วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ธรรมอันเปรียบได้ด้วยทรัพย์

พระผู้มีพระภาคเจ้าเคยตรัสถึงความเจริญ3ประการคือ ความเจริญด้วยทรัพย์1 ความเจริญด้วยญาติ1 ความเจริญด้วยธรรม1 และตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เธอจงยินดีในความเจริญด้วยธรรมเถิด ความยินดีในความเจริญด้วยธรรมย่อมประเสริฐกว่าความเจริญด้วยทรัพย์และความเจริญด้วยญาติ วันนี้เรามากล่าวถึงเรื่องความเจริญด้วยธรรมครับ

พระสูตรในวันนี้ยกมาจากพระสุตตันตปิฎก เล่ม15 อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต ครับ

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

***************************
มหาวรรคที่ ๒
หิริสูตร
[๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อไม่มีหิริและโอตตัปปะ อินทรีย์สังวรของ บุคคลผู้มีหิริและโอตตัปปะวิบัติ ย่อมมีนิสัยถูกกำจัด เมื่อไม่มีอินทรีย์สังวร ศีล ของบุคคลผู้มีอินทรีย์สังวรวิบัติ ย่อมมีอุปนิสัยถูกกำจัด เมื่อไม่มีศีล สัมมาสมาธิ ของบุคคลผู้มีศีลวิบัติ ย่อมมีอุปนิสัยถูกกำจัด เมื่อไม่มีสัมมาสมาธิ ยถาภูตญาณ- *ทัสสนะของบุคคลผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติ ย่อมมีอุปนิสัยถูกกำจัด เมื่อไม่มี ยถาภูตญาณทัสสนะ นิพพิทาและวิราคะ ของบุคคลผู้มียถาภูตญาณทัสสนะ วิบัติ ย่อมมีอุปนิสัยถูกกำจัด เมื่อไม่มีนิพพิทาและวิราคะ วิมุตติญาณทัสสนะ ของบุคคลผู้มีนิพพิทาและวิราคะวิบัติ ย่อมมีอุปนิสัยถูกกำจัด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้มีกิ่งและใบวิบัติ กระเทาะก็ดี เปลือกก็ดี กระพี้ก็ดี แก่นก็ดี ของต้นไม้นั้นย่อมไม่ถึงความบริบูรณ์ ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีหิริและ โอตตัปปะ อินทรีย์สังวรของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยหิริและโอตตัปปะ ย่อมสมบูรณ์ ด้วยอุปนิสัย เมื่อมีอินทรีย์สังวร ศีลของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอินทรีย์สังวร ย่อม สมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย เมื่อมีศีล สัมมาสมาธิของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีลย่อม สมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย เมื่อมีสัมมาสมาธิ ยถาภูตญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ ด้วยสัมมาสมาธิย่อมสมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย เมื่อมียถาภูตญาณทัสสนะ นิพพิทาและ วิราคะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ ย่อมสมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย เมื่อมีนิพพิทาและวิราคะ วิมุตติญาณทัสสนะของบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาและ วิราคะ ย่อมสมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้ สมบูรณ์ด้วยกิ่งและใบ กะเทาะก็ดี เปลือกก็ดี กระพี้ก็ดี แก่นก็ดี ของต้นไม้ นั้น ย่อมถึงความสมบูรณ์ ฉะนั้น ฯ
[พระสูตรนี้นั้นกล่าวโดยย่อว่าคุณธรรมทั้งหลายอาทิ ความละอายต่อบาป ความเกรงกลัวต่อบาป ความระวังสำรวมอายตนะ6 ศีล สมาธิ ญาณทัสสนะทั้งหลาย ฯลฯ เปรียบด้วยองค์ประกอบแห่งต้นไม้ใหญ่ อาทิ กิ่งใบ กะเทาะ เปลือก กระพี้ แก่น เมื่อต้นไม้จะเจริญ องค์ประกอบแห่งต้นไม้ย่อมเจริญไปด้วยกัน เช่นเดียวกับธรรมของสัตบุรุษทั้งหลาย ย่อมเจริญพร้อมไปด้วยคุณธรรมทั้งปวงของสัตบุรุษนั้น]
จบสูตรที่ ๑
สุริยสูตร
[๖๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ อัมพปาลีวัน ใกล้ พระนครเวสาลี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่น่าชื่นชม นี้เป็นกำหนดควร เบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควรหลุดพ้น ในสังขารทั้งปวง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ขุนเขาสิเนรุ โดยยาว ๘๔,๐๐๐ โยชน์ โดยกว้าง ๘๔,๐๐๐ โยชน์ หยั่งลง ในมหาสมุทร ๘๔,๐๐๐ โยชน์ สูงจากมหาสมุทรขึ้นไป ๘๔,๐๐๐ โยชน์ มี กาลบางคราวที่ฝนไม่ตกหลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี หลายแสนปี เมื่อฝน ไม่ตก พืชคาม ภูตคามและติณชาติที่ใช้เข้ายา ป่าไม้ใหญ่ ย่อมเฉา เหี่ยว แห้ง เป็นอยู่ไม่ได้ ฉันใด สังขารก็ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่ น่าชื่นชม นี้เป็นกำหนดควรเบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควรหลุดพ้น ในสังขาร ทั้งปวง ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว โดยล่วงไปแห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ ๒ ปรากฏ เพราะพระอาทิตย์ดวงที่ ๒ ปรากฏ แม่น้ำลำคลอง ทั้งหมด ย่อมงวดแห้ง ไม่มีน้ำ ฉันใด สังขารก็ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยง ... ควรหลุดพ้น ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว โดยล่วงไปแห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ ๓ ปรากฏ เพราะอาทิตย์ดวงที่ ๓ ปรากฏ แม่น้ำสายใหญ่ๆ คือ แม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี ทั้งหมดย่อมงวดแห้ง ไม่มีน้ำ ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายก็ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยง ... ควร หลุดพ้น ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว โดยล่วงไปแห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ ๔ ปรากฏ เพราะพระอาทิตย์ดวงที่ ๔ ปรากฏ แม่น้ำสาย ใหญ่ๆ ที่ไหลมารวมกันเป็นแม่น้ำใหญ่ คือแม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี ทั้งหมดย่อมงวดแห้ง ไม่มีน้ำ ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายก็ ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยง ... ควรหลุดพ้น ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว โดยล่วงไปแห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ ๕ ปรากฏ เพราะพระอาทิตย์ดวงที่ ๕ ปรากฏ น้ำในมหาสมุทร ลึก ๑๐๐ โยชน์ก็ดี ๒๐๐ โยชน์ก็ดี ๓๐๐ โยชน์ก็ดี ๔๐๐ โยชน์ก็ดี ๕๐๐ โยชน์ก็ดี ๖๐๐ โยชน์ก็ดี ๗๐๐ โยชน์ก็ดี ย่อมงวดลงเหลืออยู่เพียง ๗ ชั่ว ต้นตาลก็มี ๖ ชั่วต้นตาลก็มี ๕ ชั่วต้นตาลก็มี ๔ ชั่วต้นตาลก็มี ๓ ชั่วต้น ตาลก็มี ๒ ชั่วต้นตาลก็มี ชั่วต้นตาลเดียวก็มี แล้วยังจะเหลืออยู่ ๗ ชั่วคน ๖ ชั่วคน ๕ ชั่วคน ๔ ชั่วคน ๓ ชั่วคน ๒ ชั่วคน ชั่วคนเดียว ครึ่ง ชั่วคน เพียงเอว เพียงเข่า เพียงแค่ข้อเท้า เพียงในรอยเท้าโค ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย น้ำในมหาสมุทรยังเหลืออยู่เพียงในรอยเท้าโคในที่นั้นๆ เปรียบเหมือน ในฤดูแล้ง เมื่อฝนเมล็ดใหญ่ๆ ตกลงมา น้ำเหลืออยู่ในรอยเท้าโคในที่นั้นๆ ฉะนั้น เพราะพระอาทิตย์ดวงที่ ๕ ปรากฏ น้ำในมหาสมุทรแม้เพียงข้อนิ้วก็ไม่ มี ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายก็ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยง ... ควรหลุดพ้น ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว โดยล่วงไปแห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ ๖ ปรากฏ เพราะพระอาทิตย์ดวงที่ ๖ ปรากฏ แผ่นดินใหญ่ นี้และขุนเขาสิเนรุ ย่อมมีกลุ่มควันพลุ่งขึ้น เปรียบเหมือนนายช่างหม้อเผาหม้อที่ ปั้นดีแล้ว ย่อมมีกลุ่มควันพลุ่งขึ้น ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายก็ ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยง ... ควรหลุดพ้น ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว โดยล่วงไปแห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ ๗ ปรากฏ เพราะพระอาทิตย์ดวงที่ ๗ ปรากฏ แผ่นดินใหญ่ นี้และขุนเขาสิเนรุ ไฟจะติดทั่วลุกโชติช่วง มีแสงเพลิงเป็นอันเดียวกัน เมื่อ แผ่นดินใหญ่และขุนเขาสิเนรุไฟเผาลุกโชน ลมหอบเอาเปลวไฟฟุ้งไปจนถึงพรหม โลก เมื่อขุนเขาสิเนรุไฟเผาลุกโชนกำลังทะลาย ถูกกองเพลิงใหญ่เผาท่วมตลอด แล้ว ยอดเขาแม้ขนาด ๑๐๐ โยชน์ ๒๐๐ โยชน์ ๓๐๐ โยชน์ ๔๐๐ โยชน์ ๕๐๐ โยชน์ ย่อมพังทะลาย เมื่อแผ่นดินใหญ่และขุนเขาสิเนรุถูกไฟเผาผลาญอยู่ ย่อมไม่ปรากฏขี้เถ้าและเขม่า เปรียบเหมือนเมื่อเนยใสหรือน้ำมันถูกไฟเผาผลาญ อยู่ ย่อมไม่ปรากฏขี้เถ้าและเขม่า ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลาย ก็ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่น่าชื่นชม ควรจะเบื่อหน่าย ควรคลาย กำหนัด ควรหลุดพ้น ในสังขารทั้งปวง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น ใครจะรู้ ใครจะเชื่อว่า แผ่นดินนี้และขุนเขาสิเนรุจักถูกไฟไหม้พินาศไม่เหลืออยู่ นอก จากอริยสาวกผู้มีบทอันเห็นแล้ว (โสดาบัน) ฯ
[เนื้อความตรงนี้สรุปว่า ยังมีเรื่องราวมากมายในโลกที่มนุษย์ไม่รู้ ไม่ทราบ เพราะความเป็นผู้มีประมาณอายุเพียงเล็กน้อย แม้ภูเขาที่ว่าใหญ่โต แม่น้ำและมหาสมุทรที่ว่าลึกสุดจะหยั่ง ในบางครั้งบางคราว เมื่อเวลาผ่านไปแสนยาวนาน ใครจะทราบว่าดวงอาทิตย์สามารถบังเกิดขึ้นทีละดวงจนถึง7ดวง เวลานั้น แม้น้ำในมหาสมุทรเหือดแห้งไป ภูเขาหลอมละลายราวกับเนยใส แต่ใครจะเชื่อเรื่องนี้ เว้นแต่พระอริยเจ้าผู้ตัดได้แล้วซึ่งความคลางแคลงสงสัยในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ที่ประจักษ์แจ้งในธรรมบางประการที่พระผู้มีพระภาคตรัส ทราบอยู่ว่า พระผู้มีพระภาคจะไม่ตรัสพระวาจาที่ไม่เป็นจริงเลย]
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ศาสดาชื่อสุเนตตะเป็นเจ้าลัทธิ ปราศจากความกำหนัดในกาม ก็ศาสดาชื่อสุเนตตะนั้น มีสาวกอยู่หลายร้อย เธอ แสดงธรรมแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นพรหมโลก และ เมื่อสุเนตตศาสดาแสดงธรรมเพื่อความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นพรหมโลก สาวก เหล่าใดรู้ทั่วถึงคำสอนได้หมดทุกอย่าง สาวกเหล่านั้น เมื่อตายไป ก็เข้าถึงสุคติ พรหมโลก ส่วนสาวกเหล่าใดยังไม่รู้ทั่วถึงคำสอนได้หมดทุกอย่าง สาวกเหล่านั้น เมื่อตายไป บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัสดี บาง พวกเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นนิมมานรดี บางพวกเข้าถึงความเป็นสหาย แห่งเทวดาชั้นดุสิต บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นยามา บางพวก เข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นดาวดึงส์ บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายแห่ง เทวดาชั้นจาตุมมหาราช บางพวกเข้าถึงความเป็นสหายแห่งกษัตริย์มหาศาล บาง พวกเข้าถึงความเป็นสหายแห่งพราหมณ์มหาศาล บางพวกเข้าถึงความเป็นสหาย แห่งคฤหบดีมหาศาล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล สุเนตตศาสดามีความคิดเห็นว่า การที่ เราจะพึงเป็นผู้มีสติเสมอกับสาวกทั้งหลายในสัมปรายภพไม่สมควรเลย ผิฉะนั้น เราควรจะเจริญเมตตาให้ยิ่งขึ้นไปอีก ครั้งนั้นแล สุเนตตศาสดาจึงได้เจริญเมตตา จิตตลอด ๗ ปี แล้วไม่มาสู่โลกนี้ตลอด ๗ สังวัฏฏวิวัฏฏกัล์ป เมื่อโลกวิบัติ เข้าถึงพรหมโลกชั้นอาภัสสระ เมื่อโลกเจริญ เข้าถึงวิมานพรหมที่ว่าง ในวิมาน นั้น สุเนตตศาสดาเป็นพรหม เป็นท้าวมหาพรหม เป็นใหญ่ ไม่มีใครยิ่งกว่า รู้ เห็นเหตุการณ์โดยถ่องแท้ เป็นผู้มีอำนาจมาก เกิดเป็นท้าวสักกะจอมเทวดา ๓๖ ครั้ง เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ตั้งอยู่ในธรรม เป็นพระธรรมราชา มีสมุทร ทั้ง ๔ เป็นขอบเขต ผู้ได้ชัยชนะสงคราม สถาปนาประชาชนไว้เป็นปึกแผ่นมั่น คง พรั่งพร้อมด้วยรัตนะ ๗ ประการ หลายร้อยครั้ง พระราชโอรสของพระเจ้า จักรพรรดินั้น ล้วนแต่องอาจ กล้าหาญ ชาญชัย ย่ำยีศัตรูได้ พระเจ้าจักรพรรดิ นั้นทรงปกครองปฐพีมณฑล อันมีมหาสมุทรเป็นขอบเขต ไม่ต้องใช้อาชญา ไม่ต้อง ใช้ศัสตรา ใช้ธรรมปกครอง ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุเนตตศาสดานั้นแล มีอายุยืนนาน ดำรงมั่นอยู่อย่างนี้ แต่ก็ไม่พ้นจากชาติ ชรา พยาธิ มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส เรากล่าวว่า ไม่พ้นจากทุกข์ได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ ยังไม่ตรัสรู้ ไม่ได้แทงตลอดธรรม ๔ ประการ ๔ ประการเป็นไฉน คือ อริย- *ศีล ๑ อริยสมาธิ ๑ อริยปัญญา ๑ อริยวิมุติ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยศีล อริยสมาธิ อริยปัญญา อริยวิมุติ เราตรัสรู้แล้ว แทงตลอดแล้ว เราถอนตัณหา ในภพได้แล้ว ตัณหาอันเป็นเครื่องนำไปสู่ภพสิ้นแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มี ฯ พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึง ได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า ธรรมเหล่านี้ คือ ศีล สมาธิ ปัญญาและวิมุติอย่างยิ่ง พระโคดมผู้มียศตรัสรู้แล้ว พระพุทธเจ้าผู้เป็นศาสดา ผู้มี พระจักษุ ทรงรู้ยิ่งด้วยประการดังนี้แล้ว ตรัสบอกธรรม ๔ ประการแก่ภิกษุทั้งหลาย ทรงกระทำที่สุดทุกข์แล้ว ปรินิพพาน ฯ
[พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกร ภิกษุ เรื่องเคยมีมาแล้ว เคยมีศาสดาชื่อสุเนตตะ เป็นผู้เชี่ยวชาญในฌานเป็นอย่างยิ่ง สั่งสอนสาวกให้ไปบังเกิดในพรหมโลกมากมาย ศาสดาสุเนตตะเมื่อสิ้นชีวิตแล้วไปบังเกิดในพรหมโลกนับเป็นเวลานานแสนนาน ท่องเที่ยงไปในพรหมโลกชั้นต่างๆ เป็นผู้ประจักษ์แจ้งในโลก ต่อมาก็มาเป็นท้าวสักกะเทวราชในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์หลายสิบครั้ง มาเกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิซึ่งครอบครองแผ่นดินทั้งปวงหลายร้อยครั้ง ทรงปกครองแผ่นดินโดยจักรวรรดิวัตรทุกประการ ทรงมีพระราชโอรสทุกพระองค์ที่ทรงแกล้วกล้าสามารถ มีพระรูปทรงสมส่วน อาจย่ำยีอริราชให้พ่ายแพ้ แม้เช่นนั้น กุศลกรรมทั้งหลายอันศาสดาสุเนตตะสร้างสมไว้ก็ยังมีวันหมดสิ้นไป ข้อนั้นเพราะเหตุใด ก็เพราะศาสดาสุเนตตะนั้นยังมีกิเลสคือ ราคะ โทสะ โมหะ ที่ยังละไม่ได้ เพราะเหตุนี้ สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง โลกทั้งปวงไม่สามารถตั้งอยู่ตลอดสิ้นกาลนาน มีแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายที่ตรงทำลายอวิชชา ถอนซึ่งตัณหาเสียได้ ประกาศธรรมอันดีเพื่อความหลุดพ้นจากสังขารทั้งปวงที่ไม่เที่ยง ไม่ควรแก่การติดยึด ยังสรรพสัตว์ให้รู้ตาม ที่ทรงเป็นที่พึ่งอันเที่ยงแท้]
จบสูตรที่ ๒
นครสูตร
[๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด ปัจจันตนครของพระราชา ป้องกัน ไว้ดีด้วยเครื่องป้องกัน ๗ ประการ และหาอาหาร ๔ ประการได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ในกาลนั้น เรากล่าวว่า ศัตรูหมู่ปัจจามิตรภายนอก ทำอันตรายปัจจันตนครของพระราชานั้นไม่ได้ เครื่องป้องกัน ๗ ประการเป็นไฉน คือในปัจจันตนครของพระราชา มีเสาระเนียดขุดหลุมฝังลึก ไม่หวั่นไหว นี้เป็น เครื่องป้องกันนครประการที่ ๑ สำหรับคุ้มภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอก ฯ
[พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย พระนครแห่งพระราชา มีเครื่องป้องกัน7ประการ มีอาหาร4ประเภทที่หาได้เมื่อใดก็ตามที่ต้องการ เหล่าศัตรูย่อมไม่สามารถยึดครองพระนครนั้นได้ เครื่องป้องกันพระนคร7ประการนั้นได้แก่1.มีเสาระเนียดขุดหลุมฝังลึก มั่นคง]
อีกประการหนึ่ง มีคูขุดลึกและกว้าง นี้เป็นเครื่องป้องกันนครประการ ที่ ๒ สำหรับคุ้มภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอก ฯ
[2.มีคูที่ขุดลึกและกว้าง]
อีกประการหนึ่ง มีทางเดินตามคูได้รอบ ทั้งสูงและกว้างนี้เป็นเครื่อง ป้องกันนครประการที่ ๓ สำหรับคุ้มภัยภายในและป้องอันตรายภายนอก ฯ
[3.มีทางเดินรอบตามคู ทั้งสูงและกว้าง]
อีกประการหนึ่ง มีการสะสมอาวุธไว้มาก ทั้งที่เป็นอาวุธแหลมยาวและ อาวุธคม นี้เป็นเครื่องป้องกันนครประการที่ ๔ สำหรับคุ้มภัยภายในและป้อง กันอันตรายภายนอก ฯ
[4.มีอาวุธสะสมไว้มาก และมีอาวุธหลายชนิด หลายขนาด]
อีกประการหนึ่ง ตั้งกองทัพไว้มาก คือ พลช้าง พลม้า พลรถ พล ธนู กองถือธง กองจัดกระบวนทัพ กองสัมภาระ กองเสนาธิการ กองตะลุม บอนเหมือนช้างที่วิ่งเข้าสู่สงคราม กองทหารหาญ กองทหารโลหะ กองเกราะ หนัง กองทหารทาส นี้เป็นเครื่องป้องกันนครประการที่ ๕ สำหรับคุ้มภัยภายใน และป้องกันอันตรายภายนอก ฯ
[5.มีทั้งพลช้าง พลม้า พลรถ พลธนู กองถือธง กองจัดกระบวนทัพ กองสัมภาระ กองเสนาธิการ กองตะลุมบอน ฯลฯ]
อีกประการหนึ่ง มีทหารยามฉลาดสามารถดี ห้ามไม่ให้คนที่ไม่รู้จักเข้า อนุญาตให้คนที่รู้จักเข้า นี้เป็นเครื่องป้องกันนครประการที่ ๖ สำหรับคุ้มภัย ภายในและป้องกันอันตรายภายนอก ฯ
[6.มีทหารยามที่ฉลาด ห้ามคนที่ไม่รู้จักเข้า อนุญาตคนที่รู้จักเข้า]
อีกประการหนึ่ง มีกำแพงทั้งสูงและกว้าง พร้อมด้วยป้อมก่ออิฐถือปูนดี นี้เป็นเครื่องป้องกันนครประการที่ ๗ สำหรับคุ้มภัยภายในและป้องกันอันตราย ภายนอก ปัจจันตนครมีการป้องกันดี ด้วยเครื่องป้องกัน ๗ ประการนี้แล ฯ
[7.มีกำแพงทั้งสูงทั้งกว้าง มีป้อมก่ออิฐถือปูนดี]
ปัจจันตนครหาอาหาร ๔ ประการได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก เป็นไฉน คือในปัจจันตนครของพระราชามีการสะสมหญ้า ไม้ และ น้ำไว้มาก เพื่อความอุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็นสุขแห่งชนภายใน และ ป้องกันอันตรายภายนอก ฯ
[อาหาร4ประการที่สามารถหาได้เมื่อใดที่ปรารถนา โดยไม่ลำบาก ได้แก่
1.สะสมหญ้า ไม้ และน้ำไว้มาก]
อีกประการหนึ่ง มีการสะสมข้าวสาลี (ข้าวเจ้า) และข้าวเหนียวไว้ มาก เพื่อความอุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็นสุขแห่งชนภายใน และ ป้องกันอันตรายภายนอก ฯ
[2.สะสมข้าวสาลีหรือข้าวเจ้า และข้าวเหนียวไว้มาก]
อีกประการหนึ่ง มีการสะสมงา ถั่วเขียว ถั่วทอง และอปรัณชาติไว้ มาก เพื่อความอุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็นสุขแห่งชนภายใน และป้อง กันอันตรายภายนอก ฯ
[3.สะสมงา ถั่วเขียว ถั่วทอง และอปรัณชาติ(พืชจำพวกถั่ว งา ซึ่งควรกินทีหลังพืชจำพวกข้าว) ไว้มาก] อีกประการหนึ่ง มีการสะสมเภสัชไว้มาก คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เกลือ เพื่อความอุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็นสุขแห่งชน ภายใน และป้องกันอันตรายภายนอก ฯ
[4.สะสมเภสัช อาทิ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เกลือ ไว้มาก]
ปัจจันตนคร หาอาหาร ๔ ประการได้ตามปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด ปัจจันตนครของพระราชาป้องกันไว้ดี ด้วยเครื่องป้องกัน ๗ ประการนี้ และอาหาร ๔ ประการได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ในกาลนั้น เรากล่าวว่า ศัตรูหมู่ปัจจามิตรไม่ทำ อันตรายได้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ในกาลใด อริยสาวกประกอบ พร้อมด้วยสัทธรรม ๗ ประการ และเป็นผู้มีปรกติได้ตามความปรารถนา ได้ โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขใน ปัจจุบัน ในกาลนั้น เรากล่าวว่ามารผู้มีบาปทำอันตรายอริยสาวกไม่ได้ สัทธรรม ๗ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกเป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญา เครื่องตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มี เสาระเนียดขุดหลุมฝังลึก ไม่หวั่นไหว สำหรับคุ้มภัยภายในและป้องกันอันตราย ภายนอก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้มีศรัทธาเปรียบเหมือนเสา ระเนียด ย่อมละอกุศล เจริญกุศล ละกรรมที่มีโทษ เจริญกรรมอันไม่มีโทษ บริหารตนให้บริสุทธิ์ นี้เป็นสัทธรรมประการที่ ๑ ฯลฯ
[เช่นเดียวกันนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย พระอริยสาวกประกอบไปด้วยธรรม7ประการ และเป็นผู้ได้โดยไม่ยากซึ่งฌาน4อันฝึกฝนไว้มาก พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มารผู้มีบาปไม่สามารถทำอันตรายได้ สัทธรรม7ประการนั้นคือ
1.เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อในพระปัญญาขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
2.เป็นผู้มีความละอายต่อการทำบาป ซึ่งความละอายนี้เกิดจากปัจจัยภายในของบุคคล
3.เป็นผู้เกรงกลัวต่อบาป คือเกรงกลัวจากโทษภัยจากภายนอกของบุคคลที่จะกระทำบาป
4.เป็นผู้ได้ยิน ได้ฟังมามากซึ่งพระธรรมทั้งหลายอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว
5.เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม
6.เป็นผู้มีสติเป็นสิ่งคุ้มครองตน สามารถระลึกได้ซึ่งสิ่งที่ตนเองได้กระทำ ได้กล่าวแล้วแม้เวลาได้ผ่านไปแล้วนาน
7.เป็นผู้มีปัญญาเครื่องละกิเลส ยังพระนิพพานให้บังเกิดในตน
สำหรับเรื่องฌาน4นั้นก็เปรียบได้กับอาหาร4จำพวกดังที่ได้กล่าวแล้วครับ]

อริยสาวกเป็นผู้มีหิริ ละอายต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ละอาย ต่อการเข้าถึงอกุศลธรรมอันชั่วช้าลามก เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระ ราชา มีคู (สนามเพลาะ) ทั้งลึกและกว้าง สำหรับคุ้มภัยภายในและป้องกัน อันตรายภายนอก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้มีหิริเปรียบเหมือนคู ย่อม ละอกุศล ... บริหารตนให้บริสุทธิ์ นี้เป็นสัทธรรมประการที่ ๒ ฯ อริยสาวกมีโอตตัปปะ สะดุ้งกลัวต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต สะดุ้งกลัวต่อการเข้าถึงอกุศลธรรมอันชั่วช้าลามก เปรียบเหมือนในปัจจันตนคร ของพระราชา มีทางเดินตามคูได้รอบ ทั้งสูงและกว้าง สำหรับคุ้มภัยภายใน และป้องกันอันตรายภายนอกฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้มีโอตตัปปะ เปรียบเหมือนทางเดินตามคู ย่อมละอกุศลธรรม ... ย่อมบริหารตนให้บริสุทธิ์นี้เป็น สัทธรรมประการที่ ๓ ฯ อริยสาวกเป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ ได้สดับตรับฟังมาก ทรง จำไว้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ ซึ่งธรรมทั้งหลายอันงามใน เบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ สิ้นเชิง เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของ พระราชา มีการสะสมอาวุธไว้มาก ทั้งที่เป็นอาวุธแหลมยาวและอาวุธคม สำหรับคุ้มภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้มีสุตะเปรียบเหมือนอาวุธ ย่อมละอกุศลธรรม ... บริหารตนให้บริสุทธิ์ นี้เป็นสัทธรรมประการที่ ๔ ฯ อริยสาวกปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมถึงพร้อม มีกำลังมีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม เปรียบเหมือนในปัจจันตนคร ของพระราชา ตั้งกองทัพไว้มาก คือพลม้า ฯลฯ กองทหารทาส สำหรับคุ้มภัยภายใน และป้องกันอันตรายภายนอก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกมีความเพียร เปรียบเหมือนกองทัพ ย่อมละอกุศลธรรม ... บริหารตนให้บริสุทธิ์ นี้เป็นสัทธรรม ประการที่ ๕ ฯ อริยสาวกเป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติเป็นเครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง ย่อม ตามระลึกถึงกรรมที่ได้ทำและคำที่ได้พูดแล้วแม้นานได้ เปรียบเหมือนใน ปัจจันตนครของพระราชา มีทหารยามฉลาดสามารถดี ห้ามไม่ให้คนที่ไม่รู้จักเข้า อนุญาตให้คนที่รู้จักเข้า สำหรับคุ้มภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้มีสติเปรียบเหมือนทหารยาม ย่อมละอกุศลธรรม ... บริหารตนให้บริสุทธิ์ นี้เป็นสัทธรรมประการที่ ๖ ฯ อริยสาวกเป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเครื่องพิจารณาความเกิด และความดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ เปรียบ เหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีกำแพงทั้งสูงทั้งกว้างพร้อมด้วยป้อมก่ออิฐ ถือปูนดี เพื่อคุ้มภัยภายในและป้องกันอันตรายภายนอก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้มีปัญญาเปรียบเหมือนกำแพงอันพร้อมด้วยป้อมก่ออิฐถือปูนดี ย่อม ละอกุศล เจริญกุศล ละกรรมที่มีโทษ เจริญกรรมที่ไม่มีโทษ บริหารตนให้บริสุทธิ์ นี้เป็นสัทธรรมประการที่ ๗ อริยสาวกเป็นผู้ประกอบด้วยสัทธรรม ๗ ประการนี้ ฯ อริยสาวกเป็นผู้มีปรกติได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันเป็นไฉน อริยสาวก สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติ และสุข เกิดแต่วิเวกอยู่ เพื่อความอุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็นสุขแห่งตน และเพื่อหยั่งลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีการสะสม หญ้า ไม้และน้ำไว้มาก เพื่อความอุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็นสุขแห่งชน ภายใน และเพื่อป้องกันอันตรายภายนอก ฉะนั้น ฯ อริยสาวกบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายในเป็นธรรมเอก ผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดจากสมาธิอยู่ เพื่อความอุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็นสุขแห่งตน และเพื่อหยั่งลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชา มีการสะสมข้าวสาลี (ข้าวเจ้า) และ ข้าวเหนียวไว้มาก เพื่อความอุ่นใจภายใน ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็นสุขแห่งชน ภายใน และเพื่อป้องกันอันตรายภายนอก ฉะนั้น ฯ อริยสาวกมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข เพื่อความอุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็น สุขแห่งตน และเพื่อหยั่งลงสู่นิพพาน เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของ พระราชา มีการสะสมงา ถั่วเขียว ถั่วทอง และอปรัณชาติไว้มาก เพื่อความ อุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็นสุขแห่งชนภายใน และเพื่อป้องกันอันตราย ภายนอก ฉะนั้น ฯ อริยสาวกบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ เพื่อความ อุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็นสุขแห่งตนและเพื่อหยั่งลงสู่นิพพาน เปรียบ เหมือนในปัจจันตนครของพระราชามีการสะสมเภสัชไว้มาก คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เกลือ เพื่อความอุ่นใจ ไม่สะดุ้งกลัว เพื่ออยู่เป็นสุขแห่ง ชนภายใน และป้องกันอันตรายภายนอก ฉะนั้น ฯ อริยสาวกเป็นผู้มีปรกติได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ นี้อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ดูกรภิกษุทั้ง หลาย ในกาลใด อริยสาวกประกอบด้วยสัทธรรม ๗ ประการนี้ และมีปรกติ ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ นี้อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ในกาลนั้นแล มารผู้มีบาปก็ทำอันตรายอริยสาวก ไม่ได้ ฯ
จบสูตรที่ ๓
ธัมมัญญูสูตร
[๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ เป็นผู้ ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ธรรม ๗ ประ การเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นธัมมัญญู รู้จักธรรม ๑ อัตถัญญู รู้จักอรรถ ๑ อัตตัญญู รู้จักตน ๑ มตตัญญู รู้จักประมาณ ๑ กาลัญญู รู้จักกาล ๑ ปริสัญญู รู้จักบริษัท ๑ ปุคคลปโรปรัญญู รู้จักเลือก คบคน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นธัมมัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ธรรม คือ สุตตะ เคยยะ ไวยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ หากภิกษุไม่พึงรู้จักธรรม คือ สุตตะ ... เวทัลละ เราก็ ไม่พึงเรียกว่าเป็นธัมมัญญู แต่เพราะภิกษุรู้ธรรม คือ สุตตะ ... เวทัลละ ฉะนั้นเราจึงเรียกว่าเป็นธัมมัญญู ด้วยประการฉะนี้ ฯ ก็ภิกษุเป็นอัตถัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักเนื้อความ แห่งภาษิตนั้นๆ ว่า นี้เป็นเนื้อความแห่งภาษิตนี้ๆ หากภิกษุไม่พึงรู้เนื้อความ แห่งภาษิตนั้นๆ ว่า นี้เป็นเนื้อความแห่งภาษิตนี้ๆ เราก็ไม่พึงเรียกว่าเป็น อัตถัญญู แต่เพราะภิกษุรู้เนื้อความแห่งภาษิตนั้นๆ ว่า นี้เป็นเนื้อความแห่ง ภาษิตนี้ๆ ฉะนั้น เราจึงเรียกว่าเป็นอัตถัญญู ภิกษุเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู ด้วยประการฉะนี้ ฯ ก็ภิกษุเป็นอัตตัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักตนว่า เรา เป็นผู้มีศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ปฏิภาณ เพียงเท่านี้ ถ้าภิกษุไม่ พึงรู้จักตนว่า เราเป็นผู้มีศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ปฏิภาณ เพียงเท่านี้ เราก็ไม่พึงเรียกว่าเป็นอัตตัญญู แต่เพราะภิกษุรู้จักตนว่า เราเป็นผู้มีศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ปฏิภาณ เพียงเท่านี้ ฉะนั้น เราจึงเรียกว่าเป็นอัตตัญญู ภิกษุเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู อัตตัญญู ด้วยประการฉะนี้ ฯ ก็ภิกษุเป็นมัตตัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ รู้จักประมาณในการรับ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร หากภิกษุไม่พึงรู้จัก ประมาณในการรับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เราก็ ไม่พึงเรียกว่าเป็นมัตตัญญู แต่เพราะภิกษุรู้จักประมาณในการรับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ฉะนั้น เราจึงเรียกว่าเป็นมัตตัญญู ภิกษุเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู อัตตัญญู มัตตัญญู ด้วยประการฉะนี้ ฯ ก็ภิกษุเป็นกาลัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักกาลว่า นี้ เป็นกาลเรียน นี้เป็นกาลสอบถาม นี้เป็นกาลประกอบความเพียร นี้เป็นกาล หลีกออกเร้น หากภิกษุไม่พึงรู้จักกาลว่า นี้เป็นกาลเรียน นี้เป็นกาลสอบถาม นี้เป็นกาลประกอบความเพียร นี้เป็นกาลหลีกออกเร้น เราไม่พึงเรียกว่าเป็น กาลัญญู แต่เพราะภิกษุรู้จักกาลว่า นี้เป็นกาลเรียน นี้เป็นกาลสอบถาม นี้เป็น กาลประกอบความเพียร นี้เป็นกาลหลีกออกเร้น ฉะนั้น เราจึงเรียกว่าเป็น กาลัญญู ภิกษุเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู อัตตัญญู มัตตัญญู กาลัญญู ด้วย ประการฉะนี้ ฯ ก็ภิกษุเป็นปริสัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักบริษัทว่า นี้ บริษัทกษัตริย์ นี้บริษัทคฤหบดี นี้บริษัทสมณะ ในบริษัทนั้น เราพึงเข้าไปหา อย่างนี้ พึงยืนอย่างนี้ พึงทำอย่างนี้ พึงนั่งอย่างนี้ พึงนิ่งอย่างนี้ หากภิกษุไม่รู้ จักบริษัทว่า นี้บริษัทกษัตริย์ ... พึงนิ่งอย่างนี้ เราก็ไม่พึงเรียกว่าเป็นปริสัญญู แต่เพราะภิกษุรู้จักบริษัทว่า นี้บริษัทกษัตริย์ ... พึงนิ่งอย่างนี้ ฉะนั้น เราจึง เรียกว่าเป็นปริสัญญู ภิกษุเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู อัตตัญญู มัตตัญญู กาลัญญู ปริสัญญู ด้วยประการฉะนี้ ฯ ก็ภิกษุเป็นปุคคลปโรปรัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้รู้จัก บุคคลโดยส่วน ๒ คือ บุคคล ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่งต้องการเห็นพระ อริยะ พวกหนึ่งไม่ต้องการเห็นพระอริยะ บุคคลที่ไม่ต้องการเห็นพระอริยะ พึง ถูกติเตียนด้วยเหตุนั้นๆ บุคคลที่ต้องการเห็นพระอริยะ พึงได้รับความ สรรเสริญด้วยเหตุนั้นๆ บุคคลที่ต้องการเห็นพระอริยะก็มี ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่ง ต้องการจะฟังสัทธรรม พวกหนึ่งไม่ต้องการฟังสัทธรรม บุคคลที่ไม่ต้องการฟัง สัทธรรม พึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้นๆ บุคคลที่ต้องการฟังสัทธรรม พึงได้รับ ความสรรเสริญด้วยเหตุนั้นๆ บุคคลที่ต้องการฟังสัทธรรมก็มี ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่งตั้งใจฟังธรรม พวกหนึ่งไม่ตั้งใจฟังธรรม บุคคลที่ไม่ตั้งใจฟังธรรม พึงถูก ติเตียนด้วยเหตุนั้นๆ บุคคลที่ตั้งใจฟังธรรม พึงได้รับความสรรเสริญด้วยเหตุ นั้นๆ บุคคลที่ตั้งใจฟังธรรมก็มี ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่งฟังแล้วทรงจำธรรมไว้ พวกหนึ่งฟังแล้วไม่ทรงจำธรรมไว้ บุคคลที่ฟังแล้วไม่ทรงจำธรรมไว้ พึงถูกติเตียน ด้วยเหตุนั้นๆ บุคคลที่ฟังแล้วทรงจำธรรมไว้พึงได้รับความสรรเสริญด้วยเหตุนั้นๆ บุคคลที่ฟังแล้วทรงจำธรรมไว้ก็มี ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่งพิจารณาเนื้อความ แห่งธรรมที่ทรงจำไว้ พวกหนึ่งไม่พิจารณา เนื้อความแห่งธรรม ที่ทรงจำไว้ บุคคลที่ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ พึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้นๆ บุคคลที่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ พึงได้รับความสรรเสริญด้วย เหตุนั้นๆ บุคคลที่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ก็มี ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่งรู้อรรถรู้ธรรมแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม พวกหนึ่งหารู้อรรถรู้ธรรม แล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่ บุคคลที่หารู้อรรถรู้ธรรมปฏิบัติธรรมสมควร แก่ธรรมไม่ พึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้นๆ บุคคลที่รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม พึงได้รับความสรรเสริญ ด้วยเหตุนั้นๆ บุคคลที่รู้อรรถรู้ธรรม แล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ก็มี ๒ จำพวก คือ พวกหนึ่งปฏิบัติเพื่อ ประโยชน์ของตน ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น พวกหนึ่งปฏิบัติทั้งเพื่อ ประโยชน์ตนและเพื่อประโยชน์ผู้อื่น บุคคลที่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติ เพื่อประโยชน์ผู้อื่น พึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้นๆ บุคคลที่ปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์ ตนและเพื่อประโยชน์ผู้อื่น พึงได้รับความสรรเสริญด้วยเหตุนั้นๆ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้รู้จักบุคคลโดยส่วน ๒ ฉะนี้แล ภิกษุเป็นบุคคลปโรปรัญญู อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล เป็นผู้ ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ฯ
จบสูตรที่ ๔
ปาริฉัตตกสูตร
[๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ปาริฉัตตกพฤกษ์แห่งเทวดาชั้น ดาวดึงส์มีใบเหลือง สมัยนั้น เทวดาชั้นดาวดึงส์พากันดีใจว่า เวลานี้ต้นปาริฉัตตก พฤกษ์ใบเหลือง ไม่นานเท่าไรก็จักผลัดใบใหม่ สมัยใด ปาริฉัตตกพฤกษ์ของ เทวดาชั้นดาวดึงส์ผลัดใบใหม่ สมัยนั้น เทวดาชั้นดาวดึงส์พากันดีใจว่า เวลา นี้ต้นปาริฉัตตกพฤกษ์ กำลังผลัดใบใหม่ ไม่นานเท่าไรก็จักผลิดอกออกใบ สมัยใด ปาริฉัตตกพฤกษ์ของเทวดาชั้นดาวดึงส์ผลิดอกออกใบแล้ว สมัยนั้น เทวดาชั้นดาวดึงส์พากันดีใจว่า เวลานี้ปาริฉัตตกพฤกษ์ผลิดอกออกใบแล้ว ไม่นานเท่าไร ก็จักเป็นดอกเป็นใบ สมัยใด ปาริฉัตตกพฤกษ์ของเทวดาชั้น ดาวดึงส์เป็นดอกเป็นใบแล้ว สมัยนั้นเทวดาชั้นดาวดึงส์พากันดีใจว่า เวลานี้ ปาริฉัตตกพฤกษ์เป็นดอกเป็นใบแล้ว ไม่นานเท่าไรก็จักเป็นดอกตูม สมัยใด ปาริฉัตตกพฤกษ์ ของเทวดาชั้นดาวดึงส์เป็นดอกตูมแล้ว สมัยนั้น เทวดาชั้น ดาวดึงส์พากันดีใจว่า เวลานี้ ปาริฉัตตกพฤกษ์ดอกออกตูมแล้ว ไม่นานเท่าไรก็ จักเริ่มแย้ม สมัยใด ปาริฉัตตกพฤกษ์เริ่มแย้มแล้ว สมัยนั้นเทวดาชั้นดาวดึงส์ พากันดีใจว่า เวลานี้ ปาริฉัตตกพฤกษ์เริ่มแย้มแล้ว ไม่นานเท่าไรก็จักบานเต็มที่ สมัยใด ปาริฉัตตกพฤกษ์ของเทวดาชั้นดาวดึงส์บานเต็มที่แล้ว สมัยนั้น เทวดา ชั้นดาวดึงส์พากันดีใจ เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ บำรุงบำเรออยู่ตลอด ระยะ ๕ เดือนทิพย์ ณ ควงแห่งไม้ปาริฉัตตกพฤกษ์ ก็เมื่อปาริฉัตตกพฤกษ์ บานเต็มที่แล้ว แผ่รัศมีไปได้ ๕๐ โยชน์ ในบริเวณรอบๆ จะส่งกลิ่นไปได้ ๑๐๐ โยชน์ตามลม อานุภาพของปาริฉัตตกพฤกษ์ มีดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล สมัยใด อริยสาวกคิดจะออกบวชเป็นบรรพชิต สมัยนั้น อริยสาวกเปรียบเหมือนปาริฉัตตกพฤกษ์ของเทวดาชั้นดาวดึงส์มีใบเหลือง สมัย ใด อริยสาวกปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิต สมัยนั้น อริยสาวกเปรียบเหมือนปาริฉัตตกพฤกษ์ของเทวดาชั้นดาวดึงส์ผลัดใบ ใหม่ สมัยใด อริยสาวกสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ สมัยนั้น อริยสาวกเปรียบเหมือน ปาริฉัตตกพฤกษ์ของเทวดาชั้นดาวดึงส์ ผลิดอกออกใบ สมัยใด อริยสาวกบรรลุ ทุติยฌานมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มี วิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ สมัยนั้น อริยสาวก เปรียบเหมือนปาริฉัตตกพฤกษ์ของเทวดาชั้นดาวดึงส์เป็นดอกเป็นใบ สมัยใด อริยสาวกมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข สมัยนั้น อริยสาวกเปรียบเหมือนปาริฉัตตกพฤกษ์ของเทวดาชั้น ดาวดึงส์เป็นดอกตูม สมัยใด อริยสาวกบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติ บริสุทธิ์อยู่ สมัยนั้น อริยสาวกเปรียบเหมือนปาริฉัตตกพฤกษ์ของเทวดาชั้น ดาวดึงส์เริ่มแย้ม สมัยใด อริยสาวกทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหา อาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึง อยู่ สมัยนั้น อริยสาวกเปรียบเหมือนปาริฉัตตกพฤกษ์ของเทวดาชั้นดาวดึงส์ บานเต็มที่ สมัยนั้น ภุมมเทวดาย่อมประกาศให้ได้ยินว่า ท่านรูปนี้ มีชื่ออย่างนี้ เป็นสัทธิวิหาริกของท่านชื่อนี้ ออกจากบ้านหรือนิคมชื่อโน้น บวชเป็นบรรพชิต กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้ง หลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ เทวดาชั้นจาตุมหาราช ฟังเสียงแห่งภุมมเทวดา ... เทวดาชั้นดาวดึงส์ ... เทวดาชั้นยามา ... เทวดาชั้น ดุสิต ... เทวดาชั้นนิมมานรดี ... เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัสดี ... เทวดาชั้นพรหม ฟังเสียงแห่งเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัสดีแล้ว ย่อมประกาศให้ได้ยินว่า ท่านรูปนี้ มีชื่ออย่างนี้ เป็นสัทธิวิหาริกของท่านผู้นี้ ออกจากบ้านหรือนิคมชื่อโน้น บวช เป็นบรรพชิต กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะ อาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ โดยเหตุนี้ เสียงก็ระบือไปตลอดพรหมโลกชั่วขณะนั้น ชั่วครู่นั้น อานุภาพของพระขีณาสพ เป็นดังนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๕
สักกัจจสูตร
[๖๗] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรหลีกออกเร้นอยู่ในที่ลับ เกิดความ ปริวิตกแห่งใจอย่างนี้ว่า ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยอะไรอยู่หนอ จะพึงละ อกุศล เจริญกุศล ลำดับนั้น ท่านคิดเห็นดังนี้ว่าภิกษุ สักการะ เคารพ อาศัย พระศาสดาอยู่แล จะพึงละอกุศล เจริญกุศล ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยธรรม ... อาศัยสงฆ์ ... อาศัยสิกขา ... อาศัยสมาธิ ... อาศัยความไม่ประมาท ... อาศัยปฏิสันถารอยู่แล ... จะพึงละอกุศล เจริญกุศล ท่านคิดเห็นอีกว่าธรรม เหล่านี้ของเราบริสุทธิ์ผุดผ่อง ผิฉะนั้น เราพึงไปกราบทูลธรรมเหล่านี้แด่พระผู้มี พระภาค ธรรมเหล่านี้ของเราจักบริสุทธิ์และจักนับว่าบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น ด้วยอาการ อย่างนี้ เปรียบเหมือนบุคคลได้ทองคำอันบริสุทธิ์ผุดผ่องเขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า ทองคำแท่งของเรานี้ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ผิฉะนั้น เราพึงนำเอาทองคำแท่งนี้ ไปแสดงแก่นายช่างทอง ทองคำแท่งของเรานี้ ไปถึงนายช่างทองเข้าจักบริสุทธิ์ และจักนับว่าบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น ด้วยอาการอย่างนี้ ฉะนั้น ฯ ลำดับนั้น เป็นเวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่เร้น เข้าไป เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทาน พระวโรกาส ข้าพระองค์หลีกออกเร้นอยู่ในที่ลับเกิดความปริวิตกแห่งใจอย่างนี้ว่า ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยอะไรอยู่หนอ จะพึงละอกุศล เจริญกุศล ลำดับนั้น ข้าพระองค์ได้คิดเห็นดังนี้ว่า ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยพระศาสดาอยู่แล จะ พึงละอกุศล เจริญกุศล สักการะ เคารพ อาศัยธรรม ... อาศัยสงฆ์ ... อาศัยสิกขา ... อาศัยสมาธิ ... อาศัยความไม่ประมาท ... อาศัยปฏิสันถารอยู่แล จะพึงละอกุศล เจริญกุศล ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้คิดเห็นดังนี้อีกว่า ธรรมเหล่านี้ของเราบริสุทธิ์ผุดผ่อง ผิฉะนั้น เราพึงไปกราบทูลธรรมเหล่านี้แด่ผู้มี พระภาค ธรรมเหล่านี้ของเราจักบริสุทธิ์และจักนับว่าบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น ด้วยอาการ อย่างนี้ เปรียบเหมือนบุคคลได้ทองคำแท่งอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง เขาจะพึงคิดเห็น อย่างนี้ว่า ทองคำแท่งของเรานี้บริสุทธิ์ผุดผ่อง ผิฉะนั้นเราพึงนำเอาทองคำแท่งนี้ ไปแสดงแก่นายช่างทอง ทองคำแท่งของเรานี้ไปถึงนายช่างทองเข้า จักบริสุทธิ์ และนับว่าบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น ด้วยอาการอย่างนี้ ฉะนั้น ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสารีบุตร ดีละ ดีละ ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยพระศาสดาอยู่แล จะพึงละอกุศล เจริญกุศล สักการะ เคารพ อาศัยธรรม ... อาศัยสงฆ์ ... อาศัยสิกขา ... อาศัยสมาธิ ... อาศัยความไม่ ประมาท ... อาศัยปฏิสันถารอยู่แล จะพึงละอกุศล เจริญกุศล ฯ
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาค ตรัสแล้วโดยย่อนี้ โดยพิสดารอย่างนี้ว่า ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา จักเคารพ ในธรรม ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ชื่อว่าไม่ เคารพในธรรมด้วย ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ในธรรม จักเคารพในสงฆ์ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ในธรรม ชื่อว่าไม่ เคารพในสงฆ์ด้วย ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ จักเคารพใน สิกขา ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ชื่อว่าไม่เคารพในสิกขาด้วย ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา จักเคารพในสมาธิ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ภิกษุไม่เคารพ ในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ชื่อว่าไม่เคารพในสมาธิด้วย ภิกษุ ไม่เคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ จักเคารพใน ความไม่ประมาท ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ ชื่อว่าไม่เคารพในความไม่ประมาทด้วย ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ ในความ ไม่ประมาท จักเคารพในปฏิสันถาร ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ภิกษุไม่เคารพใน พระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ ในความไม่ประมาท ชื่อว่า ไม่เคารพในปฏิสันถารด้วย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุเคารพในพระศาสดา จักไม่เคารพในธรรม ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ภิกษุเคารพในพระศาสดา ชื่อว่า เคารพในธรรมด้วย ภิกษุเคารพในพระศาสดา ในธรรม จักไม่เคารพในสงฆ์ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ภิกษุเคารพในพระศาสดา ในธรรม ชื่อว่าเคารพใน สงฆ์ด้วย ภิกษุเคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ จักไม่เคารพในสิกขา ข้อนี้ ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ภิกษุเคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ชื่อว่า เคารพในสิกขาด้วย ภิกษุเคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา จักไม่เคารพในสมาธิ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ภิกษุเคารพในพระศาสดา ใน ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ชื่อว่าเคารพในสมาธิด้วย ภิกษุเคารพใน พระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ จักไม่เคารพในความไม่ ประมาท ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ภิกษุเคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ ชื่อว่าเคารพในความไม่ประมาท ภิกษุเคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ ในความไม่ประมาท จักไม่เคารพใน ปฏิสันถาร ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ภิกษุเคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ ในความไม่ประมาท ชื่อว่าเคารพในปฏิสันถารด้วย ข้าแต่พระ องค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว โดยย่อนี้ โดยพิสดารอย่างนี้ ฯ
พ. ดูกรสารีบุตร ดีละ ดีละ สารีบุตร เธอรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งคำที่เรา กล่าวแล้วโดยย่อนี้ โดยพิสดารอย่างนี้ ดีแล้ว ดูกรสารีบุตร ภิกษุไม่เคารพในพระ ศาสดา จักเคารพในธรรม ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ภิกษุไม่เคารพในพระ ศาสดา ชื่อว่าไม่เคารพในธรรมด้วย ฯลฯ ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ ในความไม่ประมาท จักเคารพในปฏิสันถาร ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ภิกษุไม่เคารพในพระศาสดาในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ ในความไม่ประมาท ชื่อว่าไม่เคารพในปฏิสันถารด้วย ฯ ดูกรสารีบุตร ภิกษุเคารพในพระศาสดา จักไม่เคารพในธรรม ข้อนี้ ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ภิกษุเคารพในพระศาสดา ชื่อว่าเคารพในธรรมด้วย ฯลฯ ภิกษุเคารพในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ ในความไม่ ประมาท จักไม่เคารพในปฏิสันถาร ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ภิกษุเคารพ ในพระศาสดา ในธรรม ในสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ ในความไม่ประมาท ชื่อว่าเคารพในปฏิสันถารด้วย ดูกรสารีบุตร เธอพึงเห็นเนื้อความแห่งคำที่ เรากล่าวแล้วโดยย่อนี้ โดยพิสดารอย่างนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๖
ภาวนาสูตร
[๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่หมั่นเจริญภาวนา แม้จะพึงเกิด ความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอจิตของเราพึงหลุดพ้นจากอาสวะเพราะ ไม่ถือมั่น ก็จริง แต่จิตของภิกษุนั้นย่อมไม่หลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น ข้อนั้นเพราะเหตุไร จะพึงกล่าวได้ว่า เพราะไม่ได้เจริญ เพราะไม่ได้เจริญอะไร เพราะไม่ได้เจริญสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ เปรียบเหมือนแม่ไก่ มีไข่อยู่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง ไข่เหล่านั้น แม่ไก่กกไม่ดี ให้ ความอบอุ่นไม่พอ ฟักไม่ดี แม่ไก่นั้น แม้จะพึงเกิดความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอให้ลูกของเราพึงใช้ปลายเล็บเท้าหรือจะงอยปากเจาะกะเปาะไข่ ฟักตัว ออกมาโดยสวัสดี ก็จริง แต่ลูกไก่เหล่านั้นไม่สามารถที่จะใช้ปลายเล็บเท้า หรือ จะงอยปากเจาะกะเปาะไข่ ฟักตัวออกมาโดยสวัสดีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะแม่ไก่กกไม่ดี ให้ความอบอุ่นไม่พอ ฟักไม่ดี ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุหมั่นเจริญภาวนา แม้จะไม่พึงเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอจิตของเราพึงหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น ก็จริง แต่จิตของภิกษุนั้น ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น ข้อนั้นเพราะเหตุไร พึงกล่าวได้ว่า เพราะ เจริญ เพราะเจริญอะไร เพราะเจริญสติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ อริยมรรคประกอบ ด้วยองค์ ๘ เปรียบเหมือนแม่ไก่มีไข่อยู่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง ไข่เหล่า นั้นแม่ไก่กกดี ให้ความอบอุ่นเพียงพอ ฟักดี แม้แม่ไก่นั้นจะไม่พึงปรารถนา อย่างนี้ว่า โอหนอ ขอให้ลูกของเราพึงใช้ปลายเล็บเท้าหรือจะงอยปากเจาะ กะเปาะไข่ ฟักตัวออกมาโดยสวัสดี ก็จริง แต่ลูกไก่เหล่านั้นก็สามารถใช้ เท้าหรือจะงอยปากเจาะกะเปาะไข่ ฟักตัวออกมาโดยสวัสดีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะไข่เหล่านั้นแม่ไก่กกดี ให้ความอบอุ่นเพียงพอ ฟักดี ฉะนั้น ฯ เปรียบเหมือนรอยนิ้วมือ รอยนิ้วหัวแม่มือที่ด้ามมีด ย่อมปรากฏแก่นาย ช่างไม้หรือลูกมือนายช่างไม้ แต่เขาไม่รู้อย่างนี้ว่า วันนี้ด้ามมีดของเราสึกไปเท่านี้ เมื่อวานสึกไปเท่านี้ หรือเมื่อวานซืนสึกไปเท่านี้ ที่จริง เมื่อด้ามมีดสึกไป เขาก็รู้ว่าสึกไปนั่นเทียว ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุหมั่นเจริญภาวนาอยู่ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้จะไม่รู้อย่างนี้ว่า วันนี้ อาสวะของเราสิ้นไปเท่านี้ เมื่อวาน สิ้นไปเท่านี้ หรือเมื่อวานซืนสิ้นไปเท่านี้ แต่ที่จริง เมื่ออาสวะสิ้นไป ภิกษุนั้น ก็รู้ว่าสิ้นไปนั่นเทียว ฯ เปรียบเหมือนเรือเดินสมุทรที่เขาผูกหวาย ขันชะเนาะแล้วแล่นไปใน น้ำตลอด ๖ เดือน ถึงฤดูหนาว เข็นขึ้นบก เครื่องผูกประจำเรือตากลม และแดดไว้ เครื่องผูกเหล่านั้นถูกฝนชะ ย่อมชำรุดเสียหาย เป็นของเปื่อยไป โดยไม่ยาก ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุหมั่นเจริญภาวนาอยู่ สังโยชน์ ย่อมสงบระงับไปโดยไม่ยาก ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ
จบสูตรที่ ๗
อัคคิขันธูปมสูตร
[๖๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศลชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จดำเนินไปสู่ทางไกล ได้ทอดพระเนตรเห็น ไฟกองใหญ่ กำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงอยู่ในที่แห่งหนึ่ง จึงเสด็จแวะจากทาง ประทับนั่งบนอาสนะที่ปูไว้ใกล้โคนไม้แห่งหนึ่ง ครั้นแล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเห็นไฟกองใหญ่โน้นที่กำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง อยู่หรือไม่ ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า เห็น พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การเข้าไปนั่งกอดหรือนอนกอดกองไฟใหญ่โน้น ที่กำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงอยู่ กับการเข้าไปนั่งกอดหรือนอนกอดพระราชธิดา บุตรสาวพราหมณ์หรือบุตรสาว คฤหบดี ผู้มีฝ่ามือฝ่าเท้าอ่อนนุ่ม อย่างไหนจะประเสริฐกว่ากัน ฯ
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การที่บุคคลเข้าไปนั่งกอดหรือนอนกอด พระราชธิดา บุตรสาวพราหมณ์หรือบุตรสาวคฤหบดี ผู้มีฝ่ามือฝ่าเท้าอันอ่อนนุ่ม นี้ประเสริฐกว่า ส่วนการที่บุคคลเข้าไปนั่งกอดหรือนอนกอดกองไฟใหญ่โน้น ที่กำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงอยู่ เป็นทุกข์ ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอเตือนเธอ ทั้งหลาย การที่บุคคลผู้ทุศีล มีธรรมลามก มีความประพฤติสกปรกน่ารังเกียจ ปกปิดกรรมชั่ว มิใช่สมณะ แต่ปฏิญาณว่าเป็นสมณะ มิใช่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ แต่ปฏิญาณว่าประพฤติพรหมจรรย์ เน่าใน มีความกำหนัดกล้า เป็นดังหยากเยื่อ เข้าไปนั่งกอดหรือนอนกอดพระราชธิดา บุตรสาวพราหมณ์หรือบุตรสาวคฤหบดี จะประเสริฐอย่างไร การเข้าไปนั่งกอดนอนกอดกองไฟใหญ่โน้นที่กำลังลุกรุ่งโรจน์ โชติช่วงอยู่ นี้ดีกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขาจะพึงถึงความตายหรือทุกข์ ปางตาย เพราะการเข้าไปกอดกองไฟใหญ่นั้นเป็นเหตุ แต่ผู้นั้นเมื่อตายไป ไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะการเข้าไปกอดกองไฟใหญ่นั้น เป็นปัจจัย ส่วนการที่บุคคลผู้ทุศีล มีธรรมอันลามก มีความประพฤติสกปรก น่ารังเกียจ ปกปิดกรรมชั่ว มิใช่สมณะ แต่ปฏิญาณว่าเป็นสมณะ มิใช่ผู้ ประพฤติพรหมจรรย์ แต่ปฏิญาณว่าประพฤติพรหมจรรย์ เน่าใน มีความกำ หนัดกล้า เป็นดังหยากเยื่อ เข้าไปนั่งกอดหรือนอนกอดพระราชธิดา บุตรสาว พราหมณ์หรือบุตรสาวคฤหบดี ผู้มีฝ่ามือฝ่าเท้าอ่อนนุ่มนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อ ความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ เพื่อความทุกข์ตลอดกาลนานแก่เขา และผู้นั้นเมื่อ ตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะ สำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การที่บุรุษมีกำลัง เอาเชือกหนังอันเหนียวแน่นพันแข้ง ทั้งสองข้างแล้วชักไปมา เชือกหนังพึงบาดผิว บาดผิวแล้ว พึงบาดหนัง บาดหนังแล้ว พึงบาดเนื้อ บาดเนื้อแล้ว พึงตัดเส้นเอ็น ตัดเส้นเอ็นแล้ว พึงตัดกระดูก ตัดกระดูกแล้ว หยุดอยู่จดเยื่อในกระดูก กับการยินดีการกราบ ไหว้แห่งกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล ไหนจะดี กว่ากัน ฯ
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การยินดีการกราบไหว้แห่งกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล นี้ดีกว่าการที่บุรุษผู้มีกำลัง เอาเชือก หนังอันเหนียวแน่นพันแข้งทั้งสองข้างแล้วชักไปชักมา เชือกหนังพึงบาดผิว ฯลฯ หยุดอยู่จดเยื่อในกระดูก นี้เป็นทุกข์ ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอเตือนเธอทั้ง หลาย การที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ ยินดีการกราบไหว้แห่ง กษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล จะดีอย่างไร การที่ บุรุษมีกำลัง เอาเชือกหนังอันเหนียวแน่นพันแข้งทั้งสองข้าง แล้วชักไปชักมา เชือกหนังพึงบาดผิว ฯลฯ หยุดอยู่จดเยื่อในกระดูก นั้นดีกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุ ไร เพราะเขาจะพึงถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย มีข้อนั้นเป็นเหตุ แต่ผู้นั้นเมื่อ ตายไป ไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย ส่วน การที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ ยินดีการกราบไหว้แห่งกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาลนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหายมิใช่ ประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน แก่บุคคลผู้ทุศีลนั้น และบุคคลผู้ทุศีลนั้น เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การที่บุรุษมีกำลัง เอาหอกอันคมชะโลมน้ำมัน พุงใส่กลางอก กับการยินดีอัญชลีกรรมของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาลไหนจะดีกว่ากัน ฯ
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การยินดีอัญชลีกรรมของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล นี้ดีกว่า ส่วนการที่บุรุษมีกำลัง เอาหอกอันคมชะโลมน้ำมัน พุ่งใส่กลางอกนี้เป็นทุกข์ ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอเตือนเธอ ทั้งหลาย การที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ ยินดีอัญชลีกรรมของกษัตริย์ มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล จะดีอย่างไร การที่บุรุษมี กำลัง เอาหอกอันคมชะโลมน้ำมัน พุ่งใส่กลางอก นั้นดีกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขาจะพึงถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย มีข้อนั้นเป็นเหตุ แต่ผู้นั้นเมื่อตายไป ไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย ส่วนการที่บุคคล ผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ ยินดีอัญชลีกรรมของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์ มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาลนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน แก่บุคคลผู้ทุศีลนั้น และบุคคลผู้ทุศีลนั้น เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญ ความข้อนั้นเป็นไฉน การที่บุรุษมีกำลังเอาแผ่นเหล็กแดงไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์ โชติช่วงนาบกายตัว กับการบริโภคจีวรที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล ไหนจะดีกว่ากัน ฯ
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การบริโภคจีวรที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของ กษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล นี้ดีกว่า การที่บุรุษมี กำลัง เอาแผ่นเหล็กแดงไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงนาบกายตัว นี้เป็นทุกข์ ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอเตือนเธอ ทั้งหลาย การที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ บริโภคจีวรที่เขาถวายด้วย ศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล จะดี อย่างไร การที่บุรุษมีกำลัง เอาแผ่นเหล็กแดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงนาบกาย ตัว นี้ดีกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขาจะพึงถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย มีข้อนั้นเป็นเหตุ แต่เขาเมื่อตายไป ไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย ส่วนการที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ บริโภค จีวรที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดี มหาศาล นั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน แก่บุคคลผู้ทุศีลนั้น และบุคคลผู้ทุศีลนั้น เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การที่บุรุษมีกำลังเอาขอเหล็กแดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงเกี่ยวปากอ้าไว้ แล้วกรอกก้อนเหล็กแดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงเข้าในปาก ก้อนเหล็กแดง นั้นจะพึงไหม้ริมฝีปาก ไหม้ปาก ไหม้ลิ้น ไหม้คอ ไหม้อก ไหม้เรื่อยไปถึง ไส้ใหญ่ไส้น้อย แล้วออกทางทวารเบื้องต่ำ กับการบริโภคบิณฑบาตที่เขาถวาย ด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล ไหนจะดีกว่ากัน ฯ
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การบริโภคบิณฑบาตที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล นี้ดีกว่า การที่ บุรุษมีกำลัง เอาขอเหล็กแดงไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง เกี่ยวปากอ้าไว้ แล้ว กรอกก้อนเหล็กแดงไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงเข้าในปาก ก้อนเหล็กแดงนั้นจะ พึงไหม้ริมฝีปาก ... แล้วออกทางทวารเบื้องต่ำ นี้เป็นทุกข์ ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอเตือนเธอ ทั้งหลาย การที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ บริโภคบิณฑบาตที่เขาถวาย ด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล จะดี อย่างไร การที่บุรุษมีกำลัง เอาขอเหล็กแดงไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงเกี่ยว ปากอ้าไว้ แล้วกรอกก้อนเหล็กแดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงเข้าในปาก ก้อน- *เหล็กแดงนั้นจะพึงไหม้ริมฝีปาก ... แล้วออกทางทวารเบื้องต่ำ นี้ดีกว่า ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะผู้นั้นพึงถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย มีข้อนั้นเป็นเหตุ แต่ผู้นั้นเมื่อตายไป ไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะข้อนั้นเป็น ปัจจัย ส่วนการที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ บริโภคบิณฑบาตที่เขา ถวายด้วยศรัทธาของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล นั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน แก่ บุคคลผู้ทุศีลนั้น และบุคคลผู้ทุศีลนั้น เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การที่บุรุษผู้มีกำลัง จับที่ศีรษะหรือที่คอ แล้วให้นั่งทับนอนทับบนเตียงเหล็กหรือ ตั่งเหล็กแดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง กับการบริโภคเตียงตั่งที่เขาถวายด้วย ศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล ไหนจะ ดีกว่ากัน ฯ
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การบริโภคเตียงตั่งที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล นี้ดีกว่า ส่วนการ ที่บุรุษผู้มีกำลัง จับที่ศีรษะหรือที่คอแล้ว ให้นั่งทับหรือนอนทับเตียงหรือตั่งเหล็ก แดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง นี้เป็นทุกข์ ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอเตือนเธอ ทั้งหลาย การที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ บริโภคเตียงตั่งที่เขาถวาย ด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล จะดี อย่างไร การที่บุรุษผู้มีกำลัง จับที่ศีรษะหรือที่คอ แล้วให้นั่งทับหรือนอนทับเตียง หรือตั่งเหล็กแดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง นั้นดีกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้นั้นจะพึงเข้าถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย มีข้อนั้นเป็นเหตุ แต่ผู้นั้นเมื่อ ตายไป ไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย ส่วน การที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ บริโภคเตียงตั่งที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล นั้น ย่อมเป็นไป เพื่อความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน แก่บุคคลผู้ทุศีลนั้น และ บุคคลผู้ทุศีลนั้น เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน การที่บุรุษมีกำลัง จับมัดเอา เท้าขึ้นเอาหัวลง โยนลงในหม้อเหล็กแดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง ผู้นั้นถูก ไฟเผาเดือดดุจฟองน้ำในหม้อเหล็กแดงนั้น บางครั้งลอยขึ้นข้างบน บางครั้งจมลง ข้างล่าง บางครั้งลอยไปขวางๆ กับการบริโภควิหารที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของ กษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล ไหนจะดีกว่ากัน ฯ
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การบริโภควิหารที่เขาถวายด้วยศรัทธา ของ กษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล นี้ดีกว่า การที่บุรุษมี กำลัง จับมัดเอาเท้าขึ้นเอาหัวลง โยนลงในหม้อเหล็กแดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์ โชติช่วง ผู้นั้นถูกไฟเผาเดือดดุจฟองน้ำในหม้อเหล็กแดงนั้น บางครั้งลอยขึ้นข้างบน บางครั้งจมลงข้างล่าง บางครั้งลอยไปขวางๆ นี้เป็นทุกข์ ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอเตือนเธอ ทั้งหลาย การที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ บริโภควิหารที่เขาถวาย ด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล จะดี อย่างไร การที่บุรุษมีกำลัง จับเอาเท้าขึ้น เอาหัวลง โยนลงในหม้อเหล็กแดง ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง ถูกไฟเผาเดือดดุจฟองน้ำ ในหม้อเหล็กแดงนั้น บางครั้งลอยขึ้นข้างบน บางครั้งจมลงข้างล่าง บางครั้งลอยไปขวางๆ นี้ดีกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้นั้นพึงเข้าถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย มีข้อนั้นเป็น เหตุ แต่ผู้นั้นเมื่อตายไป ไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะข้อนั้น เป็นปัจจัย ส่วนการที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ บริโภควิหารที่เขา ถวายด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล นั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน แก่ บุคคลผู้ทุศีลนั้น และบุคคลผู้ทุศีลนั้น เมื่อตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษา อย่างนี้ว่า เราทั้งหลายบริโภคจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัช บริขาร ของชนเหล่าใด ปัจจัยของชนเหล่านั้น จักมีผลมาก มีอานิสงส์มาก และการบรรพชาของเราทั้งหลายจักไม่เป็นหมัน มีผล มีกำไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล อนึ่ง เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อพิจารณา เห็นประโยชน์ตน ควรแท้ทีเดียวที่จะให้ประโยชน์นั้นสำเร็จด้วยความไม่ประมาท เมื่อพิจารณาเห็นประโยชน์ผู้อื่น ก็ควรแท้ทีเดียวที่จะให้ประโยชน์นั้นสำเร็จด้วย ความไม่ประมาท หรือเมื่อพิจารณาเห็นประโยชน์ทั้งสอง ก็ควรแท้ทีเดียวที่จะให้ ประโยชน์ทั้งสองนั้นสำเร็จด้วยความไม่ประมาท ฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว และเมื่อกำลังตรัส ไวยากรณภาษิตนี้อยู่ โลหิตร้อนพุ่งออกจากปากของภิกษุ ๖๐ รูป (พวกต้น) ภิกษุ ๖๐ รูป (พวกกลาง) ลาสิกขา สึกมาเป็นคฤหัสถ์ ด้วยกราบทูลพระผู้มี พระภาคว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ทำได้ยาก ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ทำได้ แสนยาก อีก ๖๐ รูป จิตหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น ฯ
จบสูตรที่ ๘
สุเนตตอนุสาสนีสูตร
[๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ศาสดาชื่อว่าสุเนตตะ เป็นเจ้าลัทธิ ปราศจากความกำหนัดในกาม ก็สุเนตตศาสดานั้นมีสาวกอยู่หลาย ร้อยคน เธอแสดงธรรมให้สาวกฟัง เพื่อความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นพรหมโลก สาวกเหล่าใด เมื่อสุเนตตศาสดากำลังแสดงธรรมเพื่อความเป็นสหายแห่งเทวดา ชั้นพรหมโลก ไม่ยังจิตให้เลื่อมใส สาวกเหล่านั้น เมื่อตายไปได้เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสาวกเหล่าใด เมื่อสุเนตตศาสดากำลังแสดงธรรม เพื่อความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นพรหมโลก ยังจิตให้เลื่อมใส สาวกเหล่านั้น เมื่อตายไป ได้เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ศาสดาชื่อว่ามูคปักขะ ฯลฯ ศาสดาชื่อว่าอรเนมิ ฯลฯ ศาสดาชื่อว่ากุททาละ ฯลฯ ศาสดาชื่อว่าหัตถิปาละ ฯลฯ ศาสดาชื่อว่าโชติปาละ ฯลฯ ศาสดาชื่อว่าอรกะ เป็นเจ้าลัทธิ ปราศจากความกำหนัด ในกาม ก็อรกศาสดานั้น มีสาวกอยู่หลายร้อยคน เธอแสดงธรรมให้สาวกฟัง เพื่อ ความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นพรหมโลก สาวกเหล่าใด เมื่ออรกศาสดากำลังแสดง ธรรมเพื่อความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นพรหมโลก ไม่ยังจิตให้เลื่อมใส สาวกเหล่า นั้น เมื่อตายไป ได้เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสาวกเหล่าใด เมื่ออรก ศาสดากำลังแสดงธรรมเพื่อความเป็นสหายแห่งเทวดาชั้นพรหมโลก ยังจิตให้ เลื่อมใส สาวกเหล่านั้น เมื่อตายไป ได้เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ผู้ใดมีจิต ประทุษร้าย พึงด่า พึงบริภาษศาสดาเจ้าลัทธิทั้ง ๗ นี้ ผู้เป็นเจ้าลัทธิ ปราศจาก ความกำหนัดในกาม มีบริวารหลายร้อยคน พร้อมด้วยหมู่สาวก ผู้นั้นจะพึง ประสบกรรมมิใช่บุญเป็นอันมากหรือ
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดมีจิตประทุษร้าย พึงด่า พึงบริภาษศาสดา เจ้าลัทธิทั้ง ๗ นี้ ผู้เป็นเจ้าลัทธิ ปราศจากความกำหนัดในกาม มีบริวารหลาย ร้อยคน พร้อมด้วยหมู่สาวก ผู้นั้นพึงประสบกรรมมิใช่บุญเป็นอันมาก แต่ผู้ใดมี จิตประทุษร้ายด่าบริภาษบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยทิฐิคนเดียว ผู้นี้ย่อมประสบกรรม มิใช่บุญมากกว่านั้นอีก ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะเราไม่กล่าวความอดทนเห็น ปานนี้ โดยเฉพาะในเพื่อนพรหมจรรย์ภายนอกจากธรรมวินัยนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักไม่มีจิต ประทุษร้ายในเพื่อนพรหมจรรย์เลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษา อย่างนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๙
อรกานุสาสนีสูตร
[๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ศาสดาชื่ออรกะ เป็น เจ้าลัทธิ ปราศจากความกำหนัดในกาม ก็อรกศาสดานั้นมีสาวกหลายร้อยคน เธอแสดงธรรมแก่สาวกอย่างนี้ว่า ดูกรพราหมณ์ ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายน้อย นิดหน่อย รวดเร็ว มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก จะพึงถูกต้องได้ด้วยปัญญา ควรกระทำกุศล ควรประพฤติพรหมจรรย์ เพราะสัตว์ที่เกิดมาแล้วจะไม่ตายไม่มี ดูกรพราหมณ์ หยาดน้ำค้างบนยอดหญ้า เมื่ออาทิตย์ขึ้นมา ย่อมแห้งหายไปได้เร็ว ไม่ตั้งอยู่นาน แม้ฉันใด ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลาย เปรียบเหมือนหยาดน้ำค้าง ฉันนั้นเหมือนกัน นิดหน่อย รวดเร็ว มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก จะพึง ถูกต้องได้ด้วยปัญญา ควรกระทำกุศล ควรประพฤติพรหมจรรย์ เพราะสัตว์ที่เกิด แล้วจะไม่ตายไม่มี ฯ ดูกรพราหมณ์ เมื่อฝนตกหนัก หนาเม็ด ฟองน้ำย่อมแตกเร็ว ตั้งอยู่ ไม่นาน แม้ฉันใด ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลาย เปรียบเหมือนฟองน้ำ ฉันนั้น เหมือนกัน นิดหน่อย รวดเร็ว มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก จะพึงถูกต้อง ได้ด้วยปัญญา ควรกระทำกุศล ควรประพฤติพรหมจรรย์ เพราะสัตว์ที่เกิดมา แล้วจะไม่ตายไม่มี ฯ ดูกรพราหมณ์ รอยไม้ที่ขีดลงไปในน้ำ ย่อมกลับเข้าหากันเร็ว ไม่ตั้งอยู่ นาน แม้ฉันใด ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลาย เปรียบเหมือนรอยไม้ที่ขีดลงไปในน้ำ ฉันนั้นเหมือนกัน ... ฯ ดูกรพราหมณ์ แม่น้ำไหลลงจากภูเขา ไหลไปไกล กระแสเชี่ยว พัดไปซึ่งสิ่งที่พอจะพัดไปได้ ไม่มีระยะเวลาหรือชั่วครู่ที่มันจะหยุด แต่ที่แท้ แม่น้ำนั้นมีแต่ไหลเรื่อยไปถ่ายเดียว แม้ฉันใด ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลาย เปรียบ เหมือนแม่น้ำที่ไหลลงจากภูเขา ฉันนั้นเหมือนกัน ... ฯ ดูกรพราหมณ์ บุรุษมีกำลัง อมก้อนเขฬะไว้ที่ปลายลิ้น แล้วพึงถ่มไป โดยง่ายดาย แม้ฉันใด ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลาย เปรียบเหมือนก้อนเขฬะ ฉันนั้นเหมือนกัน ... ฯ ดูกรพราหมณ์ ชิ้นเนื้อที่ใส่ไว้ในกะทะเหล็ก ไฟเผาตลอดทั้งวัน ย่อม จะย่อยยับไปรวดเร็ว ไม่ตั้งอยู่นาน แม้ฉันใด ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลาย เปรียบ เหมือนชิ้นเนื้อ ฉันนั้นเหมือนกัน ... ฯ ดูกรพราหมณ์ แม่โคที่จะถูกเชือด ที่เขานำไปสู่ที่ฆ่า ย่อมก้าวเท้าเดิน ไปใกล้ที่ฆ่า ใกล้ความตาย แม้ฉันใด ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลาย เปรียบเหมือน แม่โคที่จะถูกเชือด ฉันนั้นเหมือนกัน นิดหน่อย รวดเร็ว มีทุกข์มาก มีความ คับแค้นมาก จะพึงถูกต้องได้ด้วยปัญญา ควรกระทำกุศล ควรประพฤติ พรหมจรรย์ เพราะสัตว์ที่เกิดมาแล้วจะไม่ตายไม่มี ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โดยสมัยนั้น มนุษย์ทั้งหลายมีอายุประมาณ ๖๐,๐๐๐ ปี เด็กหญิงมีอายุ ๕๐๐ ปี จึงควรแก่การมีสามี ก็โดยสมัยนั้น มนุษย์ ทั้งหลายมีอาพาธ ๖ อย่างเท่านั้น คือ เย็น ร้อน หิว ระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อรกศาสดานั้น เมื่อมนุษย์ทั้งหลายมีอายุยืน ตั้งอยู่นาน มีอาพาธน้อยอย่างนี้ จักแสดงธรรมให้สาวกฟังอย่างนี้ว่า ดูกรพราหมณ์ ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายน้อย นิดหน่อย รวดเร็ว มีทุกข์มาก มีความคับแค้น มาก จะพึงถูกต้องได้ด้วยปัญญา ควรกระทำกุศล ควรประพฤติพรหมจรรย์ เพราะสัตว์ที่เกิดมาแล้วจะไม่ตายไม่มี ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในปัจจุบันนี้ เมื่อจะกล่าวโดยชอบ ก็พึงกล่าวว่า ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายน้อย นิดหน่อย รวดเร็ว มีทุกข์มาก มีความคับแค้น มาก จะพึงถูกต้องได้ด้วยปัญญา ควรกระทำกุศล ควรประพฤติพรหมจรรย์ เพราะสัตว์ที่เกิดมาแล้วจะไม่ตายไม่มี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในปัจจุบันนี้ คนที่มี อายุอยู่ได้นาน ก็เพียงร้อยปีหรือน้อยกว่านั้นบ้าง เกินกว่าบ้าง ก็คนที่มีอายุอยู่ถึง ร้อยปี ย่อมอยู่ครบ ๓๐๐ ฤดู คือ ฤดูหนาว ๑๐๐ ฤดูร้อน ๑๐๐ ฤดูฝน ๑๐๐ คนที่มีอายุอยู่ถึง ๓๐๐ ฤดู ย่อมอยู่ครบ ๑,๒๐๐ เดือน คือ ฤดูหนาว ๔๐๐ เดือน ฤดูร้อน ๔๐๐ เดือน ฤดูฝน ๔๐๐ เดือน คนที่มีอายุอยู่ถึง ๑,๒๐๐ เดือน ย่อม อยู่ครบ ๒,๔๐๐ กึ่งเดือน คือ ฤดูหนาว ๘๐๐ กึ่งเดือน ฤดูร้อน ๘๐๐ กึ่งเดือน ฤดูฝน ๘๐๐ กึ่งเดือน คนที่มีอายุอยู่ครบ ๒,๔๐๐ กึ่งเดือน ย่อมอยู่ครบ ๓๖,๐๐๐ ราตรี คือ ฤดูหนาว ๑,๒๐๐ ราตรี ฤดูร้อน ๑,๒๐๐ ราตรี ฤดูฝน ๑,๒๐๐ ราตรี คนที่มีอายุอยู่ถึง ๓๖,๐๐๐ ราตรี ย่อมบริโภคอาหาร ๗๒,๐๐๐ เวลา คือ ฤดูหนาว ๒๔,๐๐๐ เวลา ฤดูร้อน ๒๔,๐๐๐ เวลา ฤดูฝน ๒๔,๐๐๐ เวลา พร้อมๆ กับดื่ม นมมารดาและอันตรายแห่งการบริโภคอาหาร ใน ๒ ประการนั้น อันตรายแห่งการ บริโภคอาหาร มีดังนี้ คือ คนโกรธย่อมไม่บริโภคอาหาร คนมีทุกข์ก็ไม่บริโภค อาหาร คนป่วยไข้ก็ไม่บริโภคอาหาร คนรักษาอุโบสถก็ไม่บริโภคอาหาร เพราะ ไม่ได้อาหารจึงไม่บริโภคอาหาร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราได้กำหนดอายุ ประมาณแห่ง อายุ ฤดู ปี เดือน กึ่งเดือน ราตรี วัน การบริโภคอาหาร และอันตรายแห่งการ บริโภคอาหาร ของมนุษย์ผู้มีอายุร้อยปี ด้วยประการดังนี้แล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย กิจใดที่ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์เอื้อเอ็นดู พึงกระทำแก่ สาวก กิจนั้นเรากระทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่น เรือนว่าง ขอเธอทั้งหลายจงเพ่งพินิจ อย่าประมาท อย่าต้องเป็นผู้เดือดร้อนใจใน ภายหลังเลย นี้คืออนุศาสนีของเราสำหรับเธอทั้งหลาย ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบมหาวรรคที่ ๒
--------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. หิริสูตร ๒. สุริยสูตร ๓. นครสูตร ๔. ธัมมัญญูสูตร ๕. ปาริ- *ฉัตตกสูตร ๖. สักกัจจสูตร ๗. ภาวนาสูตร ๘. อัคคิขันธูปมสูตร ๙. สุเนตต- *อนุสาสนีสูตร ๑๐. อรกานุสาสนีสูตร
--------------
********************************
ท่านผู้อ่านโปรดคลิกที่ลิงค์นี้ครับ http://hawk.blogth.com/18061/%B8%C3%C3%C1%CD%D1%B9%E0%BB%C3%D5%C2%BA%E4%B4%E9%B4%E9%C7%C2%B7%C3%D1%BE%C2%EC.html

ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่านครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น