคดมว่า สมาธิที่ไม่มีวิตกวิจารมีอยู่ ความดับวิตกวิจารมี อยู่หรือ จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าไม่ได้เชื่อต่อพระผู้มีพระภาค ในข้อนี้ว่า สมาธิอันไม่มีวิตกวิจารมีอยู่ ความดับแห่งวิตกวิจารมีอยู่ ฯ [๕๗๘] เมื่อจิตตคฤหบดีกล่าวอย่างนี้แล้ว นิครณฐ์นาฏบุตรแลดูบริษัท ของตนแล้วจึงประกาศว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลายจงดูเรื่องนี้ จิตตคฤหบดีนี้เป็นคนตรง ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยาจริงเพียงใด จิตตคฤหบดีผู้เข้าใจว่า พึงมีการดับวิตกวิจาร นั้น ก็เท่ากับว่าเข้าใจว่า พึงกั้นกางลมได้ด้วยข่าย หรือจิตตคฤหบดีผู้เข้าใจว่า พึงมีการดับวิตกวิจารนั้น ก็เท่ากับว่าเข้าใจว่า พึงกั้นกางกระแสน้ำคงคาได้ด้วย ฝ่ามือของตน จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ท่านย่อมเข้าใจเป็นไฉน คือ ญาณกับศรัทธาอะไรประณีตกว่ากัน ฯ นิครณฐ์. ดูกรคฤหบดี ญาณนั่นแหละประณีตกว่าศรัทธา ฯ จิตต. ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าย่อมจำนงหวังได้ทีเดียวว่า เราสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌานอันมีวิตกวิจารมีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ ข้าพเจ้าย่อมจำนงหวังได้ทีเดียวว่า เราเข้าทุติยฌาน ฯลฯ เพราะวิตกวิจารสงบไป ข้าพเจ้าย่อมจำนงหวังได้ทีเดียวว่า เพราะปีติสิ้นไป ฯลฯ เข้าตติยฌาน ข้าพเจ้าย่อม จำนงหวังได้ทีเดียวว่า เราเข้าจตุตถฌาณ ฯลฯ เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้ารู้เห็นอยู่อย่างนี้ จักไม่เชื่อสมณะหรือ พราหมณ์ใดๆ ว่าสมาธิอันไม่มีวิตกวิจารมีอยู่ ความดับแห่งวิตกวิจารมีอยู่ ฯ [๕๗๙] เมื่อจิตตคฤหบดีกล่าวอย่างนี้แล้ว นิครณฐ์นาฏบุตรได้แลดู บริษัทของตนแล้วจึงประกาศว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลายจงดูเรื่องนี้ จิตตคฤหบดีนี้ เป็นคนไม่ตรง โอ้อวด มีมารยาจริงเพียงใด จิตตคฤหบดีกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ก็ข้าพเจ้าทราบคำที่ท่านพูดเมื่อสักครู่นี้แหละว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลายจงดูเรื่องนี้ จิตตคฤหบดีนี้เป็นคนตรง ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยาจริงเพียงใด และทราบคำที่ท่าน พูดเดี๋ยวนี้ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลายจงดูเรื่องนี้ จิตตคฤหบดีนี้เป็นคนไม่ตรง โอ้อวด มีมารยาจริงเพียงใด ถ้าคำพูดครั้งก่อนของท่านเป็นจริง คำพูดครั้งหลังของท่าน ก็ผิด ถ้าคำพูดครั้งหลังของท่านเป็นจริง คำพูดครั้งก่อนของท่านก็ผิด ก็ปัญหาที่มี เหตุผล ๑๐ ข้อนี้ย่อมมาถึงแก่ท่าน เมื่อท่านเข้าใจเนื้อความแห่งปัญหาเหล่านั้น ก็เชิญบอกกับนิครณฐ์บริษัท ปัญหา ๑๐ ข้อนี้ คือ ปัญหา ๑ อุเทศ ๑ ไวยากรณ์ ๑ ปัญหา ๒ อุเทศ ๒ ไวยากรณ์ ๒ ปัญหา ๓ อุเทศ ๓ ไวยากรณ์ ๓ ปัญหา ๔ อุเทศ ๔ ไวยากรณ์ ๔ ปัญหา ๕ อุเทศ ๕ ไวยากรณ์ ๕ ปัญหา ๖ อุเทศ ๖ ไวยากรณ์ ๖ ปัญหา ๗ อุเทศ ๗ ไวยากรณ์ ๗ ปัญหา ๘ อุเทศ ๘ ไวยากรณ์ ๘ ปัญหา ๙ อุเทศ ๙ ไวยากรณ์ ๙ ปัญหา ๑๐ อุเทศ ๑๐ ไวยากรณ์ ๑๐ ครั้น- *จิตตคฤหบดีได้ถามปัญหาที่มีเหตุผล ๑๐ ข้อนี้กะนิครณ์นาฏบุตรเสร็จแล้ว ลุกจาก- *อาสนะหลีกไป ฯ จบสูตรที่ ๘ อเจลสูตร [๕๘๐] ก็สมัยนั้นแล อเจลกัสสปได้เคยเป็นสหายของจิตตคฤหบดี เมื่อครั้งยังเป็นคฤหัสถ์ ได้ไปถึงราวป่ามัจฉิกาสณฑ์ จิตตคฤหบดีได้สดับข่าวว่า อเจลกัสสปผู้เคยเป็นสหายของเราเมื่อครั้งยังเป็นคฤหัสถ์ ได้มาถึงราวป่าชื่อมัจฉิ- *กาสณฑ์ ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีได้เข้าไปหาอเจลกัสสปแล้ว ได้ปราศรัยกับ อเจลกัสสป ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามอเจลกัสสปว่า ท่านกัสสปผู้เจริญ ท่านบวชมานาน เท่าไร อเจลกัสสปตอบว่า ดูกรคฤหบดี เราบวชมาได้ประมาณ ๓๐ ปี ฯ จิตต. ท่านผู้เจริญ ก็ตลอดเวลา ๓๐ ปีมานี้ อุตตริมนุสสธรรมอะไรๆ ที่เป็นญาณทัสสนะวิเศษชั้นเยี่ยมอย่างบริบูรณ์ อันท่านบรรลุแล้ว เป็นธรรมเครื่อง อยู่ผาสุก มีอยู่หรือ ฯ อ. ดูกรคฤหบดี ตลอดเวลา ๓๐ ปีมานี้ อุตตริมนุสสธรรมอะไรๆ ที่ เป็นญาณทัสสนะวิเศษชั้นเยี่ยมอย่างบริบูรณ์ อันเราบรรลุแล้ว เป็นธรรมเครื่อง อยู่ผาสุก ไม่มี นอกจากการประพฤติเปลือย การเป็นคนโล้น และการสลัด ฝุ่น ฯ [๕๘๑] เมื่ออเจลกัสสปกล่าวอย่างนี้ จิตตคฤหบดีได้กล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ความเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยมีมาแล้วหนอ เพราะในอเจลบรรพชาตลอดเวลา ๓๐ ปี อุตตริมนุสธรรมอะไรๆ ที่เป็นญาณ- *ทัสสนะวิเศษชั้นเยี่ยมอย่างบริบูรณ์ เป็นธรรมอันท่านบรรลุแล้ว เป็นธรรมเครื่อง อยู่ผาสุก ไม่มี นอกจากการประพฤติเปลือย การเป็นคนโล้น และการสลัด ฝุ่น ฯ อ. ดูกรคฤหบดี ก็ท่านได้เข้าถึงความเป็นอุบาสกมาแล้วนานเท่าไร ฯ จิตต. ท่านผู้เจริญ สำหรับข้าพเจ้าได้เข้าถึงความเป็นอุบาสกมาแล้ว ๓๐ ปี ฯ อ. ดูกรคฤหบดี ก็ตลอดเวลา ๓๐ ปีมานี้ อุตตริมนุสสธรรมอะไรๆ ที่เป็นญาณทัสสนะวิเศษชั้นเยี่ยมอย่างบริบูรณ์ อันท่านบรรลุแล้ว เป็นธรรม เครื่องอยู่ผาสุก มีอยู่หรือ ฯ จิตต. ท่านผู้เจริญ แม้คฤหัสถ์ก็พึงมีธรรมเช่นนั้นได้ เพราะข้าพเจ้า ย่อมจำนงหวังได้ทีเดียวว่า เราสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ ข้าพเจ้าย่อมจำนงหวังได้ทีเดียวว่า เราเข้าทุติยฌาน ... ข้าพเจ้าย่อมจำนงหวังได้ทีเดียวว่า มีอุเบกขา มีสติสัมป- *ชัญญะ และเสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป เข้าตติยฌาน ... ข้าพเจ้าย่อม จำนงหวังได้ทีเดียวว่า เราเข้าจตุตถฌาน ... ก็แหละข้าพเจ้าพึงพยากรณ์ก่อนพระ ผู้มีพระภาคไซร้ ก็จะไม่เป็นการน่าอัศจรรย์ สำหรับข้อที่พระผู้มีพระภาคจะพึง ทรงพยากรณ์ ข้าพเจ้าว่า ไม่มีสังโยชน์ที่จิตตคฤหบดีประกอบแล้ว (มีแล้ว) จะพึงเป็นเหตุให้กลับมาสู่โลกนี้อีก ฯ [๕๘๒] เมื่อจิตตคฤหบดีกล่าวอย่างนี้ อเจลกัสสปได้กล่าวว่า ท่านผู้- *เจริญ ความเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยมีมา แล้วหนอ เพราะในพระธรรมวินัย มีคฤหัสถ์ผู้นุ่งห่มขาว จักบรรลุอุตตริมนุสส- *ธรรมที่เป็นญาณทัสสนะวิเศษชั้นเยี่ยมอย่างบริบูรณ์ เป็นเครื่องอยู่ผาสุกเช่นนั้น ดูกรคฤหบดี ข้าพเจ้าพึงได้บรรพชาอุปสมบทในพระธรรมวินัยนี้ ฯ ครั้งนั้นแล จิตตคฤหบดีได้พาเอาอเจลกัสสปเข้าไปหาภิกษุผู้เถระถึงที่อยู่ แล้วกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย อเจลกัสสปผู้นี้เคยเป็นสหายของข้าพเจ้า เมื่อครั้งยังเป็นคฤหัสถ์ ขอพระเถระทั้งหลายจงให้อเจลกัสสปผู้นี้บรรพชาอุปสม- *บทเถิด ข้าพเจ้าจักบำรุงเธอด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัช บริกขาร อเจลกัสสปได้บรรพชาอุปสมบทในพระธรรมวินัยแล้ว ท่านพระกัสสป อุปสมบทแล้วไม่นาน หลีกออกจากหมู่ อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจแน่วแน่ กระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลาย ออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึง อยู่ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้วกิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่น เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ก็แลท่านพระกัสสปได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งใน จำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย ฯ จบสูตรที่ ๙ คิลานสูตร [๕๘๓] ก็สมัยนั้นแล จิตตคฤหบดีป่วย เป็นทุกข์ มีไข้หนัก ครั้งนั้น แล อารามเทวดา วนเทวดา รุกขเทวดา (และ) เทวดาที่สิงสถิตอยู่ที่ต้นไม้ เป็นยา หญ้าและพญาไม้ มาร่วมประชุมกันแล้วกล่าวกับจิตตคฤหบดีว่า ดูกร- *คฤหบดี ท่านจงปรารถนาว่า ขอให้เราเป็นพระเจ้าจักรพรรดิราชในอนาคตเถิด เมื่อพวกเทวดากล่าวอย่างนี้แล้ว จิตตคฤหบดีจึงได้กล่าวกะเทวดาเหล่านั้นว่า แม้ การเป็นเช่นนั้นก็เป็นของไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน จำจะต้องละไป ฯ [๕๘๔] เมื่อจิตตคฤหบดีกล่าวอย่างนี้แล้ว พวกมิตรสหายญาติสาโลหิต ของจิตตคฤหบดีได้กล่าวกะจิตตคฤหบดีว่า ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุตรนาย ท่านจงตั้ง สติไว้ อย่าเพ้อไป ฯ จิตต. ฉันได้พูดอะไรออกไปบ้างหรือ ที่เป็นเหตุให้พวกท่านทั้งหลาย กล่าวกะฉันอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุตรนาย ท่านจงตั้งสติไว้ อย่าเพ้อไป ฯ มิตร. ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุตรนาย ท่านได้พูดอย่างนี้ว่า แม้การเป็นเช่นนั้น ก็เป็นของไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน จำจะต้องละไป ฯ จิตต. จริงอย่างนั้น อารามเทวดา วนเทวดา รุกขเทวดา (และ) เทวดา ที่สิงสถิตอยู่ที่ต้นไม้เป็นยา หญ้าและพญาไม้ได้กล่าวกะเราอย่างนี้ว่า ดูกรคฤหบดี ท่านจงตั้งปรารถนาว่า ขอให้เราได้เป็นพระเจ้าจักรวรรดิราชในอนาคตกาล ฉันจึง ได้กล่าวกะเทวดาเหล่านั้นว่า แม้การเป็นเช่นนั้นก็เป็นของไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน จำจะ ต้องละไป ฯ มิตร. ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุตรนาย ก็อารามเทวดา วนเทวดา รุกขเทวดา (และ) เทวดาที่สิงสถิตอยู่ที่ต้นไม้เป็นยา หญ้าและพญาไม้เหล่านั้น เห็น อำนาจประโยชน์อะไร จึงได้กล่าวว่า ดูกรคฤหบดี ท่านจงปรารถนาว่า ขอให้ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราชในอนาคตเถิด ฯ จิตต. อารามเทวดา วนเทวดา รุกขเทวดา (และ) เทวดาที่สิงสถิต อยู่ที่ต้นไม้เป็นยา หญ้าและพญาไม้เหล่านั้น มีความคิดอย่างนี้ว่า จิตตคฤหบดี ผู้นี้เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม ถ้าเธอจักปรารถนาว่า ขอให้เราได้เป็นพระเจ้า- *จักรพรรดิราชในอนาคตไซร้ การปรารถนาด้วยใจของเธอผู้มีศีลนี้จักสำเร็จได้ เพราะศีลบริสุทธิ์ ผู้ประกอบด้วยธรรมย่อมเพิ่มกำลังให้ผู้ที่ประกอบด้วยธรรม อารามเทวดา วนเทวดา รุกขเทวดา (และ) เทวดาที่สิงสถิตอยู่ที่ต้นไม้เป็นยา หญ้าและพญาไม้เหล่านั้น เห็นอำนาจประโยชน์ดังกล่าวมานี้ จึงได้กล่าวว่า ดูกรคฤหบดี ท่านจงปรารถนาว่า ขอให้เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราชในอนาคต เถิด ฉันจึงได้กล่าวกะเทวดาเหล่านั้นว่า แม้การเป็นเช่นนั้นก็เป็นของไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน จำจะต้องละไป ฯ มิตร. ข้าแต่ท่านผู้เป็นบุตรนาย ถ้าเช่นนั้น ขอท่านจงกล่าวสอนพวก ข้าพเจ้าบ้าง ฯ [๕๘๕] จิตต. ฉะนั้น พวกท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า พวกเราจักประกอบ ด้วยศรัทธาอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาค พระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็น ศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม พวกเราจักประกอบด้วยศรัทธาอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระ- *ผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว อันผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียก ให้มาดู ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตน พวกเราจักประกอบด้วย ศรัทธาอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ ปฏิบัติดีแล้ว ปฏิบัติตรง ปฏิบัติเป็นธรรม ปฏิบัติชอบ นี่คือคู่แห่งบุรุษ ๔ ได้แก่บุรุษบุคคล ๘ นี้คือพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรกระทำอัญชลี เป็นนาบุญ ของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งไปกว่า อนึ่ง ไทยธรรมทุกชนิดในตระกูล จักเป็น ของควรแบ่งกับท่านผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม พวกท่านพึงศึกษาอย่างนี้แล ครั้งนั้น แล จิตตคฤหบดี ครั้นแนะนำมิตรสหายญาติสาโลหิตให้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ และจาคะแล้ว ได้กระทำกาละ (ตาย) ฯ จบสูตรที่ ๑๐ จบจิตตคหปติปุจฉา ฯ ------------------ รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. สังโยชนสูตร ๒. อิสิทัตตสูตรที่ ๑ ๓. อิสิทัตตสูตรที่ ๒ ๔. มหกสูตร ๕. กามภูสูตรที่ ๑ ๖. กามภูสูตรที่ ๒ ๗. โคทัตตสูตร ๘. นิคัณฐสูตร ๙. อเจลสูตร ๑๐. คิลานสูตร ฯ ---------------
******************************
ท่านผุ้อ่านโปรดคลิกที่ลิงค์นี้ครับ http://wandeedee.wordpress.com/คำแนะนำเรื่องการยังศรั/

ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่านครับ

คุณแห่งพระรัตนตรัยและการรักษาศีล

พระสูตรในวันนี้เป็นเรื่องของท่านพระมหาโมคคัลลานะ พระอัครสาวกเบื้องซ้ายผู้เป็นเลิศในทางฤทธิ์ครับ ท่านได้กล่าวกับพวกเราชาวพุทธว่า การศึกษาในพุทธธรรมนั้นไม่ใช่แต่เป็นการฟังแต่ลมปากคนพอให้เพลิดเพลินใจ แต่ผู้ศึกษาจะได้ความรู้มากมาย แม้ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้บรรลุแล้วซึ่งฌานทุกชนิด ก็ยังได้รับพระกรุณาจากองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงอนุเคราะห์จนได้ความรู้อย่างยิ่งใหญ่ เพราะเหตุนั้น ขอท่านทั้งหลายจงเร่งปรารภความเพียร ศึกษาพระธรรมกันต่อไป สำหรับผมเองนั้นยืนยันว่าจะนำเนื้อหาในพระไตรปิฎกมาถ่ายทอดให้ได้ทราบกันโดยไม่ปิดบังเลยครับ ท่านพระมหาโมคคัลลานะนั้นบรรลุความเป็นเลิศทางฤทธิ์จนสามารถไปปรากฏบนสวรรค์ชั้นต่างๆได้ ได้สนทนากับเทวดาทั้งหลายซึ่งต่างก็ศรัทธาในพระรัตนตรัยกับศีลาธิคุณ ท่านผู้อ่านทั้งหลายจะได้รับความสำเร็จอย่างไรนั้นก็ย่อมขึ้นอยู่กับความศรัทธาและบุญกุศลที่ได้สั่งสมไว้ครับ

พระสูตรในวันนี้ยกมาจากพระสุตตันตปิฎก เล่ม10 สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค โมคคัลลานสังยุตต์ ครับ

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
****************************************************** โมคคัลลานสังยุตต์ [๕๑๕] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหาโมคคัลลานะอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล ท่านพระมหา- *โมคคัลลานะเรียกภิกษุทั้งหลายแล้ว ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระมหาโมคคัลลานะ แล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้กล่าวกะภิกษุเหล่านั้นว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ขอ โอกาส เมื่อเราหลีกเร้นอยู่ในที่ลับ ความปริวิตกแห่งใจได้เกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ที่เรียก ว่า ปฐมฌานๆ ดังนี้ ปฐมฌาน เป็นไฉนหนอ เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุใน พระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌานอันมีวิตกวิจาร มีปีติ และสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ นี้เรียกว่า ปฐมฌาน เราก็สงัด จากกาม สงัดจาก อกุศลธรรม เข้าปฐมฌานอันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เมื่อเราอยู่ ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันประกอบด้วยกามย่อมฟุ้งซ่าน ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า โมคคัลลานะๆ เธอ อย่าประมาทปฐมฌาน จงดำรงจิตไว้ในปฐมฌาน จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุด ขึ้นในปฐมฌาน จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในปฐมฌาน สมัยต่อมา เราสงัดจากกาม สงัด จากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌานอันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ดูกรผู้ มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำใดว่า สาวกอันพระศาสดาทรง อนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูกพึงพูดคำนั้นกะเราว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ ฯ [๕๑๖] ที่เรียกว่า ทุติยฌานๆ ดังนี้ ทุติยฌานเป็นไฉนหนอ เรา ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าทุติยฌานอันมีความผ่องใสแห่ง จิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและ สุขเกิดแต่สมาธิอยู่ นี้เรียกว่าทุติยฌาน เราก็เข้าทุติยฌานอันมีความผ่องใสแห่ง จิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติ และสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันประกอบ ด้วยวิตกย่อมฟุ้งซ่าน ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า โมคคัลลานะๆ เธออย่าประมาททุติยฌาน จงดำรงจิตไว้ใน ทุติยฌาน จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้นในทุติยฌาน จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในทุติย- *ฌาน สมัยต่อมา เราเข้าทุติยฌานอันมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรม เอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ อยู่ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำใดว่า สาวกอันพระ- *ศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูด คำนั้นกะเราว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ ฯ [๕๑๗] ที่เรียกว่า ตติยฌานๆ ดังนี้ ตติยฌานเป็นไฉนหนอ เราได้มีความ คิดอย่างนี้ว่าภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วย นามกาย เพราะปีติสิ้นไป เข้าตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข นี้เรียกว่าตติยฌาน เราก็มีอุเบกขา มีสติ มี สัมปชัญญะ เสวยสุข ด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป เข้าตติยฌานที่พระอริยเจ้า ทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข เมื่อเราอยู่ด้วย วิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันประกอบด้วยปีติย่อมฟุ้งซ่าน ครั้งนั้นแล พระผู้มี พระภาคเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า โมคคัลลานะๆ เธออย่า ประมาท ตติยฌาน จงดำรงจิตไว้ในตติยฌาน จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ในตติยฌาน จงตั้งจิตไว้ในตติยฌาน สมัยต่อมา เรามีอุเบกขา มีสติ มีสัม- *ปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป เข้าตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูกพึงพูดคำใดว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึง ความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำนั้นกะเราว่า สาวกอัน พระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ ฯ [๕๑๘] ที่เรียกว่า จตุตถฌานๆ ดังนี้ จตุตถฌานเป็นไฉนหนอ เราได้ มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติ บริสุทธิ์อยู่ นี้เรียกว่าจตุตถฌาน เราก็เข้าจตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละ สุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันประกอบด้วยสุขย่อมฟุ้งซ่าน ครั้งนั้น แล พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า โมคคัลลานะๆ เธออย่าประมาทจตุตถฌาน จงดำรงจิตไว้ในจตุตถฌาน จงกระทำจิตให้เป็นธรรม เอกผุดขึ้นในจตุตถฌาน จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในจตุตถฌาน สมัยต่อมา เราเข้า จตุตถฌานอันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูด ให้ถูก พึงพูดคำใดว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ ยิ่งใหญ่ บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำนั้นกะเราว่า สาวกอันพระศาสดาทรง อนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ ฯ [๕๑๙] ที่เรียกว่า อากาสานัญจายตนฌานๆ ดังนี้ อากาสานัญจายตน ฌานเป็นไฉนหนอ เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้า อากาสานัญจายตนฌานด้วยคำนึงว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญาเสียได้ เพราะดับปฏิฆสัญญาเสียได้ เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนานัตตสัญญาโดยประการ ทั้งปวง นี้เรียกว่าอากาสานัญจายตนฌาน เราก็เข้าอากาสานัญจายตนฌานด้วย คำนึงว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญาเสียได้ เพราะดับปฏิฆสัญญาเสีย ได้ เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง เมื่อเราอยู่ด้วย วิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันประกอบด้วยรูป สัญญาย่อมฟุ้งซ่าน ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า โมคคัลลานะๆ เธออย่าประมาทอากาสานัญจายตนฌาน จงดำรงจิตไว้ในอากาสานัญจายตนฌาน จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้นในอากาสานัญจายตนฌาน จงตั้งจิตไว้ให้มั่นใน อากาสานัญจายตนฌาน สมัยต่อมา เราเข้าอากาสานัญจายตนฌานด้วยคำนึงว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญาเสียได้ เพราะดับปฏิฆสัญญาเสียได้ เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำใดว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำนั้นกะเราว่า สาวก อันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ ฯ [๕๒๐] ที่เรียกว่า วิญญาณัญจายตนฌานๆ ดังนี้ วิญญาณัญจายตนฌาน เป็น ไฉนหนอ เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าวิญญาณัญจายตน ฌานด้วยคำนึงว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌาน เสียได้โดยประการทั้งปวง นี้เรียกว่าวิญญาณัญจายตนฌาน เราก็เข้า วิญญาณัญจายตนฌานด้วยคำนึงว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงอากาสา นัญจายตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวง เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญา มนสิการอันประกอบด้วยอากาสานัญจายตนะย่อมฟุ้งซ่าน ครั้งนั้นแล พระผู้มี พระภาคเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า โมคคัลลานะๆ เธอ อย่าประมาทวิญญาณัญจายตนฌาน จงดำรงจิตไว้ในวิญญาณัญจายตนฌาน จง กระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้นในวิญญาณัญจายตนฌาน จงตั้งจิตไว้ให้มั่นใน วิญญาณัญจายตนฌาน สมัยต่อมา เราเข้าวิญญาณัญจายตนฌานด้วยคำนึงว่า วิญญาณ หาที่สุดมิได้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวง ดูกรผู้ มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำใดว่า สาวกอันพระศาสดาทรง อนุเคราะห์ ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำนั้นกะเราว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ ฯ [๕๒๑] ที่เรียกว่า อากิญจัญญายตนฌานๆ ดังนี้ อากิญจัญญายตนฌาน เป็นไฉนหนอเราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าอากิญจัญญายตน ฌานด้วยคำนึงว่า สิ่งอะไรหน่อยหนึ่งไม่มี เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌาน เสียได้โดยประการทั้งปวง นี้เรียกว่าอากิญจัญญายตนฌาน เราก็เข้าอากิญจัญญายตน ฌานด้วยคำนึงว่า สิ่งอะไรหน่อยหนึ่งไม่มี เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌาน เสียได้โดยประการทั้งปวง เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอัน ประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนะย่อมฟุ้งซ่าน ครั้งนั้นแล พระผู้มีภาคเสด็จเข้าไป หาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า โมคคัลลานะๆ เธออย่าประมาท อากิญจัญญายตนฌาน จงดำรงจิตไว้ในอากิญจัญญายตนฌาน จงกระทำจิตให้เป็น ธรรมเอกผุดขึ้นในอากิญจัญญายตนฌาน จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในอากิญจัญญายตนฌาน สมัยต่อมาเราเข้าอากิญจัญญายตนฌานด้วยคำนึงว่า สิ่งอะไรหน่อยหนึ่งไม่มี เพราะ ล่วงวิญญาณัญจายตนฌาณเสียได้โดยประการทั้งปวง ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคล เมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำใดว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความ เป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำนั้นกะเราว่า สาวกอันพระศาสดา ทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ ฯ [๕๒๒] ที่เรียกว่า เนวสัญญานาสัญญายตนฌานๆ ดังนี้ เนวสัญญา- *นาสัญญายตนฌานเป็นไฉนหนอ เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัย นี้เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เพราะล่วงอากิญจัญญายตนฌานเสียได้โดย ประการทั้งปวง นี้เรียกว่าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เราก็เข้าเนวสัญญา นาสัญญายตนฌาน เพราะล่วงอากิญจัญญายตนฌานเสียได้โดยประการทั้งปวง เมื่อ เราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้ สัญญามนสิการอันประกอบด้วยอากิญจัญญายตนะย่อมฟุ้ง ซ่าน ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ ตรัสว่า โมคคัลลานะๆ เธออย่าประมาทเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน จงดำรงจิตไว้ใน เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน จงกระทำจิตให้เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ในเนวสัญญานา สัญญายตนฌาน จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน สมัย ต่อมา เราเข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน เพราะล่วงอากิญจัญญายตนฌาน เสียได้โดยประการทั้งปวง ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูด คำใดว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ บุคคล เมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำนั้นกะเราว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ ฯ [๕๒๓] ที่เรียกว่า อนิมิตตเจโตสมาธิๆ ดังนี้ อนิมิตตเจโตสมาธิ เป็นไฉนหนอ เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าอนิมิตตเจโต สมาธิอยู่ เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนิมิตทั้งปวง นี้เรียกว่าอนิมิตตเจโตสมาธิ เราก็เข้าอนิมิตตเจโตสมาธิอยู่ เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนิมิตทั้งปวง เมื่อเราอยู่ ด้วยวิหารธรรมนี้ วิญญาณอันซ่านไปตามซึ่งอนิมิตย่อมมี ครั้งนั้นแล พระผู้มี- *พระภาคเสด็จเข้าไปหาเราด้วยพระฤทธิ์ แล้วได้ตรัสว่า โมคคัลลานะๆ เธออย่า ประมาทอนิมิตตเจโตสมาธิ จงดำรงจิตไว้ในอนิมิตตเจโตสมาธิ จงกระทำจิตให้ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นในอนิมิตตเจโตสมาธิ จงตั้งจิตไว้ให้มั่นในอนิมิตตเจโตสมาธิ สมัยต่อมา เราเข้าอนิมิตตเจโตสมาธิอยู่ เพราะไม่กระทำไว้ในใจซึ่งนิมิตทั้งปวง ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำใดว่า สาวกอันพระศาสดา ทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดคำนั้น กะเราว่า สาวกอันพระศาสดาทรงอนุเคราะห์แล้ว ถึงความเป็นผู้รู้ยิ่งใหญ่ ฯ [๕๒๔] ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะหายจากพระวิหารเชตวัน ไปปรากฏในดาวดึงสเทวโลก เหมือนบุรุษมีกำลังพึงเหยียดแขนที่คู้ หรือพึงคู้แขน ที่เหยียด ฉะนั้น ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพกับเทวดา ๕๐๐ องค์ เข้าไป หาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ไหว้ท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้ว ได้ ประทับอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้พูดกะ ท้าวสักกะจอมเทพว่า ดูกรจอมเทพ การถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะดีนัก เพราะ เหตุแห่งการถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตาย ไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ การถึงพระธรรมเป็นสรณะดีนัก ... การถึง พระสงฆ์เป็นสรณะดีนัก เพราะเหตุแห่งการถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ สัตว์บางพวก ในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ท้าวสักกะจอมเทพ ตรัสว่า ข้าแต่พระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะดีนัก เพราะเหตุแห่งการถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกาย ตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ การถึงพระธรรมเป็นสรณะดีนัก ... การถึง พระสงฆ์เป็นสรณะดีนัก เพราะเหตุแห่งการถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ สัตว์บางพวก ในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ [๕๒๕] ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพกับเทวดา ๖๐๐ องค์ ฯลฯ ๗๐๐ องค์ ฯลฯ ๘๐๐ องค์ ฯลฯ ฯ [๕๒๖] ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพกับเทวดา ๘๔,๐๐๐ องค์ เข้า ไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ไหว้ท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้ว ได้ ประทับยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วท่านพระมหาโมคคัลลานะได้พูด กะท้าวสักกะจอมเทพว่า ดูกรจอมเทพ การถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะดีนัก เพราะ เหตุแห่งการถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ การถึงพระธรรมเป็นสรณะดีนัก ... การถึงพระสงฆ์ เป็นสรณะดีนัก เพราะเหตุแห่งการถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ท้าวสักกะจอมเทพตรัสว่า ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะดีนัก เพราะ เหตุแห่งการถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ การถึงพระธรรมเป็นสรณะดีนัก ... การถึงพระสงฆ์ เป็นสรณะดีนัก เพราะเหตุแห่งการถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ [๕๒๗] ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพกับเทวดา ๕๐๐ องค์ เข้าไปหา ท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ไหว้ท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้ว ได้ประทับ ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้พูดกะท้าว- *สักกะจอมเทพว่า ดูกรจอมเทพ การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม ดังนี้ ดีนัก เพราะเหตุแห่ง การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า สัตว์บางพวกใน โลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดูกรจอมเทพ การ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มี- *พระภาคตรัสดีแล้ว อันผู้ได้บรรลุพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้ มาดู ควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ดังนี้ ดีนัก เพราะเหตุ แห่งการประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม สัตว์บางพวกใน โลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดูกรจอมเทพ การ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของ พระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ปฏิบัติตรง ปฏิบัติเป็นธรรม ปฏิบัติชอบ คือ คู่แห่งบุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ นี้ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็น ผู้ควรของคำนับ ควรของต้อนรับ ควรของทำบุญ ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของ โลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้ ดีนัก เพราะเหตุแห่งการประกอบด้วยความ เลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดูกรจอมเทพ การประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่ แล้ว อันไม่ขาด ไม่ทลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย วิญญูชนสรรเสริญ อัน ตัณหาและทิฐิลูบคลำไม่ได้ เป็นไปเพื่อสมาธิ ดีนัก เพราะเหตุแห่งการประกอบ ด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อม เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ท้าวสักกะจอมเทพตรัสว่า ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลานะ ผู้นิรทุกข์ การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้ เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ... ดีนัก เพราะเหตุแห่งการประกอบ ด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อ แตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มี- *พระภาคตรัสดีแล้ว ... ดีนัก เพราะเหตุการประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่ หวั่นไหวในพระธรรม สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึง สุคติโลกสวรรค์ ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การประกอบด้วยความ เลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ ปฏิบัติดีแล้ว ... ดีนัก เพราะเหตุแห่งการประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่น- *ไหวในพระสงฆ์ สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การประกอบด้วยศีลที่พระ- *อริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ... เป็นไปเพื่อสมาธิ ดีนัก เพราะเหตุแห่งการประกอบ ด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อม เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ [๕๒๘] ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพกับเทวดา ๖๐๐ องค์ ... ฯลฯ ๗๐๐ องค์ ฯลฯ ๘๐๐ องค์ ฯลฯ ฯ [๕๒๙] ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพกับเทวดา ๘๔,๐๐๐ องค์ เข้าไป หาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ไหว้ท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้ว ได้ประทับ ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้พูดกะ ท้าวสักกะจอมเทพว่า ดูกรจอมเทพ การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่น ไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ... ดีนัก เพราะเหตุแห่งการประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า สัตว์ บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดูกรจอมเทพ การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มี- *พระภาคตรัสดีแล้ว ... ดีนัก เพราะเหตุแห่งการประกอบด้วยความเลื่อมใสอัน ไม่หวั่นไหวในพระธรรม สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้า ถึงสุคติโลกสวรรค์ ดูกรจอมเทพ การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ... ดีนัก เพราะเหตุแห่งการประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ สัตว์ บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดูกรจอมเทพ การประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว อันไม่ขาด ... ดีนัก เพราะเหตุแห่ง การประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกาย ตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ท้าวสักกะจอมเทพตรัสว่า ข้าแต่ท่าน พระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวใน พระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ... ดีนัก เพราะเหตุ แห่งการประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า สัตว์บางพวกใน โลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ การประกอบด้วยความ เลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว ... ดีนัก เพราะเหตุแห่งการประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ การ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของ พระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ... ดีนัก เพราะเหตุแห่งการประกอบด้วย ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกาย ตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ การประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว อันไม่ขาด ... ดีนัก เพราะเหตุแห่งการประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ [๕๓๐] ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพกับเทวดา ๕๐๐ องค์ เข้าไปหา ท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ไหว้ท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้ว ได้ประทับ ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้พูดกะ ท้าวสักกะจอมเทพว่า ดูกรจอมเทพ การถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะดีนัก เพราะ เหตุแห่งการถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เขาเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดาพวกอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ ด้วยอายุ วรรณะ สุข ยศ ความเป็นใหญ่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นทิพย์ ดูกรจอมเทพ การถึงพระธรรมเป็นสรณะ ดีนัก เพราะเหตุแห่งการถึงพระธรรมเป็นสรณะ สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อ แตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เขาเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดาพวก อื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ ด้วยอายุ วรรณะ สุข ยศ ความเป็นใหญ่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นทิพย์ การถึงพระสงฆ์เป็นสรณะดีนัก เพราะเหตุแห่งการถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกาย ตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เขาเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดาพวกอื่นด้วย ฐานะ ๑๐ ประการ คือ ด้วยอายุ วรรณะ สุข ยศ ความเป็นใหญ่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นทิพย์ ท้าวสักกะจอมเทพตรัสว่า ข้าแต่ท่าน พระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะดีนัก เพราะเหตุแห่ง การถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อม เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เขาเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดาพวกอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ ด้วยอายุ ... อันเป็นทิพย์ การถึงพระธรรมเป็นสรณะดีนัก ... การถึงพระสงฆ์เป็นสรณะดีนัก เพราะเหตุแห่งการถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ สัตว์ บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เขาเหล่า นั้นย่อมครอบงำเทวดาพวกอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ ด้วยอายุ วรรณะ สุข ยศ ความเป็นใหญ่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นทิพย์ ฯ [๕๓๑] ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพกับเทวดา ๖๐๐ องค์ ฯลฯ ๗๐๐ องค์ ฯลฯ ๘๐๐ องค์ ฯลฯ ฯ [๕๓๒] ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพกับเทวดา ๘๔,๐๐๐ องค์ เข้า ไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ไหว้ท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้ว ได้ ประทับยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ พูดกะท้าวสักกะจอมเทพว่า ดูกรจอมเทพ การถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะดีนัก เพราะเหตุแห่งการถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกาย ตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เขาเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดาพวกอื่นด้วย ฐานะ ๑๐ ประการ คือ ด้วยอายุ... อันเป็นทิพย์ การถึงพระธรรมเป็นสรณะ ดีนัก... การถึงพระสงฆ์เป็นสรณะดีนัก เพราะเหตุแห่งการถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เขา เหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดาพวกอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ ด้วยอายุ... อัน เป็นทิพย์ ท้าวสักกะจอมเทพตรัสว่า ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การ ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะดีนัก ... การถึงพระธรรมเป็นสรณะดีนัก ... การถึง พระสงฆ์เป็นสรณะดีนัก เพราะเหตุแห่งการถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ สัตว์บางพวก ในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เขาเหล่านั้นย่อมครอบงำ เทวดาพวกอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ ด้วยอายุ... อันเป็นทิพย์ ฯ [๕๓๓] ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพกับเทวดา ๕๐๐ องค์ เข้าไป หาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ไหว้ท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้ว ได้ประทับ ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้พูดกะ ท้าวสักกะจอมเทพว่า ดูกรจอมเทพ การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระ- *อรหันต์ ... เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม ดังนี้ ดีนัก เพราะเหตุ แห่งการประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า สัตว์บางพวก ในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เขาเหล่านั้น ย่อม ครอบงำเทวดาพวกอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ ด้วยอายุ ... อันเป็นทิพย์ ดูกรจอมเทพ การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า ธรรม อันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว ... ดูกรจอมเทพ การประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติ ดีแล้ว ... ดูกรจอมเทพ การประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว อันไม่ขาด... เป็นไปเพื่อสมาธิ ดีนัก เพราะเหตุแห่งการประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เขา เหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดาพวกอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ ด้วยอายุ... อัน เป็นทิพย์ ท้าวสักกะจอมเทพตรัสว่า ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ... ในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาค ตรัสดีแล้ว... ในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดี แล้ว... การประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว อันไม่ขาด ... เป็นไปเพื่อ สมาธิ ดีนัก เพราะเหตุแห่งการประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว สัตว์บาง พวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เขาเหล่านั้นย่อม ครอบงำเทวดาพวกอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ ด้วยอายุ ... โผฏฐัพพะ อัน เป็นทิพย์ ฯ [๕๓๔] ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพกับเทวดา ๖๐๐ องค์ ฯลฯ ๗๐๐ องค์ ฯลฯ ๘๐๐ องค์ ฯลฯ ฯ [๕๓๕] ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพกับเทวดา ๘๔,๐๐๐ องค์ เข้าไป หาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ไหว้ท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้ว ได้ประทับ ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้พูดกะท้าว สักกะจอมเทพว่า ดูกรจอมเทพ การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวใน พระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น... ในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว... ในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของ พระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว... การประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว อันไม่ขาด... เป็นไปเพื่อสมาธิ ดีนัก เพราะเหตุแห่งการประกอบด้วยศีลที่ พระอริยเจ้าใคร่แล้ว สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ เขาเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดาพวกอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ ด้วยอายุ วรรณะ สุข ยศ ความเป็นใหญ่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นทิพย์ ท้าวสักกะจอมเทพตรัสว่า ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น... ในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัส ดีแล้ว... ในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค ผู้ปฏิบัติดีแล้ว... การประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว อันไม่ขาด ... เป็นไปเพื่อสมาธิ ดีนัก เพราะเหตุแห่งการประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เขาเหล่านั้นย่อมครอบงำเทวดา พวกอื่นด้วยฐานะ ๑๐ ประการ คือ ด้วยอายุ... โผฏฐัพพะ อันเป็นทิพย์ ฯ จบสูตรที่ ๑๐ [๕๓๖] ครั้งนั้นแล จันทนเทพบุตร ฯลฯ ครั้งนั้นแล สุยามเทพบุตร ฯลฯ ครั้งนั้นแล สุนิมมิตเทพบุตร ฯลฯ ครั้งนั้นแล วสวัตตีเทพบุตร ฯลฯ (เปยยาล ๕ ประการนี้ พึงให้พิสดารเหมือนท้าวสักกะจอมเทพ) ฯ จบสูตรที่ ๑๑ จบโมคคัลลานสังยุตต์ --------------- รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. สวิตักกสูตร ๒. อวิตักกสูตร ๓. สุขสูตร ๔. อุเปกขสูตร ๕. อากาสานัญจายตนสูตร ๖. วิญญาณัญจายตนสูตร ๗. อากิญจัญญายตนสูตร ๘. เนวสัญญานาสัญญายตนสูตร ๙. อนิมิตตสูตร ๑๐. สักกสูตร ๑๑. จันทน สูตร ฯ ------------
***********************************************************
ท่านผู้อ่านโปรดคลิกที่ลิงค์นี้ครับ http://wandeedee.wordpress.com/2009/04/16/คุณแห่งพระรัตนตรัยและก/

ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่านครับ

กัปและการกำเนิดใหม่ของโลก

ในคติทางพระบวรพุทธศาสนา โลกนี้ย่อมมีการถึงแก่การทำลาย และย่อมมีการถือกำเนิดใหม่ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ที่เรียกว่าโลกนั้นก็เพราะมีความแตกสลายเป็นธรรมดา และจิตนั้นความจริงแล้วก็เกิดและดับอยู่ทุกขณะจิต สำหรับบางท่านที่ผ่านประสบการณ์ชีวิตมาบ้าง เคยผ่านช่วงเวลาที่ต้องต่อสู้กับปัญหา เช่นในช่วงวิกฤติทางเศรษฐกิจบ้าง ช่วงวิกฤติหุ้นบ้าง ทรัพย์สมบัติถึงแก่ความพินาศบัาง หลังจากนั้นเคยล้มลุกคลุกคลานกว่าจะพาตัวเองมาจนกลับมาอยู่ในฐานะเดิมโดยชอบธรรม ในเรื่องนี้ทางพระอริยวินัยกล่าวว่าเป็นการผ่านการการเกิดและการดับของโลกมาครั้งหนึ่งซึ่งรู้ได้เฉพาะตน โลกนี้มีความแตกสลายเป็นธรรมดา ก็อะไรเล่าที่แตกสลาย จักษุย่อมแตกสลาย รูปย่อมแตกสลาย จักษุวิญญาณย่อมแตกสลาย จักษุสัมผัสย่อมแตกสลาย ฯลฯ และโลกย่อมว่างเปล่า ก็อะไรเล่าที่ว่างเปล่า จักษุย่อมว่างเปล่า รูปย่อมว่างเปล่า จักษุวิญญาณย่อมว่างเปล่า ฯลฯ ไม่ควรจะยึดถือว่าสิ่งใดเป็นแก่นสารเลย หากตั้งจิตไว้โดยชอบอย่างนี้ กิเลสอาทิราคะ โทสะ โมหะ ที่แรงกล้าย่อมไม่ครอบงำจิต พระผู้มีพระภาคตรัสแก่ท่านพระอานนท์ว่า

"ดูกรอานนท์ อริยสาวกผู้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งใน จักษุ ทั้งในรูป ทั้งในจักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกข- *เวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ ย่อม เบื่อหน่ายทั้งในใจ ทั้งในธรรมารมณ์ ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส ทั้ง ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็น ปัจจัย เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อ หลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหม- *จรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก"

ผมจะขอยกตัวอย่างว่า บุคคลบางท่านแม้จะชื่อว่าลุ่มหลงมัวเมาในสุรานารี แต่ว่าเขาผ่านมาแล้วซึ่งการเกิดและการดับของโลกอย่างนี้ พยายามแก้ไขปัญหาด้วยกำลังสติปัญญา มิได้มีจิตประมาท เขาเสพสุรานารีก็เพราะเพื่อจะมีกำลังใจในการต่อสู้กับปัญหาชีวิต เมื่อเป็นเช่นนี้เขาก็ชื่อว่าดำเนินชีวิตด้วยการปฏิบัติธรรมครับ ยิ่งถ้าเขาอาศัยพระธรรมในพระบวรพุทธศาสนาด้วย ปัญหาบางอย่างจะคลี่คลายได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ก็เพราะพระปัญญาอันยิ่งแห่งองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงพระนามว่าพระศรีศากยมุนีโคดมพระองค์นั้น ผมยกตัวอย่างนี้เผื่อว่าท่านผู้อ่านบางท่านจะพอนึกภาพได้ และในพระสูตรท้ายๆนั้นกล่าวถึงธรรมคือความไม่สะดุ้งกลัวเพราะไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวงครับ

พระสูตรในวันนี้ยกมาจากพระสุตตันตปิฎก เล่ม10 สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค ฉันนวรรคที่4 ครับ

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
******************************************************** ฉันนวรรคที่ ๔ ปโลกสูตร [๑๐๑] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียก กันว่าโลกๆ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอจึงเรียกกันว่า โลก พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรอานนท์ สิ่งใดมีความแตกสลายเป็นธรรมดา นี้เรียกว่าโลกใน อริยวินัย ก็อะไรเล่ามีความแตกสลายเป็นธรรมดา จักษุแลมีความแตกสลายเป็น ธรรมดา รูปมีความแตกสลายเป็นธรรมดา จักษุวิญญาณมีความแตกสลายเป็น- *ธรรมดา จักษุสัมผัสมีความแตกสลายเป็นธรรมดา สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็มีความแตกสลาย เป็นธรรมดา ฯลฯ ใจมีความแตกสลายเป็นธรรมดา ธรรมารมณ์มีความแตกสลาย เป็นธรรมดา มโนวิญญาณมีความแตกสลายเป็นธรรมดา มโนสัมผัสมีความแตก สลายเป็นธรรมดา สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะ มโนสัมผัสเป็นปัจจัย ก็มีความแตกสลายเป็นธรรมดา ดูกรอานนท์ สิ่งใดมี ความแตกสลายเป็นธรรมดา นี้เรียกว่าโลกในอริยวินัย ฯ จบสูตรที่ ๑ สุญญสูตร [๑๐๒] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ ฯลฯ ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่าโลกว่างเปล่าๆ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ จึงเรียกว่า โลกว่างเปล่า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ เพราะว่างเปล่า จากตนหรือจากของๆ ตน ฉะนั้นจึงเรียกว่า โลกว่างเปล่า อะไรเล่าว่างเปล่า จากตนหรือจากของๆ ตน จักษุแลว่างเปล่าจากตนหรือจากของๆ ตน รูป ว่างเปล่าจากตนหรือจากของๆ ตน จักษุวิญญาณว่างเปล่าจากตนหรือจากของๆ ตน จักษุสัมผัสว่างเปล่าจากตนหรือจากของๆ ตน สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็ว่างเปล่าจากตน หรือจากของๆ ตน ฯลฯ ใจว่างเปล่าจากตนหรือจากของๆ ตน ธรรมารมณ์ ว่างเปล่าจากตนหรือจากของๆ ตน มโนวิญญาณว่างเปล่าจากตนหรือจากของๆ ตน มโนสัมผัสว่างเปล่าจากตนหรือจากของๆ ตน สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็ว่างเปล่าจากตนหรือจาก ของๆ ตน ดูกรอานนท์ เพราะว่างเปล่าจากตนหรือจากของๆ ตน ฉะนั้นจึงเรียกว่า โลกว่างเปล่า ฯ จบสูตรที่ ๒ สังขิตสูตร [๑๐๓] ฯลฯ ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอประทานโอกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดง ธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ที่ข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว พึงเป็นผู้ๆ เดียว หลีกออก จากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่เถิด พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ อา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควร หรือหนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ อา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ อา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ อา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ อา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุข- *เวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ อา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือสุขเล่า ฯ อา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ อา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯลฯ พ. ใจเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ อา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ อา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ อา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขม- *สุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ อา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า อา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา อา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ดูกรอานนท์ อริยสาวกผู้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งใน จักษุ ทั้งในรูป ทั้งในจักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกข- *เวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ ย่อม เบื่อหน่ายทั้งในใจ ทั้งในธรรมารมณ์ ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส ทั้ง ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็น ปัจจัย เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อ หลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหม- *จรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก จบสูตรที่ ๓ ฉันนสูตร [๑๐๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ สมัยนั้นแล ท่านพระสารีบุตร ท่าน พระมหาจุนทะ และท่านพระฉันนะ อยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ สมัยนั้นแล ท่านพระ ฉันนะอาพาธ ถึงความทุกข์ เป็นไข้หนัก ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเย็น ท่านพระ- *สารีบุตรออกจากที่พักผ่อนแล้ว เข้าไปหาท่านพระมหาจุนทะถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว ได้กล่าวกะท่านพระมหาจุนทะว่า ดูกรท่านจุนทะ เราจงพากันเข้าไปหาท่าน พระฉันนะ ถามถึงความเป็นไข้เถิด ท่านพระมหาจุนทะรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาจุนทะ เข้าไปหาท่านพระฉันนะถึงที่ อยู่ แล้วนั่งบนอาสนะที่ปูไว้ ครั้นแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้ถามท่านพระฉันนะว่า ดูกรท่านฉันนะ ท่านพออดทนได้หรือ พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้หรือ ทุกขเวทนา ลดลง ไม่กำเริบขึ้น ความทุเลาปรากฏ ความกำเริบไม่ปรากฏหรือ ฯ [๑๐๕] ท่านพระฉันนะกล่าวว่า ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร กระผมทนไม่ ไหว ยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของกระผมกำเริบหนัก ไม่ลดลงเลย ความกำเริบปรากฏ ความทุเลาไม่ปรากฏ เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลัง เอาเหล็ก แหลมคมทิ่มศีรษะ ฉันใด ลมอันกล้ายิ่งเข้ากระทบที่ศีรษะของกระผม ก็ฉันนั้น เหมือนกัน ฯลฯ เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลังเอาเส้นเชือกหนังอันเหนียวขันที่ศีรษะ ฉันใด ลมอันกล้ายิ่งเสียดแทงที่ศีรษะของกระผม ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ เปรียบเหมือนนายโคฆาตหรือลูกมือของนายโคฆาตผู้ขยัน เอามีดสำหรับแล่เนื้อ โคที่คมกรีดท้อง แม้ฉันใด ลมอันกล้ายิ่งย่อมเสียดแทงท้องของกระผม ฉันนั้น เหมือนกัน ฯลฯ เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลัง ๒ คน จับบุรุษผู้มีกำลังน้อยกว่า คนละแขน ลนให้เร่าร้อนบนหลุมถ่านเพลิง แม้ฉันใด ความเร่าร้อนในกายของ กระผมก็มากยิ่ง ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร กระผมทนไม่ไหว เยียวยาอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของกระผมกำเริบหนัก ไม่ลดลงเลย ความกำเริบปรากฏ ความทุเลาไม่ปรากฏ ท่านพระฉันนะกล่าวว่า ข้าแต่ท่านพระ สารีบุตร กระผมจักนำศาตรามา ไม่ปรารถนาเป็นอยู่ ดังนี้แล้ว ก็นำศาตรามา ฯ [๑๐๖] ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ท่านพระฉันนะจงเยียวยาอัตภาพให้ เป็นไปเถิด เราทั้งหลายปรารถนาให้ท่านพระฉันนะเยียวยาอัตภาพให้เป็นไปอยู่ ถ้าโภชนะเป็นที่สบายมิได้มีแก่ท่านพระฉันนะ ผมจักแสวงหามาให้ ถ้าเภสัชเป็น ที่สบายมิได้มีแก่ท่านพระฉันนะ ผมจักแสวงหามาให้ ถ้าพวกอุปัฏฐากที่สมควร มิได้มีแก่ท่านพระฉันนะ ผมจักอุปัฏฐากเอง ท่านพระฉันนะอย่านำศาตรามาเลย จงเยียวยาอัตภาพให้เป็นไปเถิด เราทั้งหลายปรารถนาให้ท่านพระฉันนะเยียวยา อัตภาพให้เป็นไปอยู่ ท่านพระฉันนะกล่าวว่า ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร โภชนะ เป็นที่สบายของกระผมมิใช่ไม่มี โภชนะเป็นที่สบายของกระผมมีอยู่ แม้อุปัฏฐาก เป็นที่สบายของกระผมก็มิใช่ไม่มี เภสัชเป็นที่สบายของกระผมมีอยู่ แม้อุปัฏฐาก ที่สมควรของกระผมมิใช่ไม่มี อุปัฏฐากที่สมควรของกระผมมีอยู่ ก็พระศาสดาอัน กระผมบำเรอแล้วด้วยอาการเป็นที่พอใจอย่างเดียว ไม่บำเรอด้วยอาการเป็นที่ไม่พอ ใจตลอดกาลนานมา ข้อที่พระสาวกบำเรอพระศาสดาด้วยอาการเป็นที่พอใจ ไม่ บำเรอด้วยอาการเป็นที่ไม่พอใจ นี้สมควรแก่พระสาวก ความบำเรอนั้นไม่เป็นไป ฉันนภิกษุจักนำศาตรามา ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร ขอท่านจงทรงจำความนี้ไว้อย่างนี้ ดังนี้เถิด ฯ [๑๐๗] สา. เราทั้งหลายขอถามปัญหาบางข้อกะท่านพระฉันนะ ถ้าท่าน พระฉันนะให้โอกาสเพื่อจะแก้ปัญหา ฯ ฉ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร นิมนต์ถามเถิด กระผมฟังแล้วจักให้ทราบ ฯ สา. ท่านพระฉันนะ ท่านย่อมพิจารณาเห็นจักษุ จักษุวิญญาณและธรรม ทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตน ของเรา ฯลฯ ท่านย่อมพิจารณาเห็นใจ มโนวิญญาณ และธรรมทั้งหลายที่พึงรู้ แจ้งด้วยมโนวิญญาณว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ดังนี้ หรือ ฯ ฉ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร กระผมย่อมพิจารณาเห็นจักษุ จักษุวิญญาณ และธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่เป็นตัวตนของเรา ฯลฯ กระผมย่อมพิจารณาเห็นใจ มโนวิญญาณ และ ธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่น ไม่ใช่เป็นตัวตนของเรา ฯ [๑๐๘] สา. ดูกรท่านพระฉันนะ ท่านเห็นอย่างไร รู้อย่างไร ในจักษุ ในจักษุวิญญาณ และในธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณ จึงพิจารณา เห็นจักษุ จักษุวิญญาณ และธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณว่า นั่นไม่ ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่เป็นตัวตนของเรา ฯลฯ ท่านเห็นอย่างไร รู้ อย่างไรในใจ ในมโนวิญญาณ และในธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณ จึงพิจารณาเห็นใจ มโนวิญญาณ และธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยมโนวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่เป็นตัวตนของเรา ฯ [๑๐๙] ฉ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร กระผมเห็นความดับ รู้ความดับ ในจักษุ ในจักขุวิญญาณ และในธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณ จึง พิจารณาเห็นจักษุ จักษุวิญญาณ และธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ฯลฯ กระผมเห็นความดับ รู้ความดับ ในใจ ในมโนวิญญาณ และในธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยมโน วิญญาณ จึงพิจารณาเห็นใจ มโนวิญญาณ และธรรมทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วย มโนวิญญาณว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ฯ [๑๑๐] เมื่อท่านพระฉันนะกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระมหาจุนทะได้กล่าว กะท่านพระฉันนะว่า ดูกรท่านพระฉันนะ เพราะเหตุนั้นแล แม้ความพิจารณาเห็นนี้ เป็นคำสอนของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ท่านพึงทำไว้ในใจให้ดีตลอดกาลเป็น นิตย์ไป ความหวั่นไหวของบุคคลที่มีตัณหา มานะและทิฐิอาศัยอยู่ ยังมีอยู่ ความหวั่นไหวย่อมไม่มีแก่บุคคลที่ไม่มีตัณหา มานะและทิฐิอาศัยอยู่ เมื่อความ หวั่นไหวไม่มี ย่อมมีปัสสัทธิ เมื่อมีปัสสัทธิ ก็ไม่มีความเพลิดเพลิน เมื่อไม่มี ความเพลิดเพลิน ความมาความไปก็ไม่มี เมื่อความมาความไปไม่มี จุติและอุปบัติ ก็ไม่มี เมื่อจุติและอุปบัติไม่มี โลกนี้และโลกหน้าก็ไม่มี และระหว่างโลกทั้งสอง ก็ไม่มี นี้แหละเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหา จุนทะ ครั้นกล่าวสอนท่านพระฉันนะด้วยโอวาทนี้แล้ว ลุกจากอาสนะหลีกไป ครั้นเมื่อท่านทั้งสองหลีกไปแล้วไม่นาน ท่านพระฉันนะก็นำศาตรามา ฯ [๑๑๑] ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระฉันนะนำศาตรามาแล้ว ท่านมีคติและอภิสัมปรายภพเป็นอย่างไร พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรสารีบุตร ความเป็นผู้ไม่เข้าไป อันฉันนภิกษุพยากรณ์แล้วต่อหน้าเธอมิใช่ หรือ ฯ สา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วัชชีคามอันมีชื่อว่า บุพพวิชชนะมีอยู่ สกุล ที่เป็นมิตรและสกุลที่เป็นสหายในวัชชีคามนั้น เป็นสกุลที่ท่านพระฉันนะเข้าไป มีอยู่ ฯ พ. ดูกรสารีบุตร ก็สกุลที่เป็นมิตรและสกุลที่เป็นสหายเหล่านั้น เป็น สกุลที่พระฉันนภิกษุเข้าไป มีอยู่ แต่เราไม่กล่าวว่า ฉันนภิกษุมีสกุลที่ตนพึง เข้าไปด้วยเหตุเท่านั้นเลย ภิกษุใดแล ละทิ้งกายนี้ด้วย เข้าถือกายอื่นด้วย เรา กล่าวภิกษุนั้นว่า มีสกุลที่ตนพึงเข้าไป สกุลนั้นย่อมไม่มีแก่ฉันนภิกษุ ฉันนภิกษุ มิได้เข้าไป ศาตราอันฉันนภิกษุนำมาแล้ว ดูกรสารีบุตร เธอพึงทรงจำความนี้ไว้ อย่างนี้ดังนี้เถิด ฯ จบสูตรที่ ๔ ปุณณสูตร [๑๑๒] ครั้งนั้นแล ท่านพระปุณณะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่- *ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ ประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อที่ ข้าพระองค์ได้สดับแล้วพึงเป็นผู้ๆ เดียว หลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความ เพียร มีใจเด็ดเดี่ยว อยู่เถิด พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรปุณณะ รูปที่พึงรู้แจ้ง ด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุยินดี กล่าวสรรเสริญ พัวพันรูปนั้น เรากล่าวว่า เมื่อภิกษุนั้นยินดี กล่าวสรรเสริญ พัวพันรูปนั้น ความเพลินก็เกิดขึ้น ดูกรปุณณะ เพราะความ เพลินเกิดขึ้น จึงเกิดทุกข์ ฯลฯ ดูกรปุณณะ ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่า ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุ ยินดี กล่าวสรรเสริญ พัวพันธรรมารมณ์นั้น เรากล่าวว่า เมื่อภิกษุนั้นยินดี กล่าวสรรเสริญ พัวพันธรรมารมณ์นั้น ความเพลินก็บังเกิดขึ้น ดูกรปุณณะ เพราะความเพลินเกิดขึ้น จึงเกิดทุกข์ ฯ [๑๑๓] ดูกรปุณณะ รูปทั้งหลายที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุไม่ยินดี ไม่กล่าวสรรเสริญ ไม่พัวพันรูปนั้น เรากล่าวว่า เมื่อภิกษุนั้นไม่ยินดี ไม่กล่าว สรรเสริญ ไม่พัวพันรูปนั้น ความเพลินก็ดับไป ดูกรปุณณะ เพราะความเพลิน ดับไป ทุกข์จึงดับ ฯลฯ ดูกรปุณณะ ธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้งด้วยใจ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ชักให้ใคร่ ชวนให้กำหนัด มีอยู่ ถ้าภิกษุไม่ยินดี ไม่กล่าวสรรเสริญ ไม่พัวพันธรรมารมณ์นั้น เรากล่าวว่า เมื่อภิกษุนั้นไม่ยินดี ไม่กล่าวสรรเสริญ ไม่พัวพันธรรมารมณ์นั้น ความเพลินก็ดับไป ดูกรปุณณะ เพราะความเพลินดับไป ทุกข์จึงดับ ดูกรปุณณะ ด้วยประการฉะนี้ เธอนั้นจึง ไม่ห่างไกลจากธรรมวินัยนี้ ฯ [๑๑๔] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ยังไม่เบาใจในธรรมนี้ เพราะข้าพระองค์ยังไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง ซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และความสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอจะ สำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เธอย่อมพิจารณาเห็นจักษุว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่น ไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้หรือ ฯ ภิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ดีละ ภิกษุ ก็ในข้อนี้ จักษุเป็นอันเธอพิจารณาเห็นด้วยดีด้วยปัญญา อันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ ตัวตนของเรา ผัสสายตนะที่ ๑ นี้เป็นอันเธอละขาดแล้วเพื่อไม่เกิดอีกต่อไป ด้วยอาการอย่างนี้ ฯลฯ เธอพิจารณาเห็นใจว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตน ของเรา ดังนี้หรือ ฯ ภิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ดีละ ภิกษุ ก็ในข้อนั้น ใจจักเป็นอันเธอพิจารณาเห็นด้วยดีด้วย ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ผัสสายตนะที่ ๖ นี้ จักเป็นอันเธอละขาดแล้วเพื่อความ ไม่เกิดอีกต่อไป ด้วยอาการอย่างนี้ ดูกรปุณณะ ดีละ เธออันเรากล่าวสอนแล้ว ด้วยโอวาทอันย่อนี้ จักอยู่ในชนบทไหน ฯ ท่านพระปุณณเถระทูลว่า พระเจ้าข้า ชนบทชื่อสุนาปรันตะมีอยู่ ข้าพระ- *องค์จักอยู่ในชนบทนั้น ฯ [๑๑๕] พ. ดูกรปุณณะ พวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทดุร้าย หยาบ คายนัก ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักด่า จักบริภาษเธอ ในข้อนั้น เธอ จักมีความคิดอย่างไร ฯ ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักด่า จัก บริภาษข้าพระองค์ไซร้ ในข้อนั้น ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ว่า มนุษย์ชาว สุนาปรันตชนบทนี้เจริญหนอ เจริญดีหนอ ที่เขาไม่ประหารเราด้วยมือ ข้าแต่ พระผู้มีพระภาค ในข้อนี้ ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ ข้าแต่พระสุคต ในข้อนี้ ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ ฯ พ. ดูกรปุณณะ ก็ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหารเธอด้วย มือเล่า ในข้อนั้น เธอจักมีความคิดอย่างไร ฯ ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหาร ข้าพระองค์ด้วยมือไซร้ ในข้อนั้น ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ว่า พวกมนุษย์ ชาวสุนาปรันตชนบทเจริญหนอ เจริญดีหนอ ที่เขาไม่ประหารเราด้วยก้อนดิน ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในข้อนี้ ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ ข้าแต่พระสุคต ในข้อนี้ ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ ฯ พ. ดูกรปุณณะ ก็ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหารเธอด้วย ก้อนดินเล่า ในข้อนั้น เธอจักมีความคิดอย่างไร ฯ ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหาร ข้าพระองค์ด้วยก้อนดินไซร้ ในข้อนั้น ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ว่า พวก มนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทนี้เจริญหนอ เจริญดีหนอ ที่เขาไม่ประหารเราด้วย ท่อนไม้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในข้อนี้ ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ ข้าแต่ พระสุคต ในข้อนี้ ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ ฯ พ. ดูกรปุณณะ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหารเธอด้วย ท่อนไม้เล่า ในข้อนั้น เธอจักมีความคิดอย่างไร ฯ ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหาร ข้าพระองค์ด้วยท่อนไม้ไซร้ ในข้อนั้น ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ว่า พวกมนุษย์ ชาวสุนาปรันตชนบทนี้เจริญหนอ เจริญดีหนอ ที่เขาไม่ประหารเราด้วยศาตรา ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในข้อนี้ ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ ข้าแต่พระสุคต ในข้อนี้ ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ ฯ พ. ดูกรปุณณะ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหารเธอด้วย ศาตราเล่า ในข้อนั้น เธอจักมีความคิดอย่างไร ฯ ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักประหาร ข้าพระองค์ด้วยศาตราไซร้ ในข้อนั้น ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ว่า พวก มนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทนี้เจริญหนอ เจริญดีหนอ ที่เขาไม่ปลงเราเสียจากชีวิต ด้วยศาตราอันคม ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในข้อนี้ ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ ข้าแต่พระสุคต ในข้อนี้ ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ ฯ [๑๑๖] พ. ดูกรปุณณะ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักปลงเธอ เสียจากชีวิตด้วยศาตราอันคมเล่า ในข้อนั้น เธอจักมีความคิดอย่างไร ฯ ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักปลง ข้าพระองค์เสียจากชีวิตด้วยศาตราอันคมไซร้ ในข้อนั้น ข้าพระองค์จักมีความคิด อย่างนี้ว่า พระสาวกทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคนั้น อึดอัดระอาเกลียดชังอยู่ด้วย กายและชีวิต ย่อมแสวงหาศาตราสำหรับปลงชีวิตเสีย มีอยู่ ศาตราสำหรับปลง ชีวิตที่เราแสวงหาอยู่นั้น เราได้แล้ว ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ในข้อนี้ ข้าพระองค์ จักมีความคิดอย่างนี้ ข้าแต่พระสุคต ในข้อนี้ ข้าพระองค์จักมีความคิดอย่างนี้ ฯ พ. ดีละๆ ปุณณะ เธอประกอบด้วยทมะและอุปสมะเช่นนี้ จักอาจอยู่ ในสุนาปรันตชนบทได้ บัดนี้ เธอย่อมรู้กาลอันควรไปได้ ฯ [๑๑๗] ครั้งนั้นแล ท่านพระปุณณะชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มี- *พระภาค ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้ว เก็บ เสนาสนะแล้ว ถือบาตรและจีวรหลีกจาริกไปทางสุนาปรันตชนบท เมื่อเที่ยวจาริก ไปโดยลำดับ ก็บรรลุถึงสุนาปรันตชนบท ได้ยินว่า ท่านพระปุณณะอยู่ในสุนา- *ปรันตชนบทนั้น ครั้งนั้นแล ในระหว่างพรรษานั้น ท่านพระปุณณะให้ชาว- *สุนาปรันตชนบทแสดงตนเป็นอุบาสกประมาณ ๕๐๐ คน ได้ทำวิชชา ๓ ให้แจ้ง และปรินิพพานแล้ว ครั้งนั้นแล ภิกษุมากด้วยกันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กุลบุตรชื่อว่าปุณณะที่พระผู้มีพระภาคตรัสสอนด้วยพระ โอวาทอย่างย่อนั้น ทำกาละแล้ว กุลบุตรนั้นมีคติเป็นอย่างไร มีอภิสัมปรายภพเป็น อย่างไร พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรชื่อว่าปุณณะ เป็น บัณฑิต กล่าวคำจริง กล่าวธรรมสมควรแก่ธรรม มิได้ลำบากเพราะเหตุแห่งธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรชื่อว่าปุณณะปรินิพพานแล้ว ฯ จบสูตรที่ ๕ พาหิยสูตร [๑๑๘] ครั้งนั้นแล ท่านพระพาหิยะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ ประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ ที่ข้าพระองค์ได้ฟังแล้วพึงเป็นผู้ๆ เดียวหลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว อยู่เถิด ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพาหิยะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือไม่เที่ยง ท่านพระพาหิยะกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ พา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ พา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ พา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯลฯ พ. จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุข เวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ พา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ พา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ พา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ใจเที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ พา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ พา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ พา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ธรรมารมณ์เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ พา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯลฯ พ. มโนวิญญาณ มโนสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุข เวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ พา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ พา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดาควรหรือ หนอที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ พา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรพาหิยะ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในจักษุ ทั้งในรูป ทั้งในจักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในใจ ทั้งในธรรมารมณ์ ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส ทั้งในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็น ปัจจัย เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น เมื่อ หลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้ มี ฯ [๑๑๙] ครั้งนั้นแล ท่านพระพาหิยะชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มี พระภาค ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณแล้วหลีกไป ครั้งนั้นแล ท่านพระพาหิยะเป็นผู้ๆ เดียว หลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความ เพียร มีใจเด็ดเดี่ยว กระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ซึ่งกุลบุตร ทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ได้รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควร ทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มีได้มี ก็แหละท่านพระพาหิยะได้ เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย ฯ จบสูตรที่ ๖ เอชสูตรที่ ๑ [๑๒๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความหวั่นไหว เป็นโรค ความหวั่นไหวเป็นฝี ความหวั่นไหวเป็นลูกศร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะ เหตุนั้นแล ตถาคตเป็นผู้ไม่มีความหวั่นไหว ปราศจากลูกศรอยู่ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้ไม่มีความหวั่นไหว ปราศจากลูกศรอยู่ ภิกษุไม่พึงสำคัญซึ่งจักษุ ไม่พึงสำคัญในจักษุ ไม่พึงสำคัญแต่ จักษุ ไม่พึงสำคัญว่าจักษุของเรา ไม่พึงสำคัญซึ่งรูปทั้งหลาย ไม่พึงสำคัญในรูป ทั้งหลาย ไม่พึงสำคัญแต่รูปทั้งหลาย ไม่พึงสำคัญว่า รูปทั้งหลายของเรา ไม่พึง สำคัญซึ่งจักษุวิญญาณ ไม่พึงสำคัญในจักษุวิญญาณ ไม่พึงสำคัญแต่จักษุวิญญาณ ไม่พึงสำคัญว่า จักษุวิญญาณของเรา ไม่พึงสำคัญซึ่งจักษุสัมผัส ไม่พึงสำคัญใน จักษุสัมผัส ไม่พึงสำคัญแต่จักษุสัมผัส ไม่พึงสำคัญว่า จักษุสัมผัสของเรา ไม่พึง สำคัญซึ่งสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัส เป็นปัจจัย ไม่พึงสำคัญในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงสำคัญแต่สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุข เวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงสำคัญว่า สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ของเรา ไม่พึงสำคัญซึ่งโสตะ... ไม่พึงสำคัญซึ่งฆานะ... ไม่พึงสำคัญซึ่งกาย... ไม่พึงสำคัญ ซึ่งใจ ไม่พึงสำคัญในใจ ไม่พึงสำคัญแต่ใจ ไม่พึงสำคัญว่า ใจของเรา ไม่พึง สำคัญซึ่งธรรมารมณ์ทั้งหลาย ... ไม่พึงสำคัญซึ่งมโนวิญญาณ ไม่พึงสำคัญในมโน วิญญาณ ไม่พึงสำคัญแต่มโนวิญญาณ ไม่พึงสำคัญว่า มโนวิญญาณของเรา ไม่ พึงสำคัญซึ่งมโนสัมผัส ไม่พึงสำคัญในมโนสัมผัส ไม่พึงสำคัญแต่มโนสัมผัส ไม่พึงสำคัญว่ามโนสัมผัสของเรา ไม่พึงสำคัญซึ่งสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงสำคัญในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึง สำคัญแต่สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโน- *สัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงสำคัญว่า สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ของเรา ไม่พึงสำคัญซึ่งสิ่งทั้งปวง ไม่พึง สำคัญในสิ่งทั้งปวง ไม่พึงสำคัญแต่สิ่งทั้งปวง ไม่พึงสำคัญว่า สิ่งทั้งปวงของเรา เธอนั้นเมื่อไม่สำคัญอย่างนี้ ก็ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก เมื่อไม่ถือมั่น ก็ไม่สะดุ้ง ย่อมดับเฉพาะตนทีเดียว ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจ ที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ [๑๒๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความหวั่นไหวเป็น โรค ความหวั่นไหวเป็นฝี ความหวั่นไหวเป็นลูกศร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะ เหตุนั้นแล ตถาคตย่อมเป็นผู้ไม่มีความหวั่นไหว ปราศจากลูกศร เพราะเหตุนั้น แล ถึงแม้ภิกษุก็พึงหวังว่าเราพึงเป็นผู้ไม่มีความหวั่นไหว ปราศจากลูกศรอยู่ ฯ จบสูตรที่ ๗ เอชสูตรที่ ๒ [๑๒๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุไม่พึงสำคัญซึ่งจักษุ ไม่พึงสำคัญ ในจักษุ ไม่พึงสำคัญแต่จักษุ ไม่พึงสำคัญว่า จักษุของเรา ไม่พึงสำคัญซึ่งรูป ทั้งหลาย ไม่พึงสำคัญในรูปทั้งหลาย ไม่พึงสำคัญแต่รูปทั้งหลาย ไม่พึงสำคัญว่า รูปทั้งหลายของเรา ไม่พึงสำคัญซึ่งจักษุวิญญาณ ไม่พึงสำคัญในจักษุวิญญาณ ไม่ พึงสำคัญแต่จักษุวิญญาณ ไม่พึงสำคัญว่า จักษุวิญญาณของเรา ไม่พึงสำคัญซึ่ง จักษุสัมผัส ไม่พึงสำคัญในจักษุสัมผัส ไม่พึงสำคัญแต่จักษุสัมผัส ไม่พึงสำคัญ ว่า จักษุสัมผัสของเรา ไม่พึงสำคัญซึ่งสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุข- *เวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงสำคัญในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงสำคัญแต่ สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็น ปัจจัย ไม่พึงสำคัญว่า สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ของเรา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมสำคัญซึ่งสิ่งใด ย่อมสำคัญในสิ่งใด ย่อมสำคัญแต่สิ่งใด ย่อมสำคัญว่า สิ่งใดของเรา สิ่งนั้น ย่อมเป็นอย่างอื่นจากสิ่งนั้น โลกมีภาวะเป็นอย่างอื่น ข้องอยู่ในภพ ย่อมยินดี ภพนั่นแหละ ไม่พึงสำคัญซึ่งโสตะ ฯลฯ ไม่พึงสำคัญซึ่งฆานะ ฯลฯ ไม่พึง สำคัญซึ่งชิวหา ฯลฯ ไม่พึงสำคัญซึ่งกาย ฯลฯ ไม่พึงสำคัญซึ่งใจ ไม่พึงสำคัญ ในใจ ไม่พึงสำคัญแต่ใจ ไม่พึงสำคัญว่า ใจของเรา ไม่พึงสำคัญซึ่งธรรมารมณ์ ทั้งหลาย ไม่พึงสำคัญในธรรมารมณ์ทั้งหลาย ไม่พึงสำคัญแต่ธรรมารมณ์ทั้งหลาย ไม่พึงสำคัญว่า ธรรมารมณ์ทั้งหลายของเรา ไม่พึงสำคัญซึ่งมโนวิญญาณ ไม่พึง สำคัญในมโนวิญญาณ ไม่พึงสำคัญแต่มโนวิญญาณ ไม่พึงสำคัญว่า มโนวิญญาณ ของเรา ไม่พึงสำคัญซึ่งมโนสัมผัส ไม่พึงสำคัญในมโนสัมผัส ไม่พึงสำคัญแต่ มโนสัมผัส ไม่พึงสำคัญว่า มโนสัมผัสของเรา ไม่พึงสำคัญซึ่งสุขเวทนา ทุกข เวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงสำคัญ ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็น ปัจจัย ไม่พึงสำคัญแต่สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่พึงสำคัญว่า สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขม สุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ของเรา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมสำคัญซึ่งสิ่งใด ย่อมสำคัญในสิ่งใด ย่อมสำคัญแต่สิ่งใด ย่อมสำคัญ ว่า สิ่งใดของเรา สิ่งนั้นย่อมเป็นอย่างอื่นจากสิ่งนั้น โลกมีภาวะเป็นอย่างอื่น ข้อง อยู่ในภพ ย่อมยินดีภพนั่นแหละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสำคัญซึ่งขันธ์ ธาตุและอายตนะ ไม่พึงสำคัญในขันธ์ ธาตุและอายตนะ ไม่พึงสำคัญแต่ขันธ์ ธาตุและอายตนะ ไม่พึงสำคัญว่า ขันธ์ ธาตุ และอายตนะของเรา เธอเมื่อไม่ สำคัญอย่างนี้ ย่อมไม่ถือมั่นสิ่งอะไรๆ ในโลก เมื่อไม่ถือมั่น ย่อมไม่สะดุ้ง เมื่อ ไม่สะดุ้ง ย่อมดับเฉพาะตนทีเดียว ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่ จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ จบสูตรที่ ๘ ทวยสูตรที่ ๑ [๑๒๓] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงส่วน สองแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ก็ส่วนสองเป็นไฉน คือ จักษุ และรูป ๑ โสตะและเสียง ๑ ฆานะและกลิ่น ๑ ชิวหาและรส ๑ กาย และโผฏฐัพพะ ๑ ใจและธรรมารมณ์ ๑ นี้เรียกว่าส่วนสอง ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย บุคคลใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราบอกเลิกส่วนสองนั้นเสียแล้ว จักบัญญัติ ส่วนสองเป็นอย่างอื่น วาจาของบุคคลนั้นเป็นเรื่องของเทวดา ฯ ก็บุคคลนั้นถูก เขาถามเข้าแล้วก็อธิบายไม่ได้ และถึงความอึดอัดยิ่งขึ้น ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร เพราะข้อนั้นไม่ใช่วิสัย ฯ จบสูตรที่ ๙ ทวยสูตรที่ ๒ [๑๒๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิญญาณเกิดขึ้น เพราะอาศัยส่วนสอง วิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยส่วนสองเป็นอย่างไร จักษุ วิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุและรูป จักษุไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความ เป็นอย่างอื่น รูปไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น ส่วนสองอย่าง นี้ หวั่นไหวและอาพาธ ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น จักษุ วิญญาณไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น แม้เหตุปัจจัยเพื่อความ เกิดขึ้นแห่งจักษุวิญญาณก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น ดูกร- *ภิกษุทั้งหลาย ก็จักษุวิญญาณที่เกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัยปัจจัยอันไม่เที่ยงจักเป็น ของเที่ยงแต่ไหน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความประจวบ ความประชุม ความพร้อมกัน แห่งธรรมทั้ง ๓ นี้แล เรียกว่าจักษุสัมผัส ฯ [๑๒๕] ถึงจักษุสัมผัสก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งจักษุสัมผัสก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความ เป็นอย่างอื่น ก็จักษุสัมผัสที่เกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัยปัจจัยอันไม่เที่ยง จักเป็น ของเที่ยงแต่ไหน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอันผัสสะกระทบแล้วย่อมรู้สึก อัน ผัสสะกระทบแล้วย่อมคิด อันผัสสะกระทบแล้วย่อมจำ แม้ธรรมเหล่านี้ก็หวั่นไหว และอาพาธ ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ ย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยลิ้นและรส ลิ้นไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็น อย่างอื่น รสไม่เที่ยงมีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น ส่วนสองอย่างนี้ หวั่นไหวและอาพาธ ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น ชิวหา วิญญาณ ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น แม้เหตุปัจจัยเพื่อ ความเกิดขึ้นแห่งชิวหาวิญญาณ ก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชิวหาวิญญาณที่เกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัยปัจจัยอันไม่เที่ยง จักเป็นของเที่ยงแต่ไหน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความประจวบ ความประชุม ความ พร้อมกัน แห่งธรรมทั้ง ๓ นี้แล เรียกว่าชิวหาสัมผัส ฯ [๑๒๖] แม้ชิวหาสัมผัสก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่าง อื่น แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งชิวหาสัมผัสก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชิวหาสัมผัสที่เกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัย ปัจจัยอันไม่เที่ยง จักเป็นของเที่ยงแต่ไหน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอันผัสสะ กระทบแล้วย่อมรู้สึก อันผัสสะกระทบแล้วย่อมคิด อันผัสสะกระทบแล้วย่อมจำ แม้ธรรมเหล่านี้ก็หวั่นไหวและอาพาธ ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็น อย่างอื่น ฯลฯ มโนวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและธรรมารมณ์ ใจไม่เที่ยง มี ความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น ธรรมทั้งหลายก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น ส่วนสองอย่างนี้หวั่นไหวและอาพาธ ไม่เที่ยง มีความแปร ปรวน มีความเป็นอย่างอื่น มโนวิญญาณไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็น อย่างอื่น แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งมโนวิญญาณก็ไม่เที่ยง มีความ แปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น มโนวิญญาณที่เกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัยปัจจัย อันไม่เที่ยง จักเป็นของเที่ยงแต่ไหน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความประจวบ ความ ประชุม ความพร้อมกัน แห่งธรรม ๓ ประการนี้แล เรียกว่ามโนสัมผัส ฯ [๑๒๗] แม้มโนสัมผัสก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น แม้เหตุปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งมโนสัมผัสก็ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความ เป็นอย่างอื่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มโนสัมผัสที่เกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัยปัจจัย อันไม่เที่ยง จักเป็นของเที่ยงแต่ไหน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลอันผัสสะกระทบ แล้วย่อมรู้สึก อันผัสสะกระทบแล้วย่อมคิด อันผัสสะกระทบแล้วย่อมจำ แม้ ธรรมเหล่านี้ก็หวั่นไหวและอาพาธ ไม่เที่ยง มีความแปรปรวน มีความเป็นอย่างอื่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย มโนวิญญาณย่อมเกิดเพราะอาศัยส่วนสองอย่าง ด้วยประการ ฉะนี้แล ฯ จบสูตรที่ ๑๐ จบฉันนวรรคที่ ๔ ------------ รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. ปโลกสูตร ๒. สุญญสูตร ๓. สังขิตตสูตร ๔. ฉันนสูตร ๕. ปุณณสูตร ๖. พาหิยสูตร ๗. เอชสูตรที่ ๑ ๘. เอชสูตรที่ ๒ ๙. ทวย สูตรที่ ๑ ๑๐. ทวยสูตรที่ ๒ ฯ --------------************************************************
ท่านผู้อ่านโปรดคลิกที่ลิงค์นี้ครับ http://wandeedee.wordpress.com/2009/04/15/กัปและการกำเนิดใหม่ของ/

ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่านครับ