วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ควรฟังธรรมด้วยจิตเคารพ

ธรรมในพระบวรพุทธศาสนานี้เป็นสิ่งละเอียด ประณีต ควรฟังด้วยจิตเป็นสมาธิจึงจะได้ประโยชน์ ทั้งยังไม่ขึ้นอยู่กับกาล คือเป็นอกาลิโก ไม่เหมือนความรู้ทางเทคโนโลยีทางตะวันตกที่ยังถึงซึ่งความล้าสมัย บุคคลเมื่อฟังธรรมแล้วมีจิตคิดดูแคลนที่ไหนจะได้ประโยชน์จากพระธรรม ดังในวรรคที่ผมยกมาแสดงนี้ที่ว่า ปฏิบัติโดยไม่แยบคายย่อมไม่ได้ประโยชน์ เช่น พูดมาก ไม่เข้าใจแล้วก็คิดว่าเข้าใจ ได้ความรู้จากผู้แสดงธรรมแล้วยังไปอาฆาตผู้แสดงธรรม ฟังธรรมแล้วไม่ใคร่ครวญให้เข้าใจ หรือเข้าใจแล้วก็ไม่คิดจะปฏิบัติ เหล่านี้เป็นเรื่องที่ไม่ถูกไม่ควรประการแรก

ประการที่สองนั้นเป็นอีกลักษณะ คือการที่บุคคลทราบในธรรมแล้วแต่ไม่เผยแพร่ธรรมอันดี มีคุณประโยชน์ให้ผู้อื่นทราบตาม กรณีของผมนั้นตั้งใจอยู่แล้วว่าจะไม่ปิดบัง แม้จะต้องประสบกับคนกลุ่มแรกที่กล่าวแล้ว ก็เลยอยากจะเชิญชวนท่านที่เข้าใจในธรรมมาแสดงความคิดเห็นกันบ้าง ที่ว่าท่านทราบธรรมนั้น ท่านทราบอะไรบ้าง ถ้าเป็นประโชน์ เป็นความรู้ใหม่ๆนั้นจริง ผมจะอนุโมทนาด้วยคนครับ แต่ถ้าที่ท่านกล่าวมายังขาดตกบกพร่องตรงไหนผมก็จะได้ชี้แจง เพราะอะไรผมจึงเชิญชวนอย่างนี้ สาเหตุก็เพราะธรรมอันดีจะได้ไม่สูญหายไป จะเป็นประโยชน์แก่พระศาสนา ดังในสัทธรรมสัมโมสสูตรทั้งสามพระสูตร จุดประสงค์ในการทำเว็บของผมนี้เป็นไปตามทุกถาสูตร คือ เพื่อให้เกิดศรัทธา เพื่อให้เห็นคุณของศีล เพื่อความเป็นผู้รู้รอบในธรรม เพื่อให้เห็นประโยชน์ในการบริจาคทาน และเพื่อชี้แจงถึงปัญญาในพระบวรพุทธศาสนา ก็ปรากฏว่าเมื่อวานนี้เองผมถูกต่อว่าในเรื่องที่เป็นจุดประสงค์อันดีเลิศทั้ง5ประการนี้ครบถ้วนทุกข้อเลยครับจากบุคคลที่ถือว่าเป็นระดับปัญญาชน แต่ว่าผมฟังแล้วก็ไม่ได้รู้สึกท้อแท้เลยครับ

ขอเชิญชวนอีกครั้งครับ ให้มาแสดงความคิดเห็นในเชิงสร้างสรรกันในบล็อกนี้ ในอุทายีสูตรนั้น ท่านพระอุทายีผู้เป็นที่ทราบว่าเป็นต้นกำเนิดของการบัญญัติพระวินัยมากมายหลายข้อ เมื่อท่านคิดจะแสดงธรรม พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงเปิดโอกาสให้แสดงธรรม ไม่ได้ปิดกั้นโอกาสครับ

พระสูตรในวันนี้ยกมาจากพระสุตตันตปิฎก เล่ม14 อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต ครับ

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
**************************************
จตุตถปัณณาสก์
สัทธรรมวรรคที่ ๑
๑. สัทธรรมนิยามสูตรที่ ๑
[๑๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ แม้ ฟังสัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม คือ ความถูกในกุศลธรรม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ บุคคลย่อมพูดมาก ๑ พูดคำพูดที่ผู้อื่นพูดแล้ว มาก ๑ พูดปรารภตน ๑ เป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่านฟังธรรม ๑ เป็นผู้มีจิตไม่แน่วแน่ มนสิการโดยอุบายไม่แยบคาย ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล แม้ฟังสัทธรรมอยู่ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม คือ ความ ถูกในกุศลธรรม ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ฟังสัทธรรมอยู่ เป็นผู้ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม คือ ความถูกในกุศลธรรม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ บุคคลย่อมไม่พูดมาก ๑ ไม่พูดคำพูดที่ผู้อื่นพูดแล้วมาก ๑ ไม่พูดปรารภตน ๑ เป็นผู้มีจิตไม่ฟุ้งซ่านฟังธรรม ๑ เป็นผู้มีจิตแน่วแน่มนสิการโดยอุบายแยบคาย ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ฟังสัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ควรหยั่งลงสู่นิยาม คือ ความถูกในกุศลธรรม ฯ
จบสูตรที่ ๑
๒. สัทธรรมนิยามสูตรที่ ๒
[๑๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ แม้ ฟังสัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม คือ ความถูกในกุศลธรรม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ บุคคลย่อมพูดมาก ๑ พูดคำพูดที่ผู้อื่นพูดแล้ว มาก ๑ พูดปรารภตน ๑ เป็นผู้มีปัญญาทราม โง่เง่า ๑ เป็นผู้มีความถือตัวว่า เข้าใจในสิ่งที่ยังไม่เข้าใจ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล แม้ฟังสัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม คือ ความถูก ในกุศลธรรม ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ฟังสัทธรรม อยู่ เป็นผู้ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม คือ ความถูกในกุศลธรรม ธรรม ๕ ประการ เป็นไฉน คือ บุคคลย่อมไม่พูดมาก ๑ ไม่พูดคำพูดที่ผู้อื่นพูดแล้วมาก ๑ ไม่พูด ปรารภตน ๑ เป็นผู้มีปัญญา ไม่โง่เง่า ๑ ไม่เป็นผู้มีความถือตัวว่าเข้าใจในสิ่งที่ ยังไม่เข้าใจ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ฟังสัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม คือ ความถูกในกุศลธรรม ฯ
จบสูตรที่ ๒
๓. สัทธรรมนิยามสูตรที่ ๓
[๑๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ แม้ ฟังสัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม คือ ความถูกในกุศลธรรม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ บุคคลเป็นผู้ลบหลู่คุณท่านฟังธรรม ๑ เป็นผู้อันความ ลบหลู่ครอบงำ มีจิตแข่งดีฟังธรรม ๑ เป็นผู้แสวงโทษ มีจิตกระทบในผู้แสดง ธรรม มีจิตกระด้าง ๑ เป็นผู้มีปัญญาทราม โง่เง่า ๑ เป็นผู้มีความถือตัวว่าเข้าใจ ในสิ่งที่ยังไม่เข้าใจ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ นี้แล แม้ฟังสัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม คือ ความถูกในกุศล ธรรม ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ฟังสัทธรรม อยู่ เป็นผู้ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม คือ ความถูกในกุศลธรรม ธรรม ๕ ประการ เป็นไฉน คือ บุคคลย่อมไม่เป็นผู้ลบหลู่คุณท่านฟังธรรม ๑ เป็นผู้อันความลบหลู่ ไม่ครอบงำ ไม่มีจิตแข่งดีฟังธรรม ๑ เป็นผู้ไม่แสวงโทษ ไม่มีจิตกระทบในผู้ แสดงธรรม ไม่มีจิตกระด้าง ๑ เป็นผู้มีปัญญา ไม่โง่เง่า ๑ ไม่เป็นผู้มีความถือ ตัวว่าเข้าใจในสิ่งที่ยังไม่เข้าใจ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ฟังสัทธรรมอยู่ เป็นผู้ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม คือ ความถูกในกุศล ธรรม ฯ
จบสูตรที่ ๓
๔. สัทธรรมสัมโมสสูตรที่ ๑
[๑๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความ ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่ฟังธรรมโดยเคารพ ๑ ไม่เล่าเรียนธรรมโดยเคารพ ๑ ไม่ทรงจำธรรมโดยเคารพ ๑ ไม่ใคร่ครวญอรรถแห่งธรรมที่ทรงจำไว้โดยเคารพ ๑ รู้อรรถรู้ธรรมแล้วไม่ปฏิบัติ ธรรมสมควรแก่ธรรมโดยเคารพ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัย นี้ ย่อมฟังธรรมโดยเคารพ ๑ เล่าเรียนธรรมโดยเคารพ ๑ ทรงจำธรรมโดย เคารพ ๑ ใคร่ครวญอรรถแห่งธรรมที่ทรงจำไว้โดยเคารพ ๑ รู้อรรถรู้ธรรมแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมโดยเคารพ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการ นี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ฯ
จบสูตรที่ ๔
๕. สัทธรรมสัมโมสสูตรที่ ๒
[๑๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความ ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรม วินัยนี้ ย่อมไม่เล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ นี้ธรรมเป็นข้อที่ ๑ ย่อมเป็นไปเพื่อ ความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายย่อมไม่ แสดงธรรมตามที่ได้ฟังมา ตามที่ได้เล่าเรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร นี้เป็นธรรม ข้อที่ ๒ ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายย่อมไม่บอกธรรมตามที่ได้ฟังมา ตามที่ได้เล่าเรียนมาแก่ผู้อื่นโดย พิสดาร นี้เป็นธรรมข้อที่ ๓ ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ย่อมไม่ทำการสาธยายธรรมตามที่ได้ฟังมา ตามที่ ได้เล่าเรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร นี้เป็นธรรมข้อที่ ๔ ย่อมเป็นไปเพื่อความ ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายย่อมไม่ตรึกตรอง ไม่เพ่งดูด้วยใจ ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมา ตามที่ได้เล่าเรียนมาโดยพิสดาร นี้เป็น ธรรมข้อที่ ๕ ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่ง สัทธรรม ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุทั้งหลายใน ธรรมวินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ ... อัพภูตธรรม เวทัลละ นี้ เป็นธรรมข้อที่ ๑ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายย่อมแสดงธรรมตามที่ได้ฟังมา ตามที่ได้เล่าเรียนมา แก่ผู้อื่นโดยพิสดาร นี้เป็นธรรมข้อที่ ๒ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือน เสื่อมสูญแห่งสัทธรรม อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายย่อมบอกธรรมตามที่ได้ฟัง มา ตามที่ได้เล่าเรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร นี้เป็นธรรมข้อที่ ๓ ย่อมเป็นไปเพื่อ ความตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ย่อมทำการสาธยายธรรมตามที่ได้ฟังมา ตามที่ได้เล่าเรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร นี้เป็นธรรมข้อที่ ๔ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายย่อมตรึกตรอง เพ่งดูด้วยใจ ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมา ตามที่ได้เล่าเรียนมาโดยพิสดาร นี้เป็นธรรมข้อที่ ๕ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อม เป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ฯ
จบสูตรที่ ๕
๖. สัทธรรมสัมโมสสูตรที่ ๓
[๑๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความ ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุทั้งหลายใน ธรรมวินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนพระสูตรที่ทรงจำไว้ไม่ดี ด้วยบทและพยัญชนะ ที่ตั้งไว้ไม่ดี แม้อรรถแห่งบทและพยัญชนะที่ตั้งไว้ไม่ดี ย่อมเป็นเนื้อความ มีนัยไม่ดี นี้เป็นธรรมข้อที่ ๑ ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือน เสื่อมสูญ แห่งสัทธรรม อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้ว่ายาก ประกอบด้วย ธรรมกระทำให้เป็นผู้ว่ายาก เป็นผู้ไม่อดทน รับคำพร่ำสอนโดยไม่เคารพ นี้เป็น ธรรมข้อที่ ๒ ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม อีกประการ หนึ่ง ภิกษุทั้งหลายที่เป็นพหูสูต มีการเล่าเรียนมาก ทรงธรรม ทรงวินัย ทรง มาติกา ย่อมไม่บอกพระสูตรแก่ผู้อื่นโดยเคารพ เมื่อภิกษุเหล่านั้นล่วงลับไป พระสูตรย่อมขาดเค้ามูล ไม่มีหลัก นี้เป็นธรรมข้อที่ ๓ ย่อมเป็นไปเพื่อความ ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายผู้เถระ เป็นผู้มัก มาก มีความประพฤติย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในการล่วงละเมิด ทอดธุระในทาง วิเวก ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง ประชุมชนรุ่นหลังย่อมถือเอาภิกษุเหล่านั้น เป็นตัวอย่าง ประชุมชนเหล่านั้นก็เป็นผู้มักมาก มีความประพฤติย่อหย่อน เป็น หัวหน้าในการล่วงละเมิด ทอดธุระในทางวิเวก ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึง ธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นธรรมข้อที่ ๔ ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม อีก ประการหนึ่ง สงฆ์เป็นผู้แตกกัน เมื่อสงฆ์แตกกันแล้ว ย่อมมีการด่ากันและกัน บริภาษกันและกัน แช่งกันและกัน ทอดทิ้งกันและกัน ในเหตุการณ์เช่นนั้น คน ผู้ไม่เลื่อมใสย่อมไม่เลื่อมใส และคนบางพวกที่เลื่อมใสแล้วย่อมเหินห่าง นี้เป็น ธรรมข้อที่ ๕ ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่ง สัทธรรม ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนพระสูตรที่ทรงจำไว้ดี ด้วยบทและพยัญชนะที่ตั้งไว้ ดี แม้อรรถแห่งบทและพยัญชนะที่ตั้งไว้ดี ย่อมเป็นเนื้อความที่มีนัยดี นี้เป็น ธรรมข้อที่ ๑ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม อีก ประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมที่กระทำให้เป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้อดทน รับคำพร่ำสอนโดยเคารพ นี้เป็นธรรมข้อที่ ๒ ย่อมเป็นไปเพื่อความ ตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายที่เป็น พหูสูตเล่าเรียนมาก ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ย่อมบอกแก่ผู้อื่นโดย เคารพ เมื่อภิกษุเหล่านั้นล่วงลับไป พระสูตรย่อมไม่ขาดเค้ามูล มีหลักฐานอยู่ นี้เป็นธรรมข้อที่ ๓ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่ง สัทธรรม อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายผู้เถระ ย่อมไม่มักมาก ไม่ประพฤติย่อ หย่อน ทอดธุระในการล่วงละเมิด เป็นหัวหน้าในทางวิเวก ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อกระทำให้แจ้งธรรมที่ยัง ไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นธรรมข้อที่ ๔ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อม สูญแห่งสัทธรรม อีกประการหนึ่ง สงฆ์ย่อมเป็นผู้สมัครสมานกันดี ชื่นชมต่อกัน ไม่วิวาทกัน มีอุเทศเป็นอย่างเดียวกัน อยู่สบาย ก็เมื่อสงฆ์สมัครสมานกันดี ไม่มีการด่ากันและกัน ไม่บริภาษกันและกัน ไม่มีการแข่งขันกันและกัน ไม่ทอด ทิ้งกันและกัน ในเหตุการณ์เช่นนั้น คนผู้ไม่เลื่อมใสย่อมเลื่อมใส และคนบาง พวกที่เลื่อมใสแล้ว ย่อมเลื่อมใสยิ่งขึ้น นี้เป็นธรรมข้อที่ ๕ ย่อมเป็นไปเพื่อ ความตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประ การนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ฯ
จบสูตรที่ ๖
๗. ทุกถาสูตร
[๑๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้อยคำของบุคคล ๕ จำพวกย่อมเป็นถ้อยคำ ชั่ว เมื่อเทียบบุคคลกับบุคคล บุคคล ๕ จำพวกเป็นไฉน คือ ถ้อยคำปรารภศรัทธา เป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ไม่มีศรัทธา ๑ ถ้อยคำปรารภศีลเป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ทุศีล ๑ ถ้อยคำปรารภพาหุสัจจะเป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ได้สดับน้อย ๑ ถ้อยคำปรารภจาคะเป็น ถ้อยคำชั่วแก่ผู้ตระหนี่ ๑ ถ้อยคำปรารภปัญญาเป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ทรามปัญญา ๑ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุไร ถ้อยคำปรารภศรัทธาจึงเป็นถ้อยคำชั่ว แก่ผู้ไม่มีศรัทธา เพราะผู้ไม่มีศรัทธา เมื่อพูดเรื่องศรัทธา ย่อมขัดข้อง โกรธ พยาบาท กระด้าง แสดงความโกรธเคืองและความขัดใจให้ปรากฏ ข้อนั้นเพราะ เหตุไร เพราะผู้ไม่มีศรัทธานั้น ย่อมไม่เห็นศรัทธาสัมปทาในตน และย่อมไม่ได้ ปีติปราโมทย์ที่มีศรัทธาสัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น ถ้อยคำปรารภศรัทธาจึงเป็น ถ้อยคำชั่วแก่ผู้ไม่มีศรัทธา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุไร ถ้อยคำปรารภศีลจึง เป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ทุศีล เพราะผู้ทุศีล เมื่อพูดเรื่องศีลย่อมขัดข้อง โกรธ พยาบาท กระด้าง แสดงความโกรธเคืองและความขัดใจให้ปรากฏ ข้อนั้นเพราะ เหตุไร เพราะผู้ทุศีลนั้นย่อมไม่เห็นศีลสัมปทาในตน และย่อมไม่ได้ปีติและ ปราโมทย์ที่มีศีลสัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น ถ้อยคำปรารภศีลจึงเป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ ทุศีล เพราะเหตุไร ถ้อยคำปรารภพาหุสัจจะจึงเป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ได้สดับน้อย เพราะผู้ได้สดับน้อย เมื่อพูดเรื่องพาหุสัจจะ ย่อมขัดข้อง โกรธ พยาบาท กระด้าง แสดงความโกรธเคืองและความขัดใจให้ปรากฏ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้ได้สดับน้อยนั้น ย่อมไม่เห็นสุตสัมปทาในตน และย่อมไม่ได้ปีติ ปราโมทย์ที่มีสุตสัมปทาเป็นเหตุ ฉะนั้น ถ้อยคำปรารภพาหุสัจจะจึงเป็นถ้อยคำ ชั่วแก่ผู้ได้สดับน้อย เพราะเหตุไร ถ้อยคำปรารภจาคะจึงเป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ตระหนี่ เพราะผู้ตระหนี่ เมื่อพูดเรื่องจาคะ ย่อมขัดข้อง โกรธ พยาบาท กระด้าง แสดง ความโกรธเคืองและความขัดใจให้ปรากฏ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้ตระหนี่นั้น ย่อมไม่เห็นจาคสัมปทาในตนและย่อมไม่ได้ปีติปราโมทย์ที่มีจาคสัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น ถ้อยคำปรารภจาคะ จึงเป็นถ้อยคำชั่วของผู้ตระหนี่ เพราะเหตุไร ถ้อยคำ ปรารภปัญญาจึงเป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ทรามปัญญา เพราะผู้ทรามปัญญา เมื่อพูดเรื่อง ปัญญา ย่อมขัดข้อง โกรธ พยาบาท กระด้าง แสดงความโกรธเคืองและความ ขัดใจให้ปรากฏ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้ทรามปัญญานั้นย่อมไม่เห็นปัญญา สัมปทาในตน และย่อมไม่ได้ปีติปราโมทย์ที่มีปัญญาสัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น ถ้อยคำปรารภปัญญาจึงเป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ทรามปัญญา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้อยคำ ของบุคคล ๕ จำพวกนี้แล ย่อมเป็นถ้อยคำชั่ว เมื่อเทียบบุคคลกับบุคคล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้อยคำของบุคคล ๕ จำพวก ย่อมเป็นถ้อยคำดี เมื่อ เทียบบุคคลกับบุคคล บุคคล ๕ จำพวกเป็นไฉน คือถ้อยคำปรารภศรัทธาเป็น ถ้อยคำดีแก่ผู้มีศรัทธา ๑ ถ้อยคำปรารภศีลเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้มีศีล ๑ ถ้อยคำปรารภ พาหุสัจจะเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้ได้สดับมาก ๑ ถ้อยคำปรารภจาคะเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้มี จาคะ ๑ ถ้อยคำปรารภปัญญาเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้มีปัญญา ๑ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุไร ถ้อยคำปรารภศรัทธาจึงเป็นถ้อยคำดี แก่ผู้มีศรัทธา เพราะผู้มีศรัทธา เมื่อพูดเรื่องศรัทธาย่อมไม่ขัดข้อง ไม่โกรธ ไม่ พยาบาท ไม่กระด้าง ไม่แสดงความโกรธเคืองและความขัดใจให้ปรากฏ ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะผู้มีศรัทธานั้นย่อมเห็นศรัทธาสัมปทาในตน และย่อมได้ปีติ ปราโมทย์ที่มีศรัทธาสัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น ถ้อยคำปรารภศรัทธาจึงเป็นถ้อยคำดี แก่ผู้มีศรัทธา เพราะเหตุไร ถ้อยคำปรารภศีลจึงเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้มีศีล เพราะผู้มีศีล เมื่อพูดเรื่องศีล ย่อมไม่ขัดข้อง ไม่โกรธ ไม่พยาบาท ไม่กระด้าง ไม่แสดง ความโกรธเคืองและความขัดใจให้ปรากฏ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้มีศีลนั้น ย่อมเห็นศีลสัมปทาในตน และย่อมได้ปีติปราโมทย์ที่มีศีลสัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น ถ้อยคำปรารภศีลจึงเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้มีศีล เพราะเหตุไร ถ้อยคำปรารภ พาหุสัจจะจึงเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้ได้สดับมาก เพราะผู้ได้สดับมาก เมื่อพูดเรื่อง พาหุสัจจะ ย่อมไม่ขัดข้อง ไม่โกรธ ไม่พยาบาท ไม่กระด้าง ไม่แสดงความ โกรธเคืองและความขัดใจให้ปรากฏ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้ได้สดับมากย่อม เห็นสุตสัมปทาในตน และย่อมได้ปีติปราโมทย์ที่มีสุตสัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น ถ้อยคำปรารภพาหุสัจจะจึงเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้ได้สดับมาก เพราะเหตุไร ถ้อยคำ ปรารภจาคะจึงเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้มีจาคะ เพราะผู้มีจาคะ เมื่อพูดเรื่องจาคะ ย่อม ไม่ขัดข้อง ไม่โกรธ ไม่พยาบาท ไม่กระด้าง ไม่แสดงความโกรธเคืองและ ความขัดใจให้ปรากฏ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้มีจาคะนั้นย่อมเห็นจาคะ สัมปทาในตน และย่อมได้ปีติปราโมทย์ที่มีจาคสัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น ถ้อยคำ ปรารภจาคะ จึงเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้มีจาคะ เพราะเหตุไร ถ้อยคำปรารภปัญญาจึงเป็น ถ้อยคำดีแก่ผู้มีปัญญา เพราะผู้มีปัญญา เมื่อพูดเรื่องปัญญา ย่อมไม่ขัดข้อง ไม่โกรธ ไม่พยาบาท ไม่กระด้าง ไม่แสดงความโกรธเคืองและความขัดใจ ให้ปรากฏ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้มีปัญญานั้น ย่อมเห็นปัญญาสัมปทาในตน และย่อมได้ปีติปราโมทย์ที่มีปัญญาสัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้นถ้อยคำปรารภปัญญา จึงเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้มีปัญญา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้อยคำของบุคคล ๕ จำพวกนี้แล ย่อมเป็นถ้อยคำดี เมื่อเทียบบุคคลกับบุคคล ฯ
จบสูตรที่ ๗
๘. สารัชชสูตร
[๑๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อม ถึงความครั่นคร้าม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ ไม่มีศรัทธา ๑ เป็นผู้ทุศีล ๑ เป็นผู้ได้สดับน้อย ๑ เป็นผู้เกียจคร้าน ๑ เป็นผู้ มีปัญญาทราม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมถึงความครั่นคร้าม ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นผู้ แกล้วกล้า ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มี ศรัทธา ๑ เป็นผู้มีศีล ๑ เป็นผู้ได้สดับมาก ๑ เป็นผู้ปรารภความเพียร ๑ มี ปัญญา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อม เป็นผู้แกล้วกล้า ฯ
จบสูตรที่ ๘
๙. อุทายิสูตร
[๑๕๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้เมือง โกสัมพี สมัยนั้น ท่านพระอุทายีผู้อันคฤหัสถ์บริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อมแล้ว นั่ง แสดงธรรมอยู่ ท่านพระอานนท์ได้เห็นท่านพระอุทายี ผู้อันคฤหัสถ์บริษัทหมู่ ใหญ่แวดล้อมแล้ว นั่งแสดงธรรมอยู่ จึงได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ท่านพระอุทายี ผู้อันคฤหัสถ์บริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อมแล้ว นั่งแสดงธรรม อยู่ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ การแสดงธรรมแก่ผู้อื่นไม่ใช่ทำได้ง่าย ภิกษุเมื่อจะแสดงธรรมแก่ผู้อื่น พึงตั้งธรรม ๕ ประการไว้ภายใน แล้วจึงแสดง ธรรมแก่ผู้อื่น ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุพึงตั้งใจว่า เราจักแสดงธรรมไปโดย ลำดับ ๑ เราจักแสดงอ้างเหตุผล ๑ เราจักแสดงธรรมอาศัยความเอ็นดู ๑ เรา จักเป็นผู้ไม่เพ่งอามิสแสดงธรรม ๑ เราจักไม่แสดงให้กระทบตนและผู้อื่น ๑ แล้ว จึงแสดงธรรมแก่ผู้อื่น ดูกรอานนท์ การแสดงธรรมแก่ผู้อื่นไม่ใช่ทำได้ง่าย ภิกษุ เมื่อจะแสดงธรรมแก่ผู้อื่น พึงตั้งธรรม ๕ ประการนี้ไว้ในภายใน แล้วจึงแสดง ธรรมแก่ผู้อื่น ฯ
จบสูตรที่ ๙
๑๐. ทุพพิโนทยสูตร
[๑๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ เกิดขึ้นแล้วบรรเทาได้ ยาก ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ราคะ ๑ โทสะ ๑ โมหะ ๑ ปฏิภาณ ๑ จิตคิดจะไป ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ เกิดขึ้นแล้วบรรเทาได้ ยาก ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบสัทธรรมวรรคที่ ๑
---------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
สัทธรรมนิยามสูตร ๓ สูตร สัทธรรมสัมโมสสูตร ๓ สูตร ทุกถา สูตร สารัชชสูตร อุทายิสูตร ทุพพิโนทยสูตร ฯ

*******************************************
ท่านผู้อ่านโปรดคลิกที่ลิงค์นี้ครับ http://hawk.blogth.com/17559/%A4%C7%C3%BF%D1%A7%B8%C3%C3%C1%B4%E9%C7%C2%A8%D4%B5%E0%A4%D2%C3%BE.html

ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่านครับ

วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2552

แบบอย่างของภิกษุผู้มักน้อย

พระสูตรวันนี้ขอกล่าวถึงอุบาสกในพระบวรพุทธศาสนาว่า ควรพิจารณาพระภิกษุอย่างไรว่าน่าเลื่อมใส ทั้งนี้บุคคลเมื่อทำบุญ หากประสงค์จะให้ได้บุญมาก ก็ควรพิจารณาดูว่า ภิกษุรูปใดหนอ อันเราเมื่อถวายทานแล้วอย่างนี้โดยปัจจัยที่เรามีจำกัด แต่ผลทานของเรานั้นจักมีผลมาก นำสุขมาแก่เราทั้งโลกนี้และโลกหน้า เรื่องนี้สำคัญมากนะครับ เหตุการณ์เคยมีมาแล้วว่าอุบาสกท่านหนึ่งกระทำมหาทาน คือถวายทานแก่ชนเป็นอันมาก ทุกๆวันจนตลอดชีวิต แต่ผลทานที่ได้รับนั้นกลับน้อยกว่าผลทานที่อุบาสกอีกท่านหนึ่งถวายทานแก่ท่านพระอนุรุทธ์เถระเพียงครั้งเดียว จะเห็นว่าพระสูตรทั้งหมดในวันนี้นั้นว่าด้วยเรื่องจริยาของพระสงฆ์อันควรแก่ความเลื่อมใสทั้งสิ้นครับ

พระสูตรในวันนี้ยกมาจากพระสุตตันตปิฎก เล่ม14 อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต ตติยปัณณาสก์ ครับ

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

************************************
ตติยปัณณาสก์
ผาสุวิหารวรรคที่ ๑
๑. เวสารัชชกรณสูตร
[๑๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นเครื่องกระทำความเป็นผู้แกล้วกล้า แห่งภิกษุผู้เสขะ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็น ผู้มีศรัทธา ๑ เป็นผู้มีศีล ๑ เป็นพหูสูต ๑ เป็นผู้ปรารภความเพียร ๑ เป็นผู้มี ปัญญา ๑ ความครั่นคร้ามใด ย่อมมีแก่ผู้ไม่มีศรัทธา ความครั่นคร้ามนั้นย่อมไม่ มีแก่ผู้มีศรัทธา ฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นเครื่องกระทำความเป็นผู้แกล้วกล้าแห่ง ภิกษุผู้เสขะ ความครั่นคร้ามใดย่อมมีแก่ผู้ทุศีล ความครั่นคร้ามนั้นย่อมไม่มีแก่ผู้มี ศีล ฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นเครื่องกระทำความเป็นผู้แกล้วกล้าแห่งภิกษุผู้เสขะ ความครั่นคร้ามใดย่อมมีแก่ผู้ได้ศึกษาน้อย ความครั่นคร้ามนั้นย่อมไม่มีแก่ผู้เป็น พหูสูต ฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นเครื่องกระทำความเป็นผู้แกล้วกล้าแห่งภิกษุผู้ เสขะ ความครั่นคร้ามใดย่อมมีแก่ผู้เกียจคร้าน ความครั่นคร้ามนั้นย่อมไม่มีแก่ผู้ ปรารภความเพียร ฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นเครื่องกระทำความเป็นผู้แกล้วกล้า แห่งภิกษุผู้เสขะ ความครั่นคร้ามใดย่อมมีแก่ผู้มีปัญญาทราม ความครั่นคร้ามนั้น ย่อมไม่มีแก่ผู้มีปัญญา ฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นเครื่องกระทำความเป็นผู้แกล้ว กล้าแห่งภิกษุผู้เสขะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นเครื่องกระทำความเป็นผู้แกล้ว กล้าแห่งภิกษุผู้เสขะ ๕ ประการนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๑
๒. สังกิตสูตร
[๑๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นที่รังเกียจสงสัยว่าเป็นปาปภิกษุ แม้จะเป็นผู้มีอกุปปธรรม ธรรม ๕ ประการ เป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้คบหาหญิงแพศยา ย่อมเป็นผู้คบ หาหญิงหม้าย ย่อมเป็นผู้คบหาสาวเทื้อ ย่อมเป็นผู้คบหาบัณเฑาะก์ ย่อมเป็นผู้คบหา ภิกษุณี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นที่ รังเกียจสงสัยว่าเป็นปาปภิกษุ แม้จะเป็นผู้มีอกุปปธรรม ฯ
จบสูตรที่ ๒
๓. โจรสูตร
[๑๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย มหาโจรประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ ย่อม ตัดที่ต่อบ้าง ย่อมปล้นทำลายบ้าง ย่อมทำการปล้น เฉพาะเรือนหลังเดียวบ้าง ตีชิงในทางเปลี่ยวบ้าง องค์ ๕ ประการเป็นไฉน คือ มหาโจรในโลกนี้เป็นผู้อาศัย ที่ไม่ราบเรียบ ๑ เป็นผู้อาศัยที่รกชัฏ ๑ เป็นผู้อาศัยคนมีกำลัง ๑ เป็นผู้ใช้จ่าย โภคทรัพย์ ๑ เป็นผู้เที่ยวไปคนเดียว ๑ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มหาโจรเป็นผู้อาศัยที่ไม่ราบเรียบอย่างไร คือ มหาโจรในโลกนี้ เป็นผู้อาศัยที่ลุ่มแห่งแม่น้ำ หรือที่ไม่ราบเรียบแห่งภูเขา ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย มหาโจรเป็นผู้อาศัยที่ไม่ราบเรียบอย่างนี้แล ก็มหาโจรเป็นผู้อาศัยที่รกชัฏ อย่างไร คือ มหาโจรในโลกนี้ เป็นผู้อาศัยที่รกชัฏแห่งหญ้าบ้าง ที่รกชัฏแห่ง ต้นไม้บ้าง ฝั่งน้ำบ้าง ป่าใหญ่บ้าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย มหาโจรเป็นผู้อาศัยที่รกชัฏ อย่างนี้แล ก็มหาโจรเป็นผู้อาศัยคนมีกำลังอย่างไร คือ มหาโจรในโลกนี้ ย่อม อาศัยพระราชาบ้าง มหาอำมาตย์แห่งพระราชาบ้าง เขาย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า ถ้าใครจะกล่าวหาเรื่องบางอย่างกะเรา พระราชาหรือมหาอำมาตย์แห่งพระราชา เหล่านี้จักช่วยว่าความให้ ถ้าใครจักกล่าวหาเรื่องบางอย่างกะเขา พระราชาหรือ มหาอำมาตย์แห่งพระราชาเหล่านั้นก็ช่วยว่าความให้แก่เขา ดูกรภิกษุทั้งหลาย มหาโจรเป็นผู้อาศัยคนมีกำลังอย่างนี้แล ก็มหาโจรย่อมแจกจ่ายโภคทรัพย์อย่างไร คือ มหาโจรในโลกนี้ เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก เขาย่อมมีความคิดอย่าง นี้ว่า ถ้าใครจักกล่าวหาเรื่องบางอย่างกะเรา เราจักจ่ายโภคทรัพย์กลบเกลื่อนเรื่อง นั้น ถ้าใครกล่าวหาเรื่องบางอย่างกะเขา เขาย่อมใช้จ่ายโภคทรัพย์กลบเกลื่อนเรื่อง นั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย มหาโจรเป็นผู้ใช้จ่ายโภคทรัพย์อย่างนี้แล ก็มหาโจรเป็น ผู้เที่ยวไปคนเดียวอย่างไร คือ มหาโจรในโลกนี้ เป็นผู้ทำโจรกรรมคนเดียว ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขาย่อมปรารถนาว่า เรื่องลับของเราอย่าได้แพร่งพราย ไปภายนอก ดูกรภิกษุทั้งหลาย มหาโจรเป็นผู้เที่ยวไปคนเดียวอย่างนี้แล มหาโจรผู้ ประกอบด้วยองค์ ๕ ประการนี้แล ย่อมตัดที่ต่อบ้าง ย่อมปล้นทำลายบ้าง ย่อม ปล้นเฉพาะเรือนหลังเดียวบ้าง ตีชิงในทางเปลี่ยวบ้าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้น เหมือนกันแล ปาปภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมบริหารตนให้ถูก กำจัด ถูกทำลาย เป็นผู้มีโทษ มีข้อที่วิญญูชนจะพึงติเตียน และย่อมประสบ บาปเป็นอันมาก ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ปาปภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ อาศัยกรรมที่ไม่สม่ำเสมอ ๑ เป็นผู้อาศัยที่รกชัฏ ๑ เป็นผู้อาศัยคนมีกำลัง ๑ เป็น ผู้ใช้จ่ายโภคทรัพย์ ๑ เป็นผู้เที่ยวไปคนเดียว ๑ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปาปภิกษุเป็นผู้อาศัยกรรมที่ไม่สม่ำเสมออย่างไร คือ ปาปภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่ไม่ สม่ำเสมอ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปาปภิกษุเป็นผู้อาศัยกรรมที่ไม่สม่ำเสมออย่างนี้แล ก็ปาปภิกษุเป็นผู้อาศัยที่รกชัฏอย่างไร คือ ปาปภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นมิจฉาทิฐิ ประกอบด้วยอันตคาหิกทิฐิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปาปภิกษุเป็นผู้อาศัยที่รกชัฏอย่างนี้ แล ก็ปาปภิกษุเป็นผู้อาศัยคนมีกำลังอย่างไร คือ ปาปภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็น ผู้อาศัยพระราชาบ้าง มหาอำมาตย์แห่งพระราชาบ้าง เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ถ้าใครจักกล่าวหาเรื่องบางอย่างกะเรา พระราชาหรือมหาอำมาตย์แห่งพระราชา เหล่านี้ จักช่วยว่าความให้ ถ้าใครกล่าวหาเรื่องบางอย่างแก่เธอ พระราชาหรือ มหาอำมาตย์แห่งพระราชาเหล่านั้น ย่อมช่วยว่าความให้แก่เธอ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปาปภิกษุเป็นผู้อาศัยคนมีกำลังอย่างนี้แล ก็ปาปภิกษุเป็นผู้ใช้จ่ายโภคทรัพย์อย่างไร คือ ปาปภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า ถ้าใครจักกล่าวหาเรื่องบาง อย่างกะเรา เราจักแจกจ่ายลาภกลบเกลื่อนเรื่องนั้น ถ้าใครกล่าวหาเรื่องบางอย่าง กะเธอ เธอย่อมแจกจ่ายลาภกลบเกลื่อนเรื่องนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปาปภิกษุ เป็นผู้ใช้จ่ายโภคทรัพย์อย่างนี้แล ก็ปาปภิกษุเป็นผู้เที่ยวไปคนเดียวอย่างไร คือ ปาป ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมอยู่ชนบทชายแดนรูปเดียว เธอเข้าไปหาสกุล (บ้าน ญาติโยม) ในชนบทนั้น ย่อมได้ลาภ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปาปภิกษุเป็นผู้เที่ยวไป คนเดียวอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปาปภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ นี้แล ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย เป็นผู้มีโทษ มีข้อที่วิญญูชนจะพึง ติเตียน และประสบบาปเป็นอันมาก ฯ
จบสูตรที่ ๓
๔. สุขุมาลสูตร
[๑๐๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้ ย่อม ชื่อว่าเป็นสมณะละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ฯ ๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ถูกขอร้องจึงใช้จีวรมาก ไม่ถูกขอร้องใช้จีวร น้อย ถูกขอร้องจึงบริโภคบิณฑบาตมาก ไม่ถูกขอร้องบริโภคบิณฑบาตน้อย ถูก ขอร้องจึงใช้เสนาสนะมาก ไม่ถูกขอร้องใช้เสนาสนะน้อย ถูกขอร้องจึงใช้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารมาก ไม่ถูกขอร้องใช้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารน้อย ฯ ๒. อนึ่ง เธอย่อมอยู่ร่วมกับเพื่อนพรหมจรรย์เหล่าใด เพื่อนพรหมจรรย์ เหล่านั้น ย่อมประพฤติต่อเธอด้วยกายกรรมอันเป็นที่พอใจเป็นส่วนมาก อันไม่ เป็นที่พอใจเป็นส่วนน้อย ย่อมประพฤติต่อเธอด้วยวจีกรรมอันเป็นที่พอใจเป็น ส่วนมาก อันไม่เป็นที่พอใจเป็นส่วนน้อย ย่อมประพฤติต่อเธอด้วยมโนกรรมอัน เป็นที่พอใจเป็นส่วนมาก อันไม่เป็นที่พอใจเป็นส่วนน้อย ย่อมนำสิ่งที่ควรนำ เข้าไปอันเป็นที่พอใจเป็นส่วนมาก อันไม่เป็นที่พอใจเป็นส่วนน้อย ฯ ๓. อนึ่ง เวทนามีดีเป็นสมุฏฐานก็ดี มีเสมหะเป็นสมุฏฐานก็ดี มีลม เป็นสมุฏฐานก็ดี ที่เกิดเพราะสันนิบาตก็ดี ที่เกิดเพราะฤดูเปลี่ยนแปรก็ดี ที่เกิด เพราะการบริหารไม่เสมอก็ดี ที่เกิดเพราะความแก่ก็ดี ที่เกิดเพราะผลกรรมก็ดี ย่อมไม่บังเกิดแก่เธอมาก เธอเป็นผู้มีอาพาธน้อย ฯ ๔. เธอเป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่สบายในปัจจุบัน ฯ ๕. เธอย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ชื่อว่าเป็นสมณะละเอียด อ่อนในหมู่สมณะ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะกล่าวโดยชอบ พึงกล่าวผู้ใดว่า เป็น สมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ บุคคลนั้นเมื่อจะกล่าวโดยชอบ พึงกล่าวกะเรา นั่นเทียวว่า เป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ เพราะว่า เราถูกขอร้องจึงใช้ จีวรมาก ไม่ถูกขอร้องใช้จีวรน้อย ถูกขอร้องจึงบริโภคบิณฑบาตมาก ไม่ถูกขอ ร้องบริโภคบิณฑบาตน้อย ถูกขอร้องจึงใช้เสนาสนะมาก ไม่ถูกขอร้องใช้เสนาสนะน้อย ถูกขอร้องจึงใช้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารมาก ไม่ถูกขอร้องใช้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารน้อย และเราย่อมอยู่ร่วมกับภิกษุเหล่าใด ภิกษุเหล่านั้นย่อม ประพฤติต่อเราด้วยกายกรรม อันเป็นที่พอใจเป็นส่วนมาก อันไม่เป็นที่พอใจเป็น ส่วนน้อย ย่อมประพฤติต่อเราด้วยวจีกรรมอันเป็นที่พอใจเป็นส่วนมาก อันไม่ เป็นที่พอใจเป็นส่วนน้อย ย่อมประพฤติต่อเราด้วยมโนกรรมอันเป็นที่พอใจเป็น ส่วนมาก อันไม่เป็นที่พอใจเป็นส่วนน้อย ย่อมนำสิ่งที่ควรนำเข้าไปอันเป็นที่พอใจ เป็นส่วนมาก อันไม่เป็นที่พอใจเป็นส่วนน้อย และเวทนามีดีเป็นสมุฏฐานก็ดี มีเสมหะเป็นสมุฏฐานก็ดี มีลมเป็นสมุฏฐานก็ดี ที่เกิดเพราะสันนิบาตก็ดี ที่เกิด เพราะฤดูเปลี่ยนแปรก็ดี ที่เกิดเพราะการบริหารไม่เสมอก็ดี ที่เกิดเพราะความแก่ ก็ดี ที่เกิดเพราะผลกรรมก็ดี ย่อมไม่บังเกิดแก่เรามาก เราเป็นผู้มีอาพาธน้อย เราเป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมี ในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่สบายในปัจจุบัน ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญา วิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อจะกล่าวโดยชอบ พึง กล่าวผู้ใดว่า เป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ บุคคลนั้นเมื่อจะกล่าว โดยชอบ พึงกล่าวเรานั่นเทียวว่า เป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ ฯ
จบสูตรที่ ๔
๕. ผาสุวิหารสูตร
[๑๐๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าไปตั้งกายกรรมประกอบด้วย เมตตา ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ๑ เข้าไปตั้งวจีกรรมประกอบ ด้วยเมตตา ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ๑ เข้าไปตั้งมโนกรรม ประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ๑ มีศีลอันไม่ ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย อันวิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหา และทิฐิไม่เกี่ยวเกาะ เป็นไปเพื่อสมาธิ เสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งต่อหน้า และลับหลัง ๑ มีทิฐิอันเป็นอริยะ เป็นเครื่องนำออก ย่อมนำออกเพื่อความสิ้นไป แห่งทุกข์โดยชอบ แห่งผู้กระทำ เสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งต่อหน้าและ ลับหลัง ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข ๕ ประการนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๕
๖. อานันทสูตร
[๑๐๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่โฆสิตารามใกล้เมืองโกสัม พี ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคม แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุสงฆ์พึงอยู่เป็นผาสุก เพราะเหตุเท่าไรหนอแล ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ ภิกษุเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลด้วย ตนเอง ไม่ติเตียนผู้อื่นในเพราะอธิศีล แม้เพราะเหตุเท่านี้ ภิกษุสงฆ์พึงอยู่ เป็นผาสุก ฯ
อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปริยายแม้อื่นซึ่งเป็นเหตุให้ภิกษุสงฆ์พึงอยู่ เป็นผาสุก พึงมีอยู่หรือ
พ. พึงมีอานนท์ แล้วตรัสต่อไปว่า ดูกรอานนท์ ภิกษุเป็นผู้ถึงพร้อม ด้วยศีลด้วยตนเอง ไม่ติเตียนผู้อื่นในเพราะอธิศีล และเป็นผู้ใส่ใจตนเอง ไม่ ใส่ใจผู้อื่น แม้เพราะเหตุเท่านี้ ภิกษุสงฆ์พึงอยู่เป็นผาสุก ฯ
อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปริยายแม้อื่นซึ่งเป็นเหตุให้ภิกษุสงฆ์พึงอยู่ เป็นผาสุก พึงมีอยู่หรือ
พ. พึงมีอานนท์ แล้วตรัสต่อไปว่า ดูกรอานนท์ ภิกษุเป็นผู้ถึงพร้อม ด้วยศีลด้วยตนเอง ไม่ติเตียนผู้อื่นในเพราะอธิศีล เป็นผู้ใส่ใจตนเอง ไม่ใส่ใจ ผู้อื่น และเป็นผู้ไม่มีชื่อเสียง ย่อมไม่สะดุ้งเพราะความไม่มีชื่อเสียงนั้น แม้ เพราะเหตุเท่านี้ ภิกษุสงฆ์พึงอยู่เป็นผาสุก ฯ
อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปริยายแม้อื่นซึ่งเป็นเหตุให้ภิกษุสงฆ์พึงอยู่ เป็นผาสุก พึงมีอยู่หรือ
พ. พึงมี อานนท์ แล้วตรัสต่อไปว่า ดูกรอานนท์ ภิกษุเป็นผู้ถึงพร้อม ด้วยศีลด้วยตนเอง ไม่ติเตียนผู้อื่นในเพราะอธิศีล เป็นผู้ใส่ใจตนเอง ไม่ใส่ใจ ผู้อื่น เป็นผู้ไม่มีชื่อเสียง ย่อมไม่สะดุ้งเพราะความไม่มีชื่อเสียงนั้น และเป็นผู้ ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็น เครื่องอยู่สบายในปัจจุบัน แม้เพราะเหตุเท่านี้ ภิกษุสงฆ์พึงอยู่เป็นผาสุก ฯ
อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปริยายแม้อื่นซึ่งเป็นเหตุให้ภิกษุสงฆ์พึงอยู่ เป็นผาสุก พึงมีอยู่หรือ
พ. พึงมี อานนท์ แล้วตรัสต่อไปว่า ดูกรอานนท์ ภิกษุเป็นผู้ถึงพร้อม ด้วยศีลด้วยตนเอง ไม่ติเตียนผู้อื่นในเพราะอธิศีล ฯลฯ เป็นผู้ได้ตามความ ปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่ สบายในปัจจุบัน และย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะ มิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุสงฆ์พึงอยู่เป็นผาสุก ดูกรอานนท์ อนึ่งเราย่อมกล่าว ได้ว่า ธรรมเครื่องอยู่เป็นผาสุกอย่างอื่น ที่ดีกว่าหรือประณีตกว่าธรรมเครื่องอยู่ เป็นผาสุกเช่นนี้ ย่อมไม่มี ฯ
จบสูตรที่ ๖
๗. สีลสูตร
[๑๐๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อม เป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรทำ อัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ๑ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ ๑ เป็น ผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา ๑ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุติ ๑ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุติญาณทัสนะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อม เป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรทำ อัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ฯ
จบสูตรที่ ๗
๘. อเสขิยสูตร
[๑๐๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อม เป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยศีลขันธ์อันเป็นของ พระอเสขะ ๑ เป็นผู้ประกอบด้วยสมาธิขันธ์อันเป็นของพระอเสขะ ๑ เป็นผู้ ประกอบด้วยปัญญาขันธ์อันเป็นของพระอเสขะ ๑ เป็นผู้ประกอบด้วยวิมุติขันธ์อัน เป็นของพระอเสขะ ๑ เป็นผู้ประกอบด้วยวิมุติญาณทัสนขันธ์อันเป็นของพระ อเสขะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อม เป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ฯ
จบสูตรที่ ๘
๙. จาตุทิสสูตร
[๑๐๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้ ย่อม เป็นผู้ควรเที่ยวไปได้ในทิศทั้ง ๔ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรม วินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีศีล เป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วย อาจาระและโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ใน สิกขาบททั้งหลาย ๑ เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้สดับมาก ทรง จำไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ ซึ่งธรรมทั้งหลายอันงามใน เบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์ สิ้นเชิง ๑ เป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ตามมีตามได้ ๑ เป็นผู้ได้ตามความ ปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาณ ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่ สบายในปัจจุบัน ๑ ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ๑ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรเที่ยวไป ได้ในทิศทั้ง ๔ ฯ
จบสูตรที่ ๙
๑๐. อรัญญสูตร
[๑๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ควร เพื่อเสพอาศัยเสนาสนะอันสงัด คือ ป่าและป่าชัฏ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล เป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมในพระปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษมีประมาณน้อย สมาทาน ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ๑ เป็นพหูสูต ทรงไว้ซึ่งสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ ได้สดับมาก ทรงจำไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ ซึ่งธรรม ทั้งหลายอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ๑ เป็นผู้ปรารภความ เพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อบำเพ็ญกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นผู้มีกำลัง มีความ บากบั่นมั่นคง ไม่ทอดทิ้งธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย ๑ เป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่สบายใน ปัจจุบัน ๑ ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะ อาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ๑ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ควรเพื่อเสพอาศัยเสนาสนะ ที่สงัด คือ ป่าและป่าชัฏ ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบผาสุวิหารวรรคที่ ๑
----------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. เวสารัชชกรณสูตร ๒. สังกิตสูตร ๓. โจรสูตร ๔. สุขุมาลสูตร ๕. ผาสุวิหารสูตร ๖. อานันทสูตร ๗. สีลสูตร ๘. อเสขิยสูตร ๙. จาตุทิสสูตร ๑๐. อรัญญสูตร ฯ
-----------------
*******************************
ท่านผุ้อ่านโปรดคลิกที่ลิงค์นี้ครับ http://hawk.blogth.com/17533/%E1%BA%BA%CD%C2%E8%D2%A7%A2%CD%A7%C0%D4%A1%C9%D8%BC%D9%E9%C1%D1%A1%B9%E9%CD%C2.html

ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่านครับ

วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2552

คุณสมบัติของผู้จะเป็นศาสดา

ในกกุธวรรคที่ผมยกมาแสดงในวันนี้นั้น เป็นนามของกกุธเทพบุตร ผู้ซึ่งในอดีตครั้งยังเป็นมนุษย์เป็นอุบาสกผู้อุปัฏฐากท่านพระมหาโมคคัลลานะ ท่านผู้อ่านจะเห็นว่าพระสูตรแรกๆนั้นกล่าวถึงธรรมที่ว่าด้วยคุณสมบัติของผู้มีความถึงพร้อมอันจะได้บรรลุธรรม ประเด็นนี้ย่อมเป็นสิ่งยืนยันแนวความคิดว่า บุคคลจะประสบความรู้ความสามารถอย่างเลิศนั้นต้องอาศัยความพยายาม ก็เหมือนกับท่านผู้อ่านเดินเข้าไปในร้านฟาสต์ฟู้ดแล้ว แต่ควานหาเงินในกระเป๋าไม่เจอก็ไม่มีใครให้ท่านผู้อ่านกินฟรีน่ะครับ ความคิดที่ว่าผลแห่งความพยายามไม่มี ความเพียรเป็นเรื่องเปล่าประโยชน์ การฆ่าผุ้อื่นเป็นเรื่องของอาวุธแล่นผ่านไปในอวัยวะผุ้อื่นเท่านั้น ไม่ใช่บาปกรรมลักษณะนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิที่ผมนำมากล่าวแล้วหลายต่อหลายหน แต่ว่าคนดีๆที่ปรารถนาดีต่อผู้อื่นจริงๆนั้นมีครับ คือองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเอง แต่พระองค์มิได้ทรงใช้วิธีเอาเงินไปแจกคนยากไร้ แต่ทรงสอนผู้อื่นให้รู้ตาม ผู้มีปัญญา มีจิตสะอาดจะรู้ตามได้เร็ว ขณะที่พระองค์เองเป็นแบบอย่างที่ดีเลิศทั้งด้านพระปัญญาและด้านคุณงามความดี ไม่ทรงอาศัยความรู้ของผู้อื่นเลย ทรงอาศัยความรู้ของพระองค์เองล้วนๆ ฯลฯ

เพราะเหตุใดผมจึงกล่าวถึงเรื่องนี้ สาเหตุก็เพราะเนื้อหาพระสูตรครับ กกุธเทพบุตรนั้นมีรูปกายใหญ่โตราวกับเขตคามสองสามตำบล แต่ไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้ใด ท่านมาแจ้งแก่ท่านพระมหาโมคคัลลานะซึ่งท่านเคารพนับถือว่า พระเทวทัตประกาศตนแล้วว่าจะปกครองสงฆ์แทนพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยการกระทำอันเลวร้ายถึงที่สุดอย่างนี้ ฤทธิ์อันเกิดจากฌานของพระเทวทัตได้เสื่อมไปพร้อมๆกับความมีจิตใจที่เดิมยังพอมีความสะอาดอยู่บ้าง พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกร มหาโมคคัลลานะ เธอกำหนดรู้ด้วยใจแล้วหรือว่ากกุธเทพบุตรนั้น เมื่อกล่าวคำใดแล้ว คำนั้นเป็นคำอันเชื่อถือได้ ท่านพระมหาโมคคัลลานะกราบทูลรับรองในเรื่องนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูกร โมคคัลลานะ เธอจงรักษาคำนั้น บัดนี้ โมฆบุรุษนั้นจะแสดงตัวตนออกให้ได้ทราบโดยชัดเจน ดูกร โมคคัลลานะ ศาสดาในโลกนี้อันเป็นชนนอกศาสนา เป็นปุถุชน มีอยู่ 5 จำพวกคือ
- ศาสดาที่มีศีลไม่บริสุทธิ์ ทั้งสาวกของศาสดานั้นก็ทราบดีว่าเขาไม่มีศีลบริสุทธิ์ แต่ก็พากันมองข้ามไปเพราะความศรัทธาว่า คนเช่นศาสดาตนนั้นมิใช่จะมีมากนัก แต่แน่ละ เหล่าสาวกย่อมต้องคอยปกป้องความเป็นผู้มีศีลไม่บริสุทธิ์ของศาสดาตน ทั้งศาสดาตนนั้นก็คาดหวังการปกป้องจากสาวกในเรื่องที่ตนมีศีลไม่บริสุทธิ์
- ศาสดาที่มีการงานไม่บริสุทธิ์ ทั้งสาวกของศาสดานั้นก็ทราบดีว่าเขาไม่มีการงานบริสุทธิ์ แต่ก็พากันมองข้ามไปเพราะความศรัทธาว่า คนเช่นศาสดาตนนั้นมิใช่จะมีมากนัก แต่แน่ละ เหล่าสาวกย่อมต้องคอยปกป้องความเป็นผู้มีการงานไม่บริสุทธิ์ของศาสดาตน ทั้งศาสดาตนนั้นก็คาดหวังการปกป้องจากสาวกในเรื่องที่ตนมีการงานไม่บริสุทธิ์
- ศาสดาที่มีการสอนธรรมไม่บริสุทธิ์ ทั้งสาวกของศาสดานั้นก็ทราบดีว่าเขาไม่มีการสอนธรรมบริสุทธิ์ แต่ก็พากันมองข้ามไปเพราะความศรัทธาว่า คนเช่นศาสดาตนนั้นมิใช่จะมีมากนัก แต่แน่ละ เหล่าสาวกย่อมต้องคอยปกป้องความเป็นผู้มีการสอนธรรมไม่บริสุทธิ์ของศาสดาตน ทั้งศาสดาตนนั้นก็คาดหวังการปกป้องจากสาวกในเรื่องที่ตนมีการสอนธรรมไม่บริสุทธิ์
- ศาสดาที่มีความสอดคล้องต้องกันในธรรมไม่บริสุทธิ์ ทั้งสาวกของศาสดานั้นก็ทราบดีว่าเขาไม่มีความสอดคล้องต้องกันในธรรมที่บริสุทธิ์ แต่ก็พากันมองข้ามไปเพราะความศรัทธาว่า คนเช่นศาสดาตนนั้นมิใช่จะมีมากนัก แต่แน่ละ เหล่าสาวกย่อมต้องคอยปกป้องความเป็นผู้มีความสอดคล้องต้องกันในธรรมไม่บริสุทธิ์ของศาสดาตน ทั้งศาสดาตนนั้นก็คาดหวังการปกป้องจากสาวกในเรื่องที่ตนมีความสอดคล้องต้องกันในธรรมไม่บริสุทธิ์
- ศาสดาที่มีความรู้แจ้งในธรรมไม่บริสุทธิ์ ทั้งสาวกของศาสดานั้นก็ทราบดีว่าเขาไม่มีความรู้แจ้งในธรรมที่บริสุทธิ์ แต่ก็พากันมองข้ามไปเพราะความศรัทธาว่า คนเช่นศาสดาตนนั้นมิใช่จะมีมากนัก แต่แน่ละ เหล่าสาวกย่อมต้องคอยปกป้องความเป็นผู้รู้แจ้งในธรรมที่ไม่บริสุทธิ์ของศาสดาตน ทั้งศาสดาตนนั้นก็คาดหวังการปกป้องจากสาวกในเรื่องที่ตนมีความรู้แจ้งในธรรมที่ไม่บริสุทธิ์

ดูกร โมคคัลลานะ พระองค์เองมีศีลบริสุทธิ์ และไม่ต้องการการปกป้องจากสาวกในเรื่องศีล พระองค์มีการงานบริสุทธฺ์ และไม่ต้องการการปกป้องจากสาวกเรื่องการงานเพื่อเลี้ยงชีพ พระองค์มีการสอนธรรมที่บริสุทธิ์ และไม่ต้องการการปกป้องจากสาวกเรื่องการสอนธรรม พระองค์มีความสอดคล้องต้องกันในธรรมที่บริสุทธิ์ และไม่ต้องการการปกป้องจากสาวกเรื่องความสอดคล้องต้องกันในธรรมที่พระองค์ตรัสสอน พระองค์มีความรู้แจ้งในธรรมที่บริสุทธิ์ และไม่ต้องการการปกป้องจากสาวกเรื่องความรู้แจ้งในธรรมอันบริสุทธิ์ของพระองค์

พระสูตรในวันนี้ยกมาจากพระสุตตันตปิฎก เล่ม14 อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต ครับ

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

************************************************
กกุธวรรคที่ ๕
๑. สัมปทาสูตรที่ ๑
[๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมปทา ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ สัทธาสัมปทา สีลสัมปทา สุตสัมปทา จาคสัมปทา ปัญญาสัมปทา ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย สัมปทา ๕ ประการนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๑
๒. สัมปทาสูตรที่ ๒
[๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมปทา ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ สีลสัมปทา สมาธิสัมปทา ปัญญาสัมปทา วิมุตติสัมปทา วิมุตติญาณทัสสนสัมปทา ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมปทา ๕ ประการนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๒
๓. พยากรณสูตร
[๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การพยากรณ์อรหัต ๕ ประการนี้ ๕ ประการ เป็นไฉน คือ บุคคลย่อมพยากรณ์อรหัต เพราะความเป็นผู้เขลา เพราะความ เป็นผู้หลง ๑ บุคคลผู้มีความอิจฉาลามก ผู้ถูกความอิจฉาครอบงำ ย่อมพยากรณ์ อรหัต ๑ บุคคลย่อมพยากรณ์อรหัต เพราะความบ้า เพราะจิตฟุ้งซ่าน ๑ บุคคล ย่อมพยากรณ์อรหัต เพราะความสำคัญว่าได้บรรลุ ๑ บุคคลย่อมพยากรณ์อรหัต โดยถูกต้อง ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การพยากรณ์อรหัต ๕ ประการนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๓
๔. ผาสุสูตร
[๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข ๕ ประการนี้ ๕ ประการ เป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุ ปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ๑ บรรลุทุติยฌาน มีความ ผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตก วิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ๑ ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะเจ้าทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ๑ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ๑ ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหา อาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้า ถึงอยู่ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข ๕ ประการนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๔
๕. อกุปปสูตร
[๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อม แทงตลอดธรรมที่ไม่กำเริบ ต่อกาลไม่นานนัก ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ได้บรรลุอัตถปฏิสัมภิทา ๑ เป็นผู้ได้บรรลุธรรม ปฏิสัมภิทา ๑ เป็นผู้ได้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทา ๑ เป็นผู้ได้บรรลุปฏิภาณปฏิสัม- *ภิทา ๑ ย่อมพิจารณาจิตตามที่หลุดพ้นแล้ว ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบ ด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมแทงตลอดธรรมที่ไม่กำเริบต่อกาลไม่นานนัก ฯ
จบสูตรที่ ๕
๖. สุตสูตร
[๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เสพ- *อานาปานสติกัมมัฏฐานอยู่ ย่อมแทงตลอดธรรมที่ไม่กำเริบต่อกาลไม่นานนัก ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีธุระน้อย มีกิจ น้อย เลี้ยงง่าย ยินดียิ่งในบริขารแห่งชีวิต ๑ ย่อมเป็นผู้มีอาหารน้อย ประกอบ ความเป็นผู้ไม่เห็นแก่ปากแก่ท้อง ๑ ย่อมเป็นผู้มีความง่วงนอนน้อย ประกอบ ความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ ๑ ย่อมเป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ สดับมาก ทรงจำไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ ซึ่งธรรม ทั้งหลายอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ๑ ย่อมพิจารณาจิต ตามที่หลุดพ้นแล้ว ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้ แล เสพอานาปานสติกัมมัฏฐานอยู่ย่อมแทงตลอดธรรมที่ไม่กำเริบ ต่อกาลไม่ นานนัก ฯ
จบสูตรที่ ๖
๗. กถาสูตร
[๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เจริญ อานาปานสติกัมมัฏฐานอยู่ ย่อมแทงตลอดธรรมที่ไม่กำเริบ ต่อกาลไม่นานนัก ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีธุระน้อย มีกิจ น้อย เลี้ยงง่าย ยินดียิ่งในบริขารแห่งชีวิต ๑ ย่อมเป็นผู้มีอาหารน้อย ประกอบ ความเป็นผู้ไม่เห็นแก่ปากแก่ท้อง ๑ ย่อมเป็นผู้มีความง่วงนอนน้อยประกอบความ เพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ ๑ ย่อมเป็นผู้ได้ตามปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งกถาอันเป็นไปเพื่อขัดเกลากิเลส เป็นที่สบายแก่ธรรมเครื่องโปร่งจิต คือ อัปปิจฉกถา สันตุฏฐิกถา ปวิเวกกถา อสังสัคคกถา วิริยารัมภกถา สีลกถา สมาธิกถา ปัญญากถา วิมุตติกถา วิมุตติญาณทัสสนกถา ๑ ย่อมพิจารณาจิตตามที่ หลุดพ้นแล้ว ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เจริญอานาปานสติกัมมัฏฐานอยู่ ย่อมแทงตลอดธรรมที่ไม่กำเริบ ต่อกาลไม่ นานนัก ฯ
จบสูตรที่ ๗
๘. อรัญญสูตร
[๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ทำให้ มากซึ่งอานาปานสติกัมมัฏฐานอยู่ ย่อมแทงตลอดธรรมที่ไม่กำเริบ ต่อกาลไม่นาน นัก ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีธุระน้อย มีกิจน้อย เลี้ยงง่าย ยินดียิ่งในบริขารแห่งชีวิต ๑ ย่อมเป็นผู้มีอาหารน้อย ประกอบความเป็นผู้ไม่เห็นแก่ปากแก่ท้อง ๑ ย่อมเป็นผู้มีความง่วงนอนน้อย ประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ ๑ ย่อมเป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้อยู่ใน เสนาสนะอันสงัด ๑ ย่อมพิจารณาจิตตามที่หลุดพ้นแล้ว ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ทำให้มากซึ่งอานาปานสติกัมมัฏฐานอยู่ ย่อมแทงตลอดธรรมที่ไม่กำเริบ ต่อกาลไม่นานนัก ฯ
จบสูตรที่ ๘
๙. สีหสูตร

[๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สีหมฤคราชออกจากที่อยู่ในเวลาเย็น แล้ว ย่อมเยื้องกราย เหลียวดูทิศทั้ง ๔ โดยรอบ บันลือสีหนาท ๓ ครั้ง แล้วออก เที่ยวไปหากิน สีหมฤคราชนั้น ถ้าแม้จะจับช้าง ย่อมจับโดยแม่นยำ ไม่พลาด ถ้าแม้จะจับกระบือ ย่อมจับโดยแม่นยำ ไม่พลาด ถ้าแม้จะจับโค ย่อมจับโดย แม่นยำ ไม่พลาด ถ้าแม้จะจับเสือเหลือง ย่อมจับโดยแม่นยำ ไม่พลาด ถ้า แม้จะจับเหล่าสัตว์เล็กๆ โดยที่สุดกระต่ายและแมว ย่อมจับโดยแม่นยำ ไม่ พลาด ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะสีหมฤคราชนั้นคิดว่า ทางหากินของเราอย่า พินาศเสียเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำว่าสีหะนั้นแล เป็นชื่อแห่งตถาคตอรหันต- *สัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ที่ตถาคตแสดงธรรมแก่บริษัทนี้แล เป็นสีหนาทของตถาคต ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้ตถาคตจะแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตย่อมแสดง โดยเคารพ ไม่แสดงโดยไม่เคารพ ถ้าแม้จะแสดงธรรมแก่ภิกษุณีทั้งหลาย ย่อม แสดงโดยเคารพ ไม่แสดงโดยไม่เคารพ ถ้าแม้จะแสดงธรรมแก่อุบาสกทั้งหลาย ย่อมแสดงโดยเคารพ ไม่แสดงโดยไม่เคารพ ถ้าแม้จะแสดงธรรมแก่อุบาสิกา ทั้งหลาย ย่อมแสดงโดยเคารพ ไม่แสดงโดยไม่เคารพ ถ้าแม้จะแสดงธรรมแก่ ปุถุชนทั้งหลาย ย่อมแสดงโดยเคารพ ไม่แสดงโดยไม่เคารพ โดยที่สุดแม้แก่ คนขอทานและพรานนก ย่อมแสดงโดยเคารพ ไม่แสดงโดยไม่เคารพ ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะตถาคตเป็นผู้หนักในธรรม เคารพในธรรม ฯ
จบสูตรที่ ๙
๑๐. กกุธสูตร
[๑๐๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โฆสิตารามใกล้เมือง โกสัมพี ก็สมัยนั้นแล บุตรเจ้าโกลิยะนามว่ากกุธะ ผู้อุปัฏฐากท่านพระมหา- *โมคคัลลานะ กระทำกาละไม่นาน ได้บังเกิดในหมู่เทพชื่อว่าอโนมยะหมู่หนึ่ง เป็นผู้ได้อัตภาพ [ใหญ่] เหมือนคามเขตในแว่นแคว้นมคธสองสามหมู่ เพราะ การได้อัตภาพนั้น เขาย่อมไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ครั้งนั้น แล กกุธเทพบุตรได้เข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ อภิวาทแล้ว ยืน อยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระเทวทัต เกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า เราจักบริหารภิกษุสงฆ์ และพระเทวทัตได้เสื่อมจาก ฤทธิ์นั้น พร้อมกับจิตตุปบาท ครั้นกกุธเทพบุตรได้กล่าวดังนี้แล้ว อภิวาทท่าน พระมหาโมคัลลานะ ทำประทักษิณแล้วหายไป ณ ที่นั้น ลำดับนั้น ท่านพระมหา โมคคัลลานะ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุตรแห่งเจ้าโกลิยะ นามว่ากกุธะผู้อุปัฏฐากข้าพระองค์ กระทำกาละไม่นาน ได้บังเกิดในหมู่เทพชื่อ ว่าอโนมยะหมู่หนึ่ง เป็นผู้ได้อัตภาพ [ใหญ่] เหมือนคามเขตในแว่นแคว้นมคธ สองสามหมู่ เพราะการได้อัตภาพนั้น เขาย่อมไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่น ให้เดือดร้อน ครั้งนั้น กกุธเทพบุตรได้เข้าไปหาข้าพระองค์ถึงที่อยู่ อภิวาทแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวกะข้าพระองค์ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระเทวทัตเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า เราจักบริหารภิกษุสงฆ์ พระเทวทัตได้ เสื่อมจากฤทธิ์นั้น พร้อมกับจิตตุปบาท กกุธเทพบุตรครั้นได้กล่าวดังนี้แล้ว อภิวาทข้าพระองค์ ทำประทักษิณแล้วหายไป ณ ที่นั้น ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรโมคคัลลานะ ก็กกุธเทพบุตรเธอกำหนด รู้ใจด้วยใจดีแล้วหรือว่า กกุธเทพบุตรกล่าวสิ่งใด สิ่งนั้นทั้งปวงย่อมเป็นอย่างนั้น ทีเดียว ไม่เป็นอย่างอื่น ฯ
ม. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กกุธเทพบุตรข้าพระองค์กำหนดรู้ใจด้วยใจดี แล้วว่า กกุธเทพบุตรกล่าวสิ่งใด สิ่งนั้นทั้งปวงย่อมเป็นอย่างนั้นทีเดียว ไม่เป็น อย่างอื่น ฯ
พ. ดูกรโมคคัลลานะ เธอจงรักษาวาจานั้น บัดนี้ โมฆบุรุษนั้นจักทำ ตนให้ปรากฏด้วยตนเอง ดูกรโมคคัลลานะ ศาสดา ๕ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ใน โลก ๕ จำพวกเป็นไฉน คือ ศาสดาบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีศีลไม่บริสุทธิ์ ย่อมปฏิญาณว่า เป็นผู้มี ศีลบริสุทธิ์ ศีลของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง พวกสาวกย่อมทราบเขา อย่างนี้ว่า ท่านศาสดานี้ เป็นผู้มีศีลไม่บริสุทธิ์ ย่อมปฏิญาณว่า เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ ศีลของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง แต่ถ้าพวกเราจักบอกพวกคฤหัสถ์ก็ ไม่พึงเป็นที่พอใจของท่าน ก็พวกเราจะพึงกล่าวด้วยความไม่พอใจของท่านนั้นอย่าง ไรได้ อนึ่ง มหาชนย่อมยกย่องด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลาน- *ปัจจัยเภสัชบริขาร ด้วยคิดว่า ศาสดานี้จักทำกรรมใด เขาเองจักปรากฏด้วยกรรม นั้น ดังนี้ พวกสาวกย่อมรักษาศาสดาเช่นนี้โดยศีล และศาสดาเช่นนี้ย่อมหวัง เฉพาะการรักษาจากพวกสาวกโดยศีล ฯ อีกประการหนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์ ย่อม ปฏิญาณว่า เป็นผู้มีอาชีวะบริสุทธิ์ อาชีวะของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้า หมอง พวกสาวกย่อมทราบเขาอย่างนี้ว่า ท่านศาสดานี้ เป็นผู้มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์ ย่อมปฏิญาณว่า เป็นผู้มีอาชีวะบริสุทธิ์ อาชีวะของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้า หมอง แต่ถ้าพวกเราพึงบอกพวกคฤหัสถ์ ก็ไม่พึงเป็นที่พอใจของท่าน ก็พวกเรา จะพึงกล่าวด้วยความไม่พอใจของท่านนั้นอย่างไรได้ อนึ่ง มหาชนย่อมยกย่องด้วย จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ด้วยคิดว่า ศาสดานี้ จักทำกรรมใด เขาเองจักปรากฏด้วยกรรมนั้น ดังนี้ พวกสาวกย่อมรักษาศาสดา เช่นนี้โดยอาชีวะ และศาสดาเช่นนี้ย่อมหวังเฉพาะการรักษาจากพวกสาวกโดย อาชีวะ ฯ อีกประการหนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีธรรมเทศนาไม่บริสุทธิ์ ย่อมปฏิญาณว่า เป็นผู้มีธรรมเทศนาบริสุทธิ์ ธรรมเทศนาของเราบริสุทธิ์ ผ่อง แผ้ว ไม่เศร้าหมอง พวกสาวกย่อมทราบเขาอย่างนี้ว่า ท่านศาสดานี้ เป็นผู้มี ธรรมเทศนาไม่บริสุทธิ์ ย่อมปฏิญาณว่า เป็นผู้มีธรรมเทศนาบริสุทธิ์ ธรรมเทศนา ของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง แต่ถ้าพวกเราพึงบอกพวกคฤหัสถ์ ก็ ไม่พึงเป็นที่พอใจของท่าน ก็พวกเราจะพึงกล่าวด้วยความไม่พอใจของท่านนั้นอย่าง ไรได้ อนึ่ง มหาชนย่อมยกย่องด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลาน- *ปัจจัยเภสัชบริขาร ด้วยคิดว่า ท่านศาสดานี้จักทำกรรมใด เขาเองก็จักปรากฏด้วย กรรมนั้น ดังนี้ พวกสาวกย่อมรักษาศาสดาเช่นนี้โดยธรรมเทศนา และศาสดา เช่นนี้ย่อมหวังเฉพาะการรักษาจากสาวกโดยธรรมเทศนา ฯ อีกประการหนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีไวยากรณ์ไม่บริสุทธิ์ ย่อมปฏิญาณว่า เป็นผู้มีไวยากรณ์บริสุทธิ์ ไวยากรณ์ของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง พวกสาวกย่อมทราบเขาอย่างนี้ว่า ท่านศาสดานี้ เป็นผู้มีไวยากรณ์ ไม่บริสุทธิ์ ย่อมปฏิญาณว่า เป็นผู้มีไวยากรณ์บริสุทธิ์ ไวยากรณ์ของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง แต่ถ้าพวกเราพึงบอกพวกคฤหัสถ์ ก็ไม่พึงเป็นที่พอใจ ของท่าน ก็พวกเราจักกล่าวด้วยความไม่พอใจของท่านนั้นอย่างไรได้ อนึ่ง มหาชน ย่อมยกย่องด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ด้วยคิดว่า ศาสดานี้จักทำกรรมใด เขาเองจักปรากฏด้วยกรรมนั้น ดังนี้ พวกสาวกย่อมรักษา ศาสดาเช่นนี้โดยไวยากรณ์ และศาสดาเช่นนี้ย่อมหวังเฉพาะการรักษาจากพวก สาวกโดยไวยากรณ์ ฯ อีกประการหนึ่ง ศาสดาบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีญาณทัสสนะไม่บริสุทธิ์ ย่อมปฏิญาณว่า เป็นผู้มีญาณทัสสนะบริสุทธิ์ ญาณทัสสนะของเราบริสุทธิ์ ผ่อง แผ้ว ไม่เศร้าหมอง พวกสาวกย่อมทราบเขาอย่างนี้ว่า ท่านศาสดานี้ เป็นผู้มี ญาณทัสสนะไม่บริสุทธิ์ ย่อมปฏิญาณว่า เป็นผู้มีญาณทัสสนะบริสุทธิ์ ญาณทัสสนะของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง แต่ถ้าพวกเราพึงบอกพวก คฤหัสถ์ก็ไม่พึงเป็นที่พอใจของท่าน ก็พวกเราจะพึงกล่าวด้วยความไม่พอใจของ ท่านนั้นอย่างไรได้ อนึ่ง มหาชนย่อมยกย่องด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ด้วยคิดว่า ศาสดานี้จักทำกรรมใด เขาเองจักปรากฏ ด้วยกรรมนั้น ดังนี้ พวกสาวกย่อมรักษาศาสดาเช่นนี้โดยญาณทัสสนะ และ ศาสดาเช่นนี้ย่อมหวังเฉพาะการรักษาจากพวกสาวกโดยญาณทัสสนะ ดูกรโมคคัล- *ลานะ ศาสดา ๕ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ ดูกรโมคคัลลานะ เราเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ ย่อมปฏิญาณว่า เป็นผู้มีศีล บริสุทธิ์ ศีลของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง พวกสาวกย่อมไม่รักษาเรา โดยศีล และเราก็ไม่หวังเฉพาะการรักษาจากพวกสาวกโดยศีล เราเป็นผู้มีอาชีวะ บริสุทธิ์ ย่อมปฏิญาณว่า เป็นผู้มีอาชีวะบริสุทธิ์ อาชีวะของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง พวกสาวกย่อมไม่รักษาเราโดยอาชีวะ และเราก็ไม่หวังเฉพาะการ รักษาจากพวกสาวกโดยอาชีวะ เราเป็นผู้มีธรรมเทศนาบริสุทธิ์ ย่อมปฏิญาณว่า เป็นผู้มีธรรมเทศนาบริสุทธิ์ ธรรมเทศนาของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง พวกสาวกย่อมไม่รักษาเราโดยธรรมเทศนา และเราก็ไม่หวังเฉพาะการรักษาจาก พวกสาวกโดยธรรมเทศนา เราเป็นผู้มีไวยากรณ์บริสุทธิ์ ย่อมปฏิญาณว่า เป็น ผู้มีไวยากรณ์บริสุทธิ์ ไวยากรณ์ของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง พวก สาวกย่อมไม่รักษาเราโดยไวยากรณ์ และเราก็ไม่หวังเฉพาะการรักษาจากพวก สาวกโดยไวยากรณ์ เราเป็นผู้มีญาณทัสสนะบริสุทธิ์ ย่อมปฏิญาณว่า เป็นผู้มี ญาณทัสสนะบริสุทธิ์ ญาณทัสสนะของเราบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่เศร้าหมอง พวกสาวกย่อมไม่รักษาเราโดยญาณทัสสนะ และเราก็ไม่หวังเฉพาะการรักษาจาก พวกสาวกโดยญาณทัสสนะ ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบกกุธวรรคที่ ๕
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. สัมปทาสูตรที่ ๑ ๒. สัมปทาสูตรที่ ๒ ๓. พยากรณสูตร ๔. ผาสุสูตร ๕. อกุปปสูตร ๖. สุตสูตร ๗. กถาสูตร ๘. อรัญญสูตร ๙. สีหสูตร ๑๐. กกุธสูตร ฯ
จบทุติยปัณณาสก์
-----------
*********************************************************
ท่านผู้อ่านโปรดคลิกที่ลิงค์นี้ครับ http://hawk.blogth.com/17437/%A4%D8%B3%CA%C1%BA%D1%B5%D4%A2%CD%A7%BC%D9%E9%A8%D0%E0%BB%E7%B9%C8%D2%CA%B4%D2.html

ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่านครับ

วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ว่าด้วยเรื่องการปรารภความเพียร

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงการปฏิบัติสอนสิ่งใดก็ตาม สิ่งนั้นย่อมเป็นไปเพื่อความหลุดพ้น อาจจะในทางเพิ่มพูนปัญญา ไม่ต้องยึดกับความเห็นผิด หรือทรงกล่าวธรรมมีปาฏิหาริย์ เพื่อผู้ที่เข้าใจจะได้เพิ่มพูนความศรัทธา บรรเทาเสียได็ซึ่งวิจิกิจฉา หรือตรัสสรรเสริญคุณธรรมอันพิเศษของพระภิกษุบางรูปเพื่อจะได้เป็นแบบอย่างให้รูปอื่นๆปฏิบัติตาม ฯลฯ ล้วนทรงมีพระประสงค์ดีทั้งนั้น หากจะทรงตำหนิใครก็เพราะคนผู้นั้นไม่ดีจริงๆ ในเรื่องนี้เข้าใจได้ไม่ยากเลยครับ พระพุทธวจนะอีกประการคือตรัสแนะนำการปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นโดยตรง คือว่าด้วยเรื่องเจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติ เจโตวิมุตติคือการหลุดพ้นด้วยการเจริญสมาธิ เดิมทีในสมัยก่อนจะมีพระศาสนานี้ ฌานนั้นมีอยู่ในฤาษีบางท่าน แต่พระนิพพานนั้นไม่มีอยู่ในฤาษีเหล่านั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงประกาศพระศาสนา คำว่าเจโตวิมุตติจึงได้มีขึ้น คือพระองคค์ตรัสว่า ผู้มีจิตเป็นสมาธิย่อมรู้เห็นสิ่งต่างๆตามความเป็นจริง พิจารณาไตรลักษณ์ด้วยจิตที่มีสมาธิ ก็หลุดพ้นได้ ส่วนปัญญาวิมุตตินั้นอาศัยการพิจารณาพระไตรลักษณ์ล้วนๆ และพระสูตรในวันนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสสอนว่า เบื้องต้นการปฏิบัติให้ได้เจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตตินั้นทำอย่างไร ใจความดังนี้ครับ
1.พิจารณาเห็นความไม่งามในกาย
2.พิจารณาเห็นความเป็นปฏิกูลในอาหาร
3.พิจารณาให้เห็นความไม่น่ายินดีในโลกทั้งปวง คือรวมทั้งโลกสวรรค์ด้วย
4.พิจารณาให้เห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง
5.ความกำหนดไว้ในใจตลอดเวลาถึงความเป็นผู้ต้องถึงซึ่งความตายอย่างแน่แท้ ไม่ช้าก็เร็ว

จะเห็นว่าเรื่องเหล่านี้นั้นมีจุดประสงค์คิอ
1.เพื่อให้ผู้ปฏิบัติตระหนักถึงความจริงในความไม่เที่ยงอยู่โดยตลอด มีสติ ไม่ประมาท
2.เพื่อเจริญซึ่งปัญญาในพระไตรลักษณ์ ละกิเลสต่างๆลงได้โดยลำดับ
3.เพื่อผู้พิจารณาซึ่งไม่ประมาทนั้นจะปรารภความเพียรโดยไม่ขาดสายอยู่โดยเป็นนิจกาล

ในโยธาชีวสูตรสองพระสูตรนี้แหละที่ให้หลักการของการปรารภความเพียรเพื่อความหลุดพ้นของพระภิกษุ (ตามที่พระสูตรกล่าวไว้ครับว่าหมายเอาซึ่งพระภิกษุ มิใช่ฆราวาส) ว่าเปรียบเหมือนนักรบผู้สวมสอดเกราะกับทั้งอาวุธว่า ปรารภความเพียรให้ถึงที่สุดสัก5ครั้งเถิด แม้เห็นมาตุคามก็ไม่หวั่นไหว ได้ลาภสักการะก็ไม่หลงไหลคล้อยตาม จะถึงความหลุดพ้นได้ ซึ่งก็ไม่ใช่ง่ายครับ บางทีเกิดท้อขึ้นมาก็จะมาโทษพระผู้มีพระภาคเจ้า ความศรัทธาก็เป็นอันว่ารักษาไว้ไม่ได้ เปรียบเหมือนนักรบอาชีพผู้เสียชีวิตในสงคราม

ในอนาคตสูตรอีก4พระสูตรกล่าวถึงสิ่งที่พึงระลึกของพระภิกษุหลายประการ เช่นว่า เวลานี้เรายังมีสุขภาพดี ทั้งบิณฑบาตก็ไม่ลำบาก ไม่ใช่เวลาข้าวยากหมากแพง ไม่มีสงคราม ทั้งสงฆ์ก็สามัคคีกัน ทั้งพระธรรมคำสอนในพระศาสนาก็ยังดำรงอยู่ ฯลฯ เหตุใดที่ตนจะละความเพียรในเวลานี้ ไม่ปฏิบัติให้หลุดพ้น แต่ที่กล่าวนี้ผมไม่ได้กล่าวสอนภิกษุครับ ผมชี้แจงแก่ฆราวาสว่าพึงปรารภความเพียรเช่นเดียวกับพระภิกษุ คือเมื่อปรารถนาจะทำสิ่งใดให้สำเร็จ หากสิ่งที่ทำนั้นไม่มีโทษ ก็พยายามให้หลายๆครั้ง ให้ได้เรียนรู้ ให้มีประสบการณ์ ก็คงสำเร็จได้สักวันหนึ่งครับ

พระสูตรวันนี้ยกมาจากพระสุตตันตปิฎก เล่ม14 อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต ครับ

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

**********************************************
โยธาชีววรรคที่ ๓
๑. เจโตวิมุติสูตรที่ ๑
[๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำ ให้มากแล้ว ย่อมมีเจโตวิมุติเป็นผล และมีเจโตวิมุติเป็นผลานิสงส์ ย่อมมี ปัญญาวิมุติเป็นผล และมีปัญญาวิมุติเป็นผลานิสงส์ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นว่าไม่งามในกาย ๑ ย่อมมีความ สำคัญว่าเป็นของปฏิกูล ในอาหาร ๑ ย่อมมีความสำคัญว่าไม่น่ายินดีในโลก ทั้งปวง ๑ ย่อมพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง ๑ ย่อมเข้าไปตั้งมรณ- *สัญญาไว้ในภายใน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล อันบุคคล เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีเจโตวิมุติเป็นผล และมีเจโตวิมุติเป็นผลานิสงส์ ย่อมมีปัญญาวิมุติเป็นผล และมีปัญญาวิมุติเป็นผลานิสงส์ เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้ มีเจโตวิมุติและปัญญาวิมุติ เมื่อนั้น ภิกษุนี้เรียกว่าเป็นผู้ถอนลิ่มสลักขึ้นได้ ดังนี้บ้าง ว่าเป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้ ดังนี้บ้าง ว่าเป็นผู้ถอนเสาระเนียดขึ้น ได้ ดังนี้บ้าง ว่าเป็นผู้ถอดกลอนออกได้ ดังนี้บ้าง ว่าเป็นผู้ไกลจากข้าศึก ปลดธงลงได้ ปลงภาระลงได้ ไม่ประกอบด้วยวัฏฏะ ดังนี้บ้าง ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอนลิ่มสลักขึ้นได้อย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละอวิชชาเสียได้ ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำ ไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็น ผู้ถอนลิ่มสลักขึ้นได้อย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้อย่างไร คือ ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละชาติสงสารที่เป็นเหตุนำให้เกิดในภพใหม่ต่อไปได้ ถอน รากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อ ไปเป็นธรรมดา ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้ถอนเสาระเนียดขึ้นได้อย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละตัณหา เสียได้ ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้ เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอนเสาระเนียดขึ้นได้อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอนกลอนออกได้อย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละ โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการเสียได้ ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอด ด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอดกลอน ออกได้อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ไกลจากข้าศึก ปลดธงลงได้ ปลงภาระลงได้ ไม่ประกอบด้วยวัฏฏะอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละอัสมิมานะเสีย ได้ ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้น อีกต่อไปเป็นธรรมดา ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ไกลจากข้าศึก ปลดธงลงได้ ปลงภาระ ลงได้ ไม่ประกอบด้วยวัฏฏะใดๆ อย่างนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๑
๒. เจโตวิมุติสูตรที่ ๒
[๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำ ให้มากแล้ว ย่อมมีเจโตวิมุติเป็นผล และมีเจโตวิมุติเป็นผลานิสงส์ ย่อมมี ปัญญาวิมุติเป็นผล และมีปัญญาวิมุติเป็นผลานิสงส์ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ความสำคัญว่าไม่เที่ยง ๑ ความสำคัญว่าเป็นทุกข์ในสิ่งไม่เที่ยง ๑ ความสำคัญ ว่าเป็นอนัตตาในสิ่งที่เป็นทุกข์ ๑ ความสำคัญในการละ ๑ ความสำคัญในความ คลายกำหนัด ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีเจโตวิมุติเป็นผล และมีเจโตวิมุติเป็นผลานิสงส์ ย่อม มีปัญญาวิมุติเป็นผล และมีปัญญาวิมุติเป็นผลานิสงส์ เมื่อใด ภิกษุเป็นผู้มี เจโตวิมุติและปัญญาวิมุติ เมื่อนั้น ภิกษุนี้เรียกว่าเป็นผู้ถอนลิ่มสลักขึ้นได้ ดังนี้ บ้าง ว่าเป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้ ดังนี้บ้าง ว่าเป็นผู้ถอนเสาระเนียดขึ้นได้ ดังนี้บ้าง ว่าเป็นผู้ถอดกลอนออกได้ ดังนี้บ้าง ว่าเป็นผู้ไกลจากข้าศึก ปลดธงลง ได้ ปลงภาระลงได้ ไม่ประกอบด้วยวัฏฏะ ดังนี้บ้าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอนลิ่มสลักขึ้นได้อย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ละอวิชชา เสียได้ ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิด ขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอนลิ่มสลักขึ้นได้อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้รื้อเครื่องแวดล้อมได้อย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละชาติสงสาร ที่เป็นเหตุนำให้เกิดในภพใหม่ต่อไปได้ ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาล ยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ รื้อเครื่องแวดล้อมได้อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอนเสาระเนียดขึ้นได้อย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละตัณหาเสียได้ ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็น เหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้ถอนเสาระเนียดขึ้นได้อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอดกลอนออกได้อย่างไร คือภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ เสียได้ ถอนรากขึ้น แล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็น ธรรมดา ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถอดกลอนออกได้อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ไกลจาก ข้าศึก ปลดธงลงได้ ปลงภาระลงได้ ไม่ประกอบด้วยวัฏฏะอย่างไร คือ ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละอัสมิมานะได้ ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาล ยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ไกล จากข้าศึก ปลดธงลงได้ ปลงภาระลงได้ ไม่ประกอบด้วยวัฏฏะอย่างนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๒
๓. ธรรมวิหาริกสูตรที่ ๑
[๗๓] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่าผู้อยู่ในธรรมๆ ดังนี้ ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้อยู่ในธรรม ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ เธอย่อมปล่อยให้วันคืนล่วงไป ละการหลีกออกเร้นอยู่ ไม่ประกอบ ความสงบใจในภายใน เพราะการเรียนธรรมนั้น ภิกษุนี้เรียกว่าเป็นผู้มากด้วย การเรียน ไม่ชื่อว่าเป็นผู้อยู่ในธรรม ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมแสดงธรรมตามที่ได้สดับมาแล้ว ตามที่ได้เรียน มาแล้ว แก่ผู้อื่นโดยพิสดาร เธอย่อมปล่อยให้วันคืนล่วงไป ละการหลีกออก เร้นอยู่ ไม่ประกอบความสงบใจในภายใน เพราะการแสดงธรรมนั้น ภิกษุนี้เรียก ว่าเป็นผู้มากด้วยการแสดงธรรม ไม่ชื่อว่าเป็นผู้อยู่ในธรรม ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมกระทำการสาธยายธรรมตามที่ได้สดับมาแล้ว ตามที่ได้เรียนมาแล้ว โดยพิสดาร เธอย่อมปล่อยให้วันคืนล่วงไป ละการหลีก ออกเร้นอยู่ ไม่ประกอบความสงบใจในภายใน เพราะการสาธยายธรรมนั้น ภิกษุ นี้เรียกว่า เป็นผู้มากด้วยการสาธยาย ไม่ชื่อว่าเป็นผู้อยู่ในธรรม ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมตรึกตาม ตรองตาม เพ่งตามด้วยใจ ซึ่งธรรม ตามที่ได้สดับมาแล้ว ตามที่ได้เรียนมาแล้ว เธอย่อมปล่อยให้วันคืนล่วงไป ละการหลีกออกเร้นอยู่ ไม่ประกอบความสงบใจในภายใน เพราะการตรึกตาม ธรรมนั้น ภิกษุนี้เรียกว่า เป็นผู้มากด้วยการตรึกธรรม ไม่ชื่อว่าเป็นผู้อยู่ในธรรม ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ เธอย่อมไม่ปล่อยให้วันคืนล่วง ไป ไม่ละการหลีกออกเร้นอยู่ ประกอบความสงบใจในภายใน เพราะการ เล่าเรียนธรรมนั้น ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้อยู่ในธรรมอย่างนี้แล ดูกรภิกษุ เราแสดงภิกษุ ผู้มากด้วยการเล่าเรียนธรรม แสดงภิกษุผู้มากด้วยการแสดงธรรม แสดงภิกษุผู้ มากด้วยการสาธยายธรรม แสดงภิกษุผู้มากด้วยการตรึกธรรม แสดงภิกษุผู้อยู่ใน ธรรม ด้วยประการฉะนี้ ดูกรภิกษุ กิจใดอันศาสดาผู้หวังประโยชน์เกื้อกูล อนุเคราะห์ อาศัยความเอ็นดู พึงกระทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้นเราได้ทำแก่เธอ ทั้งหลายแล้ว ดูกรภิกษุ นั่นโคนต้นไม้ นั่นเรือนว่าง เธอจงเพ่งฌาน อย่า ประมาท อย่าเป็นผู้มีความเดือดร้อนในภายหลัง นี้เป็นอนุสาสนีของเราเพื่อเธอ ทั้งหลาย ฯ
จบสูตรที่ ๓
๔. ธรรมวิหาริกสูตรที่ ๒
[๗๔] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่าผู้อยู่ในธรรมๆ ดังนี้ ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้อยู่ในธรรม ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเรียนธรรม คือ สุตตะ ... เวทัลละ เธอย่อมไม่ทราบเนื้อความของธรรมนั้นที่ยิ่งขึ้นไปด้วย ปัญญา ภิกษุนี้เรียกว่า เป็นผู้มากด้วยการเรียน ไม่ชื่อว่าเป็นผู้อยู่ในธรรม ฯลฯ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ ... เวทัลละ เธอ ย่อมทราบชัดเนื้อความของธรรมนั้นที่ยิ่งขึ้นไปด้วยปัญญา ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้อยู่ใน ธรรมอย่างนี้แล ดูกรภิกษุ ฯลฯ นี้เป็นอนุสาสนีของเราเพื่อเธอทั้งหลาย ฯ
จบสูตรที่ ๔
๕. โยธาชีวสูตรที่ ๑
[๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย นักรบอาชีพ ๕ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๕ จำพวกเป็นไฉน คือ นักรบอาชีพบางพวกในโลกนี้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นเท่านั้นย่อมหยุด นิ่ง สะทกสะท้าน ไม่สามารถเข้ารบได้ นักรบอาชีพบางพวกแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ นี้เป็นนักรบอาชีพพวกที่ ๑ มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ อีกประการหนึ่ง นักรบอาชีพบางพวกในโลกนี้ แม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อดทน ได้ แต่พอเห็นยอดธงข้าศึกเข้าเท่านั้นย่อมหยุดนิ่ง สะทกสะท้าน ไม่สามารถเข้า รบได้ นักรบอาชีพบางพวกแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ นี้เป็นนักรบอาชีพพวกที่ ๒ มีปรากฏ อยู่ในโลก ฯ อีกประการหนึ่ง นักรบอาชีพบางพวกในโลกนี้ แม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อดทน ได้ แม้เห็นยอดธงของข้าศึกก็อดทนได้ แต่พอได้ยินเสียงกึกก้องของข้าศึกเข้า เท่านั้นย่อมหยุดนิ่ง สะทกสะท้าน ไม่สามารถเข้ารบได้ นักรบอาชีพบางพวกแม้ เช่นนี้ก็มีอยู่ นี้เป็นนักรบอาชีพพวกที่ ๓ มีปรากฎอยู่ในโลก ฯ อีกประการหนึ่ง นักรบอาชีพบางพวกในโลกนี้ แม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อด ทนได้ แม้เห็นยอดธงของข้าศึกก็อดทนได้ แม้ได้ยินเสียงกึกก้องของข้าศึกก็ อดทนได้ แต่ว่าย่อมขลาดสะดุ้งต่อการสัมปหารของข้าศึก นักรบอาชีพบางพวกแม้ เช่นนี้ก็มีอยู่ นี้เป็นนักรบอาชีพพวกที่ ๔ มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ อีกประการหนึ่ง นักรบอาชีพบางพวกในโลกนี้ แม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็ อดทนได้ แม้เห็นยอดธงของข้าศึกก็อดทนได้ แม้ได้ยินเสียงกึกก้องของข้าศึกก็ อดทนได้ อดทนต่อการสัมปหารของข้าศึกได้ เขาชนะสงครามแล้ว เป็นผู้พิชิต สงคราม ยึดครองค่ายสงครามนั้นไว้ได้ นักรบอาชีพบางพวกแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ นี้ เป็นนักรบอาชีพพวกที่ ๕ มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นักรบอาชีพ ๕ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ดูกร ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพ ๕ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในพวก ภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกัน ๕ จำพวกเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นเท่านั้นย่อมหยุดนิ่ง สะทกสะท้าน ไม่สามารถจะสืบต่อพรหมจรรย์ไปได้ ทำให้แจ้งความเป็นผู้ทุรพลในสิกขา บอก คืนสิกขาเวียนมาเพื่อหินเพศ อะไรเป็นฝุ่นฟุ้งขึ้นของเธอ คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมได้ฟังว่า ในบ้านหรือในนิคมโน้น มีหญิงหรือกุมารีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยผิวพรรณงามอย่างยิ่ง เธอได้ฟังดังนั้นแล้วย่อมหยุดนิ่ง สะทกสะท้าน ไม่สามารถจะสืบต่อพรหมจรรย์ไปได้ ทำให้แจ้งซึ่งความเป็นผู้ทุรพลในสิกขา บอกคืนสิกขาเวียนมาเพื่อหินเพศ นี้ชื่อว่าฝุ่นฟุ้งขึ้นของเธอ นักรบอาชีพนั้นเห็น ฝุ่นฟุ้งขึ้นเท่านั้นย่อมหยุดนิ่ง สะทกสะท้าน ไม่สามารถเข้ารบได้ แม้ฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้เปรียบฉันนั้น บุคคลบางคนแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ นี้บุคคลผู้เปรียบด้วย นักรบอาชีพจำพวกที่ ๑ มีปรากฏอยู่ในพวกภิกษุ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุแม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อดทนได้ แต่ว่าเธอเห็นยอดธง ของข้าศึกเข้าเท่านั้น ย่อมหยุดนิ่ง สะทกสะท้าน ไม่สามารถจะสืบต่อพรหมจรรย์ ไปได้ ทำให้แจ้งซึ่งความเป็นผู้ทุรพลในสิกขา บอกคืนสิกขาเวียนมาเพื่อหินเพศ อะไรชื่อว่าเป็นยอดธงของข้าศึกของเธอ คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่ได้ฟังว่า ในบ้านหรือนิคมชื่อโน้น มีหญิงหรือกุมารีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบ ด้วยผิวพรรณงามอย่างยิ่ง แต่ว่าเธอย่อมได้เห็นด้วยตนเอง ซึ่งหญิงหรือกุมารีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยผิวพรรณงามอย่างยิ่ง เธอเห็นแล้วย่อมหยุดนิ่ง สะทกสะท้าน ไม่สามารถจะสืบต่อพรหมจรรย์ไปได้ ทำให้แจ้งซึ่งความเป็นผู้ ทุรพลในสิกขา บอกคืนสิกขาเวียนมาเพื่อหินเพศ นี้ชื่อว่ายอดธงของข้าศึกของ เธอ นักรบอาชีพนั้นเห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อดทนได้ แต่พอเห็นยอดธงของข้าศึกเข้า เท่านั้นย่อมหยุดนิ่ง สะทกสะท้าน ไม่สามารถเข้ารบได้ แม้ฉันใด เรากล่าว บุคคลนี้เปรียบฉันนั้น บุคคลบางคนแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ นี้คือบุคคลผู้เปรียบด้วย นักรบอาชีพจำพวกที่ ๒ มีปรากฏอยู่ในพวกภิกษุ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุแม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อดทนได้ แม้เห็นยอดธงของ ข้าศึกก็อดทนได้ แต่พอเธอได้ยินเสียงกึกก้องของข้าศึกเข้าเท่านั้นย่อมหยุดนิ่ง สะทกสะท้าน ไม่สามารถจะสืบต่อพรหมจรรย์ไปได้ ทำให้แจ้งซึ่งความเป็นผู้ ทุรพลในสิกขา บอกคืนสิกขาเวียนมาเพื่อหินเพศ อะไรชื่อว่าเป็นเสียงกึกก้อง ของข้าศึกของเธอ คือ มาตุคามเข้าไปหาภิกษุในธรรมวินัยนี้ ผู้อยู่ในป่า โคนไม้ หรือเรือนว่างเปล่า แล้วย่อมยิ้มแย้ม ปราศรัย กระซิกกระซี้ เย้ยหยัน เธอถูก มาตุคามยิ้มแย้ม ปราศรัย กระซิกกระซี้ เย้ยหยันอยู่ ย่อมหยุดนิ่ง สะทก- *สะท้าน ไม่สามารถจะสืบต่อพรหมจรรย์ไปได้ ทำให้แจ้งซึ่งความเป็นผู้ทุรพลใน สิกขา บอกคืนสิกขาเวียนมาเพื่อหินเพศ นี้ชื่อว่าเสียงกึกก้องของข้าศึกของเธอ นักรบอาชีพนั้นแม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อดทนได้ แม้เห็นยอดธงของข้าศึกก็อดทนได้ แต่พอได้ยินเสียงกึกก้องของข้าศึกเข้าเท่านั้นย่อมหยุดนิ่ง สะทกสะท้าน ไม่ สามารถเข้ารบได้ แม้ฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้เปรียบฉันนั้น บุคคลบางคนแม้ เช่นนี้ก็มีอยู่ นี้คือบุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพจำพวกที่ ๓ มีปรากฏอยู่ในพวก ภิกษุ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุแม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อดทนได้ แม้เห็นยอดธงของ ข้าศึกก็อดทนได้ แม้ได้ยินเสียงกึกก้องของข้าศึกก็อดทนได้ แต่ว่าย่อมขลาดต่อ การสัมปหารของข้าศึก อะไรชื่อว่าเป็นการสัมปหารของข้าศึกของเธอ คือ มาตุคาม เข้าไปหาภิกษุในธรรมวินัยนี้ ผู้อยู่ในป่า โคนไม้ หรือเรือนว่างเปล่า แล้วย่อม นั่งทับ นอนทับ ข่มขืน เธอถูกมาตุคามนั่งทับ นอนทับ ข่มขืนอยู่ ไม่บอกคืน สิกขา ไม่ทำให้แจ้งซึ่งความเป็นผู้ทุรพล ย่อมเสพเมถุนธรรม นี้ชื่อว่าการ สัมปหารของข้าศึกของเธอ นักรบอาชีพนั้นแม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อดทนได้ แม้เห็น ยอดธงของข้าศึกก็อดทนได้ แม้ได้ยินเสียงกึกก้องของข้าศึกก็อดทนได้ แต่ว่า ย่อมขลาดต่อการสัมปหารของข้าศึก แม้ฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้เปรียบฉันนั้น บุคคลบางคนแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ นี้คือบุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพจำพวกที่ ๔ มี ปรากฏอยู่ในพวกภิกษุ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุแม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อดทนได้ แม้เห็นยอดธงของ ข้าศึกก็อดทนได้ แม้ได้ยินเสียงกึกก้องของข้าศึกก็อดทนได้ อดทนการสัมปหาร ของข้าศึกได้ เขาชนะสงครามแล้ว เป็นผู้พิชิตสงคราม ยึดครองค่ายสงครามนั้น ไว้ได้ อะไรชื่อว่าชัยชนะในสงครามของเธอ คือ มาตุคามเข้าไปหาภิกษุในธรรม- *วินัยนี้ ผู้อยู่ในป่า โคนไม้ หรือเรือนว่างเปล่า แล้วย่อมนั่งทับ นอนทับ ข่มขืน เธอถูกมาตุคามนั่งทับ นอนทับ ข่มขืนอยู่ ไม่พัวพัน ปลดเปลื้อง หลีกออกได้ แล้วหลีกไปตามความประสงค์ เธอย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง เธออยู่ในป่า โคนไม้ หรือเรือนว่างเปล่า ย่อมนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอย่อมละอภิชฌาในโลกเสีย มีจิตปราศจากอภิชฌาอยู่ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก อภิชฌา เธอย่อมละความประทุษร้าย คือ พยาบาท มีจิตไม่พยาบาทอยู่ เป็น ผู้มีความเกื้อกูลอนุเคราะห์สัตว์ทั้งปวง ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความประทุษร้าย คือ พยาบาท เธอย่อมละถิ่นมิทธะ ปราศจากถิ่นมิทธะอยู่ เป็นผู้มีอาโลกสัญญา มี สติสัมปชัญญะ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถิ่นมิทธะ เธอย่อมละอุทธัจจะกุกกุจจะ มีจิตไม่ฟุ้งซ่านอยู่ เป็นผู้มีจิตสงบ ณ ภายใน ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจะ- *กุกกุจจะ เธอย่อมละวิจิกิจฉา เป็นผู้ข้ามพ้นวิจิกิจฉาอยู่ หมดความสงสัยในธรรม ทั้งหลาย ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉา เธอละนิวรณ์ ๕ ประการ อันเป็น เครื่องเศร้าหมองแห่งใจ ทำปัญญาให้ทุรพลได้แล้ว สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุ จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัส ก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว แล้วอย่างนี้ เธอย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ เธอย่อมรู้ชัดตามความ เป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้ อาสวะ นี้เหตุเกิดอาสวะ นี้ความดับอาสวะ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ เมื่อเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตของเธอย่อมหลุดพ้น แม้จากกามาสวะ แม้จาก ภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้น แล้ว ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก นี้ชื่อว่าชัยชนะในสงครามของเธอ นักรบ อาชีพนั้น แม้เห็นฝุ่นฟุ้งขึ้นก็อดทนได้ แม้เห็นยอดธงของข้าศึกก็อดทนได้ แม้ ได้ยินเสียงกึกก้องของข้าศึกก็อดทนได้ อดทนต่อการสัมปหารของข้าศึกได้ เขา ชนะสงครามแล้ว เป็นผู้พิชิตสงครามแล้ว ยึดครองค่ายสงครามนั้นไว้ได้ แม้ ฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้เปรียบฉันนั้น บุคคลบางคนแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ นี้คือบุคคล ผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพจำพวกที่ ๕ มีปรากฏอยู่ในพวกภิกษุ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพ ๕ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในพวกภิกษุ ฯ
จบสูตรที่ ๕
๖. โยธาชีวสูตรที่ ๒
[๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย นักรบอาชีพ ๕ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๕ จำพวกเป็นไฉน คือ นักรบอาชีพบางคนในโลกนี้ ถือดาบและโล่ห์ ผูกสอด ธนูและแล่ง แล้วเข้าสนามรบ เขาย่อมขะมักเขม้นพยายามรบในสนามรบนั้น พวกข้าศึกย่อมฆ่าเขาตายทำลายเขาได้ นักรบอาชีพบางคนแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ในโลกนี้ นี้เป็นนักรบอาชีพจำพวกที่ ๑ มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ อีกประการหนึ่ง นักรบอาชีพบางคนในโลกนี้ ถือดาบและโล่ห์ ผูกสอด ธนูและแล่ง แล้วเข้าสนามรบ เขาย่อมขะมักเขม้นพยายามรบในสนามรบนั้น พวกข้าศึกย่อมทำร้ายเขาให้บาดเจ็บ พวกของเขาย่อมนำเขาออกมาส่งไปถึงหมู่ ญาติ เขากำลังถูกนำไปยังไม่ถึงหมู่ญาติ ทำกาละเสียในระหว่างทาง นักรบอาชีพ บางคนแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ในโลกนี้ นี้เป็นนักรบอาชีพจำพวกที่ ๒ มีปรากฏอยู่ ในโลก ฯ อีกประการหนึ่ง นักรบอาชีพบางคนในโลกนี้ ถือดาบและโล่ห์ ผูกสอด ธนูและแล่ง แล้วเข้าสนามรบ เขาย่อมขะมักเขม้นพยายามรบในสนามรบนั้น พวกข้าศึกย่อมทำร้ายเขาให้บาดเจ็บ พวกของเขาย่อมนำเขาออกมาส่งไปถึงหมู่ ญาติ หมู่ญาติย่อมพยาบาลรักษาเขา เขาอันหมู่ญาติพยาบาลรักษาอยู่ ได้ทำกาละ ด้วยอาพาธนั้น นักรบอาชีพบางคนแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ในโลกนี้ นี้เป็นนักรบอาชีพ จำพวกที่ ๓ มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ อีกประการหนึ่ง นักรบอาชีพบางคนในโลกนี้ ถือดาบและโล่ห์ ผูกสอด ธนูและแล่ง แล้วเข้าสนามรบ เขาย่อมขะมักเขม้นพยายามรบในสนามรบนั้น พวกข้าศึกย่อมทำร้ายเขาให้บาดเจ็บ พวกของเขาย่อมนำเขาออกมาส่งไปถึงหมู่ ญาติ หมู่ญาติย่อมพยาบาลรักษาเขา เขาอันหมู่ญาติพยาบาลรักษาอยู่ ก็ได้หาย จากอาพาธนั้น นักรบอาชีพบางคนแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ในโลกนี้ นี้เป็นนักรบอาชีพ จำพวกที่ ๔ มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ อีกประการหนึ่ง นักรบอาชีพบางคนในโลกนี้ ถือดาบและโล่ห์ ผูกสอด ธนูและแล่ง แล้วเข้าสนามรบ เขาย่อมชนะสงครามแล้ว เป็นผู้พิชิตสงคราม ยึดครองค่ายสงครามไว้ได้ นักรบอาชีพบางคนแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ในโลกนี้ นี้เป็น นักรบอาชีพจำพวกที่ ๕ มีปรากฏอยู่ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย นักรบอาชีพ ๕ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ บุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพ ๕ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในพวกภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกัน ๕ จำพวกเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อาศัยบ้านหรือ นิคมบางแห่งอยู่ ครั้นเวลาเช้า เธอนุ่งสบงถือบาตรและจีวรแล้ว เข้าไปยังบ้าน หรือนิคมนั้นเพื่อบิณฑบาต ไม่รักษากาย ไม่รักษาวาจา ไม่รักษาจิต มีสติไม่ ตั้งมั่น ไม่สำรวมอินทรีย์ เธอได้เห็นมาตุคามนุ่งห่มลับๆ ล่อๆ ในบ้านหรือใน นิคมนั้น เพราะเห็นมาตุคามนุ่งห่มลับๆ ล่อๆ ราคะย่อมขจัดจิตของเธอ เธอ มีจิตอันราคะขจัดแล้ว ไม่บอกคืนสิกขา ไม่ทำให้แจ้งซึ่งความทุรพล เสพเมถุน- *ธรรม นักรบอาชีพนั้นถือดาบและโล่ห์ ผูกสอดธนูและแล่ง แล้วเข้าสนามรบ เขาย่อมขะมักเขม้นพยายามรบในสนามรบนั้น พวกข้าศึกย่อมฆ่าเขาตาย ทำลาย เขาได้ แม้ฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้เปรียบฉันนั้น บุคคลบางคนแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ ในธรรมวินัยนี้ นี้คือบุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพจำพวกที่ ๑ มีปรากฏอยู่ใน พวกภิกษุ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมอาศัยบ้านหรือนิคมบางแห่งอยู่ ครั้นเวลาเช้า เธอนุ่งสบงถือบาตรและจีวรแล้ว เข้าไปยังบ้านหรือนิคมนั้นเพื่อบิณฑบาต ไม่ รักษากาย ไม่รักษาวาจา ไม่รักษาจิต มีสติไม่ตั้งมั่น ไม่สำรวมอินทรีย์ เธอได้ เห็นมาตุคามนุ่งห่มลับๆ ล่อๆ ในบ้านหรือนิคมนั้น เพราะเห็นมาตุคามนุ่งห่ม ลับๆ ล่อๆ ราคะย่อมขจัดจิตของเธอ เธอมีจิตอันราคะขจัดแล้ว ย่อมเร่าร้อน กาย เร่าร้อนจิต เธอจึงคิดอย่างนี้ว่า ผิฉะนั้น เราควรไปอารามบอกพวกภิกษุว่า อาวุโส ข้าพเจ้าถูกราคะย้อมแล้ว ถูกราคะครอบงำแล้ว ไม่สามารถประพฤติ พรหมจรรย์สืบต่อไปได้ จักทำให้แจ้งซึ่งความเป็นผู้ทุรพลในสิกขา บอกคืนสิกขา เวียนมาเพื่อเป็นคฤหัสถ์ เธอกำลังเดินไปอาราม ยังไม่ทันถึงอาราม ก็ทำให้แจ้ง ซึ่งความเป็นผู้ทุรพลในสิกขา บอกคืนสิกขาเวียนมาเพื่อเป็นคฤหัสถ์ ในระหว่าง ทาง นักรบอาชีพนั้นถือดาบและโล่ห์ ผูกสอดธนูและแล่ง แล้วเข้าสนามรบ เขาย่อมขะมักเขม้นพยายามรบในสนามรบนั้น พวกข้าศึกย่อมทำร้ายเขาให้บาดเจ็บ พวกของเขาย่อมนำเขาออกมาส่งไปถึงหมู่ญาติ เขากำลังถูกนำไปยังไม่ถึงหมู่ญาติ ทำกาละเสียในระหว่างทาง แม้ฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้เปรียบฉันนั้น บุคคล บางคนแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ในธรรมวินัยนี้ นี้คือบุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพจำพวก ที่ ๒ มีปรากฏอยู่ในพวกภิกษุ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมอาศัยบ้านหรือนิคมบางแห่งอยู่ ครั้นเวลาเช้า เธอนุ่งสบงถือบาตรและจีวรแล้ว เข้าไปยังบ้านหรือนิคมนั้นเพื่อบิณฑบาต ไม่ รักษากาย ไม่รักษาวาจา ... บอกคืนสิกขาเวียนมาเพื่อเป็นคฤหัสถ์ เธอไปสู่ อารามบอกพวกภิกษุว่า อาวุโส ข้าพเจ้าถูกราคะย้อมแล้ว ... บอกคืนสิกขาเวียน มาเพื่อเป็นคฤหัสถ์ พวกเพื่อนพรหมจรรย์จึงกล่าวสอน พร่ำสอนเธอว่า อาวุโส กามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับ แค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่ กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบด้วยร่าง กระดูก มีทุกข์มาก ... กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบด้วยชิ้น เนื้อ มีทุกข์มาก ... กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบด้วยคบเพลิง มีทุกข์มาก ... กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง มีทุกข์มาก ... กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบด้วยความฝัน มีทุกข์ มาก ... กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบด้วยของขอยืม มีทุกข์มาก ... กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบด้วยผลไม้ มีทุกข์มาก ... กาม ทั้งหลายพระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบด้วยดาบและของมีคม มีทุกข์มาก ... กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบด้วยหอกและหลาว มีทุกข์มาก ... กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบด้วยโพรงไม้มีงู มีทุกข์มาก มีความ คับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่ ขอท่านผู้มีอายุ จงยินดียิ่งในพรหมจรรย์ จงอย่าทำ ให้แจ้งซึ่งความเป็นผู้ทุรพลในสิกขา บอกคืนสิกขาเวียนมาเพื่อเป็นคฤหัสถ์ เธอ อันพวกเพื่อนพรหมจรรย์กล่าวสอน พร่ำสอนอยู่อย่างนี้ จึงกล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส กามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับ แค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่ ก็จริง แต่ข้าพเจ้าไม่สามารถประพฤติพรหมจรรย์สืบ ต่อไปได้ จักทำให้แจ้งซึ่งความเป็นผู้ทุรพลในสิกขา บอกคืนสิกขาเวียนมาเพื่อ เป็นคฤหัสถ์ นักรบนั้นถือดาบและโล่ห์ ฯลฯ เขาอันหมู่ญาติพยาบาลรักษาอยู่ ก็ได้ตายเพราะอาพาธนั้น แม้ฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้เปรียบฉันนั้น บุคคลบาง คนแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ในธรรมวินัยนี้ นี้คือบุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพจำพวกที่ ๓ มีปรากฏอยู่ในพวกภิกษุ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมอาศัยบ้านหรือนิคมบางแห่งอยู่ ครั้นเวลาเช้า เธอนุ่งสบงถือบาตรและจีวรแล้ว เข้าไปยังบ้านหรือนิคมนั้นเพื่อบิณฑบาต ไม่ รักษากาย ไม่รักษาวาจา ... บอกคืนสิกขาเวียนมาเพื่อเป็นคฤหัสถ์ เพื่อไปอาราม บอกพวกภิกษุว่า อาวุโส ข้าพเจ้าถูกราคะย้อมแล้ว ... บอกคืนสิกขาเวียนมาเพื่อ เป็นคฤหัสถ์ พวกเพื่อนพรหมจรรย์จึงกล่าวสอน พร่ำสอนเธอว่า อาวุโส กาม ทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้น มาก มีโทษยิ่งใหญ่ กามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เปรียบด้วยร่างกระดูก ... เปรียบด้วยชิ้นเนื้อ ... เปรียบด้วยคบเพลิง ... เปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง ... เปรียบด้วยความฝัน ... เปรียบด้วยของขอยืม ... เปรียบด้วยผลไม้ ... เปรียบด้วย ดาบและของคม ... เปรียบด้วยหอกและหลาว ... เปรียบด้วยโพรงไม้มีงู มีความยินดี น้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก มีโทษยิ่งใหญ่ ขอท่านมีผู้อายุจงยินดียิ่งใน พรหมจรรย์ จงอย่าทำให้แจ้งซึ่งความเป็นผู้ทุรพลในสิกขา บอกคืนสิกขาเวียนมาเพื่อ เป็นคฤหัสถ์ เธออันพวกเพื่อนพรหมจรรย์กล่าวสอน พร่ำสอนอยู่อย่างนี้ จึงกล่าว อย่างนี้ว่า อาวุโส ข้าพระเจ้าจักขะมักเขม้น จักทรงไว้ จักยินดียิ่ง จักไม่กระทำ ให้แจ้งซึ่งความเป็นผู้ทุรพลในสิกขา บอกคืนสิกขาเวียนมาเพื่อเป็นคฤหัสถ์ ณ บัดนี้ นักรบนั้นถือดาบและโล่ห์ ... เขาอันหมู่ญาติพยาบาลรักษาอยู่ ก็ได้หายจาก อาพาธนั้น แม้ฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้เปรียบฉันนั้น บุคคลบางคนแม้เช่นนี้ก็มี อยู่ในธรรมวินัยนี้ นี้คือบุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบอาชีพจำพวกที่ ๔ มีปรากฏอยู่ ในพวกภิกษุ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมอาศัยบ้านหรือนิคมบางแห่งอยู่ ครั้นเวลาเช้า เธอนุ่งสบงถือบาตรและจีวรแล้ว เข้าไปยังบ้านหรือนิคมนั้นเพื่อบิณฑบาต รักษา กาย รักษาวาจา รักษาจิต มีสติตั้งมั่นสำรวมอินทรีย์ เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ย่อมไม่ถือโดยนิมิต ย่อมไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว พึงเป็นเหตุให้ธรรมอันเป็นบาปอกุศล คือ อภิชฌาและ โทมนัสครอบงำได้ ย่อมรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟัง เสียงด้วยหู ... ดมกลิ่นด้วยจมูก ... ลิ้มรสด้วยลิ้น ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วย กาย ... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมไม่ถือโดยนิมิต ย่อมไม่ถือโดย อนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว พึงเป็นเหตุ ให้ธรรมอันเป็นบาปอกุศล คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ย่อมรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ เธอกลับจากบิณฑบาตภายหลังภัตแล้ว ย่อม เสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฎ ที่แจ้ง ลอมฟาง เธออยู่ในป่า โคนไม้ หรือเรือนว่าง ย่อมนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกาย ตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอย่อมละอภิชฌาในโลกเสีย ฯลฯ เธอละนิวรณ์ ๕ ประการนี้ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองใจ ทำปัญญาให้ทุรพลได้แล้วสงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลสปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่น ไหวแล้วอย่างนี้ เธอย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ เธอย่อมรู้ชัดตามความ เป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก นักรบอาชีพนั้นถือ ดาบและโล่ห์ ผูกสอดธนูและแล่งแล้ว เข้าสนามรบ เขาชนะสงครามแล้ว เป็น ผู้พิชิตสงคราม ยึดครองค่ายสงครามนั้นไว้ได้ แม้ฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้เปรียบ ฉันนั้น บุคคลบางคนแม้เช่นนี้ก็มีอยู่ในธรรมวินัยนี้ นี้คือบุคคลผู้เปรียบด้วยนักรบ อาชีพจำพวกที่ ๕ มีปรากฏอยู่ในพวกภิกษุ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เปรียบ ด้วยนักรบอาชีพ ๕ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในพวกภิกษุ ฯ
จบสูตรที่ ๖
๒. อนาคตสูตรที่ ๑
[๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ป่า เห็นภัยในอนาคต ๕ ประการนี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อ บรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง ภัย ๕ ประการ เป็นไฉน คือ ภิกษุผู้อยู่ป่าในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บัดนี้เราอยู่ในป่า ผู้เดียว งูพึงกัดเรา แมลงป่องพึงต่อยเรา หรือตะขาบพึงกัดเรา เพราะการกัดต่อย แห่งสัตว์เหล่านั้น เราพึงทำกาละ พึงมีอันตรายแก่เรา ผิฉะนั้น เราจะปรารภ ความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้ง ธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ป่า เห็นภัยในอนาคตข้อ ที่ ๑ นี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว เพื่อถึงธรรมที่ยัง ไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้อยู่ป่า ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บัดนี้เราอยู่ใน ป่าผู้เดียว เมื่อเราอยู่ในป่าผู้เดียว พึงพลาดล้มลง ภัตตาหารที่ฉันแล้วไม่ย่อย ดี ของเราพึงกำเริบ เสมหะพึงกำเริบ หรือลมมีพิษเพียงดังศัตราพึงกำเริบ เพราะ เหตุนั้นๆ เราพึงทำกาละ พึงมีอันตรายแก่เรา ผิฉะนั้น เราจะปรารภความเพียร ... ภิกษุผู้อยู่ป่าเห็นภัยในอนาคตข้อที่ ๒ นี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท ... ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้อยู่ป่า ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บัดนี้เรา อยู่ในป่าผู้เดียว เมื่อเราอยู่ในป่าผู้เดียว พึงพบสัตว์ร้าย คือสีหะ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี หรือเสือดาว สัตว์เหล่านั้นพึงทำร้ายเราถึงตาย เพราะการทำร้าย นั้น เราพึงทำกาละ พึงมีอันตรายแก่เรา ผิฉะนั้น เราจะปรารภความเพียร ... ภิกษุ ผู้อยู่ป่า เห็นภัยในอนาคตข้อที่ ๓ นี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท ... ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้อยู่ป่า ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บัดนี้เราอยู่ใน ป่าผู้เดียว เมื่อเราอยู่ในป่าผู้เดียว เราพึงพบคนร้าย ผู้มีกรรมอันทำแล้ว หรือมี กรรมยังไม่ได้ทำ คนร้ายเหล่านั้นพึงปลงเราจากชีวิต เพราะการปลงนั้น เราพึง ทำกาละ พึงมีอันตรายแก่เรา ผิฉะนั้น เราจะปรารภความเพียร ... ภิกษุผู้อยู่ป่า เห็นภัยในอนาคตข้อที่ ๔ นี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท ... ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้อยู่ป่า ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บัดนี้เราอยู่ใน ป่าผู้เดียว เมื่อเราอยู่ในป่าผู้เดียว ในป่าย่อมมีพวกอมนุษย์ดุร้าย อมนุษย์เหล่า นั้นพึงปลงชีวิตเรา เพราะการปลงชีวิตนั้นเราพึงทำกาละ พึงมีอันตรายแก่เรา ผิฉะนั้น เราจะปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ ป่าเห็นภัยในอนาคตข้อที่ ๕ นี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ด เดี่ยว เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้ง ธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ป่า เห็นภัยในอนาคต ๕ ประการนี้แล ควรเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ เพื่อถึง ธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ ทำให้แจ้ง ฯ
จบสูตรที่ ๗
๘. อนาคตสูตรที่ ๒
[๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เห็นภัยในอนาคต ๕ ประการนี้ ก็ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อ บรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง ภัย ๕ ประการ เป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บัดนี้ เรายังเป็นหนุ่ม แน่น มีผมดำสนิท ประกอบด้วยความเป็นหนุ่มอันเจริญ ตั้งอยู่ในปฐมวัย ถึง กระนั้น ก็มีสมัยที่ชราย่อมจะถูกต้องกายนี้ได้ ก็ผู้ที่แก่แล้ว ถูกชราครอบงำแล้ว จะมนสิการคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ทำได้ง่าย จะเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า และป่าชัฏ ก็ไม่ใช่ทำได้ง่าย ก่อนที่ธรรมอันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่ น่าพอใจนั้นจะมาถึงเรา เราจะรีบปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อ บรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง เสียก่อนที เดียว ซึ่งเราประกอบแล้ว แม้แก่ก็จักอยู่สบาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เห็น ภัยในอนาคตข้อที่ ๑ นี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยัง ไม่ได้ทำให้แจ้ง ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บัดนี้ เรามีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง ประกอบด้วยไฟธาตุสำหรับย่อยอาหารสม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ ร้อนนัก ขนาดกลาง ควรแก่การบำเพ็ญเพียร แต่ย่อมมีสมัยที่พยาธิจะถูกต้อง กายนี้ ก็ผู้ที่ป่วยไข้อันความป่วยไข้ครอบงำแล้ว จะมนสิการคำสั่งสอนของ พระพุทธเจ้าไม่ใช่ทำได้ง่าย ... ซึ่งเราประกอบแล้ว แม้ป่วยไข้ก็จักอยู่สบาย ภิกษุเห็นภัยในอนาคตข้อที่ ๒ นี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท ... ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บัดนี้แล ข้าวกล้าดี บิณฑบาตก็หาได้ง่าย สะดวกแก่การแสวงหาเลี้ยงชีพ แต่ก็ย่อมมีสมัยที่มีข้าวแพง ข้าวกล้าไม่ดี บิณฑบาตหาได้ยาก ไม่สะดวกแก่การแสวงหาเลี้ยงชีพ อนึ่ง ใน สมัยข้าวแพง พวกมนุษย์ย่อมหลั่งไหลไปในที่ที่มีอาหารดี ในที่นั้นย่อมมีการอยู่ คลุกคลีด้วยหมู่คณะ มีการอยู่พลุกพล่านกัน เมื่อมีการอยู่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ อยู่ พลุกพล่านกัน จะมนสิการคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไม่ใช่ทำได้ง่าย ... ซึ่งเรา ประกอบแล้ว ก็จักอยู่สบายแม้ในเวลาทุพภิกขภัย ภิกษุผู้เห็นภัยในอนาคตข้อ ที่ ๓ นี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท ... ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บัดนี้แลมนุษย์ทั้งหลายย่อม เป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ชื่นชมต่อกัน ไม่วิวาทกัน เป็นดังน้ำนมกับน้ำ มองดูกัน ด้วยนัยน์ตาแสดงความรักอยู่ แต่ย่อมมีสมัยที่มีภัย มีความปั่นป่วนในดง ประชาชน วุ่นวายและเมื่อมีภัย พวกมนุษย์ย่อมหลั่งไหลไปในที่ที่ปลอดภัย ในที่นั้นย่อม มีการอยู่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ มีการอยู่พลุกพล่านกัน เมื่อมีการอยู่คลุกคลีด้วย หมู่คณะ อยู่พลุกพล่านกัน จะมนสิการคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ทำได้ ง่าย ... ซึ่งเราประกอบแล้วก็จักอยู่สบายแม้ในสมัยที่มีภัย ภิกษุผู้เห็นภัยใน อนาคตข้อที่ ๔ นี้ ควรเป็นผู้ไม่ประมาท ... ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า บัดนี้แลสงฆ์เป็นผู้พร้อม เพรียงกัน ชื่นชมต่อกัน ไม่วิวาทกัน มีอุเทศร่วมกัน อยู่ผาสุก แต่ก็ย่อมมี สมัยที่สงฆ์แตกกัน ก็เมื่อสงฆ์แตกกันแล้ว จะมนสิการคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ทำได้ง่าย จะเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า และป่าชัฏ ก็ไม่ใช่ทำได้ง่าย ก่อนที่ธรรมอันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจนั้นจะมาถึงเรา เราจะรีบ ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อ ทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง ซึ่งเราประกอบแล้ว ก็จักอยู่สบายแม้ในเมื่อ สงฆ์แตกกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เห็นภัยในอนาคตข้อที่ ๕ นี้ ควรเป็นผู้ไม่ ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม ที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ เห็นภัยในอนาคต ๕ ประการนี้แล ควรเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ด เดี่ยวอยู่ เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้ง ธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง ฯ
จบสูตรที่ ๘
๙. อนาคตสูตรที่ ๓
[๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคต ๕ ประการนี้ ยังไม่บังเกิดใน ปัจจุบัน แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยเหล่านั้น เธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้ว พึงพยายามเพื่อละภัยเหล่านั้น ภัยในอนาคต ๕ ประการเป็นไฉน คือ ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา จักให้อุปสมบทกุลบุตรเหล่าอื่น จักไม่สามารถแนะนำแม้กุลบุตรเหล่านั้นในอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา แม้กุลบุตรเหล่านั้น ก็จักไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรม จิต ไม่อบรมปัญญา เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา ก็ จักให้อุปสมบทกุลบุตรเหล่าอื่น จักไม่สามารถแนะนำแม้กุลบุตรเหล่านั้นในอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา แม้กุลบุตรเหล่านั้นก็จักไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรม จิต ไม่อบรมปัญญาเพราะเหตุดังนี้แล การลบล้างวินัยย่อมมีเพราะการลบล้าง ธรรม การลบล้างธรรมย่อมมีเพราะการลบล้างวินัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคต ข้อที่ ๑ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยข้อนี้อันเธอ ทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยนั้น อีกประการหนึ่ง ในอนาคต ภิกษุทั้งหลาย จักไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่ อบรมปัญญา จักให้นิสัยแก่กุลบุตรเหล่าอื่น จักไม่สามารถแนะนำแม้กุลบุตร เหล่านั้นในอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา แม้กุลบุตรเหล่านั้นก็จักไม่อบรมกาย ไม่ อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่ อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา ก็จักให้นิสัยแก่กุลบุตรเหล่าอื่น จักไม่สามารถแนะนำ แม้กุลบุตรเหล่านั้นในอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา แม้กุลบุตรเหล่านั้นก็จักไม่อบรม กาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา เพราะเหตุดังนี้แล การลบล้าง วินัยย่อมมีเพราะการลบล้างธรรม การลบล้างธรรมย่อมมีเพราะการลบล้างวินัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ ๒ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิด ในกาลต่อไป ภัยข้อนี้อันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละ ภัยนั้น ฯ อีกประการหนึ่ง ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่ อบรมปัญญา เมื่อแสดงอภิธรรมกถา เวทัลลกถา หยั่งลงสู่ธรรมที่ผิดก็จักไม่รู้สึก เพราะเหตุดังนี้แล การลบล้างวินัยย่อมมีเพราะการลบล้างธรรม การลบล้างธรรม ย่อมมีเพราะการลบล้างวินัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ ๓ นี้ ซึ่งยังไม่ บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยข้อนี้อันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยนั้น ฯ อีกประการหนึ่ง ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่ อบรมปัญญา พระสูตรต่างๆ ที่ตถาคตได้ภาษิตไว้ เป็นสูตรลึกซึ้ง มีอรรถลึกซึ้ง เป็นโลกุตระ ประกอบด้วยสุญญตาธรรม เมื่อพระสูตรเหล่านั้นอันบุคคลแสดงอยู่ ก็จักไม่ฟังด้วยดี จักไม่เงี่ยโสตลงสดับ จักไม่ตั้งจิตเพื่อรู้ จักไม่ใฝ่ใจในธรรม เหล่านั้นว่าควรศึกษาเล่าเรียน แต่ว่าสูตรต่างๆ ที่นักกวีแต่งไว้ ประพันธ์เป็นบท กวี มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะสละสลวย เป็นพาหิรกถา เป็นสาวกภาษิต เมื่อพระสูตรเหล่านั้น อันบุคคลแสดงอยู่ ก็จักฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ จักตั้งจิตเพื่อรู้ จักฝักใฝ่ใจในธรรมเหล่านั้นว่าควรศึกษาเล่าเรียน เพราะเหตุดังนี้ แล การลบล้างวินัยย่อมมีเพราะการลบล้างธรรม การลบล้างธรรมย่อมมีเพราะการ ลบล้างวินัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ ๔ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยข้อนี้อันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้ว พึง พยายามเพื่อละภัยนั้น ฯ อีกประการหนึ่ง ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักไม่อบรมกาย ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา ภิกษุผู้เถระก็จักเป็นผู้มักมาก มีความประพฤติย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในความล่วง ละเมิด ทอดธุระในความสงัด จักไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อ บรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง ประชุมชน รุ่นหลังก็จักถือเอาภิกษุเหล่านั้นเป็นตัวอย่าง แม้ประชุมชนนั้นก็จักเป็นผู้มักมาก มีความประพฤติย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในความล่วงละเมิด ทอดธุระในความสงัด จักไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง เพราะเหตุดังนี้แล การลบล้างวินัยย่อมมี เพราะการลบล้างธรรม การลบล้างธรรมย่อมมีเพราะการลบล้างวินัย ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภัยในอนาคต ข้อที่ ๕ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาล ต่อไป ภัยข้อนี้อันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยนั้น ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคต ๕ ประการนี้แล ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยเหล่านั้นอันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึง พยายามเพื่อละภัยเหล่านั้น ฯ
จบสูตรที่ ๙
๑๐. อนาคตสูตรที่ ๔
[๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคต ๕ ประการนี้ ซึ่งยังไม่บังเกิด ในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยเหล่านั้นอันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยเหล่านั้น ๕ ประการเป็นไฉน คือ ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้ชอบจีวรดีงาม เมื่อชอบจีวรดีงาม ก็ จักละความเป็นผู้ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร จักละเสนาสนะอันสงัดคือป่าและป่าชัฏ จักประชุมกันอยู่ที่บ้าน นิคมและราชธานี และจักถึงการแสวงหาไม่สมควร อัน ไม่เหมาะสมต่างๆ เพราะเหตุจีวร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ ๑ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยนั้นอันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้ เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยนั้น ฯ อีกประการหนึ่ง ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้ชอบบิณฑบาตที่ดีงาม เมื่อชอบบิณฑบาตที่ดีงาม ก็จักละความเป็นผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ละเสนา- *สนะอันสงัดคือป่าและป่าชัฏ จักประชุมกันอยู่ที่บ้าน นิคม และราชธานี แสวง หาบิณฑบาตที่มีรสอันเลิศด้วยปลายลิ้น และจักถึงการแสวงหาอันไม่สมควร ไม่ เหมาะสมต่างๆ เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อ ที่ ๒ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยนั้นอันเธอ ทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยนั้น ฯ อีกประการหนึ่ง ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้ชอบเสนาสนะดีงาม เมื่อชอบเสนาสนะดีงาม ก็จักละความเป็นผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ละเสนาสนะ อันสงัดคือป่าและป่าชัฏ จักประชุมกันอยู่ที่บ้าน นิคม และราชธานี และจักถึง การแสวงหาอันไม่สมควร ไม่เหมาะสมต่างๆ เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ ๓ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาล ต่อไป ภัยนั้นอันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยนั้น ฯ อีกประการหนึ่ง ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้อยู่คลุกคลีด้วยภิกษุณี นางสิกขมานา และสมณุทเทส เมื่อมีการคลุกคลีด้วยภิกษุณี นางสิกขมานา และสมณุทเทส พึงหวังข้อนี้ได้ว่า เธอเหล่านั้นจักเป็นผู้ไม่ยินดีประพฤติ พรหมจรรย์ จักต้องอาบัติเศร้าหมองบางอย่าง หรือจักบอกคืนสิกขาเวียนมา เพื่อเป็นคฤหัสถ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ ๔ นี้ ซึ่งยังไม่ บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยนั้นอันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยนั้น ฯ อีกประการหนึ่ง ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้คลุกคลีด้วยอารามิก- *บุรุษ และสมณุทเทส เมื่อมีการคลุกคลีด้วยอารามิกบุรุษ และสมณุทเทส พึงหวังข้อนี้ได้ว่า เธอเหล่านั้นจักเป็นผู้ประกอบการบริโภคของที่สะสมไว้มี ประการต่างๆ จักกระทำนิมิตแม้อย่างหยาบที่แผ่นดินบ้าง ที่ปลายของเขียวบ้าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตข้อที่ ๕ นี้ ซึ่งยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดใน กาลต่อไป ภัยนั้นอันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยนั้น ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคต ๕ ประการนี้แล ซึ่งยังไม่บังเกิดใน บัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยเหล่านั้นอันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึงพยายามเพื่อละภัยเหล่านั้น ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบโยธาชีวรรคที่ ๓
---------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. เจโตวิมุติสูตรที่ ๑ ๒. เจโตวิมุติสูตรที่ ๒ ๓. ธรรมวิหาริก- *สูตรที่ ๑ ๔. ธรรมวิหาริกสูตรที่ ๒ ๕. โยธาชีวสูตรที่ ๑ ๖. โยธา- *ชีวสูตรที่ ๒ ๗. อนาคตสูตรที่ ๑ ๘. อนาคตสูตรที่ ๒ ๙. อนาคต- *สูตรที่ ๓ ๑๐. อนาคตสูตรที่ ๔ ฯ
----------
**************************************************
ท่านผู้อ่านโปรดคลิกที่ลิงค์นี้ครับ http://hawk.blogth.com/17384/%C7%E8%D2%B4%E9%C7%C2%E0%C3%D7%E8%CD%A7%A1%D2%C3%BB%C3%D2%C3%C0%A4%C7%D2%C1%E0%BE%D5%C2%C3.html

ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่านครับ

วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2552

การทำทานเพื่อความไม่ประมาท

พระสูตรในวันนี้กล่าวถึงการทำทานว่ามีผลมาก ผู้ให้อายุ วรรณะ ความสุข และพลานามัยแก่ผู้อื่นย่อมได้รับผลแห่งบุญนั้น ยิ่งทำทานแก่ผู้มีศีล ผลบุญก็ยิ่งมากเป็นทวีคูณ หากว่าระหว่างช่วงเวลาที่ท่านให้ทานนั้น ท่านได้อาศัยผลแห่งบุญกระทำงานบางอย่างสำเร็จขึ้นได้โดยยาก เพราะเหตุว่าผลทานนั้นได้ยังปัญญาของท่านให้ถึงพร้อม เมื่อเป็นเช่นนั้น งานอย่างนั้นท่านก็ชื่อว่ายังสามารถทำขึ้นใหม่ได้ ตราบใดที่ท่านยังมีศรัทธาในการทำทาน ต่อให้บรรดาอมิตรมาเห็นเข้าก็ไม่สามารถเยาะเย้ยท่านได้เลย เพราะเห็นสีหน้าอันไม่ยินดียินร้ายของท่าน

ในสองพระสูตรสุดท้ายเป็นใจความสำคัญของมุณฑราชวรรค ทั้งสองพระสูตรกล่าวถึงพระราชาที่พระมเหสีผู้เป็นที่รักยิ่งได้เสด็จทิวงคต เพราะเหตุนั้น พระองค์ทรงปริเทวนาการอย่างใหญ่หลวง ไม่อาจกระทำพระทัยให้เป็นปกติ ไม่ปรารถนาพระกระยาหาร ไม่ทรงกระทำพระราชกิจน้อยใหญ่ เพราะการสิ้นไปซึ่งชีวิตของมนุษย์นั้นไม่อาจหวนคืน ต่างจากงานที่ทำได้โดยยากดังในย่อหน้าแรกที่ยังพอจะทำได้ใหม่ แม้ว่าจะยากแสนยากก็ตาม หากพระเจ้าปเสนทิโกศลจะทรงกระทำทานเป็นนิตย์ จะทรงตั้งพระทัยกระทำการงานอันไม่มีโทษบางประการ ในข้อนี้อาจจะเป็นเพราะกรรมบางประการอันจะมาตัดรอนความผาสุกของพระเจ้าปเสนทิโศล ครั้นจำต้องสละงานอันตั้งพระทัยไว้อย่างดีเพื่อเป็นทางเลือกแทนที่จะให้พระมเหสีทรงเสด็จทิวงคตไป พระเจ้าปเสนทิโกศลนั้นอาจจะมิต้องทรงเสียพระทัยมากมายถึงขนาดนี้ ที่กล่าวมาดังนี้นั้น ผมตั้งใจจะกล่าวถึงผลการทำทานเพื่อตัดรอนกรรมอันร้ายแรงให้เบาบางลง

มีตัวอย่างของการทำกุศลเพื่อที่จะตัดรอนผลกรรมที่ไม่ดีอื่นๆครับ ยกตัวอย่างเช่นพระเจ้าอชาตศัตรู พระราชาแคว้นมคธผู้ทรงกระทำปิตุฆาต ความจริงแล้วจะต้องไปอยู่ในอเวจีมหานรก แต่พระองค์ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ของการสังคายนาพระไตรปิฎก เป็นกุศลกรรมอย่างแรงกล้า ครั้นทรงสิ้นพระชนม์แล้วไปรับผลกรรมในขุมนรกชั้นรองลงมา ครั้นสิ้นผลกรรมแล้วยังจะได้ทรงตรัสรู้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าอีกพระองค์หนึ่ง อยากจะขอให้ท่านผู้อ่านศึกษาโกสลสูตร และนารทสูตรให้ชัดเจนครับ

พระสูตรในวันนี้ยกมาจากพระสุตตันตปิฎก เล่ม6 มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ ครับ

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

******************************
มุณฑราชวรรคที่ ๕
๑. อาทิยสูตร
[๔๑] ครั้งนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง ที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคได้ ตรัสกับท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า ดูกรคฤหบดี ประโยชน์ที่จะพึงถือเอาแต่ โภคทรัพย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมใช้จ่ายโภคทรัพย์ที่ตนหามาได้ด้วยความหมั่น ความขยัน สะสมขึ้นด้วยกำลัง แขน อาบเหงื่อต่างน้ำ ชอบธรรม ได้มาโดยธรรม เลี้ยงตนให้เป็นสุข ให้อิ่มหนำ บริหารตนให้เป็นสุขสำราญ เลี้ยงมารดาบิดาให้เป็นสุข ให้อิ่มหนำ บริหารให้ เป็นสุขสำราญ เลี้ยงบุตร ภรรยา ทาสกรรมกร คนใช้ ให้เป็นสุข ให้อิ่มหนำ บริหารให้เป็นสุขสำราญ นี้เป็นประโยชน์ที่จะพึงถือเอาแต่โภคทรัพย์ข้อที่ ๑ ฯ อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมใช้จ่ายโภคทรัพย์ที่ตนหามาได้ด้วยความ หมั่น ความขยัน สะสมขึ้นด้วยกำลังแขน อาบเหงื่อต่างน้ำ ชอบธรรม ได้มา โดยธรรม เลี้ยงมิตรสหายให้เป็นสุข ให้อิ่มหนำ บริหารให้เป็นสุขสำราญ นี้ เป็นประโยชน์ที่จะพึงถือเอาแต่โภคทรัพย์ข้อที่ ๒ ฯ อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมใช้จ่ายโภคทรัพย์ที่ตนหามาได้ด้วยความ หมั่น ความขยัน สะสมขึ้นด้วยกำลังแขน อาบเหงื่อต่างน้ำ ชอบธรรม ได้มา โดยธรรม ป้องกันอันตรายที่เกิดแต่ไฟ น้ำ พระราชา โจร หรือทายาทผู้ไม่เป็น ที่รัก ทำตนให้สวัสดี นี้เป็นประโยชน์ที่จะพึงถือเอาแต่โภคทรัพย์ข้อที่ ๓ ฯ อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมใช้จ่ายโภคทรัพย์ที่ตนหามาได้ด้วยความ หมั่น ความขยัน สะสมขึ้นด้วยกำลังแขน อาบเหงื่อต่างน้ำ ชอบธรรม ได้มา โดยธรรม ทำพลี ๕ อย่าง คือ ๑. ญาติพลี [บำรุงญาติ] ๒. อติถิพลี [ต้อนรับแขก] ๓. ปุพพเปตพลี [บำรุงญาติผู้ตายไปแล้วคือทำบุญอุทิศกุศลให้] ๔. ราชพลี [บำรุงราชการ คือบริจาคทรัพย์ช่วยชาติ] ๕. เทวตาพลี [บำรุงเทวดา คือทำบุญอุทิศให้เทวดา] นี้เป็นประโยชน์ที่จะพึงถือเอาแต่โภคทรัพย์ข้อที่ ๔ ฯ อีกประการหนึ่ง อริยสาวกย่อมใช้จ่ายโภคทรัพย์ที่ตนหามาได้ด้วยความ หมั่น ความขยัน สะสมขึ้นด้วยกำลังแขน อาบเหงื่อต่างน้ำ ชอบธรรม ได้มา โดยธรรม บำเพ็ญทักษิณา มีผลสูงเลิศ เกื้อกูลแก่สวรรค์ มีวิบากเป็นสุข ยัง อารมณ์เลิศให้เป็นไปด้วยดีในสมณพราหมณ์ ผู้เว้นจากความมัวเมาประมาท ตั้ง อยู่ในขันติและโสรัจจะ ผู้มั่นคง ฝึกฝนตนให้สงบระงับดับกิเลสโดยส่วนเดียว นี้เป็นประโยชน์ที่จะพึงถือเอาแต่โภคทรัพย์ข้อที่ ๕ ฯ ดูกรคฤหบดี ประโยชน์ที่จะพึงถือเอาแต่โภคทรัพย์ ๕ ประการนี้แล ถ้า เมื่ออริยสาวกนั้นถือเอาประโยชน์แต่โภคทรัพย์ ๕ ประการนี้ โภคทรัพย์หมดสิ้นไป อริยสาวกนั้นย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า เราได้ถือเอาประโยชน์แต่โภคทรัพย์นั้นแล้ว และโภคทรัพย์ของเราก็หมดสิ้นไป ด้วยเหตุนี้ อริยสาวกนั้น ย่อมไม่มีความ เดือดร้อน ถ้าเมื่ออริยสาวกนั้นถือเอาประโยชน์แต่โภคทรัพย์ ๕ ประการนี้ โภคทรัพย์เจริญขึ้น อริยสาวกนั้นย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า เราถือเอาประโยชน์ แต่โภคทรัพย์นี้แล้ว และโภคทรัพย์ของเราก็เจริญขึ้น อริยสาวกนั้นย่อมไม่มี ความเดือดร้อน อริยสาวกย่อมไม่มีความเดือดร้อนด้วยเหตุทั้ง ๒ ประการ ฉะนี้แล ฯ นรชนเมื่อคำนึงถึงเหตุนี้ว่า เราได้ใช้จ่ายโภคทรัพย์เลี้ยงตน แล้ว ได้ใช้จ่ายโภคทรัพย์เลี้ยงคนที่ควรเลี้ยงแล้ว ได้ผ่านพ้น ภัยที่เกิดขึ้นแล้ว ได้ให้ทักษิณาอันมีผลสูงเลิศแล้ว ได้ทำ พลี ๕ ประการแล้ว และได้บำรุงท่านผู้มีศีล สำรวมอินทรีย์ ประพฤติพรหมจรรย์แล้ว บัณฑิตผู้อยู่ครองเรือน พึงปรารถนา โภคทรัพย์ เพื่อประโยชน์ใด ประโยชน์นั้น เราก็ได้บรรลุ แล้ว เราได้ทำสิ่งที่ไม่ต้องเดือดร้อนแล้ว ดังนี้ชื่อว่าเป็นผู้ ดำรงอยู่ในธรรมของพระอริยะ บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญ เขาในโลกนี้ เมื่อเขาละจากโลกนี้ไปแล้ว ย่อมบันเทิงใจใน สวรรค์ ฯ
จบสูตรที่ ๑
๒. สัปปุริสสูตร
[๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัปบุรุษเมื่อเกิดในสกุล ย่อมเกิดมาเพื่อ ประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ชนเป็นอันมาก คือ แก่มารดาบิดา แก่บุตรภริยา แก่ทาส กรรมกร คนรับใช้ แก่มิตรสหาย แก่สมณพราหมณ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนมหาเมฆ ยังข้าวกล้าทั้งปวงให้งอกงาม ชื่อว่าย่อม มีมาเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ชนเป็นอันมาก ฉันใด สัปบุรุษ เมื่อเกิดในสกุล ย่อมเกิดมาเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ชน เป็นอันมาก คือ แก่มารดาบิดา แก่บุตรภริยา แก่ทาส กรรมกร คนรับใช้ แก่มิตรสหาย แก่สมณพราหมณ์ ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ สัปบุรุษผู้ครอบครองโภคทรัพย์ เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ชน เป็นอันมาก เทวดาย่อมรักษาเขาผู้อันธรรมคุ้มครอง เป็น พหูสูต สมบูรณ์ด้วยศีลและความประพฤติ เกียรติย่อมไม่ ละเขาผู้ตั้งอยู่ในธรรม ใครจะสามารถติเตียนเขาผู้ตั้งอยู่ใน ธรรม สมบูรณ์ด้วยศีล มีวาจาสัจ มีหิริในใจ เปรียบเหมือน แท่งทองชมพูนุท แม้เทวดาก็ชม แม้พรหมก็สรรเสริญเขา ฯ
จบสูตรที่ ๒
๓. อิฎฐสูตร
[๔๓] ครั้งนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มี พระภาคได้ตรัสกับท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า ดูกรคฤหบดี ธรรม ๕ ประการนี้ น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้โดยยากในโลก ๕ ประการเป็นไฉน คือ อายุ ๑ วรรณะ ๑ สุขะ ๑ ยศ ๑ สวรรค์ ๑ ดูกรคฤหบดี ธรรม ๕ ประการ นี้แล น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้โดยยากในโลก ฯ ธรรม ๕ ประการนี้ น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้โดยยากในโลก เรามิได้กล่าวว่าจะพึงได้เพราะเหตุแห่งความอ้อนวอน หรือเพราะเหตุแห่งความ ปรารถนา ถ้าธรรม ๕ ประการนี้ น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้โดยยาก ในโลก จักได้เพราะเหตุแห่งความอ้อนวอน หรือเพราะเหตุแห่งความปรารถนา แล้วไซร้ ในโลกนี้ ใครจะพึงเสื่อมจากอะไร ดูกรคฤหบดี อริยสาวกผู้ต้องการ อายุ ไม่ควรอ้อนวอนหรือเพลิดเพลินอายุ หรือแม้เพราะเหตุแห่งอายุ อริยสาวก ผู้ต้องการอายุ พึงปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นไปเพื่ออายุ เพราะปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อ อายุที่พระอริยสาวกนั้นปฏิบัติแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้อายุ อริยสาวกผู้นั้นย่อม ได้อายุที่เป็นของทิพย์ หรือเป็นของมนุษย์ อริยสาวกผู้ต้องการวรรณะ ไม่ควร อ้อนวอนหรือเพลิดเพลินวรรณะ หรือแม้เพราะเหตุแห่งวรรณะ อริยสาวกผู้ต้อง การวรรณะ พึงปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อวรรณะ เพราะปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อ วรรณะ ที่อริยสาวกนั้นปฏิบัติแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้วรรณะ อริยสาวกนั้น ย่อมได้วรรณะที่เป็นของทิพย์ หรือเป็นของมนุษย์ อริยสาวกผู้ต้องการสุข ไม่ อ้อนวอนหรือเพลิดเพลินสุข หรือแม้เพราะเหตุแห่งสุข อริยสาวกผู้ต้องการสุข พึงปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อสุข เพราะปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อสุขที่อริยสาวกนั้น ปฏิบัติแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้สุข อริยสาวกนั้นย่อมได้สุขที่เป็นของทิพย์ หรือของมนุษย์ อริยสาวกผู้ต้องการยศ ไม่ควรอ้อนวอนหรือเพลิดเพลินยศ หรือ แม้เพราะเหตุแห่งยศ อริยสาวกผู้ต้องการยศ พึงปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อยศ เพราะปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อยศที่อริยสาวกนั้นปฏิบัติแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้ยศ อริยสาวกนั้น ย่อมได้ยศที่เป็นของทิพย์ หรือของมนุษย์ อริยสาวกผู้ต้องการ สวรรค์ ไม่ควรอ้อนวอนหรือเพลิดเพลินสวรรค์ หรือแม้เพราะเหตุแห่งสวรรค์ อริยสาวกผู้ต้องการสวรรค์ พึงปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อสวรรค์ เพราะปฏิปทา อันเป็นไปเพื่อสวรรค์ ที่อริยสาวกนั้นปฏิบัติแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้สวรรค์ อริยสาวกนั้นย่อมได้สวรรค์ ฯ ชนผู้ปรารถนาอายุ วรรณะ ยศ เกียรติ สวรรค์ ความเกิด ในตระกูลสูง และความเพลินใจ พึงทำความไม่ประมาทให้ มากยิ่งขึ้น บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมสรรเสริญความไม่ประมาท ในการทำบุญ บัณฑิตผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยึดถือประโยชน์ ทั้งสองไว้ได้ คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน และประโยชน์ใน สัมปรายภพ ผู้มีปัญญา ท่านเรียกว่าบัณฑิต เพราะบรรลุถึง ประโยชน์ทั้งสองนั้น ฯ
จบสูตรที่ ๓
๔. มนาปทายีสูตร
[๔๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลาป่ามหาวัน ใกล้เมืองเวสาลี ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งแล้ว ทรงถือ บาตรและจีวร เสด็จเข้าไปสู่นิเวศน์แห่งอุคคคฤหบดีชาวเมืองเวสาลี ประทับนั่ง บนอาสนะที่เขาตบแต่งไว้ ครั้งนั้น อุคคคฤหบดีได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า ผู้ให้ของที่พอใจย่อมได้ของที่พอใจ ดังนี้ ก็ขาทนียาหารชื่อสาลปุบผกะของข้า พระองค์เป็นที่พอใจ ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์รับขาทนียาหาร ของข้าพระองค์นั้นเถิด พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์รับแล้ว อุคค- *คฤหบดีได้กราบทูลอีกว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะ พระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า ผู้ให้ของที่พอใจย่อมได้ของที่พอใจ ดังนี้ ก็เนื้อ สุกรอย่างดีของข้าพระองค์เป็นที่พอใจ ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์ รับเนื้อสุกรอย่างดีของข้าพระองค์นั้นเถิด พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์ รับแล้ว อุคคคฤหบดีได้กราบทูลอีกว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับ รับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า ผู้ให้ของที่พอใจย่อมได้ของที่พอใจ ดังนี้ ก็นาลิยสากะขาทนียาหารซึ่งทอดด้วยน้ำมัน ของข้าพระองค์เป็นที่พอใจ ขอ พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์รับนาลิยสากะขาทนียาหารของข้าพระองค์ นั้นเถิด พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์รับแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า ผู้ให้ของที่พอใจย่อม ได้ของที่พอใจ ดังนี้ ก็ข้าวสุกแห่งข้าวสาลีที่ขาวสะอาด มีกับมาก มีพยัญชนะ มาก ของข้าพระองค์ เป็นที่พอใจ ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์ รับข้าวสุกแห่งข้าวสาลี ของข้าพระองค์นั้นเถิด พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความ อนุเคราะห์รับแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาคว่า ผู้ให้ของที่พอใจย่อมได้ของที่พอใจ ดังนี้ ก็ผ้าที่ทำในแคว้น กาสีของข้าพระองค์เป็นที่พอใจ ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์รับ ผ้าของข้าพระองค์นั้นเถิด พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์รับแล้ว ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับรับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า ผู้ให้ ของที่พอใจย่อมได้ของที่พอใจ ดังนี้ ก็เตียงมีเท้าทำเป็นรูปสัตว์ร้าย ลาดด้วยผ้า โกเชาว์ ลาดด้วยขนแกะสีขาว เครื่องลาดที่มีสัณฐานเป็นช่อดอกไม้ เครื่องลาด อย่างดีทำด้วยหนังชะมด เครื่องลาดมีเพดาน เครื่องลาดใหญ่มีหมอนข้างทั้งสอง ของข้าพระองค์เป็นที่พอใจ และข้าพระองค์ก็ย่อมทราบดีว่า สิ่งเหล่านี้ไม่ควรแก่ พระผู้มีพระภาค เตียงไม้จันทน์ของข้าพระองค์นี้มีราคาเกินกว่าแสนกหาปณะ ขอ พระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์รับเตียงของข้าพระองค์นั้นเถิด พระผู้มี พระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์รับแล้ว ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค ทรง อนุโมทนาด้วยอนุโมทนียกถาดังต่อไปนี้ ผู้ให้ของที่พอใจ ย่อมได้ของที่พอใจ ผู้ใดย่อมให้เครื่องนุ่ง ห่ม ที่นอน ข้าว น้ำ และปัจจัยมีประการต่างๆ ด้วย ความพอใจ ในท่านผู้ประพฤติตรง สิ่งของที่ให้ไปแล้วนั้น ย่อมเป็นของที่บริจาคแล้ว สละแล้ว ไม่คิดเอาคืน ผู้นั้น เป็นสัปบุรุษทราบชัดว่า พระอรหันต์เปรียบด้วยนาบุญ บริจาค สิ่งที่บริจาคได้ยากแล้ว ชื่อว่าให้ของที่พอใจ ย่อมได้ของที่ พอใจ ดังนี้ ฯ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค ครั้นทรงอนุโมทนาด้วยอนุโมทนียกถากะ อุคคคฤหบดีชาวเมืองเวสาลีแล้ว จึงเสด็จลุกจากอาสนะหลีกไป ต่อมาไม่นาน อุคคคฤหบดีชาวเมืองเวสาลี ก็ได้ทำกาละ และเมื่อทำกาละแล้ว เข้าถึงหมู่เทพ ชื่อมโนมยะหมู่หนึ่ง ก็สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นอุคคเทพบุตรมี วรรณงาม เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว ยังพระวิหารเชตวัน ทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้า ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคจึงตรัสถามว่า ดูกรอุคคะ ตามที่ท่านประสงค์สำเร็จแล้ว หรือ อุคคเทพบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ตามที่ข้าพระองค์ประสงค์ สำเร็จแล้ว พระเจ้าข้า ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสกะอุคคเทพบุตรด้วย พระคาถาความว่า ผู้ให้ของที่พอใจ ย่อมได้ของที่พอใจ ผู้ให้ของที่เลิศ ย่อม ได้ของที่เลิศ ผู้ให้ของที่ดีย่อมได้ของที่ดี และผู้ให้ของที่ ประเสริฐ ย่อมเข้าถึงสถานที่ประเสริฐ นรชนใดให้ของที่ เลิศ ให้ของที่ดี และให้ของที่ประเสริฐ นรชนนั้นจะ บังเกิด ณ ที่ใดๆ ย่อมมีอายุยืน มียศ ดังนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๔
๕. อภิสันทสูตร
[๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญ ห้วงกุศล ๕ ประการนี้ เป็นเหตุ นำสุขมาให้ เกื้อกูลแก่สวรรค์ มีวิบากเป็นสุข ยังอารมณ์เลิศให้เป็นไป ย่อม เป็นไปเพื่อสิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความ สุข ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุบริโภคจีวรของผู้ใด เข้าเจโตสมาธิอันหา ประมาณมิได้อยู่ ห้วงบุญ ห้วงกุศลของผู้นั้น หาประมาณมิได้ เป็นเหตุนำสุข มาให้ เกื้อกูลแก่สวรรค์ มีวิบากเป็นสุข ยังอารมณ์เลิศให้เป็นไป ย่อมเป็นไป เพื่อสิ่งน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ภิกษุ บริโภคบิณฑบาตของผู้ใด ... ภิกษุบริโภควิหารของผู้ใด ... ภิกษุบริโภคเตียง ตั่ง ของผู้ใด ... ภิกษุบริโภคคิลานปัจจัยเภสัชของผู้ใด เข้าเจโตสมาธิอันหาประมาณ มิได้อยู่ ห้วงบุญ ห้วงกุศล ของผู้นั้นหาประมาณมิได้ เป็นเหตุนำสุขมาให้ เกื้อกูลแก่สวรรค์ มีวิบากเป็นสุข ยังอารมณ์เลิศให้เป็นไป ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งที่ น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญ ห้วงกุศล ๕ ประการนี้แล เป็นเหตุนำสุข มาให้ เกื้อกูลแก่สวรรค์ มีวิบากเป็นสุข ยังอารมณ์เลิศให้เป็นไป ย่อมเป็นไป เพื่อสิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ก็การที่จะถือเอาประมาณแห่งบุญของอริยสาวกผู้ประกอบด้วยห้วงบุญ ห้วงกุศล ๕ ประการนี้ว่า ห้วงบุญ ห้วงกุศล มีประมาณเท่านี้ เป็นเหตุนำสุขมาให้ เกื้อกูล แก่สวรรค์ มีวิบากเป็นสุข ยังอารมณ์เลิศให้เป็นไป ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งที่น่า ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ดังนี้ พึงทำไม่ ได้โดยง่าย โดยที่แท้ ย่อมถึงการนับว่า กองบุญใหญ่ นับไม่ได้ ประมาณไม่ได้ เปรียบเหมือนการถือเอาประมาณน้ำในมหาสมุทรว่า น้ำนี้มีประมาณอาฬหกะเท่านี้ มีร้อยอาฬหกะเท่านี้ มีพันอาฬหกะเท่านี้ หรือมีแสนอาฬหกะเท่านี้ ไม่ใช่ทำได้ โดยง่าย ย่อมถึงการนับว่าเป็นห้วงน้ำใหญ่ นับไม่ได้ ประมาณไม่ได้ ฉันนั้น ฯ แม่น้ำเป็นที่อยู่แห่งฝูงปลา ส่วนมากย่อมหลั่งไหลไปสู่สาคร ห้วงทะเลหลวง อันจะประมาณไม่ได้ มีสิ่งที่น่ากลัวมาก เป็นที่อยู่แห่งรัตนะหลายชนิด ฉันใด ห้วงบุญย่อมหลั่งไหล เข้าสู่นรชนผู้เป็นบัณฑิต ให้ข้าว น้ำ เครื่องนุ่งห่ม ที่นอน ที่นั่ง เครื่องปูลาด เหมือนห้วงน้ำหลั่งไหลเข้าไปสู่สาคร ฉะนั้น ฯ
จบสูตรที่ ๕
๖. สัมปทาสูตร
[๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมปทา ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ สัทธาสัมปทา ๑ สีลสัมปทา ๑ สุตสัมปทา ๑ จาคสัมปทา ๑ ปัญญา สัมปทา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัมปทา ๕ ประการนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๖
๗. ธนสูตร
[๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ทรัพย์ คือ ศรัทธา ๑ ทรัพย์ คือ ศีล ๑ ทรัพย์ คือ สุตะ ๑ ทรัพย์ คือ จาคะ ๑ ทรัพย์ คือ ปัญญา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทรัพย์ คือ ศรัทธาเป็นไฉน อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา ย่อมเชื่อพระปัญญาเครื่องตรัสรู้ของ ตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม นี้เรียกว่าทรัพย์ คือ ศรัทธา ก็ทรัพย์ คือ ศีลเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต ฯลฯ เว้นขาดจากการดื่มสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท นี้เรียกว่าทรัพย์ คือ ศีล ก็ทรัพย์ คือ สุตะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นพหูสูต ฯลฯ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ นี้เรียกว่าทรัพย์ คือ สุตะ ก็ทรัพย์ คือ จาคะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ มีใจปราศจาก มลทิน คือ ความตระหนี่อยู่ครองเรือน มีจาคะอันปล่อยแล้ว มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการเสียสละ ควรแก่การขอ ยินดีในทานและการจำแนกทาน นี้เรียกว่า ทรัพย์ คือ จาคะ ก็ทรัพย์ คือ ปัญญาเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวก ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาอันหยั่งถึงความตั้งขึ้นและความ เสื่อมไป เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เรียกว่าทรัพย์ คือ ปัญญา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ ๕ ประการนี้แล ฯ ผู้ใดมีความเชื่อในตถาคต ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว มีศีลอันงาม อันพระอริยะชอบใจ สรรเสริญ มีความเลื่อมใสในพระสงฆ์ และมีความเห็นตรง บัณฑิตทั้งหลายกล่าวผู้นั้นว่า ไม่เป็นคน ขัดสน ชีวิตของผู้นั้นไม่เปล่าประโยชน์ เพราะเหตุนั้น ผู้มี ปัญญา เมื่อนึกถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พึง ประกอบศรัทธา ศีล ปสาทะ และความเห็นธรรมเนืองๆ เถิด ฯ
จบสูตรที่ ๗
๘. ฐานสูตร
[๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ ประการนี้ อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก ไม่พึงได้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ฐานะว่า ขอสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา [ของเรา] อย่าแก่ ๑ ขอสิ่งที่มีความ เจ็บไข้เป็นธรรมดา [ของเรา] อย่าเจ็บไข้ ๑ ขอสิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดา [ของเรา] อย่าตาย ๑ ขอสิ่งที่มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา [ของเรา] อย่าสิ้นไป ๑ ขอสิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดา [ของเรา] อย่าฉิบหาย ๑ อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกไม่พึงได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา ของปุถุชนผู้ไม่ได้สดับย่อมแก่ไป เมื่อสิ่งที่มีความ แก่เป็นธรรมดาแก่ไปแล้ว เขาย่อมไม่เห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่สิ่งที่มีความแก่เป็น ธรรมดาของเราผู้เดียวเท่านั้น แก่ไป โดยที่แท้ สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาของ สัตว์ทั้งปวงที่มีการมา การไป การจุติ การอุปบัติ ย่อมแก่ไปทั้งสิ้น ส่วน เราเอง ก็เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาแก่ไปแล้ว พึงเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก คร่ำครวญ หลงงมงาย แม้อาหารเราก็ไม่อยากรับประทาน แม้กายก็พึง เศร้าหมอง ซูบผอม แม้การงานก็พึงหยุดชะงัก แม้พวกอมิตรก็พึงดีใจ แม้พวก มิตรพึงเสียใจ ดังนี้ เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาแก่ไปแล้ว เขาย่อม เศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก คร่ำครวญ หลงงมงาย นี้เรียกว่าปุถุชนผู้ไม่ได้ สดับ ถูกลูกศร คือ ความโศกที่มีพิษแทงเข้าแล้ว ย่อมทำตนให้เดือดร้อน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง สิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ของปุถุชน ผู้ไม่ได้สดับ ย่อมเจ็บไข้ ... สิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดา ของปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมตายไป ... สิ่งที่มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา ของปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อม สิ้นไป ... สิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดาของปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมฉิบหายไป เมื่อสิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดา ฉิบหายไปแล้ว เขาย่อมไม่พิจารณาเห็นดังนี้ ว่า ไม่ใช่สิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดาของเราผู้เดียวเท่านั้นฉิบหายไป โดย ที่แท้ สิ่งที่มีความฉิบหายไปเป็นธรรมดาของสัตว์ทั้งปวง ที่มีการมา การไป การจุติ การอุปบัติ ย่อมฉิบหายไปทั้งสิ้น ส่วนเราเอง ก็เมื่อสิ่งที่มีความฉิบหาย ไปเป็นธรรมดาฉิบหายไปแล้ว พึงเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก คร่ำครวญ หลงงมงาย แม้อาหารเราก็ไม่อยากรับประทาน แม้กายก็พึงเศร้าหมอง ซูบผอม แม้การงานก็พึงหยุดชะงัก แม้พวกอมิตรก็พึงดีใจ แม้พวกมิตรพึงเสียใจ ดังนี้ เมื่อสิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดาฉิบหายไปแล้ว เขาย่อมเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก คร่ำครวญ หลงงมงาย นี้เรียกว่าปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ถูกลูกศร คือ ความโศกที่มีพิษแทงเข้าแล้ว ย่อมทำตนให้เดือดร้อน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนว่าสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา ของอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมแก่ไป เมื่อสิ่ง ที่มีความแก่เป็นธรรมดาแก่ไปแล้ว อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่ สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาของเราผู้เดียวเท่านั้นแก่ไป โดยที่แท้ สิ่งที่มีความแก่ เป็นธรรมดา ของสัตว์ทั้งปวงที่มีการมา การไป การจุติ การอุปบัติ ย่อมแก่ไป ทั้งสิ้น ส่วนเราเอง ก็เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา แก่ไปแล้ว พึงเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก คร่ำครวญ หลงงมงาย แม้อาหารเราก็ไม่อยากรับประทาน แม้กายก็พึงเศร้าหมอง ซูบผอม แม้การงานก็พึงหยุดชะงัก แม้พวกอมิตรก็พึงดีใจ แม้พวกมิตรก็พึงเสียใจ ดังนี้ เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา แก่ไปแล้ว อริยสาวกนั้นย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอก คร่ำครวญ ไม่ หลงงมงาย นี้เรียกว่าอริยสาวกผู้ได้สดับ ถอนลูกศร คือ ความโศกที่มีพิษ เป็นเครื่องเสียบแทงปุถุชน ผู้ไม่ได้สดับ ทำตนให้เดือดร้อน อริยสาวกผู้ไม่มี ความโศก ปราศจากลูกศร ย่อมดับทุกข์ร้อนได้ด้วยตนเอง ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง สิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดาของอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อม เจ็บไข้ ... สิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดา ของอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมตายไป ... สิ่งที่มีความสิ้นไปเป็นธรรมดาของอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมสิ้นไป ... สิ่งที่มี ความฉิบหายเป็นธรรมดาของอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมฉิบหายไป เมื่อสิ่งที่มี ความฉิบหายเป็นธรรมดาฉิบหายไปแล้ว อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นว่า ไม่ใช่สิ่งที่มีความฉิบหายไปเป็นธรรมดาของเราผู้เดียวเท่านั้นฉิบหายไป โดยที่แท้ สิ่งที่มีความฉิบหายไปเป็นธรรมดาของสัตว์ทั้งปวง ที่มีการมา การไป การจุติ การอุปบัติ ย่อมฉิบหายไปทั้งสิ้น ส่วนเราเอง ก็เมื่อสิ่งที่มีความฉิบหายไปเป็น ธรรมดาฉิบหายไปแล้ว พึงเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก คร่ำครวญ หลง งมงาย แม้อาหารเราก็ไม่อยากรับประทาน แม้กายก็พึงเศร้าหมอง ซูบผอม แม้การงานก็พึงหยุดชะงัก แม้พวกอมิตรก็พึงดีใจ แม้พวกมิตรก็พึงเสียใจ ดังนี้ เมื่อสิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดาฉิบหายไปแล้ว อริยสาวกนั้นย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอก คร่ำครวญ ไม่หลงงมงาย นี้เรียกว่าอริยสาวก ผู้ได้สดับ ถอนลูกศร คือ ความโศกที่มีพิษ อันเป็นเครื่องเสียบแทงปุถุชนผู้ ไม่ได้สดับ ทำตนให้เดือดร้อน อริยสาวกผู้ไม่มีความโศกปราศจากลูกศร ย่อม ดับความทุกข์ร้อนได้ด้วยตนเอง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ ประการนี้แล อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกไม่พึงได้ ฯ ประโยชน์แม้เล็กน้อยในโลกนี้ อันใครๆ ย่อมไม่ได้เพราะ การเศร้าโศก เพราะการคร่ำครวญ พวกอมิตรทราบว่าเขา เศร้าโศก เป็นทุกข์ ย่อมดีใจ ก็คราวใด บัณฑิตผู้พิจารณา รู้เนื้อความ ไม่หวั่นไหวในอันตรายทั้งหมด คราวนั้น พวก อมิตรเห็นหน้าอันไม่ผิดปรกติของบัณฑิตนั้น ยิ้มแย้มตามเคย ย่อมเป็นทุกข์ บัณฑิตพึงได้ประโยชน์ในที่ใดๆ ด้วยประการ ใดๆ เพราะการสรรเสริญ เพราะความรู้ เพราะกล่าวคำ สุภาษิต เพราะการบำเพ็ญทาน หรือเพราะประเพณีของตน ก็พึงบากบั่นในที่นั้นๆ ด้วยประการนั้นๆ ถ้าพึงทราบว่า ความต้องการอย่างนี้อันเราหรือผู้อื่นไม่พึงได้ไซร้ ก็ไม่ควร เศร้าโศก ควรตั้งใจทำงานโดยเด็ดขาดว่า บัดนี้เราทำ อะไรอยู่ ดังนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๘
๙.โกสลสูตร
[๔๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล พระเจ้า ปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ทรงอภิวาทแล้ว ประทับ นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ก็สมัยนั้น พระนางมัลลิกาเทวีได้ทิวงคต ครั้งนั้น ราชบุรุษคนหนึ่งเข้าไปกราบทูลพระเจ้าปเสนทิโกศลที่ใกล้พระกรรณว่า ขอเดชะ พระนางมัลลิกาเทวีได้ทิวงคตแล้ว ครั้นเขากราบทูลดังนี้แล้ว พระเจ้าปเสนทิโกศล ก็ทรงมีทุกข์โทมนัส ประทับนั่งเหงาหงอย ก้มพระพักตร์ เศร้าสลด อัดอั้น ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบดังนั้นแล้ว จึงตรัสกับพระเจ้าปเสนทิโกศลว่า ดูกรมหาบพิตร ฐานะ ๕ ประการนี้ อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือ ใครๆ ในโลกไม่พึงได้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ฐานะว่า ขอสิ่ง ที่มีความแก่เป็นธรรมดา [ของเรา] อย่าแก่ ๑ ฯลฯ บัดนี้เราทำอะไรอยู่ ดังนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๙
๑๐. นารทสูตร
[๕๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระนารทะอยู่ที่กุกกุฏาราม ใกล้พระนคร ปาตลีบุตร ก็สมัยนั้น พระนางภัททาราชเทวี ผู้เป็นที่รัก เป็นที่พอพระทัย แห่งพระราชาพระนามว่ามุณฑะ ได้ทิวงคต เมื่อพระนางภัททาราชเทวี ผู้เป็นที่รัก เป็นที่พอพระทัย ทิวงคตไปแล้ว พระราชาก็ไม่สรงสนาน ไม่ทรงแต่งพระองค์ ไม่เสวย ไม่ทรงประกอบพระราชกรณียกิจ ทรงซบเซาอยู่ที่พระศพพระนาง ตลอดคืนตลอดวัน ครั้งนั้น พระราชาได้ตรัสสั่งมหาอำมาตย์ชื่อว่าโสการักขะผู้ เป็นที่รักว่า ท่านโสการักขะผู้เป็นที่รัก ท่านจงยกพระศพพระนางภัททาราชเทวี ลงในรางเหล็กที่เต็มด้วยน้ำมัน แล้วปิดด้วยรางเหล็กอันอื่นอีก เพื่อให้เราได้เห็น พระศพพระนางนานได้เท่าไรยิ่งดี โสการักขะมหาอำมาตย์รับสนองพระบรมราช โองการแล้ว ก็ได้จัดการยกพระศพพระนางลงในรางเหล็กที่เต็มด้วยน้ำมัน แล้วปิด ด้วยรางเหล็กอันอื่นอีก ครั้งนั้น โสการักขะมหาอำมาตย์จึงคิดว่า เมื่อพระนาง ภัททาราชเทวี ผู้เป็นที่รัก ที่พอพระทัย แห่งพระเจ้ามุณฑะนี้ ได้ทิวงคตไปแล้ว พระราชาไม่สรงสนาน ไม่ทรงแต่งพระองค์ ไม่เสวย ไม่ทรงประกอบพระราช- *กรณียกิจ ทรงซบเซาอยู่ที่พระศพพระนางตลอดคืน ตลอดวัน พระราชาพึงเสด็จ เข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์รูปใดหนอ ได้ทรงสดับธรรมแล้ว จะพึงทรงละ ลูกศร คือความโศกได้ ลำดับนั้น โสการักขะมหาอำมาตย์จึงคิดว่า ท่าน พระนารทะรูปนี้ อยู่ที่กุกกุฏาราม ใกล้พระนครปาตลีบุตร ก็กิตติศัพท์อันงาม ของท่านพระนารทะขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า เป็นบัณฑิต ฉลาด มีปัญญา เป็นพหูสูต มีถ้อยคำวิจิตร มีปฏิภาณดีงาม เป็นวุฑฒบุคคล และเป็นพระอรหันต์ จึงควรที่ พระเจ้ามุณฑะจะเสด็จเข้าไปหา เพื่อบางทีได้ทรงสดับธรรมของท่านแล้ว พึงทรง ละลูกศร คือ ความโศกได้ ลำดับนั้น โสการักขะมหาอำมาตย์จึงเข้าไปเฝ้า พระเจ้ามุณฑะ แล้วกราบทูลว่า ขอเดชะ ท่านพระนารทะรูปนี้ อยู่ที่กุกกุฏาราม ใกล้พระนครปาตลีบุตร ก็กิตติศัพท์อันงามของท่านพระนารทะขจรไปแล้วอย่างนี้ ว่า เป็นบัณฑิต ฉลาด มีปัญญา เป็นพหูสูต มีถ้อยคำอันวิจิตร มีปฏิภาณ ดีงาม เป็นวุฑฒบุคคล และเป็นพระอรหันต์ ก็ถ้าพระองค์จะพึงเสด็จเข้าไปหา ท่านแล้วไซร้ บางทีได้ทรงสดับธรรมของท่านแล้ว พึงทรงละลูกศร คือ ความ โศกได้ พระเจ้ามุณฑะจึงตรัสสั่งว่า ท่านโสการักขะ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงไปบอก ท่านพระนารทะให้ทราบ เพราะกษัตริย์เช่นเราพึงเข้าใจว่า สมณะหรือพราหมณ์ที่ อยู่ในราชอาณาจักร ยังไม่ได้แจ้งให้ทราบก่อนจะพึงเข้าไปหาได้อย่างไร โสกา- *รักขะมหาอำมาตย์รับสนองพระบรมราชโองการแล้ว ได้เข้าไปหาท่านพระนารทะ อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระนางภัททาราชเทวีผู้เป็นที่รัก ที่พอพระทัยแห่งพระเจ้ามุณฑะนี้ ได้ทิวงคตแล้ว เมื่อพระนางภัททาราชเทวีผู้เป็นที่รัก ที่พอพระทัย ได้ทิวงคตไปแล้ว พระราชา ก็ไม่สรงสนาน ไม่ทรงแต่งพระองค์ ไม่เสวย ไม่ทรงประกอบพระราชกรณียกิจ ทรงซบเซาอยู่ที่พระศพแห่งพระนางภัททาราชเทวี ตลอดคืน ตลอดวัน ขอท่าน พระนารทะจงแสดงธรรมแก่พระราชา โดยให้พระราชาพึงทรงละลูกศร คือ ความโศกได้ เพราะได้ทรงสดับธรรมของท่านพระนารทะ ท่านพระนารทะจึง กล่าวว่า ดูกรมหาอำมาตย์ ขอให้พระราชาทรงทราบเวลาที่ควร ณ บัดนี้ ลำดับนั้น โสการักขะมหาอำมาตย์ลุกจากที่นั่ง อภิวาทท่านพระนารทะ ทำประทักษิณเสร็จ แล้ว ได้เข้าไปเฝ้าพระเจ้ามุณฑะแล้ว กราบทูลว่า ขอเดชะ ท่านพระนารทะได้ เปิดโอกาสให้เสด็จไปหาได้แล้ว บัดนี้ ขอพระองค์จงทรงทราบเวลาที่ควรเถิด พระเจ้าข้า พระเจ้ามุณฑะตรัสว่า ถ้าเช่นนั้น ท่านจงให้พนักงานเทียมพาหนะที่ ดีๆ ไว้ โสการักขะมหาอำมาตย์ รับสนองพระบรมราชโองการแล้ว ได้ให้ พนักงานเทียมพระราชพาหนะที่ดีๆ ไว้เสร็จแล้ว จึงกราบทูลว่า ขอเดชะ ข้า พระพุทธเจ้าได้ให้พนักงานเทียมพระราชพาหนะที่ดีๆ ไว้เสร็จแล้ว ขอพระองค์ จงทรงทราบเวลาที่ควรเถิดพระเจ้าข้า ลำดับนั้น พระเจ้ามุณฑะ เสด็จขึ้นทรง พระราชพาหนะที่ดีๆ ไปสู่กุกกุฏาราม เพื่อพบปะกับท่านพระนารทะ ด้วยพระ ราชานุภาพอย่างใหญ่ยิ่ง เสด็จไปเท่าที่พระราชพาหนะจะไปได้ เสด็จลง จากพระราชพาหนะแล้ว เสด็จพระราชดำเนินเข้าไปสู่อาราม เข้าไปหา ท่านพระนารทะ ทรงอภิวาทแล้ว ประทับ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ท่านพระนารทะได้กล่าวกะพระเจ้ามุณฑะว่า ขอถวายพระพร ฐานะ ๕ ประการนี้ อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก ไม่พึงได้ ฐานะ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ฐานะว่า ขอสิ่งที่มีความแก่ เป็นธรรมดา [ของเรา] อย่าแก่ ๑ ขอสิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา [ของเรา] อย่าเจ็บไข้ ๑ ขอสิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดา [ของเรา] อย่าตาย ๑ ขอสิ่งที่มี ความสิ้นไปเป็นธรรมดา [ของเรา] อย่าสิ้นไป ๑ ขอสิ่งที่มีความฉิบหายเป็น ธรรมดา [ของเรา] อย่าฉิบหายไป ๑ อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก ไม่พึงได้ ขอถวายพระพร สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา ของปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมแก่ไป เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาแก่ไปแล้ว เขาย่อมไม่พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาของเราผู้เดียว เท่านั้นแก่ไป โดยที่แท้ สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา ของสัตว์ทั้งปวงที่มีการมา การไป การจุติ การอุปบัติ ย่อมแก่ไปทั้งสิ้น ส่วนเราเอง ก็เมื่อสิ่งที่มีความแก่ เป็นธรรมดาแก่ไปแล้ว พึงเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก คร่ำครวญ หลง งมงาย แม้อาหารเราก็ไม่อยากรับประทาน แม้กายก็พึงเศร้าหมอง ซูบผอม แม้การงานก็พึงหยุดชะงัก แม้พวกอมิตรก็พึงดีใจ แม้พวกมิตรก็พึงเสียใจ ดังนี้ เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาแก่ไปแล้ว เขาย่อมเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก คร่ำครวญ หลงงมงาย นี้เรียกว่าปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ถูกลูกศร คือ ความ โศกที่มีพิษเสียบแทงเข้าแล้ว ย่อมทำตนให้เดือดร้อน ขอถวายพระพร อีก ประการหนึ่ง สิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ของปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อม เจ็บไข้ ... สิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดา ของปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมตายไป ... สิ่งที่มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา ของปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมสิ้นไป ... สิ่งที่มี ความฉิบหายเป็นธรรมดา ของปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมฉิบหายไป เมื่อสิ่งที่มี ความฉิบหายเป็นธรรมดาฉิบหายไปแล้ว เขาย่อมไม่พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่สิ่ง ที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดาของเราผู้เดียวเท่านั้น ฉิบหายไป โดยที่แท้ สิ่งที่มี ความฉิบหายเป็นธรรมดาของสัตว์ทั้งปวง ที่มีการมา การไป การจุติ การอุปบัติ ย่อมฉิบหายไปทั้งสิ้น ส่วนเราเอง ก็เมื่อสิ่งที่มีความฉิบหายไปเป็นธรรมดา ฉิบหายไปแล้ว พึงเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก คร่ำครวญ หลงงมงาย แม้อาหารเราก็ไม่อยากรับประทาน แม้กายก็พึงเศร้าหมอง ซูบผอม แม้การงาน ก็พึงหยุดชะงัก แม้พวกอมิตรก็พึงดีใจ แม้พวกมิตรก็พึงเสียใจ ดังนี้ เมื่อสิ่งที่มี ความฉิบหายเป็นธรรมดาฉิบหายไปแล้ว เขาย่อมเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก คร่ำครวญ หลงงมงาย นี้เรียกว่าปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ถูกลูกศร คือ ความโศก ที่มีพิษเสียบแทงเข้าแล้ว ย่อมทำตนให้เดือดร้อน ขอถวายพระพร ส่วนว่า สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาของอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมแก่ไป เมื่อสิ่งที่มีความ แก่เป็นธรรมดาแก่ไปแล้ว อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่สิ่งที่มี ความแก่เป็นธรรมดาของเราผู้เดียวเท่านั้นแก่ไป โดยที่แท้ สิ่งที่มีความแก่เป็น ธรรมดาของสัตว์ทั้งปวง ที่มีการมา การไป การจุติ การอุปบัติ ย่อมแก่ไป ทั้งสิ้น ส่วนเราเอง ก็เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาแก่ไปแล้ว พึงเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก คร่ำครวญ หลงงมงาย แม้อาหารเราก็ไม่อยากรับประทาน แม้กายก็พึงเศร้าหมอง ซูบผอม แม้การงานก็พึงหยุดชะงัก แม้พวกอมิตรก็พึงดีใจ แม้พวกมิตรก็พึงเสียใจ ดังนี้ เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาแก่ไปแล้ว อริยสาวกนั้นย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอก คร่ำครวญ ไม่ หลงงมงาย นี้เรียกว่าอริยสาวกผู้ได้สดับ ถอนลูกศร คือ ความโศกที่มีพิษ อันเป็นเครื่องเสียบแทงปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ทำตนให้เดือดร้อน อริยสาวกผู้ไม่มี ความโศก ปราศจากลูกศร ย่อมดับทุกข์ร้อนได้ด้วยตนเอง ขอถวายพระพร อีกประการหนึ่ง สิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ของอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อม เจ็บไข้ ... สิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดา ของอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมตายไป ... สิ่งที่มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา ของอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมสิ้นไป ... สิ่งที่มี ความฉิบหายเป็นธรรมดา ของอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมฉิบหายไป เมื่อสิ่งที่มี ความฉิบหายไปเป็นธรรมดา ฉิบหายไปแล้ว อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ ว่า ไม่ใช่สิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดาของเราผู้เดียวเท่านั้นฉิบหายไป โดย ที่แท้ สิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดาของสัตว์ทั้งปวง ที่มีการมา การไป การ จุติ การอุปบัติ ย่อมฉิบหายไปทั้งสิ้น ส่วนเราเอง ก็เมื่อสิ่งที่มีความฉิบหาย เป็นธรรมดาฉิบหายไปแล้ว พึงเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก คร่ำครวญ หลง งมงาย แม้อาหารเราก็ไม่อยากรับประทาน แม้กายก็พึงเศร้าหมอง ซูบผอม แม้ การงานก็พึงหยุดชะงัก แม้พวกอมิตรก็พึงดีใจ แม้พวกมิตรก็พึงเสียใจ ดังนี้ เมื่อสิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดาฉิบหายไปแล้ว อริยสาวกนั้นย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอก คร่ำครวญ ไม่หลงงมงาย นี้เรียกว่า อริยสาวก ผู้ได้สดับ ถอนลูกศร คือ ความเศร้าโศกที่มีพิษ ซึ่งเสียบแทงปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ทำตนให้เดือดร้อน อริยสาวกผู้ไม่มีความโศก ปราศจากลูกศร ย่อมดับทุกข์ร้อน ได้ด้วยตนเอง ขอถวายพระพร ฐานะ ๕ ประการนี้แล อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกนี้ไม่พึงได้ ฯ ท่านพระนารทะ ครั้นกล่าวไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้กล่าวคาถา ประพันธ์ต่อไปอีกว่า ประโยชน์แม้เล็กน้อยในโลกนี้ อันใครๆ ย่อมไม่ได้เพราะ การเศร้าโศก เพราะการคร่ำครวญ พวกอมิตรทราบว่าเขา เศร้าโศก เป็นทุกข์ ย่อมดีใจ ก็คราวใด บัณฑิตพิจารณา รู้เนื้อความ ไม่หวั่นไหวในอันตรายทั้งหลาย คราวนั้น พวก อมิตรเห็นหน้าอันไม่ผิดปกติของบัณฑิตนั้น ยิ้มแย้มตามเคย ย่อมเป็นทุกข์ บัณฑิตพึงได้ประโยชน์ในที่ใดๆ ด้วย ประการ ใดๆ เพราะการสรรเสริญ เพราะความรู้ เพราะ กล่าวคำสุภาษิต เพราะการบำเพ็ญทาน หรือเพราะประเพณี ของตน ก็พึงบากบั่นในที่นั้นๆ ด้วยประการนั้นๆ ถ้าพึง ทราบว่า ความต้องการอย่างนี้อันเราหรือผู้อื่นไม่พึงได้ไซร้ ก็ไม่ควรเศร้าโศก ควรตั้งใจทำงานโดยเด็ดขาดว่า บัดนี้เรา ทำอะไรอยู่ ดังนี้ ฯ เมื่อท่านพระนารทะกล่าวจบแล้วอย่างนี้ พระเจ้ามุณฑะได้ตรัสถามว่า ท่านผู้เจริญ ธรรมปริยายนี้ชื่ออะไร ท่านพระนารทะตอบว่า ขอถวาย พระพร ธรรมปริยายนี้ชื่อโสกสัลลหรณะ พระเจ้ามุณฑะตรัสชมว่า ท่านผู้เจริญ โสกสัลลหรณธรรมปริยายดีนัก โสกสัลลหรณธรรมปริยายดีนัก ท่านผู้เจริญ เพราะได้ฟังธรรมปริยายนี้ ข้าพเจ้าจึงละลูกศร คือ ความโศกได้ ครั้งนั้น พระเจ้ามุณฑะได้ตรัสสั่งโสการักขะมหาอำมาตย์ว่า ท่านจงถวายพระเพลิงพระศพ พระนางภัททาราชเทวี แล้วจึงทำเป็นสถูปไว้ ตั้งแต่วันนี้ไป เราจักอาบน้ำ แต่งตัว บริโภคอาหาร และประกอบการงาน ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบมุณฑราชวรรคที่ ๕
----------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. อาทิยสูตร ๒. สัปปุริสสูตร ๓. อิฏฐสูตร ๔. มนาปทายีสูตร ๕. อภิสันทสูตร ๖. สัมปทาสูตร ๗. ธนสูตร ๘. ฐานสูตร ๙. โกสลสูตร ๑๐. นารทสูตร
---------------
****************************
ท่านผู้อ่านโปรดคลิกที่ลิงค์นี้ครับ http://blog.bitcomet.com/post/99837/ และ http://wandeedee-hawk.blogspot.com

ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่านครับ