วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ความใฝ่ฝันของสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย

ใจความสำคัญของพระสูตรในวันนี้อยู่ที่ปหาราทสูตรที่9 และอุโปสถสูตรที่10ครับ จะอธิบายถึงปหาราทสูตรก่อนครับ ท่านที่อ่านเข้าใจแล้วก็ขอให้อ่านพระสูตรอื่นๆในวรรคเดียวกันครับ

ผมมีเรื่องที่แปลกแต่ว่าเป็นเรื่องจริงสักเรื่องจะเล่าให้ได้ทราบครับ ที่บ้านของผมนั้น ในห้องน้ำนั้นมีท่อระบายน้ำอยู่ ใต้ท่อระบายน้ำจะเป็นสถานที่แบบไหน กว้างขวางขนาดไหนนั้น ผมก็ไม่ทราบครับ แต่ว่าบางครั้งบางคราวมีตะขาบตัวเล็กบ้าง ตัวปานกลางบ้าง ตัวใหญ่บ้าง ออกจากปากท่อระบายน้ำมาเดินบนพื้นห้องน้ำ (แต่ว่าห้องน้ำบ้านผมนั้นไม่ได้ถึงกับสกปรกโสโครกขนาดหนักนะครับ) บางครั้งก็มีแมลงหน้าตาแปลกออกมาวิ่งเล่น บางทีก็มีแมงป่องตัวเล็กๆ โขคดีที่สัตว์เหล่านี้ไม่ได้ออกมาจากห้องน้ำเข้าสู่ภายในบ้าน โดยเฉพาะตะขาบตัวโตๆ สาเหตุอาจจะเพราะในห้องน้ำนั้นมีความชื้นแฉะซึ่งสัตว์พวกนี้ชอบ ยกเว้นที่เข้ามาในบ้านนานๆจะเจอก็จะเป็นตะขาบตัวเล็กๆ พอถูกคนในบ้านเห็นก็จะถูกจัดการทั้งหมด เพราะมนุษย์กับตะขาบคงใช้ชีวิตร่วมกันไม่ได้ครับ

ผมมีความเห็นเป็นทฤษฎีว่า ตะขาบนี้เป็นสัตว์ที่มีสติปัญญาเหมือนมนุษย์ แต่เขามีกรรมจึงต้องมีร่างกายอย่างนั้น ผมเคยอ่านเจอเกี่ยวกับพฤติกรรมของตะขาบหลายเรื่อง รู้สึกว่าพวกเขาฉลาดครับ มีอยู่วันหนึ่งที่เกิดเรื่องแปลกขึ้น ผมกำลังอาบน้ำใช้ฝักบัวอยู่ ตะขาบตัวหนึ่งตัวยาวเกือบฟุตพยายามจะเลื้อยมาหาแต่มาติดที่ฝักบัวซึ่งฉีดน้ำไหลแรงเข้าพอดี ผมมาเห็นเข้าก็เลยหยิบฝักบัวอันนั้นฉีดไล่มัน เจ้าตะขาบจอมซนนั้นก็ว่าง่าย เลื้อยลงท่อระบายน้ำไปแต่โดยดี ไม่กี่วันต่อมาคุณแม่ผมกำลังอยู่ในห้องน้ำ ตะขาบตัวเดิมเลื้อยมาหาคุณแม่ คุณแม่ผมใช้ขันน้ำใบใหญ่ตักน้ำสาดไล่ไป เขาก็เลื้อยลงท่อระบายน้ำไปแต่โดยดี ผมได้ยินเสียงเอะอะก็ชะโงกหน้าเข้าไปก็เห็นเขากำลังลงท่อระบายน้ำไป ต่อมาไม่กี่วัน ผมได้ยินคำบอกเล่าจากคนในบ้านว่า ตอนที่เปิดประตูห้องน้ำไว้ และเปิดประตูออกหลังบ้านไว้พร้อมกัน เจ้าตะขาบนั้นได้ถือโอกาสเลื้อยออกจากห้องน้ำ ลงท่อระบายน้ำหลังบ้านซึ่งก็น่าจะออกไปสู่ทางระบายน้ำใหญริมถนนได้ ก็เลยได้ทราบความประสงค์ของเขาน่ะครับ

มาเข้าเรื่องปหาราทสูตรครับ พระสูตรนี้กล่าวเรื่องจอมอสูรท่านหนึ่งชื่อปหาราทะที่ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงเหล่าอสูรทั้งหลายที่ต่างมีความพอใจ ความยินดีในมหาสมุทรด้วยเหตุผล8ประการ ก็พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นย่อมทรงแสดงธรรมเพื่อโปรดสรรพสัตว์ทั้งหลายโดยแท้จริง สำหรับเหล่าอสูรนั้นคือเทวดาที่ครอบครองพิภพดาวดึงส์มาก่อนที่ท้าวสักกะเทวราชจะมาอุบัติขึ้นเป็นจอมเทพแห่งสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นี้ ครั้นแล้วท้าวโกสีย์ได้ใช้อุบายขับไล่เหล่าอสูรให้ไปอยู่ในบริเวณนครอสูรซึ่งได้มาเพราะอำนาจบุญของพวกตนในเมื่อถูกขับไล่มาแล้ว ซึ่งมีปรากฏในพระไตรปิฎกหลายแห่งว่าเหล่าเทวดาในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้นรบราอยู่เหล่าอสูรบ่อยครั้ง ซึ่งความจริงแล้วท้าวเวปจิตตาสูรผู้เป็นราชาแห่งเหล่าอสูรนั้นก็เป็นผู้มีคุณธรรมครับ อีกทั้งพระยาอสุรินทราหูผู้เป็นใหญ่ในเหล่าอสูรก็เป็นพระนิยตโพธิสัตว์ สำหรับความยินดีของเหล่าอสูรในมหาสมุทร8ประการนั้นก็คือ
1.มหาสมุทรมีความลาดชัน ค่อยๆทวีความลึกลงไปตามลำดับ ไม่ได้โกรกชันเหมือนกับหน้าผา เหล่าอสูรเห็นมหาสมุทรเป็นเช่นนี้แล้วย่อมยินดีในเรื่องนี้
2.มหาสมุทรไม่มีที่จะล้นฝั่ง เหล่าอสูรเห็นมหาสมุทรเป็นเช่นนี้แล้วย่อมยินดีในเรื่องนี้
3.มหาสมุทรย่อมไม่เกลื่อนด้วยซากศพ เพราะมหาสมุทรย่อมพัดพาซากศพทั้งหลายเข้าสู่ฝั่ง เหล่าอสูรเห็นมหาสมุทรเป็นเช่นนี้แล้วย่อมยินดีในเรื่องนี้
4.แม่น้ำใหญ่น้อยทั้งหลายไม่ว่าจะจะมีชื่อเดิมว่าอย่างไร พอไหลลงมหาสมุทรแล้วก็ละซึ่งชื่อเดิม เหล่าอสูรเห็นมหาสมุทรเป็นเช่นนี้แล้วย่อมยินดีในเรื่องนี้
5.ไม่ว่าน้ำจากแม่น้ำทั้งหลายจะไหลมารวมกันในมหาสมุทร หรือสายฝนจะตกลงสู่มหาสมุทรก็ตาม มหาสมุทรนั้นก็ยังเป็นเช่นเดิม มิได้พร่องหรือเต็มไปจากเดิมที่เป็นอยู่ เหล่าอสูรเห็นมหาสมุทรเป็นเช่นนี้แล้วย่อมยินดีในเรื่องนี้
6.มหาสมุทรมีรสเดียวคือรสเค็ม เหล่าอสูรเห็นมหาสมุทรเป็นเช่นนี้แล้วย่อมยินดีในเรื่องนี้
7.ในมหาสมุทรนั้นมีรัตนะและแก้วมณีหลายชนิด เช่น แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ ทับทิม มรกต เงิน ทอง มุก ฯลฯ เหล่าอสูรเห็นมหาสมุทรเป็นเช่นนี้แล้วย่อมยินดีในเรื่องนี้
8.ในมหาสมุทรนั้นย่อมมีอยู่ซึ่งสัตว์มีร่างกายใหญ่น้อยทั้งหลาย เช่นปลาติมิ ปลาติมิงคลา ปลาติมิรมิงคลา เหล่านาค ครุฑ อสูร และคนธรรพ์ ฯลฯ บางพวกพวกมีร่างกายได้100โยชน์ 200โยชน์ 300โยชน์ หรือยื่งกว่านั้นบ้าง เหล่าอสูรเห็นมหาสมุทรเป็นเช่นนี้แล้วย่อมยินดีในเรื่องนี้

เมื่อจอมอสูรกราบทูลดั่งนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดั่งนี้ว่า ดูกร ปหาราทะจอมอสูร ในพระบวรพุทธศาสนาของพระองค์นี้ ภิกษุทั้งหลายย่อมมีความยินดีในความเป็นพระภิกษุด้วยความอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาจำนวน8ประการ ดั่งนี้คือ
1.พระธรรมวินัยนั้นย่อมมีการศึกษาไปโดยลำดับ มิใช่พอมาเริ่มต้นศึกษาแล้วก็บรรลุอรหัตตผลในทันที เหล่าภิกษุทั้งหลายทราบถึงความอัศจรรย์ในพระบวรพุทธศาสนาดังนี้แล้วย่อมอภิรมย์อยู่
2.เหล่าภิกษุสาวกทั้งหลายของพระองค์นั้น ย่อมไม่ล่วงสิกขาบทที่พระองค์บัญญัติไว้โดยชอบแม้ด้วยเหตุแห่งชีวิต เหล่าภิกษุทั้งหลายทราบถึงความอัศจรรย์ในพระบวรพุทธศาสนาดังนี้แล้วย่อมอภิรมย์อยู่
3.เหล่าคนผู้ทุศีล ไม่ใช่สมณะแต่ปฏิญาณตนว่าเป็นสมณะ เป็นผู้ปกปิดบาปธรรมของตนมิให้ผู้อื่นรู้ เป็นคนเน่าใน เป็นประดุจหยากเยื่อ เหล่านี้ แม้จะนั่งอยู่ใกล้สงฆ์แต่ก็ชื่อว่าย่อมอยู่ไกลสงฆ์ บุคคลเหล่านี้ย่อมถูกพระภิกษุทั้งหลายประชุมกันแล้วอัปเปหิออกจากพระศาสนาเสียในทันที เหล่าภิกษุทั้งหลายทราบถึงความอัศจรรย์ในพระบวรพุทธศาสนาดังนี้แล้วย่อมอภิรมย์อยู่
4.ชนทั้งหลายในทุกวรรณะ ทั้งกษัตริย์ พราหมณ์ แพษย์ ศูทร เมื่อออกบวชแล้วย่อมละทิ้งซึ่งวรรณะเดิม ถึงความเป็นพระสมณะศากยบุตรด้วยกันทั้งสิ้น เหล่าภิกษุทั้งหลายทราบถึงความอัศจรรย์ในพระบวรพุทธศาสนาดังนี้แล้วย่อมอภิรมย์อยู่
5.แม้ภิกษุผู้บรรลุอรหัตตผลทั้งหลายจะดับขันธปรินิพพานไป พระนิพพานธาตุก็มิได้ปรากฏว่าจะเต็มหรือพร่องไปเลย เหล่าภิกษุทั้งหลายทราบถึงความอัศจรรย์ในพระบวรพุทธศาสนาดังนี้แล้วย่อมอภิรมย์อยู่
6.ธรรมทั้งหลายในพระบวรพุทธศาสนานี้ย่อมมีเพียงรสเดียว คือวิมุตติรส เหล่าภิกษุทั้งหลายทราบถึงความอัศจรรย์ในพระบวรพุทธศาสนาดังนี้แล้วย่อมอภิรมย์อยู่7.พระบวรพุทธศาสนานี้ย่อมอุดมด้วยธรรมรัตนะ ได้แก่ อิทธิบาท4 สัมมัปปธาน4 สติปัฏฐาน4 อินทรีย์5 พละ5 โพชฌงค์7 อริยมรรคมีองค์8 เหล่าภิกษุทั้งหลายทราบถึงความอัศจรรย์ในพระบวรพุทธศาสนาดังนี้แล้วย่อมอภิรมย์อยู่
8.สิ่งมีชีวิตที่มีบุญบารมีและคุณธรรมในพระศาสนานี้ย่อมมีอยู่มาก ท่านเหล่านั้นได้แก่ พระโสดาบัน ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นพระโสดาบัน พระสกทาคามี ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นพระสกทาคามี พระอนาคามี ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นพระอนาคามี พระอรหันต์ ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นพระอรหันต์ เหล่าภิกษุทั้งหลายทราบถึงความอัศจรรย์ในพระบวรพุทธศาสนาดังนี้แล้วย่อมอภิรมย์อยู่

พระสูตรในวันนี้ยกมาจากพระสุตตันตปิฎก เล่ม15 อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต มหาวรรคที่2 ครับ

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

************************
มหาวรรคที่ ๒
เวรัญชสูตร
[๑๐๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ควงไม้สะเดาที่นเฬรุยักษ์สิง สถิต ใกล้กรุงเวรัญชา ครั้งนั้น เวรัญชพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง ที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกัน ไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าได้ยินมาว่า พระสมณโคดมไม่ไหว้ไม่ลุกรับพวกพราหมณ์ผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยมาโดยลำดับ หรือไม่เชื้อเชิญด้วยอาสนะ ท่านพระโคดม ข้อนี้เป็นเช่นนั้นจริง เพราะว่าท่านพระโคดมไม่ไหว้ไม่ลุกรับพวกพราหมณ์ ผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยมาโดยลำดับ หรือไม่เชื้อเชิญด้วยอาสนะ ข้อนี้ ไม่สมควรเลย ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มาร โลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เรา ไม่เล็งเห็นบุคคลที่เราควรไหว้ ควรลุกรับ หรือควรเชื้อเชิญด้วยอาสนะ เพราะ ว่าตถาคตพึงไหว้ พึงลุกรับ หรือพึงเชื้อเชิญบุคคลใดด้วยอาสนะ แม้ศีรษะของ บุคคลนั้นก็จะพึงขาดตกไป ฯ
ว. ท่านพระโคดม ไม่เป็นรสชาติ ฯ
พ. ดูกรพราหมณ์ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดม ไม่เป็น รสชาติ ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น มีอยู่ เพราะรสในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะเหล่านั้น ตถาคตละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาล ยอดด้วน ทำให้ไม่มี ไม่ให้เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา นี้แลเหตุที่เขากล่าวหาเรา ว่า พระสมณโคดม ไม่เป็นรสชาติ ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบ แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่าน มุ่งหมายกล่าว ฯ
ว. ท่านพระโคดมเป็นคนไม่มีโภคะ ฯ
พ. ดูกรพราหมณ์ เหตุที่เขากล่าวหาว่า พระสมณโคดมเป็นคนไม่มี โภคะ ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น มีอยู่ เพราะโภคะ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะเหล่านั้น ตถาคตละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาล ยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา นี้แลเหตุที่เขากล่าวหาเรา ว่า พระสมณโคดมเป็นคนไม่มีโภคะ ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบ แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่าน มุ่งหมายกล่าว ฯ
ว. ท่านพระโคดมเป็นคนกล่าวการไม่ทำ ฯ
พ. ดูกรพราหมณ์ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นคน กล่าวการไม่ทำดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น มีอยู่ เพราะเรากล่าวการไม่ทำกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เรากล่าวการไม่ทำซึ่งธรรมที่เป็นบาปอกุศลหลายอย่าง นี้แล เหตุที่เขากล่าวหาเราว่าพระสมณโคดมเป็นคนกล่าวการไม่ทำ ดังนี้ ชื่อว่ากล่าว ชอบ แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งหมายกล่าว ฯ
ว. ท่านพระโคดมเป็นคนกล่าวความขาดสูญ ฯ
พ. ดูกรพราหมณ์ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นคน กล่าวความขาดสูญ ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น มีอยู่ เพราะเรากล่าวความขาดสูญ แห่งราคะ โทสะ โมหะ เรากล่าวความขาดสูญแห่งธรรมที่เป็นบาปอกุศลหลาย อย่าง นี้แลเหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นคนกล่าวความขาดสูญ ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบ แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งหมายกล่าว ฯ
ว. ท่านพระโคดมเป็นคนช่างเกลียด ฯ
พ. ดูกรพราหมณ์ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นคนช่าง เกลียด ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น มีอยู่ เพราะเรากล่าวการเกลียดกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เรากล่าวการเกลียดความถึงพร้อมแห่งธรรมที่เป็นบาปอกุศล หลายอย่าง นี้แลเหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นคนช่างเกลียด ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบ แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งหมายกล่าว ฯ
ว. ท่านพระโคดมเป็นคนกำจัด ฯ
พ. ดูกรพราหมณ์ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นคนกำจัด ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น มีอยู่ เพราะเราแสดงธรรมเพื่อกำจัดราคะ โทสะ โมหะ แสดงธรรมเพื่อกำจัดธรรมที่เป็นบาปอกุศลหลายอย่าง นี้แลเหตุที่เขากล่าว หาเราว่า พระสมณโคดมเป็นคนกำจัด ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบ แต่ไม่ใช่เหตุที่ ท่านมุ่งหมายกล่าว ฯ
ว. พระโคดมเป็นคนเผาผลาญ ฯ
พ. ดูกรพราหมณ์ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นคน เผาผลาญ ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น มีอยู่ เพราะเรากล่าวธรรมที่เป็นบาปอกุศล คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ว่าเป็นธรรมควรเผาผลาญ ธรรมที่เป็น บาปอกุศลซึ่งควรเผาผลาญอันผู้ใดละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือน ตาลยอดด้วน ทำให้ไม่มี ไม่ให้เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา เรากล่าวผู้นั้นว่าเป็นคน เผาผลาญ ดูกรพราหมณ์ ธรรมทั้งหลายที่เป็นบาปอกุศลซึ่งควรเผาผลาญ ตถาคต ละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้ เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา นี้แลเหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นคน เผาผลาญ ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบ แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งหมายกล่าว ฯ
ว. ท่านพระโคดมเป็นคนไม่ผุดเกิด ฯ
พ. ดูกรพราหมณ์ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นคนไม่ ผุดเกิด ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น มีอยู่ เพราะการนอนในครรภ์ การเกิดใน ภพใหม่ อันผู้ใดละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำ ไม่ให้มี ไม่ให้เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา เรากล่าวผู้นั้นว่า เป็นคนไม่ผุดเกิด ดูกร พราหมณ์ การนอนในครรภ์ การเกิดในภพใหม่ ตถาคตละได้แล้ว ตัดรากขาด แล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำให้ไม่มี ไม่ให้เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา นี้แลเหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นคนไม่ผุดเกิด ดังนี้ ชื่อว่ากล่าว ชอบ แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งหมายกล่าว ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนฟองไก่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง ฟองไก่เหล่านั้น แม่ไก่กกดีแล้ว อบดีแล้ว ฟักดีแล้ว บรรดาลูกไก่เหล่านั้น ลูกไก่ตัวใดทำลายกะเปาะฟองด้วยเล็บเท้าหรือ ด้วยจะงอยปากออกมาได้โดยสวัสดีก่อนกว่าเขา ลูกไก่ตัวนั้นควรเรียกว่ากระไร จะเรียกว่าพี่หรือน้อง ฯ
ว. ท่านพระโคดม ควรเรียกว่าพี่ เพราะมันแก่กว่าเขา ฯ
พ. ดูกรพราหมณ์ ฉันนั้นเหมือนกันแล บรรดาหมู่สัตว์ผู้ตกอยู่ใน อำนาจอวิชชา เกิดในฟอง อันกะเปาะฟองหุ้มห่อแล้ว เราผู้เดียวเท่านั้นได้ ทำลายกะเปาะฟอง คือ อวิชชา แล้วได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก เราแลเป็นผู้เจริญที่สุด ประเสริฐที่สุดของโลก เพราะเราปรารภความเพียรไม่ย่อ หย่อน ดำรงสติมั่นไม่ฟั่นเฟือน กายสงบไม่กระสับกระส่าย จิตดำรงมั่นเป็น เอกัคคตา เรานั้นแล สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติ และสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เราบรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสแห่งจิต ณ ภายใน เป็น ธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิด แต่สมาธิอยู่ เรามีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็น ผู้มีสติอยู่เป็นสุข เราบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่

เรานั้น เมื่อ จิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อนควรแก่การ งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้แล้ว จึงโน้มน้อมจิตไปเพื่อบุพเพนิวาสานุสสติญาณ เรานั้นย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้หนึ่งชาติบ้าง สอง ชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติ ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบ ชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดวัฎฏกัล์ปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัล์ปเป็นอันมากบ้าง ตลอด สังวัฏฏวิวัฏฏกัล์ปเป็นอันมากบ้าง ว่าในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนด อายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น เราก็มีชื่ออย่าง นั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์ อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เราย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอุเทศ พร้อมทั้งอาการ ด้วย ประการฉะนี้ ดูกรพราหมณ์ วิชชาที่หนึ่งนี้แล เราได้บรรลุแล้วในปฐมยามแห่ง ราตรี อวิชชาเรากำจัดได้แล้ว วิชชาเกิดแก่เราแล้ว ความมืดเรากำจัดได้แล้ว แสง สว่างเกิดแก่เราแล้ว เหมือนที่เกิดแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลส ส่งจิตไปแล้วอยู่ ฉะนั้น ความชำแรกออกครึ่งหนึ่งของเรานี้แล เป็นเหมือนการ ทำลายออกจากกะเปาะฟองแห่งลูกไก่ ฉะนั้น

เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลสปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้แล้ว จึงโน้มน้อมจิตไปเพื่อ ญาณเครื่องรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย เรานั้นย่อมเล็งเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วย ทิพจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยะเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ สัตว์เหล่านั้น เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยะเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำ ด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ สัตว์เหล่านั้น เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เราย่อมเล็งเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อม รู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ซึ่งเป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้ ดูกรพราหมณ์ วิชชาที่สอง นี้แล เราได้บรรลุแล้วในมัชฌิมยามแห่งราตรี อวิชชาเรากำจัดได้แล้ววิชชาเกิด แก่เราแล้ว ความมืดเรากำจัดได้แล้ว แสงสว่างเกิดแก่เราแล้ว เหมือนที่เกิดแก่ บุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลส ส่งจิตไปแล้วอยู่ ฉะนั้นความ ชำแรกออกครั้งที่สองของเรานี้แล เป็นเหมือนการทำลายออกจากกะเปาะฟองแห่ง ลูกไก่ ฉะนั้น ฯ

เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจาก อุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้แล้ว จึงโน้มน้อม จิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ เรานั้นรู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เหล่านี้อาสวะ นี้เหตุให้เกิด อาสวะ นี้ความดับอาสวะ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ เมื่อเรารู้เห็นอย่างนี้ จิตหลุดพ้นแล้วแม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิต หลุดพ้นแล้ว จึงเกิดญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว และรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี ดูกรพราหมณ์ วิชชาที่สามนี้แล เราได้บรรลุแล้วในปัจฉิมยามแห่งราตรี อวิชชาเรากำจัดได้แล้ว วิชชาเกิดแก่เราแล้ว ความมืดเรากำจัดได้แล้ว แสงสว่าง เกิดแก่เราแล้ว เหมือนที่เกิดแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลส ส่ง จิตไปแล้วอยู่ ฉะนั้น ความชำแรกออก ครั้งที่สามของเรานี้แล เป็นเหมือนการ ทำลายออกจากกะเปาะฟองแห่งลูกไก่ ฉะนั้น ฯ
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว เวรัญชพราหมณ์ได้กราบทูลว่า ท่าน พระโคดมเป็นผู้เจริญที่สุด ท่านพระโคดมเป็นผู้ประเสริฐที่สุด ข้าแต่ท่าน พระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของ พระองค์แจ่มแจ้งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือน บุคคลหงายของของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่อง ประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า คนมีจักษุจักเห็นรูป ฉะนั้น ข้าพระพุทธเจ้านี้ขอถึง ท่านพระโคดม กับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระองค์โปรด ทรงจำข้าพระพุทธเจ้าว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต จำเดิมแต่วันนี้ เป็นต้นไป ฯ
จบสูตรที่ ๑
สีหสูตร
[๑๐๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่า มหาวัน ใกล้นครเวสาลี สมัยนั้นแล เจ้าลิจฉวีผู้มีชื่อเสียงเป็นจำนวนมาก นั่ง ประชุมกันที่สัณฐาคาร กล่าวสรรเสริญ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ โดย อเนกปริยาย ฯ
ก็สมัยนั้นแล สีหเสนาบดี สาวกของนิครนถ์นั่งอยู่ในบริษัทนั้น ลำดับนั้น สีหเสนาบดีได้มีความคิดดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น จักเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยไม่ต้องสงสัย จริงอย่างนั้น เจ้าลิจฉวีผู้มีชื่อจำนวนมาก ประชุมกันที่สัณฐาคาร กล่าวสรรเสริญพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์โดย อเนกปริยาย ผิฉะนั้น เราพึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้นเถิด ลำดับนั้น สีหเสนาบดีเข้าไปหานิครนถ์นาฏบุตรถึงที่อยู่ ครั้น แล้ว จึงกล่าวกะนิครนถ์นาฏบุตรว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าปรารถนาจะเข้า ไปเฝ้าพระสมณโคดม ฯ

นิครนถ์นาฏบุตรกล่าวว่า ดูกรสีหะ ก็ท่านเป็นกิริยวาท จักเข้าไปเฝ้า พระสมณโคดมผู้เป็นอกิริยวาททำไม เพราะพระสมณโคดมเป็นอกิริยวาท จึงแสดง ธรรมเพื่ออกิริยวาท และแนะนำพวกสาวกด้วยอกิริยวาทนั้น ครั้งนั้น การตระ เตรียมที่จะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคของสีหเสนาบดี ระงับไป ฯ
แม้ครั้งที่สอง เจ้าลิฉวีผู้มีชื่อเสียงเป็นจำนวนมาก ได้นั่งประชุมกันที่ สัณฐาคาร กล่าวสรรเสริญพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ โดยอเนกปริยาย แม้ครั้งที่สอง สีหเสนาบดีก็มีความคิดดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น จัก เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยไม่ต้องสงสัย ... การตระเตรียมที่จะเข้าไป เฝ้าพระผู้มีพระภาคของสีหเสนาบดีระงับไป ฯ

แม้ครั้งที่สาม เจ้าลิจฉวีผู้มีชื่อเสียงเป็นจำนวนมาก นั่งประชุมกันที่ สัณฐาคาร กล่าวสรรเสริญพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ โดยอเนกปริยาย แม้ครั้งที่สาม สีหเสนาบดีก็มีความคิดดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น จัก เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยไม่ต้องสงสัย จริงอย่างนั้น เจ้าลิจฉวีผู้มี ชื่อเสียงเป็นจำนวนมาก นั่งประชุมกันที่สัณฐาคาร กล่าวสรรเสริญพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ โดยอเนกปริยาย พวกนิครนถ์ทั้งหลาย เราจะลาหรือไม่ลา จักทำอะไรเราได้ ผิฉะนั้นเราจะไม่ลาละ พึงเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นเถิด ฯ

ลำดับนั้น สีหเสนาบดีออกจากกรุงเวสาลี ในเวลายังวัน พร้อมด้วยรถ ประมาณ ๕๐๐ คัน เพื่อเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ครั้นไปด้วยยานเท่าที่ยานจะ ไปได้ แล้วลงจากยานเดินตรงเข้าไปยังอาราม แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มี พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับมาดังนี้ว่า พระสมณโคดมเป็นอกิริยวาท ย่อมแสดงธรรมเพื่ออกิริยวาท และแนะนำสาวกด้วย อกิริยวาทนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชนเหล่าใดกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดม เป็นอกิริยวาท ย่อมแสดงธรรมเพื่ออกิริยวาท และแนะนำสาวกด้วยอกิริยวาทนั้น คนเหล่านั้นจะชื่อว่ากล่าวตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว มิใช่กล่าวตู่พระผู้มี พระภาคด้วยคำอันไม่จริง และพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรมหรือ การคล้อยตาม วาทะอันชอบแก่เหตุไรๆ จะไม่มาถึงฐานะอันสมควรติเตียนแลหรือ เพราะ ข้าพระองค์ไม่ประสงค์จะกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเลย ฯ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสีหะ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นอกิริยวาท ผู้กล่าวกรรมอันบุคคลทำอยู่ว่า ไม่เป็นอันทำ แสดงธรรมเพื่ออกิริยวาท และแนะนำสาวกทั้งหลายด้วยอกิริยาวาท ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบ นั้น มีอยู่ ฯ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นกิริยวาท ผู้กล่าวกรรมอัน บุคคลทำอยู่ว่า เป็นอันทำ ย่อมแสดงธรรมเพื่อกิริยวาทและแนะนำสาวกทั้งหลาย ด้วยกิริยวาท ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น มีอยู่ ฯ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นอุจเฉทวาท ผู้กล่าวความ ขาดสูญ ย่อมแสดงธรรมเพื่ออุจเฉทวาท และแนะนำสาวกทั้งหลายด้วยอุจเฉทวาท ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น มีอยู่ ฯ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นเชคุจฉี คนช่างเกลียด ย่อมแสดงธรรมเพื่อเชคุจฉี และแนะนำสาวกทั้งหลายด้วยเชคุจฉี ดังนี้ ชื่อว่า กล่าวชอบนั้น มีอยู่ ฯ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นเวนยิกะ คนกำจัด ย่อม แสดงธรรมเพื่อกำจัด และแนะนำสาวกทั้งหลายด้วยการกำจัด ดังนี้ ชื่อว่ากล่าว ชอบนั้น มีอยู่ ฯ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นตปัสสี คนเผาผลาญ ย่อม แสดงธรรมเพื่อเผาผลาญ และแนะนำสาวกทั้งหลายด้วยการเผาผลาญ ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น มีอยู่ ฯ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นอัปปคัพภะ ไม่ผุดไม่เกิด ย่อมแสดงธรรมเพื่อไม่ผุดไม่เกิด และแนะนำพวกสาวกทั้งหลายด้วยการไม่ผุดไม่ เกิด ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น มีอยู่ ฯ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นอัสสัตถะ คนใจเบา ย่อม แสดงธรรมเพื่อความใจเบา และแนะนำสาวกทั้งหลาย ด้วยการใจเบา ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น มีอยู่ ฯ ดูกรสีหะ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นอกิริยวาท ย่อม แสดงธรรมเพื่ออกิริยวาท และแนะนำพวกสาวกด้วยอกิริยวาท ดังนี้ ชื่อว่ากล่าว ชอบนั้น เป็นไฉน ดูกรสีหะ เพราะเรากล่าวการไม่ทำกายทุจริต วจีทุจริต มโน ทุจริต เรากล่าวการไม่ทำซึ่งธรรมอันเป็นบาปอกุศลหลายอย่าง นี้แลเป็นเหตุที่ เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นอกิริยวาท ย่อมแสดงธรรมเพื่ออกิริยวาท และแนะนำสาวกทั้งหลายด้วยอกิริยวาท ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบ ฯ ดูกรสีหะ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นกิริยวาท ย่อม แสดงธรรมเพื่อกิริยวาท และแนะนำพวกสาวกด้วยกิริยวาท ดังนี้ ชื่อว่ากล่าว ชอบนั้น เป็นไฉน ดูกรสีหะ เพราะเรากล่าวการทำกายสุจริต วจีสุจริต มโน สุจริต กล่าวการทำกุศลธรรมหลายอย่าง นี้แลเป็นเหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระ สมณโคดมเป็นกิริยวาท ย่อมแสดงธรรมเพื่อกิริยวาท และแนะนำสาวกทั้งหลาย ด้วยกิริยวาท ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบ ฯ ดูกรสีหะ ก็เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นอุจเฉทวาท ย่อม แสดงธรรมเพื่ออุจเฉทวาท และแนะนำสาวกทั้งหลายด้วยอุจเฉทวาท ดังนี้ ชื่อ ว่ากล่าวชอบนั้น เป็นไฉน ดูกรสีหะ เพราะเรากล่าวความขาดสูญแห่งราคะ โทสะ โมหะ และธรรมอันเป็นบาปอกุศลหลายอย่าง นี้แลเป็นเหตุที่เขากล่าว หาเราว่าพระสมณโคดมเป็นอุจเฉทวาท ย่อมแสดงธรรมเพื่ออุจเฉทวาทและแนะนำ สาวกทั้งหลายด้วยอุจเฉทวาท ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบ ฯ ดูกรสีหะ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นคนช่างเกลียด ย่อมแสดงธรรมเพื่อความช่างเกลียด และแนะนำสาวกทั้งหลายด้วยความ ช่างเกลียด ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้นเป็นไฉน ดูกรสีหะ เพราะเราเกลียดชัง กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต และเกลียดชังการเข้าถึงธรรมอันเป็นบาปอกุศล หลายอย่าง นี้แลเป็นเหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นคนช่างเกลียด ย่อมแสดงธรรมเพื่อความช่างเกลียด และแนะนำสาวกด้วยความช่างเกลียด ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบ ฯ ดูกรสีหะ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นคนกำจัด ย่อม แสดงธรรมเพื่อกำจัด และแนะนำสาวกทั้งหลายด้วยการกำจัด ดังนี้ ชื่อว่ากล่าว ชอบนั้น เป็นไฉน ดูกรสีหะ เพราะเราแสดงธรรมเพื่อกำจัดราคะ โทสะ โมหะ และธรรมอันเป็นบาปอกุศลหลายอย่าง นี้แลเป็นเหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นคนกำจัด ย่อมแสดงธรรมเพื่อกำจัด และแนะนำสาวก ทั้งหลายด้วยการกำจัด ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบ ฯ ดูกรสีหะ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นคนเผาผลาญ ย่อมแสดงธรรมเพื่อความเผาผลาญ และแนะนำสาวกทั้งหลายด้วยการเผาผลาญ ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น เป็นไฉน ดูกรสีหะ เพราะเรากล่าวธรรมอันเป็นบาป อกุศล คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ว่าเป็นธรรมควรเผาผลาญ ดูกรสีหะ ผู้ใดแลละธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่ควรเผาผลาญได้แล้ว ตัดรากขาด แล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา เรากล่าวผู้นั้นว่า เป็นผู้เผาผลาญ ดูกรสีหะ ตถาคตละธรรมอันเป็นบาปอกุศล ได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิด อีกต่อไปเป็นธรรมดา นี้แลเป็นเหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นคน เผาผลาญ ย่อมแสดงธรรมเพื่อความเผาผลาญ และแนะนำสาวกทั้งหลายด้วย การเผาผลาญ ดังนี้ ชื่อว่า กล่าวชอบ ฯ ดูกรสีหะ ก็เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นคนไม่ผุดไม่เกิด ย่อมแสดงธรรมเพื่อความไม่ผุดไม่เกิด และแนะนำสาวกทั้งหลายด้วยการไม่ผุด ไม่เกิด ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น เป็นไฉน ดูกรสีหะ ผู้ใดแลละการนอน ในครรภ์ การเกิดในภพใหม่ได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาล ยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา เรากล่าวผู้นั้นว่า ผู้ไม่ผุด ไม่เกิด ตถาคตละการนอนในครรภ์ การเกิดในภพใหม่ได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา นี้แล เป็นเหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นคนไม่ผุดไม่เกิด ย่อมแสดงธรรม เพื่อความไม่ผุดไม่เกิด และแนะนำสาวกทั้งหลายด้วยการไม่ผุดไม่เกิด ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบ ฯ ดูกรสีหะ ก็เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นคนใจเบา ย่อมแสดงธรรมเพื่อความใจเบา และแนะนำสาวกทั้งหลายด้วยการใจเบา ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวชอบนั้น เป็นไฉน ดูกรสีหะ เพราะเราเป็นคนใจเบา ย่อมแสดงธรรม เพื่อความใจเบา ด้วยความใจเบา๑- อย่างยิ่ง และแนะนำสาวกทั้งหลายด้วยการ ใจเบา นี้แลเป็นเหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมเป็นคนใจเบา ย่อม แสดงธรรมเพื่อความใจเบา และแนะนำสาวกทั้งหลายด้วยการใจเบา ดังนี้ ชื่อว่า กล่าวชอบ ฯ

ครั้นพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สีหเสนาบดีได้กราบทูลพระผู้มี พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ฯลฯ ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึง สรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ
พ. ดูกรสีหะ ท่านจงใคร่ครวญเสียก่อนแล้วจึงกระทำ การใคร่ครวญ ก่อนแล้วกระทำ เป็นความดีของคนที่มีชื่อเสียงเช่นท่าน ฯ
สี. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์พอใจชื่นใจอย่างล้นเหลือต่อ พระผู้มีพระภาค แม้ด้วยพระดำรัสที่ตรัสกะข้าพระองค์ว่า ดูกรสีหะ ท่านจง ใคร่ครวญเสียก่อนแล้วจึงกระทำ การใคร่ครวญก่อนแล้วกระทำ เป็นความดีของ คนที่มีชื่อเสียงเช่นท่าน เพราะพวกอัญญเดียรถีย์ได้ข้าพระองค์เป็นสาวกแล้ว พึงยกธงเที่ยวประกาศทั่วเมืองเวสาลีว่า สีหเสนาบดียอมเป็นสาวกพวกเราแล้ว แต่พระผู้มีพระภาคกลับตรัสกะข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ดูกรสีหะ ท่านจงใคร่ครวญ เสียก่อนแล้วจึงกระทำ การใคร่ครวญก่อนแล้วกระทำ เป็นความดีของคนที่มีชื่อ @๑. เบาจากกิเลสด้วยมรรค ๔ ผล ๔ เสียงเช่นท่าน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอถึงพระผู้มีพระภาค กับทั้ง พระธรรมและภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ เป็นครั้งที่สอง ขอพระผู้มีพระภาคโปรด ทรงจำข้าพระองค์ไว้ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ
พ. ดูกรสีหะ ตระกูลของท่านเป็นเสมือนบ่อน้ำของพวกนิครนถ์มา นานแล้ว ท่านควรสำคัญบิณฑบาตที่ท่านจะพึงให้แก่พวกนิครนถ์เหล่านั้นผู้เข้า ไปแล้ว ฯ
สี. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์พอใจชื่นใจอย่างล้นเหลือต่อ พระผู้มีพระภาค แม้ด้วยพระดำรัสที่ตรัสกะข้าพระองค์ว่า ดูกรสีหะ ตระกูล ของท่านเป็นเสมือนบ่อน้ำของพวกนิครนถ์มานานแล้ว ท่านควรสำคัญบิณฑบาต ที่ท่านจะพึงให้แก่พวกนิครนถ์เหล่านั้นผู้เข้าไปแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้า พระองค์ได้สดับมาดังนี้ว่า พระสมณโคดมตรัสอย่างนี้ว่า ควรให้ทานแก่เราเท่านั้น ไม่ควรให้แก่ผู้อื่น ควรให้ทานแก่สาวกของเราเท่านั้น ไม่ควรให้แก่สาวกของ พวกอื่น ทานที่ให้แก่เราเท่านั้นมีผลมาก ให้แก่พวกอื่นไม่มีผลมาก ให้แก่สาวก ของเราเท่านั้นมีผลมาก ให้แก่สาวกของพวกอื่นไม่มีผลมาก แต่พระผู้มีพระภาค กลับตรัสชักชวนข้าพระองค์ในการให้ทานแม้ในพวกนิครนถ์ด้วย อนึ่ง ข้าพระองค์ จักรู้กาลอันควร ที่จะให้ทานนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึง พระผู้มีพระภาค กับทั้งพระธรรม และภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ เป็นครั้งที่สาม ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสอนุปุพพิกถาโปรดสีหเสนาบดี คือ ทรงประกาศทานกถา ศีลกถา สัคคกถา โทษแห่งกามอันต่ำทรามเศร้าหมอง และอานิสงส์ในเนกขัมมะ เมื่อใด พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า สีหเสนาบดี มีจิตควร อ่อน ปราศจากนิวรณ์ บันเทิง เลื่อมใสแล้ว เมื่อนั้น จึงทรง ประกาศพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงเอง คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน เกิดขึ้นแก่ สีหเสนาบดี ณ ที่นั่งนั้นเองว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้น ทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา เปรียบเหมือนผ้าที่สะอาดปราศจากดำ จะพึงย้อมติดดี ฉะนั้น ฯ ครั้งนั้นแล สีหเสนาบดีผู้เห็นธรรมแล้ว บรรลุธรรมแล้ว รู้แจ้งธรรม แล้ว หยั่งซึ้งถึงธรรมแล้ว ข้ามพ้นความสงสัยได้แล้ว ปราศจากความ เคลือบแคลงแล้ว ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น ในพระศาสนา ของพระศาสดา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระ ผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์รับนิมนต์ฉันอาหารบิณฑบาตในวันพรุ่งนี้ พระผู้มี พระภาคทรงรับโดยดุษณีภาพ ฯ ครั้งนั้นแล สีหเสนาบดีทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงรับนิมนต์แล้ว ลุกจากที่นั่ง ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป ครั้งนั้น แล สีหเสนาบดีเรียกชายคนหนึ่งมาบอกว่า พ่อมหาจำเริญ พ่อจงไปหาเนื้อ เลือกเอาเฉพาะที่ขายทั่วไป พอล่วงราตรีนั้น สีหเสนาบดีสั่งให้จัดขาทนียโภชนี- *ยาหารอันประณีตไว้ในนิเวศน์ของตนแล้ว ให้ไปกราบทูลเวลาภัตตาหารแด่ พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถึงเวลาแล้วพระเจ้าข้า ภัตตาหารใน นิเวศน์ของท่านสีหเสนาบดีสำเร็จแล้ว ฯ ครั้งนั้น ในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสก ทรงถือบาตร และจีวร เสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของสีหเสนาบดี ประทับนั่งบนอาสนะที่ปูไว้ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ก็สมัยนั้น นิครนถ์เป็นจำนวนมาก พากันประคองแขน คร่ำครวญตามถนนต่างๆ ตามสี่แยกต่างๆ ในกรุงเวสาลีว่า วันนี้ สีหเสนาบดี ฆ่าสัตว์อ้วนพีปรุงเป็นภัตตาหารถวายพระสมณโคดม พระสมณโคดมทั้งที่รู้ ทรงฉันอุทิศมังสะที่เขาอาศัยตนทำ ฯ ลำดับนั้น บุรุษคนหนึ่งเข้าไปหาสีหเสนาบดีกระซิบบอกว่า พระเดช พระคุณได้โปรดทราบ นิครนถ์เป็นจำนวนมากเหล่านี้ พากันประคองแขน คร่ำครวญตามถนนต่างๆ ตามสี่แยกต่างๆ ในกรุงเวสาลีว่า วันนี้ สีหเสนาบดี ฆ่าสัตว์อ้วนพีปรุงเป็นภัตตาหารถวายพระสมณโคดม พระสมณโคดมทั้งที่รู้อยู่ ทรงฉันอุทิศมังสะที่เขาอาศัยตนทำ ฯ สีหเสนาบดีกล่าวว่า อย่าเลย เพราะเป็นเวลานานมาแล้วที่พระคุณเจ้า เหล่านั้น ใคร่จะกล่าวโทษพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แต่ท่านเหล่านี้ไม่ กระดากอายเสียเลย ย่อมกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำอันไม่เป็นจริง เป็นคำ ไม่มี คำเปล่า คำเท็จ และเราเองก็หาได้แกล้งปลงชีวิตสัตว์ แม้เพราะเหตุแห่ง ชีวิตไม่ ลำดับนั้น สีหเสนาบดีได้อังคาสพระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ให้อิ่มหนำสำราญด้วยขาทนียโภชนียาหารอันประณีตด้วยมือของตน และเมื่อ พระผู้มีพระภาคฉันเสร็จแล้ว ชักพระหัตถ์ออกจากบาตรแล้ว สีหเสนาบดี นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ทรงชี้แจง สีหเสนาบดี ผู้นั่งเรียบร้อยแล้ว ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ รื่นเริงด้วยธรรมีกถา แล้วเสด็จลุกจากที่นั่งหลีกไป ฯ
จบสูตรที่ ๒
อาชัญญสูตร
[๑๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยตัวประเสริฐของพระราชา ประกอบ ด้วยองค์สมบัติ ๘ ประการ สมควรเป็นม้าต้นม้าทรง ย่อมถึงการนับว่าเป็น ราชพาหนะได้ทีเดียว องค์สมบัติ ๘ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ม้า อาชาไนยตัวประเสริฐของพระราชาในโลกนี้ ย่อมมีกำเนิดดีทั้ง ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายมารดาและบิดา เกิดในทิศที่ม้าอาชาไนยตัวอื่นเกิดกัน ๑ ย่อมบริโภคของกิน ที่เขาให้สดหรือแห้งก็ตาม เรียบร้อย ไม่เรี่ยราด ๑ ย่อมรังเกียจที่จะนั่งหรือนอน ทับอุจจาระปัสสาวะ ๑ เป็นสัตว์ยินดี มีการอยู่ร่วมเป็นสุข ไม่รบกวนม้าเหล่า อื่น ๑ เป็นสัตว์เผยความโอ้อวดความพยศคดโกงแก่นายสารถีอย่างเปิดเผย ๑ นายสารถีพยายามปราบความพยศคดโกงเหล่านั้นของมันได้ ๑ เป็นสัตว์ลากเข็น ภาระ เกิดความคิดว่าม้าอื่นจะเข็นภาระได้หรือไม่ก็ตาม สำหรับภาระนี้เราเข็นได้ อนึ่ง เมื่อเดินก็เดินตรงตามทาง ๑ เป็นสัตว์มีกำลังวังชา คือ ทรงกำลังไว้อยู่ จนถึงวาระสุดท้ายแห่งชีวิต ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยตัวประเสริฐ ของพระราชา ประกอบด้วยองค์สมบัติ ๘ ประการนี้แล สมควรเป็นม้าต้นม้าทรง ถึงการนับว่าเป็นพระราชพาหนะได้ดีทีเดียว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๘ ประ การ ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมระวังในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปรกติเห็นภัยใน โทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ๑ ฉันโภชนะที่เขา ถวายเศร้าหมองหรือประณีตก็ตาม โดยเคารพไม่รังเกียจ ๑ เกลียดแต่กาย ทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต และการถึงพร้อมด้วยธรรมอันเป็นบาปอกุศล ๑ เธอยินดีอยู่ มีการอยู่ร่วมเป็นสุข ไม่รบกวนภิกษุเหล่าอื่นให้เดือดร้อน ๑ เปิดเผย ความโอ้อวด ความพยศคดโกงตามเป็นจริง ในพระศาสดาหรือในเพื่อนพรหม- *จรรย์ผู้รู้แจ้ง พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจรรย์ย่อมพยายามช่วยกำจัดความโอ้อวด เป็นต้นเหล่านั้นของเธอได้ ๑ อนึ่ง ย่อมเป็นผู้ศึกษาสำเหนียก คือ ใฝ่ใจอยู่ว่า ภิกษุเหล่าอื่นจะศึกษาหรือไม่ก็ตาม ข้อนี้เราจักศึกษา เมื่อปฏิบัติย่อมปฏิบัติตามทาง ตรงทีเดียว ในข้อนั้นพึงทราบทางตรงดังนี้ คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ๑ เป็นผู้ปรารภความเพียรอยู่ว่า เลือดเนื้อในร่างกายของเรา จงเหือดแห้งไป จะเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น กระดูก ก็ตามที เรายังไม่ได้บรรลุอิฐผลที่จะพึงบรรลุ ได้ด้วยกำลังของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษแล้ว จักไม่หยุดความเพียรเป็นอันขาด ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มี นาบุญอื่นยิ่งกว่า ฯ
จบสูตรที่ ๓
ขฬุงคสูตร
[๑๐๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงม้าโกง ๘ จำพวก และโทษ ของม้าโกง ๘ ประการ คนโกง ๘ จำพวก และโทษของคนโกง ๘ ประการ เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มี พระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ม้าโกง ๘ จำพวก และโทษของม้าโกง ๘ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ม้าโกงบางตัวใน โลกนี้ ที่นายสารถีกล่าวเตือนว่า จงเดินไป ถูกแทงด้วยประตักเตือนอยู่ ย่อมถอยหลัง ดันรถให้กลับหลัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ม้าโกงบางตัวในโลกนี้ เป็นเช่นนี้ก็มี นี้เป็นโทษของม้าประการที่ ๑ ฯ อีกประการหนึ่ง ม้าโกงบางตัวในโลกนี้ นายสารถีเตือนว่า จงเดินไป ถูกแทงด้วยประตักเตือนอยู่ ย่อมหกหลังดีดธูปหัก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ม้าโกง บางตัวในโลกนี้ เป็นเช่นนี้ก็มี นี้เป็นโทษของม้าโกงประการที่ ๒ ฯ อีกประการหนึ่ง ม้าโกงบางตัวในโลกนี้ นายสารถีเตือนว่า จงเดินไป ถูกแทงด้วยประตักเตือนอยู่ ยกขาขึ้นตะกุยงอนรถ ถีบงอนรถ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ม้าโกงบางตัวในโลกนี้ เป็นเช่นนี้ก็มี นี้เป็นโทษของม้าโกงประการที่ ๓ ฯ อีกประการหนึ่ง ม้าโกงบางตัวในโลกนี้ นายสารถีเตือนว่า จงเดินไป ถูกแทงด้วยประตักเตือนอยู่ ย่อมเดินผิดทาง ทำให้รถคว่ำ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ม้าโกงบางตัวในโลกนี้ เป็นเช่นนี้ก็มี นี้เป็นโทษของม้าโกงประการที่ ๔ ฯ อีกประการหนึ่ง ม้าโกงบางตัวในโลกนี้ นายสารถีเตือนว่า จงเดินไป ถูกแทงด้วยประตักเตือนอยู่ ย่อมเชิดกายด้านหน้า เผ่นขึ้นไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย ม้าโกงบางตัวในโลกนี้ เป็นเช่นนี้ก็มี นี้เป็นโทษของม้าโกงประการที่ ๕ ฯ อีกประการหนึ่ง ม้าโกงบางตัวในโลกนี้ นายสารถีเตือนว่า จงเดินไป ถูกแทงด้วยประตักเตือนอยู่ ไม่คำนึงถึงด้ามประตัก เอาฟันกัดบังเหียน หลีกไปตาม ประสงค์ของมัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ม้าโกงบางตัวในโลกนี้ เป็นเช่นนี้ก็มี นี้เป็นโทษของม้าโกงประการที่ ๖ ฯ อีกประการหนึ่ง ม้าโกงบางตัวในโลกนี้ นายสารถีเตือนว่า จงเดินไป ถูกแทงด้วยประตักเตือนอยู่ ไม่ยอมก้าวไปข้างหน้า ทั้งไม่ถอยหลัง ยืนเฉย เหมือนเสาเขื่อนอยู่ตรงนั้นนั่นเอง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ม้าโกงบางตัวในโลกนี้ เป็นเช่นนี้ก็มี นี้เป็นโทษของม้าโกงประการที่ ๗ ฯ อีกประการหนึ่ง ม้าโกงบางตัวในโลกนี้ นายสารถีเตือนว่า จงเดินไป ถูกแทงด้วยประตักเตือนอยู่ คุกเท้าหน้า เท้าหลัง ลงนอนทับเท้าทั้ง ๔ ที่ตรงนั้น นั่นเอง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ม้าโกงบางตัวในโลกนี้ เป็นเช่นนี้ก็มี นี้เป็นโทษ ของม้าโกงประการที่ ๘ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ม้าโกง ๘ จำพวก และโทษของ ม้าโกง ๘ ประการนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็คนโกง ๘ จำพวก และโทษของคนโกง ๘ ประการ เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้ ภิกษุโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุ ผู้เป็นจำเลยนั้น เมื่อถูกโจทด้วยอาบัติ ย่อมอำพรางอาบัติไว้ว่า ผมนึกไม่ได้ๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวบุคคลนี้ เปรียบเหมือนม้าโกงที่นายสารถีเตือนว่า จงเดินไป ถูกแทงด้วยประตักเตือนอยู่ ย่อมถอยหลัง ดันให้รถกลับหลัง ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนโกงบางคนในธรรมวินัยนี้ เป็นเช่นนี้ก็มี นี้เป็นโทษของ คนโกงประการที่ ๑ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุผู้เป็นจำเลยนั้น เมื่อถูก โจทด้วยอาบัติ กลับโต้ตอบการโจทนั่นเองว่า จะมีประโยชน์อะไรหนอ ด้วยคำ ที่ท่านซึ่งเป็นคนโง่ไม่ฉลาดกล่าว ท่านเองควรสำนึกถึงคำที่ควรพูด ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เรากล่าวบุคคลนี้เปรียบเหมือนม้าโกงที่นายสารถีเตือนว่า จงเดินไป ถูกแทงด้วยประตักเตือนอยู่ ย่อมหกหลัง ดีดธูปหัก ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนโกงบางคนในธรรมวินัยนี้ เป็นเช่นนี้ก็มี นี้เป็นโทษของคนโกงประการที่ ๒ อีกประการหนึ่ง ภิกษุโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุผู้เป็นจำเลยนั้น เมื่อถูก โจทด้วยอาบัติ กลับโจทตอบแก่ภิกษุผู้โจทนั่นเองว่า แม้ท่านก็ต้องอาบัติชื่อนี้ ท่านจงทำคืนเสียก่อน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวบุคคลนี้ เปรียบเหมือนม้าโกง ที่นายสารถีเตือนว่า จงเดินไป ถูกแทงด้วยประตักเตือนอยู่ ย่อมยกขาขึ้นตะกุย งอนรถ ถีบงอนรถ ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนโกงบางคนในธรรมวินัยนี้ เป็นเช่นนี้ก็มี นี้เป็นโทษของคนโกงประการที่ ๓ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุผู้เป็นจำเลยนั้น เมื่อถูก โจทด้วยอาบัติ ย่อมพูดกลบเกลื่อน พูดนอกลู่นอกทาง แสดงความโกรธ ความขัดเคือง และความไม่ยำเกรงให้ปรากฏ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวบุคคล นี้ เปรียบเหมือนม้าโกงที่นายสารถีเตือนว่า จงเดินไป ถูกแทงด้วยประตักเตือนอยู่ ย่อมเดินผิดทาง ทำให้รถคว่ำ ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนโกงบางคนในธรรม วินัยนี้ เป็นเช่นนี้ก็มี นี้เป็นโทษของคนโกงประการที่ ๔ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุผู้เป็นจำเลยนั้น เมื่อถูก โจทด้วยอาบัติ ยกมือทั้งสองพูดห้ามในท่ามกลางสงฆ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรา กล่าวบุคคลนี้ เปรียบเหมือนม้าโกงที่นายสารถี เตือนว่า จงเดินไป ถูกแทงด้วย ประตักเตือนอยู่ ย่อมเชิดกายด้านหน้า เผ่นขึ้นไป ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนโกงบางคนในธรรมวินัยนี้ เป็นเช่นนี้ก็มี นี้เป็นโทษของคนโกงประการที่ ๕ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุผู้เป็นจำเลยนั้น เมื่อถูก โจทด้วยอาบัติ ย่อมไม่เอื้อเฟื้อสงฆ์ ไม่เอื้อเฟื้อผู้โจทก์ ทั้งที่มีอาบัติติดตัวอยู่ เลี่ยงหลีกไปตามประสงค์ของตน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวบุคคลนี้ เปรียบ เหมือนม้าโกงที่นายสารถีเตือนว่า จงเดินไป ถูกแทงด้วยประตักเตือนอยู่ ไม่คำนึง ถึงด้ามประตัก เอาฟันกัดบังเหียน หลีกไปตามประสงค์ของมัน ฉะนั้น ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย คนโกงบางคนในธรรมวินัยนี้ เป็นเช่นนี้ก็มี นี้เป็นโทษของคนโกง ประการที่ ๖ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุผู้เป็นจำเลยนั้น เมื่อถูก โจทด้วยอาบัติกล่าวว่า ผมไม่ได้ต้องอาบัติเลยๆ เธอใช้ความนิ่งให้อึดอัดใจสงฆ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวบุคคลนี้ เปรียบเหมือนม้าโกงที่นายสารถีเตือนว่า จงเดินไป ถูกแทงด้วยประตักเตือนอยู่ ไม่ยอมก้าวไปข้างหน้า ทั้งไม่ถอยหลัง ยืนเฉยเหมือนเสาเขื่อนอยู่ตรงนั้นนั่นเอง ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนโกงบาง คนในธรรมวินัยนี้ เป็นเช่นนี้ก็มี นี้เป็นโทษของคนโกงประการที่ ๗ ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุโจทภิกษุด้วยอาบัติ ภิกษุผู้เป็นจำเลยนั้น เมื่อถูก โจทด้วยอาบัติย่อมกล่าวว่า ทำไมหนอ ท่านผู้มีอายุทั้งหลายจึงชอบหาเรื่องในตัว ผมนัก บัดนี้ ผมกำหนดบอกคืนสิกขาลาเพศแล้ว เธอบอกคืนสิกขาลาเพศแล้ว พูดอย่างนี้ว่า บัดนี้ ขอท่านผู้มีอายุทั้งหลายจงเบาใจเถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรา กล่าวบุคคลนี้เปรียบเหมือนม้าโกงที่นายสารถีเตือนว่า จงเดินไป ถูกแทงด้วยประตัก เตือนอยู่ คุกเท้าหน้า เท้าหลัง ลงนอนทับเท้าทั้ง ๔ ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนโกงบางคนในธรรมวินัยนี้ เป็นเช่นนี้ก็มี นี้เป็นโทษของคนโกงประการที่ ๘ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนโกง ๘ จำพวก และโทษของคนโกง ๘ ประการนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๔
มลสูตร
[๑๐๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย มลทิน ๘ ประการนี้ ๘ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย มนต์มีการไม่ท่องบ่นเป็นมลทิน ๑ เรือนมีความไม่หมั่นเป็น มลทิน ๑ ความเกียจคร้านเป็นมลทินของผิวพรรณ ๑ ความประมาทเป็นมลทิน ของผู้รักษา ๑ ความประพฤติชั่วเป็นมลทินของหญิง ๑ ความตระหนี่เป็นมลทิน ของผู้ให้ ๑ อกุศลธรรมที่ลามกเป็นมลทินแท้ทั้งโลกนี้และโลกหน้า ๑ เราจะบอก มลทินที่ยิ่งกว่ามลทินนั้น คือ อวิชชาเป็นมลทินอย่างยิ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย มลทิน ๘ ประการนี้แล ฯ มนต์มีการไม่ท่องบ่นเป็นมลทิน เรือนมีความไม่หมั่นเป็น มลทิน ความเกียจคร้านเป็นมลทินของผิวพรรณ ความ ประมาทเป็นมลทินของผู้รักษา ความประพฤติชั่วเป็นมลทิน ของหญิง ความตระหนี่เป็นมลทินของผู้ให้ ธรรมอันลามก เป็นมลทินแท้ ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า เราจะบอกมลทินที่ ยิ่งกว่านั้น คือ อวิชชาเป็นมลทินอย่างยิ่ง ฯ
จบสูตรที่ ๕
ทูตสูตร
[๑๐๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการ ควร ไปเป็นทูตได้ ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้รับฟัง ๑ ให้ผู้อื่นรับฟัง ๑ เรียนดี ๑ ทรงจำไว้ดี ๑ รู้เอง ๑ ให้ผู้อื่นรู้ ๑ เป็นผู้ฉลาดต่อสิ่งที่มีประโยชน์และไม่มีประโยชน์ ๑ ไม่ก่อการทะเลาะ ๑ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล ควรไปเป็นทูตได้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรประกอบด้วยธรรม ๘ ประการ ควรไปเป็น ทูตได้ ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้รับฟัง ๑ ให้ผู้อื่นรับฟัง ๑ เรียนดี ๑ ทรงจำไว้ดี ๑ รู้เอง ๑ ให้ผู้อื่นรู้ ๑ เป็นผู้ฉลาดต่อสิ่งที่มีประโยชน์และไม่มีประโยชน์ ๑ ไม่ก่อการทะเลาะ ๑ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรประกอบด้วยธรรม ๘ ประการนี้แล ควรไปเป็นทูตได้ ฯ ภิกษุใดแล สอนบริษัทให้เรียนให้อ่าน ไม่สะทกสะท้าน ไม่ให้เสียคำที่พูด ไม่ให้เสียคำสอน ชี้แจงให้เขาหมดสงสัย และเมื่อถูกซักถามก็ไม่โกรธ ภิกษุเช่นนี้นั้นแล ควรไปเป็น ทูตได้ ฯ
จบสูตรที่ ๖
พันธนสูตรที่ ๑
[๑๐๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย หญิงย่อมผูกชายไว้ด้วยอาการ ๘ อย่าง ๘ อย่างเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย หญิงย่อมผูกชายไว้ด้วยรูป ๑ ด้วยการ ยิ้มแย้ม ๑ ด้วยคำพูด ๑ ด้วยเพลงขับ ๑ ด้วยการร้องไห้ ๑ ด้วยอากัปปกิริยา ๑ ด้วยของกำนัล ๑ ด้วยผัสสะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย หญิงย่อมผูกชายไว้ด้วยอาการ ๘ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ที่ถูกผูกด้วยอาการ ๘ อย่างนี้แล ชื่อว่าถูก ผูกด้วยบ่วง ฯ
จบสูตรที่ ๗
พันธนสูตรที่ ๒
[๑๐๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชายย่อมผูกหญิงไว้ด้วยอาการ ๘ อย่าง ๘ อย่างเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชายย่อมผูกหญิงไว้ด้วยรูป ๑ ด้วยการ ยิ้มแย้ม ๑ ด้วยคำพูด ๑ ด้วยเพลงขับ ๑ ด้วยการร้องไห้ ๑ ด้วยอากัปปกิริยา ๑ ด้วยของกำนัล ๑ ด้วยผัสสะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชายย่อมผูกหญิงไว้ด้วย อาการ ๘ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ที่ถูกผูกด้วยอาการ ๘ อย่างนี้แล ชื่อว่าถูกผูกด้วยบ่วง ฯ
จบสูตรที่ ๘
ปหาราทสูตร
[๑๐๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ควงไม้สะเดาที่นเฬรุยักษ์สิงสถิต ใกล้กรุงเวรัญชา ครั้งนั้น ท้าวปหาราทะจอมอสูร เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท้าวปหาราทะจอมอสูรว่า ดูกรปหาราทะ พวกอสูรย่อมอภิรมย์ในมหาสมุทรบ้างหรือ ท้าวปหาราทะจอมอสูรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกอสูรย่อมอภิรมย์ในมหาสมุทร ฯ
พ. ดูกรปหาราทะ ในมหาสมุทรมีธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาสัก เท่าไร ที่พวกอสูรเห็นแล้วย่อมอภิรมย์ ฯ
. มี ๘ ประการ พระเจ้าข้า ๘ ประการเป็นไฉน ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ มหาสมุทรลาด ลุ่ม ลึกลงไปโดยลำดับ หาได้โกรกชันเหมือนเหวไม่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อที่มหาสมุทรลาด ลุ่ม ลึกลงไปโดยลำดับ หาได้โกรก ชันเหมือนเหวไม่ นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่ ๑ ใน มหาสมุทร ที่พวกอสูรเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่ ฯ อีกประการหนึ่ง มหาสมุทรเต็มเปี่ยมอยู่เสมอ ไม่ล้นฝั่ง ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ข้อที่มหาสมุทรเต็มเปี่ยมอยู่เสมอไม่ล้นฝั่ง นี้เป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์อัน ไม่เคยมีมาประการที่ ๒ ในมหาสมุทรที่พวกอสูรเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่ ฯ อีกประการหนึ่ง มหาสมุทรไม่เกลื่อนด้วยซากศพ เพราะในมหาสมุทร คลื่นย่อมซัดเอาซากศพเข้าหาฝั่งให้ขึ้นบกทันที ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อที่ มหาสมุทรไม่เกลื่อนด้วยซากศพ และในมหาสมุทรคลื่นย่อมซัดเอาซากศพเข้าหา ฝั่งให้ขึ้นบกทันที นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่ ๓ ในมหาสมุทร ที่พวกอสูรเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่ ฯ อีกประการหนึ่ง แม่น้ำสายใหญ่ๆ บางสาย คือ แม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี แม่น้ำเหล่านั้นไหลไปถึงมหาสมุทรแล้ว ย่อมละนามและ โคตรเดิมหมด ถึงความนับว่ามหาสมุทรนั่นเอง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อที่ แม่น้ำสายใหญ่ๆ บางสาย คือ แม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี แม่น้ำ เหล่านั้นไหลไปถึงมหาสมุทรแล้ว ย่อมเปลี่ยนนามและโคตรเดิมหมด ถึงความ นับว่ามหาสมุทรนั่นเอง นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่ ๔ ใน มหาสมุทร ที่พวกอสูรเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่ ฯ อีกประการหนึ่ง แม่น้ำทุกสายในโลก ย่อมไหลไปรวมยังมหาสมุทร และสายฝนจากอากาศตกลงสู่มหาสมุทร มหาสมุทรก็มิได้ปรากฏว่าจะพร่องหรือ เต็มเพราะน้ำนั้นๆ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อที่แม่น้ำทุกสายในโลกย่อมไหลไป รวมยังมหาสมุทร และสายฝนจากอากาศตกลงสู่มหาสมุทร มหาสมุทรก็มิได้ ปรากฏว่าจะพร่องหรือเต็มเพราะน้ำนั้นๆ นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ประการที่ ๕ ในมหาสมุทร ที่พวกอสูรเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่ ฯ อีกประการหนึ่ง มหาสมุทรมีรสเดียว คือ รสเค็ม ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ข้อที่มหาสมุทรมีรสเดียว คือ รสเค็ม นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่ เคยมีมาประการที่ ๖ ในมหาสมุทร ที่พวกอสูรเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่ ฯ อีกประการหนึ่ง มหาสมุทรมีรัตนะมากมายหลายชนิด ในมหาสมุทรมี รัตนะเหล่านี้ คือ แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา แก้วประพาฬ เงิน ทอง ทับทิม มรกต ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อที่มหาสมุทรมีรัตนะ มากมายหลายชนิด ในมหาสมุทรนั้นมีรัตนะ คือ แก้วมุกดา แก้วมณี แก้ว ไพฑูรย์ สังข์ ศิลา แก้วประพาฬ เงิน ทอง ทับทิม มรกต นี้เป็นธรรมที่ น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่ ๗ ในมหาสมุทร ที่พวกอสูรเห็นแล้วๆ จึง อภิรมย์อยู่ ฯ อีกประการหนึ่ง มหาสมุทรเป็นที่พำนักอาศัยของพวกสิ่งมีชีวิตใหญ่ๆ และสิ่งมีชีวิตในมหาสมุทรนั้นมีดังนี้ คือ ปลาติมิ ปลาติมิงคลา ปลาติมิรมิงคลา พวกอสูร นาค คนธรรพ์ แม้ที่มีร่างกายประมาณ ๑๐๐ โยชน์ ๒๐๐ โยชน์ ๓๐๐ โยชน์ ๔๐๐ โยชน์ ๕๐๐ โยชน์ ก็มีอยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อที่ มหาสมุทรเป็นที่พำนักอาศัยของสิ่งที่มีชีวิตใหญ่ๆ และสิ่งมีชีวิตในมหาสมุทรนั้น มีดังนี้ คือ ปลาติมิ ปลาติมิงคลา ปลาติมิรมิงคลา พวกอสูร นาค คนธรรพ์ แม้ที่มีร่างกายประมาณ ๑๐๐ โยชน์ ๒๐๐ โยชน์ ๓๐๐ โยชน์ ๔๐๐ โยชน์ ๕๐๐ โยชน์ ก็มีอยู่ นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่ ๘ ในมหาสมุทร ที่พวกอสูรเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้แลธรรมที่น่า อัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ๘ ประการ ในมหาสมุทร ที่พวกอสูรเห็นแล้วๆ จึง อภิรมย์อยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ภิกษุทั้งหลายย่อมอภิรมย์ในธรรมวินัย นี้บ้างหรือ ฯ
พ. ดูกรปหาราทะ ภิกษุทั้งหลายย่อมอภิรมย์ในธรรมวินัยนี้ ฯ
ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในธรรมวินัยนี้ มีธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่ เคยมีมาสักเท่าไร ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้ว จึงอภิรมย์อยู่ ฯ
พ. มี ๘ ประการ ปหาราทะ ๘ ประการเป็นไฉน ดูกรปหาราทะ มหาสมุทรลาด ลุ่ม ลึกลงไปโดยลำดับ ไม่โกรกชันเหมือนเหว ฉันใด ใน ธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีการศึกษาไปตามลำดับ มีการกระทำไปตามลำดับ มีการปฏิบัติไปตามลำดับ มิใช่ว่าจะมีการบรรลุอรหัตผลโดยตรง ดูกรปหาราทะ ข้อที่ในธรรมวินัยนี้มีการศึกษาไปตามลำดับ มีการกระทำไปตามลำดับ มีการ ปฏิบัติไปตามลำดับ มิใช่ว่าจะมีการบรรลุอรหัตผลโดยทรง นี้เป็นธรรมที่น่า อัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่ ๑ ในธรรมวินัยนี้ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วๆ จึง อภิรมย์อยู่ ฯ ดูกรปหาราทะ มหาสมุทรเต็มเปี่ยมอยู่เสมอ ไม่ล้นฝั่ง ฉันใด สาวก ทั้งหลายของเราก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่ล่วงสิกขาบทที่เราบัญญัติไว้แม้เพราะเหตุ แห่งชีวิต ดูกรปหาราทะ ข้อที่สาวกทั้งหลายของเราไม่ล่วงสิกขาบทที่เราบัญญัติ ไว้แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่ ๒ ใน ธรรมวินัยนี้ ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่ ฯ ดูกรปหาราทะ มหาสมุทรไม่เกลื่อนด้วยซากศพ เพราะในมหาสมุทร คลื่นย่อมซัดเอาซากศพเข้าหาฝั่งให้ขึ้นบก ฉันใด ดูกรปหาราทะ ฉันนั้นเหมือนกัน บุคคลผู้ทุศีล มีบาปธรรม มีสมาจารไม่สะอาดน่ารังเกียจ ปกปิดกรรมชั่ว มิใช่ สมณะ แต่ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ มิใช่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ แต่ปฏิญญาว่า ประพฤติพรหมจรรย์ เสียใน ชุ่มด้วยราคะ เป็นเพียงดังหยากเยื่อ สงฆ์ย่อม ไม่อยู่ร่วมกับบุคคลนั้น ประชุมกันยกวัตรเธอเสียทันที แม้เขาจะนั่งอยู่ท่ามกลาง ภิกษุสงฆ์ก็จริง ถึงกระนั้น เขาก็ชื่อว่าห่างไกลจากสงฆ์ และสงฆ์ก็ห่างไกลจาก เขา ดูกรปหาราทะ ข้อที่บุคคลผู้ทุศีล มีบาปกรรม มีสมาจารไม่สะอาดน่า รังเกียจ ปกปิดกรรมชั่ว ไม่ใช่สมณะ แต่ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ มิใช่ผู้ประพฤติ พรหมจรรย์ แต่ปฏิญญาว่าประพฤติพรหมจรรย์ เสียใน ชุ่มด้วยราคะ เป็นเพียง ดังหยากเยื่อ สงฆ์ย่อมไม่อยู่ร่วมกับบุคคลนั้น ประชุมกันยกวัตรเธอเสียทันที แม้เขาจะนั่งอยู่ในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ก็จริง ถึงกระนั้น เขาก็ชื่อว่าห่างไกลจาก สงฆ์ และสงฆ์ก็ห่างไกลจากเขา นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการ ที่ ๓ ในธรรมวินัยนี้ ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่ ฯ ดูกรปหาราทะ แม่น้ำสายใหญ่ๆ บางสาย คือ แม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี แม่น้ำเหล่านั้นไหลไปถึงมหาสมุทรแล้ว ย่อมละนามและ โคตรเดิมหมด ถึงความนับว่ามหาสมุทรนั่นเอง ฉันใด ดูกรปหาราทะ ฉันนั้น เหมือนกัน วรรณะ ๔ เหล่านี้ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ออกบวช เป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ย่อมละนามและโคตรเดิมเสีย ถึงความนับว่าสมณศากยบุตรทั้งนั้น ดูกรปหาราทะ ข้อที่วรรณะ ๔ เหล่านี้ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ออกบวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยที่ตถาคต ประกาศแล้ว ย่อมละนามและโคตรเดิมเสีย ถึงความนับว่าเป็นสมณศากยบุตร ทั้งนั้น นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่ ๔ ในธรรมวินัยนี้ ที่ภิกษุ ทั้งหลายเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่ ฯ ดูกรปหาราทะ แม่น้ำทุกสายในโลก ย่อมไหลไปรวมยังมหาสมุทร และสายฝนจากอากาศตกลงสู่มหาสมุทร มหาสมุทรก็มิได้ปรากฏว่าจะพร่องหรือ เต็มเพราะน้ำนั้นๆ ฉันใด ดูกรปหาราทะ ฉันนั้นเหมือนกัน ถึงแม้ภิกษุเป็นอัน มากจะปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ นิพพานธาตุก็มิได้ปรากฏว่าจะพร่อง หรือเต็มด้วยภิกษุนั้น ดูกรปหาราทะ ข้อที่ถึงแม้ภิกษุเป็นอันมากจะปรินิพพาน ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ นิพพานธาตุก็มิได้ปรากฏว่าจะพร่องหรือเต็มด้วย ภิกษุนั้น นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่ ๕ ในธรรมวินัยนี้ ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่ ฯ ดูกรปหาราทะ มหาสมุทรมีรสเดียว คือ รสเค็ม ฉันใด ดูกรปหาราทะ ฉันนั้นเหมือนกัน ธรรมวินัยนี้มีรสเดียว คือ วิมุตติรส ดูกรปหาราทะ ข้อที่ ธรรมวินัยมีรสเดียว คือ วิมุตติรส นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ประการที่ ๖ ในธรรมวินัยนี้ ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่ ฯ ดูกรปหาราทะ มหาสมุทรมีรัตนะมากมายหลายชนิด รัตนะในมหาสมุทร นั้นมีดังนี้ คือ แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา แก้วประพาฬ เงิน ทอง ทับทิม มรกต ฉันใด ดูกรปหาราทะ ฉันนั้นเหมือนกัน ธรรมวินัย นี้ก็มีรัตนะมากมายหลายชนิด รัตนะในธรรมวินัยนั้นมีดังนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมี องค์ ๘ ดูกรปหาราทะ ข้อที่ธรรมวินัยนี้มีรัตนะมากมายหลายชนิด รัตนะใน ธรรมวินัยนั้นมีดังนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ประการที่ ๗ ในธรรมวินัยนี้ ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่ ฯ ดูกรปหาราทะ มหาสมุทรเป็นที่พำนักอาศัยของสิ่งที่มีชีวิตใหญ่ๆ สิ่งมีชีวิต ในมหาสมุทรนั้นมีดังนี้ คือ ปลาติมิ ปลาติมิงคลา ปลาติมิรมิงคลา พวกอสูร นาค คนธรรพ์ แม้ที่มีร่างกายประมาณ ๑๐๐ โยชน์ ๒๐๐ โยชน์ ๓๐๐ โยชน์ ๔๐๐ โยชน์ ๕๐๐ โยชน์ มีอยู่ ฉันใด ดูกรปหาราทะ ฉันนั้นเหมือนกัน ธรรมวินัยนี้ ก็เป็นที่พำนักอาศัยแห่งสิ่งมีชีวิตใหญ่ๆ สิ่งมีชีวิตในธรรมวินัยนี้ มีดังนี้ คือ พระโสดาบัน ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล พระสกทาคามี ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล พระอนาคามี ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อ กระทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล พระอรหันต์ ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นพระอรหันต์ ดูกรปหาราทะ ข้อที่ธรรมวินัยนี้เป็นที่พำนักอาศัยแห่งสิ่งมีชีวิตใหญ่ๆ สิ่งชีวิตมี ในธรรมวินัยนี้มีดังนี้ คือ พระโสดาบัน ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติ ผล พระสกทาคามี ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล พระอนาคามี ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล พระอรหันต์ ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อความ เป็นพระอรหันต์ นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่ ๘ ในธรรมวินัยนี้ ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่ ดูกรปหาราทะ ในธรรมวินัยนี้ มีธรรมที่น่า อัศจรรย์ อันไม่เคยมีมา ๘ ประการนี้แล ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่ ฯ
จบสูตรที่ ๙
อุโปสถสูตร
[๑๑๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ บุพพาราม ปราสาท ของมิคารมารดา ใกล้พระนครสาวัตถี ก็โดยสมัยนั้นพระผู้มีพระภาคมีภิกษุสงฆ์แวด ล้อม ประทับนั่งในวันอุโบสถ ครั้งนั้น เมื่อราตรีล่วงไปแล้ว ปฐมยามผ่านไป แล้ว ท่านพระอานนท์ลุกจากที่นั่ง กระทำผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนม อัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ราตรีล่วงไปแล้ว ปฐมยามผ่านไปแล้ว ภิกษุสงฆ์นั่งมานานแล้ว ขอพระผู้มีพระภาคทรงพระกรุณาโปรดแสดงปาติโมกข์เถิด เมื่อท่านพระอานนท์ กราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคทรงนิ่งอยู่ ฯ แม้วาระที่ ๒ เมื่อราตรีล่วงไปแล้ว มัชฌิมยามผ่านไปแล้ว ท่าน พระอานนท์ลุกจากที่นั่ง กระทำผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลีไปทาง พระผู้มีพระภาค ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ราตรีล่วง ไปแล้ว มัชฌิมยามผ่านไปแล้ว ภิกษุสงฆ์นั่งมานานแล้ว ขอพระผู้มีพระภาค ทรงพระกรุณาโปรดแสดงปาติโมกข์เถิด แม้วาระที่ ๒ พระผู้มีพระภาคก็ทรงนิ่ง อยู่ ฯ แม้วาระที่ ๓ เมื่อราตรีล่วงไปแล้ว ปัจฉิมยามผ่านไปแล้ว แสงเงิน แสงทองขึ้นแล้ว ราตรีสว่างแล้ว ท่านพระอานนท์ลุกจากที่นั่ง กระทำผ้าอุตราสงค์ เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาค ได้กราบทูลพระผู้มี- *พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ราตรีล่วงไปแล้ว ปัจฉิมยามผ่านไปแล้ว แสง เงินแสงทองขึ้นแล้ว ราตรีสว่างแล้ว ภิกษุสงฆ์นั่งมานานแล้ว ขอพระผู้มีพระภาค ทรงพระกรุณาโปรดแสดงปาติโมกข์เถิด พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ บริษัทไม่บริสุทธิ์ ฯ ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้มีความดำริดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาค ตรัสอย่างนี้ทรงหมายเอาบุคคลไหนหนอ ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ กำหนดใจด้วยใจ กระทำจิตภิกษุสงฆ์ทั้งหมดไว้ในใจแล้ว ได้เห็นบุคคลทุศีล มี บาปธรรม มีสมาจารไม่สะอาดน่ารังเกียจ ปกปิดกรรมชั่ว มิใช่สมณะแต่ปฏิญญา ว่าเป็นสมณะ มิใช่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์แต่ปฏิญญาว่าประพฤติพรหมจรรย์ เสียใน ชุ่มด้วยราคะ เป็นเพียงดังหยากเยื่อ นั่งอยู่ในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ครั้นแล้วลุกจาก อาสนะเข้าไปหาบุคคลนั้น กล่าวกะบุคคลนั้นว่า อาวุโส จงลุกไป พระผู้มีพระภาคทรงเห็นเธอแล้ว เธอไม่มีสังวาสกับภิกษุทั้งหลาย เมื่อท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวอย่างนี้แล้ว บุคคลนั้นนิ่งเฉยเสีย แม้วาระที่ ๒ ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกะบุคคลนั้นว่า อาวุโส จงลุกไป พระผู้มีพระภาคทรงเห็นเธอแล้ว เธอไม่มีสังวาสกับภิกษุทั้งหลาย แม้วาระที่ ๒ บุคคลนั้นก็นิ่งเสีย แม้วาระที่ ๓ ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกะบุคคลนั้นว่า อาวุโส จงลุกไป พระผู้มี พระภาคทรงเห็นเธอแล้ว เธอไม่มีสังวาสกับภิกษุทั้งหลาย แม้วาระที่ ๓ บุคคล นั้นก็นิ่งเฉยเสีย ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะจับแขนบุคคลนั้นฉุดออก มาให้พ้นซุ้มประตูด้านนอกแล้ว ใส่ดาน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลนั้นข้าพระองค์ฉุดออกไปแล้ว บริษัทบริสุทธิ์แล้ว ขอพระผู้มีพระภาคทรงพระกรุณาโปรดแสดงปาติโมกข์แก่ภิกษุทั้งหลายเถิด ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า น่าอัศจรรย์ โมคคัลลานะ ไม่เคยมีมา โมคคัลลานะ โมฆบุรุษนั้นจักมาร่วม จนต้องฉุดแขนออกไป ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เธอทั้งหลายพึงทำอุโบสถเถิด พึงแสดงปาติโมกข์เถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตั้งแต่กาลบัดนี้เป็นต้นไป เราจักไม่ แสดงปาติโมกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การที่พระตถาคตจะพึงแสดงปาติโมกข์ใน บริษัทที่ไม่บริสุทธิ์ นี้มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในมหาสมุทรมีธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ๘ ประการ ที่พวกอสูรเห็นแล้วๆ ย่อมอภิรมย์ ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย มหาสมุทรลาด ลุ่ม ลึกลงไปโดยลำดับ หาได้โกรกชันเหมือนเหวไม่ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ข้อที่มหาสมุทรลาด ลุ่ม ลึกลงไปโดยลำดับ หาได้โกรกชันเหมือนเหว ไม่ นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่ ๑ ในมหาสมุทร ที่พวก อสูรเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่ ฯลฯ ๑- อีกประการหนึ่ง มหาสมุทรเป็นที่พำนักอาศัย ของสิ่งมีชีวิตใหญ่ๆ สิ่งมีชีวิตในมหาสมุทรนั้นมีดังนี้ คือ ปลาติมิ ปลาติมิงคลา ปลาติมิรมิงคลา พวกอสูร นาค คนธรรพ์ แม้ที่มีร่างกายประมาณ ๑๐๐ โยชน์ ๒๐๐ โยชน์ ๓๐๐ โยชน์ ๔๐๐ โยชน์ ๕๐๐ โยชน์ ก็มีอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่มหาสมุทรเป็นที่พำนักอาศัยของสิ่งมีชีวิตใหญ่ๆ สิ่งมีชีวิตในมหาสมุทรนั้น มีดังนี้ คือ ปลาติมิ ปลาติมิงคลา ปลาติมิรมิงคลา พวกอสูร นาค คนธรรพ์ แม้ที่มีร่างกายประมาณ ๑๐๐ โยชน์ ๒๐๐ โยชน์ ๓๐๐ โยชน์ ๔๐๐ โยชน์ ๕๐๐ โยชน์ ก็มีอยู่ นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่ ๘ ในมหาสมุทร ที่พวกอสูรเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในมหาสมุทรมีธรรมที่ น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ๘ ประการนี้แล ที่พวกอสูรเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้ มีธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมา ๘ ประการ ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วๆ ย่อมอภิรมย์ ธรรม ๘ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย มหาสมุทรลาด ลุ่ม ลึกลงไปโดยลำดับ หาได้โกรกชันเหมือน
@๑ ความพิสดารเหมือนข้อ ๑๐๙
เหวไม่ ฉันใด ในธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีการศึกษาไปตามลำดับ มีการกระทำไปตามลำดับ มีการปฏิบัติไปตามลำดับ มิใช่ว่าจะมีการบรรลุอรหัตผล โดยตรง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ในธรรมวินัยนี้ มีการศึกษาไปตามลำดับ มีการ กระทำไปตามลำดับ มีการปฏิบัติไปตามลำดับ มิใช่ว่าจะมีการบรรลุอรหัตผลโดย ตรง นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่ ๑ ในธรรมวินัยนี้ ที่ภิกษุ ทั้งหลายเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่ ฯลฯ ๑- ดูกรภิกษุทั้งหลาย มหาสมุทรเป็นที่ พำนักอาศัยของสิ่งมีชีวิตใหญ่ๆ สิ่งมีชีวิตในมหาสมุทรนั้นมีดังนี้ คือ ปลาติมิ ปลาติมิงคลา ปลาติมิรมิงคลา พวกอสูร นาค คนธรรพ์ แม้ที่มีร่างกายประมาณ ๑๐๐ โยชน์ ๒๐๐ โยชน์ ๓๐๐ โยชน์ ๔๐๐ โยชน์ ๕๐๐ โยชน์ ก็มีอยู่ ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน ธรรมวินัยนี้ ก็เป็นที่พำนักอาศัยแห่งสิ่งที่มี ชีวิตใหญ่ๆ สิ่งมีชีวิตในธรรมวินัยนี้มีดังนี้ คือ พระโสดาบัน ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อ กระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล พระสกทาคามี ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่ง สกทาคามิผล พระอนาคามี ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล พระอรหันต์ ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นพระอรหันต์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ ธรรมวินัยนี้เป็นที่พำนักอาศัยแห่งสิ่งที่มีชีวิตใหญ่ๆ สิ่งมีชีวิตในธรรมวินัยนี้ มีดังนี้ คือ พระโสดาบัน ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล พระสกทาคามี ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล พระอนาคามี ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำ ให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล พระอรหันต์ ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นพระอรหันต์ นี้เป็น ธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาประการที่ ๘ ในธรรมวินัยนี้ ที่ภิกษุทั้งหลายเห็น แล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้มีสิ่งที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคย มีมา ๘ ประการนี้แล ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วๆ จึงอภิรมย์อยู่ ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบมหาวรรคที่ ๒
------------
@๑. ความพิสดารเหมือนข้อ ๑๐๙
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ ๑. เวรัญชสูตร ๒. สีหสูตร ๓. อาชัญญสูตร ๔. ขฬุงคสูตร ๕. มลสูตร ๖. ทูตสูตร ๗. พันธนสูตรที่ ๑ ๘. พันธนสูตรที่ ๒ ๙. ปหาราทสูตร ๑๐. อุโปสถสูตร ฯ
**********************
ท่านผู้อ่านโปรดคลิกที่ลิงค์นี้ครับ http://hawk.blogth.com/18212/¤ÇÒÁã½è½Ñ¹¢Í§ÊÔè§ÁÕªÕÇÔµ·Ñé§ËÅÒÂ.html และ http://hawk.blogth.com/18213/¤ÇÒÁã½è½Ñ¹¢Í§ÊÔè§ÁÕªÕÇÔµ·Ñé§ËÅÒÂ+(µèÍ).html

ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่านครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น