วันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

วันวิสาขบูชา

สวัสดีท่านผู้อ่านครับ ผมเพิ่งสอบเสร็จไปเมื่อวันพุธที่ 6 พ.ค.ที่ผ่านมา เวลานี้ก็ได้พักจากการงานมาจนเพียงพอครับ เพราะว่าเมื่อเรียนหนังสือและทำบล็อกอย่างนี้ ผมก็พยายามทำอย่างเต็มที่ ดังนั้นผมก็จึงไม่ได้มีความรู้สึกว่าตนเองเป็นคนว่างงานครับ วันนี้เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา คือวันเพ็ญเดือน6ตามจันทรคติเป็นวันที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ในครั้งเมื่อก่อนพระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงเสด็จปรินิพพานนั้น พระองค์ทรงทราบว่า หากจะให้พระบวรพุทธศาสนาเจริญมั่นคงจนตลอด5,000ปีตามที่ทรงพยากรณ์นี้ หากจะทรงกระทำด้วยพระองค์เอง คงจะต้องใช้เวลาอีกราว40ปีเศษ และเมื่อครั้งพระองค์ทรงแรกตรัสรู้ไปไม่นาน มารผู้มีบาปได้ทูลอาราธนาให้พระองค์ทรงเสด็จปรินิพพาน พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่าพระองค์จะไม่ทรงปรินิพพานจนกว่าที่พระบวรพุทธศาสนาจะตั้งมั่นในโลก และพระภิกษุสาวกทั้งหลายมีความเชี่ยวชาญในพระธรรมคำสอน สามารถข่มขี่ซึ่งวาทะของชนนอกศาสนาได้

ดังที่กล่าวแล้วว่าเมื่อพระผู้มีพระภาคทรงใกล้จะเสด็จปรินิพพานนั้น พระองค์และท่านพระอานนท์ทรงเดินทางผ่านพระนครเวสาลี พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภกับท่านพระอานนท์ว่าเจดีย์ต่างๆที่ในพระนครเวสาลีนี้รื่นรมย์หนอ แม้ผู้ใดที่ได้เจริญอิทธิบาท4จนคล่องแคล่วขำนิชำนาญเช่นกับพระองค์นั้น หากประสงค์จะดำรงชีวิตอยู่จนตลอดกัป(120ปี)หรือกว่านั้นแล้ว ก็สามารถที่จะทำได้ ทั้งนี้เพราพระชนมายุ120พรรษานั้นออกจะมากกว่าคนทั่วไปสักหน่อย มารย่อมจะได้ช่องเข้าทูลอาราธนาให้ทรงเสด็จปรินิพพานได้ ซึ่งก็เป็นจริงตามนั้น มารได้เข้าดลใจท่านพระอานนท์ ทำให้ท่านไม่ทราบถึงนิมิตที่หยาบ(ไม่ลึกลับซับซ้อน) จึงไม่ได้ทูลอาราธนาให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระชนม์ชีพต่อไป แม้พระผู้มีพระภาคจะทรงปรารภความนี้ถึงสามครั้ง ท่านพระอานนท์ก็มิได้เฉลียวใจ จนท่านพระอานนท์ไปทำกิจธุระของท่านในที่ไม่ไกลนั้นเอง มารจึงได้มาทูลอาราธนาให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเสด็จปรินิพพานอีกครั้ง โดยอ้างว่าในเวลานี้พระศาสนาของพระองค์ได้เจริญมั่นคงแล้ว พระสาวกตลอดจนคฤหัสถ์ที่เป็นอุบาสกอุบาสิกานั้นก็รู้ตามในพระธรรมคำสอนของพระองค์เป็นอย่างดี ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเสด็จปรินิพพานเถิด
" ดูกรอานนท์ เมื่อมารกล่าวอย่างนี้แล้ว เราได้ตอบว่า ดูกรมารผู้มีบาป ท่านจงมีความขวนขวายน้อยเถิด ความปรินิพพานแห่งตถาคตจักมีไม่ช้า โดย ล่วงไปอีกสามเดือนแต่นี้ ตถาคตก็จักปรินิพพาน ดูกรอานนท์ วันนี้เมื่อกี้นี้ ตถาคตมีสติสัมปชัญญะปลงอายุสังขารแล้ว ที่ปาวาลเจดีย์ ฯ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงดำรงอยู่ตลอดกัป ขอพระสุคตจงทรง ดำรงอยู่ตลอดกัป เพื่อประโยชน์ของชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขของชนเป็น อันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขของ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ เวลานี้อย่าเลย อย่าวิงวอนตถาคตเลย บัดนี้มิใช่เวลาที่จะวิงวอนตถาคต แม้ครั้งที่สอง ... แม้ ครั้งที่สาม ... ท่านพระอานนท์ ก็ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ พระผู้มีพระภาคจงทรงดำรงอยู่ตลอดกัป ขอพระสุคตจงทรงดำรงอยู่ตลอดกัป เพื่อ ประโยชน์ของชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขของชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ ดูกรอานนท์ เธอเชื่อความตรัสรู้ของตถาคตหรือ ฯ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เชื่อ ฯ ดูกรอานนท์ เมื่อเชื่อ ไฉนเธอจึงแค่นได้ตถาคตถึงสามครั้งเล่า ฯ"
(เนื้อความจากพระสุตตันตปิฎก เล่ม2 ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปรินิพพานสูตร)


ผมมานึกถึงว่า หากเป็นไปได้ที่ท่านพระอานนท์จะมีโอกาสได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าให้ทรงพระชนม์ชีพอยู่จนตลอดกัป้ป็นครั้งที่สองแล้ว ท่านได้เคยพลาดพลั้งมาแล้วครั้งหนึ่ง ครั้งนี้ท่านจะไม่พลาดอีกแน่นอน ดังที่ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคตรัสว่า เมื่อท่านพระอานนท์เชื่อในการตรัสรู้ขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วก็ควรยุติ ไม่อาราธนาพระองค์อีก เพราะพระองค์ได้ทรงปลงอายุสังขารแล้ว แต่ในข้อนี้เป็นสิ่งที่แสดงว่า พระผู้มีพระภาคได้ทรงตระเตรียมทุกอย่างไว้แล้วจึงได้ตรัสอย่างไม่พะวงเลย เมื่อท่านพระอานนท์สำเร็จเป็นพระอรหันตขีณาสวเจ้าเมื่อใดก็จะทราบเองว่าจะต้องทำอย่างไร (ซึ่งท่านพระอานนท์นั้นตรัสรู้ก่อนวันสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งแรกหนึ่งวัน)

ด้วยเหตุนี้ ในวันวิสาขบูชานี้ ผมอยากจะขอพรจากองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงพระนามว่าพระศรีศากยมุนีโคดมพระองค์นั้นดังนี้ว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงดำรงอยู่ตลอดกัป ขอพระสุคตจงทรงดำรงอยู่ตลอดกัป เพื่อประโยชน์ของชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขของชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย"

พระสูตรในวันนี้ยกมาจากพระสุตตันตปิฎก เล่ม12 อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต ครับ

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
************************************************
เทวทูตวรรคที่ ๔
พรหมสูตร
[๔๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สกุลใดบุตรบูชามารดาบิดาในเรือนตน สกุลนั้นมีพรหม สกุลใดบุตรบูชามารดาบิดาในเรือนตน สกุลนั้นมีบุรพาจารย์ สกุลใดบุตรบูชามารดาบิดาในเรือนตน สกุลนั้นมีอาหุไนยบุคคล ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย คำว่าพรหมนี้ เป็นชื่อของมารดาและบิดา คำว่าบุรพาจารย์นี้ เป็นชื่อ ของมารดาและบิดา คำว่าอาหุไนยบุคคลนี้ เป็นชื่อของมารดาและบิดา ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะมารดาบิดามีอุปการะมาก บำรุงเลี้ยง แสดงโลกนี้แก่บุตร ฯ มารดาบิดาผู้อนุเคราะห์บุตร ท่านเรียกว่าพรหม ว่าบุรพาจารย์ และว่าอาหุไนยบุคคล เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงนมัสการและ สักการะ มารดาบิดา ด้วยข้าว น้ำ ผ้า ที่นอน การ อบกลิ่น การให้อาบน้ำ และการล้างเท้าทั้งสอง เพราะการ ปรนนิบัติในมารดาบิดา นั้นแล บัณฑิตย่อมสรรเสริญเขาใน โลกนี้เอง เขาละไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์ ฯ อานันทสูตร [๔๗๑] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในกายอันมีวิญญาณนี้และใน สรรพนิมิตภายนอก ไม่พึงมีอหังการ มมังการ และมานานุสัย อนึ่ง อหังการ มมังการ และมานานุสัย ย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้เข้าเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติอยู่ ภิกษุ พึงเข้าเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตินั้นอยู่ด้วยประการใด การได้สมาธิด้วยประการนั้น พึงมีแก่ภิกษุหรือหนอ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ ในกายอันมีวิญญาณนี้ และในสรรพนิมิตภายนอก ไม่พึงมีอหังการ มมังการ และมานานุสัย อนึ่ง อหังการ มมังการ และมานานุสัย ย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้เข้าเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อยู่ ภิกษุพึงเข้าเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตินั้นอยู่ด้วยประการใด การได้สมาธิด้วย ประการนั้น พึงมีแก่ภิกษุได้ ฯ อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในกายอันมีวิญญาณนี้และในสรรพนิมิต ภายนอก ไม่พึงมีอหังการ มมังการ และมานานุสัย อนึ่ง อหังการ มมังการ และมานานุสัย ย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้เข้าเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติอยู่ ภิกษุพึงเข้า เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตินั้นอยู่ด้วยประการใด การได้สมาธิด้วยประการนั้น พึงมี แก่ภิกษุได้อย่างไร ฯ ภ. ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมคิดเช่นนี้ว่า คุณชาตินี้ เป็นที่สงบระงับ ประณีต คือ ความสงบสังขารทั้งปวง การสละคืนอุปธิทั้งมวล ธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา ความสำรอกกิเลส ความดับสนิท นิพพาน ดูกรอานนท์ ในกายอันมีวิญญาณนี้ และในสรรพนิมิตภายนอก ไม่พึงมีอหังการ มมังการ และมานานุสัย อนึ่ง อหังการ มมังการ และมานานุสัย ย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้เข้า เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติอยู่ ภิกษุพึงเข้าเจโตวิมุติและปัญญาวิมุตินั้นอยู่ด้วย ประการใด การได้สมาธิด้วยประการนั้น พึงมีแก่ภิกษุได้ด้วยประการฉะนี้แล ก็แหละเราหมายเอาเช่นนี้ ได้ภาษิตไว้แล้วในปุณณกปัญหาในปารายนสูตร ดังนี้ว่า บุคคลใดรู้อัตภาพของผู้อื่น และอัตภาพของตนเป็นต้นในโลก ไม่มีกิเลสเป็นเหตุให้หวั่นไหวในโลกไหนๆ เรากล่าวว่า บุคคลนั้น สงบระงับแล้ว ไม่มีทุจริตอันทำให้จิตกลุ้มมัวดุจ ควันไฟ ไม่มีกิเลสอันกระทบใจ หาความทะเยอทะยานมิได้ ห้ามชาติและชราได้แล้ว ฯ สาริปุตตสูตร [๔๗๒] ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระสารีบุตรว่า ดูกรสารีบุตร เราพึงแสดงธรรมโดย สังเขปก็มี โดยพิสดารก็มี ทั้งโดยสังเขปและพิสดารก็มี แต่บุคคลผู้ที่จะรู้ทั่วถึง ธรรมหาได้ยาก ท่านพระสารีบุตรได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ข้าแต่ พระสุคต บัดนี้ เป็นการสมควรที่พระผู้มีพระภาคจะพึงทรงแสดงธรรมโดยสังเขป บ้าง โดยพิสดารบ้าง ทั้งโดยสังเขป ทั้งโดยพิสดารบ้าง จักมีผู้ที่รู้ทั่วถึงธรรมได้ ภ. ดูกรสารีบุตร เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายควรศึกษาอย่างนี้ว่า ในกายอันมีวิญญาณนี้และในสรรพนิมิตภายนอก จักไม่มีอหังการ มมังการ และ มานานุสัย อนึ่ง อหังการ มมังการ และมานานุสัย ย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้เข้าเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติอยู่ เราจักเข้าเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตินั้นอยู่ ดูกรสารีบุตร เธอทั้งหลายควร ศึกษาอย่างนี้แล เพราะภิกษุไม่มีอหังการ มมังการ และมานานุสัย ในกายที่มีวิญญาณ นี้และในสรรพนิมิตภายนอก กับภิกษุที่เข้าถึงเจโตวิมุติและปัญญาวิมุติ ซึ่งเป็นที่ไม่ มีอหังการ มมังการ และมานานุสัย ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ตัดตัณหา ถอนสังโยชน์ทิ้ง กระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ เพราะการรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยการละมานะโดยชอบ ดูกรสารีบุตร ก็เราหมายเอาข้อนี้ ได้กล่าวไว้ในอุทยปัญหาในปารายนสูตร ดังนี้ว่า เรากล่าวธรรมสำหรับละกามสัญญา และโทมนัสทั้งสอง และธรรมเป็นเหตุบรรเทาความง่วง และธรรมเป็นเครื่องห้าม กันความรำคาญ อันมีอุเบกขากับสติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ มีความตรึกประกอบด้วยธรรมแล่นไปในเบื้องหน้าว่า เป็น ธรรมสำหรับทำลายล้างอวิชชา เป็นเครื่องพ้นกิเลสด้วยปัญญา ที่รู้ทั่วถึง ฯ นิทานสูตร [๔๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติ ๓ ประการนี้ เป็นเหตุให้ เกิดกรรม ๓ ประการเป็นไฉน คือ โลภะ ๑ โทสะ ๑ โมหะ ๑ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย กรรมที่ถูกโลภะครอบงำ เกิดแต่โลภะ มีโลภะเป็นเหตุ มีโลภะ เป็นแดนเกิด ย่อมให้ผลในที่ที่เกิดอัตภาพของเขา กรรมนั้นให้ผลในขันธ์ใด ในขันธ์นั้น เขาจะต้องเสวยวิบากของกรรมนั้น ในลำดับที่เกิดหรือต่อๆ ไปใน ปัจจุบันนั่นเอง ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรมที่ถูกโทสะครอบงำ เกิดแต่โทสะ มี โทสะเป็นเหตุ มีโทสะเป็นแดนเกิด ย่อมให้ผลในที่ที่เกิดอัตภาพของเขา กรรม นั้นให้ผลในขันธ์ใด ในขันธ์นั้น เขาจะต้องเสวยวิบากของกรรมนั้น ในลำดับ ที่เกิดหรือต่อๆ ไปในปัจจุบันนั่นเอง ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรมที่ถูกโมหะครอบงำ เกิดแต่โมหะ มีโมหะเป็นเหตุ มีโมหะเป็นแดนเกิด ย่อมให้ผลในที่ที่เกิดอัตภาพ ของเขา กรรมนั้นให้ผลในขันธ์ใด ในขันธ์นั้น เขาจะต้องเสวยวิบากของกรรมนั้น ในลำดับที่เกิดหรือต่อๆ ไปในปัจจุบันนั่นเอง เปรียบเหมือนเมล็ดพืชที่ไม่แตกหัก เสียหาย ไม่ถูกลมแดดกระทบ มีสาระ เก็บงำไว้ดี เขาหว่านลงบนพื้นดินที่ พรวนไว้ดีแล้วในไร่ที่ดี ทั้งฝนก็ตกดีตามฤดูกาล เมล็ดพืชเหล่านั้นย่อมถึงความ เจริญงอกงามไพบูลย์โดยแท้ทีเดียว แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือน กันแล กรรมที่ถูกโลภะครอบงำ เกิดแต่โลภะ มีโลภะเป็นเหตุ มีโลภะเป็น แดนเกิด ย่อมให้ผลในที่ที่เกิดอัตภาพของเขา กรรมนั้นให้ผลในขันธ์ใด ในขันธ์ นั้น เขาจะต้องเสวยวิบากของกรรมนั้น ในลำดับที่เกิดหรือต่อๆ ไปในปัจจุบัน นั่นเอง กรรมที่ถูกโทสะครอบงำ ฯลฯ กรรมที่ถูกโมหะครอบงำ เกิดแต่โมหะ มีโมหะเป็นเหตุ มีโมหะเป็นแดนเกิด ย่อมให้ผลในที่ที่เกิดอัตภาพของเขา กรรมนั้นให้ผลในขันธ์ใด ในขันธ์นั้น เขาจะต้องเสวยวิบากของกรรมนั้น ใน ลำดับที่เกิดหรือต่อๆ ไปในปัจจุบันนั่นเอง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติ ๓ ประการนี้แล เป็นเหตุให้เกิดกรรม ๓ ประการเป็นไฉน คือ อโลภะ ๑ อโทสะ ๑ อโมหะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย กรรมที่ถูกอโลภะครอบงำ เกิดแต่อโลภะ มี อโลภะเป็นเหตุ มีอโลภะเป็นแดนเกิด เมื่อโลภะปราศไปแล้ว ย่อมเป็นอัน บุคคลละได้เด็ดขาด ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา กรรมที่ถูกอโทสะครอบงำ ฯลฯ กรรมที่ถูก อโมหะครอบงำ เกิดแต่อโมหะ มีอโมหะเป็นเหตุ มีอโมหะเป็นแดนเกิด เมื่อ โมหะปราศไปแล้ว ย่อมเป็นอันบุคคลละได้เด็ดขาด ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้ เหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา เปรียบเหมือน บุรุษพึงเอาไฟเผาเมล็ดพืชที่ไม่แตกหักเสียหาย ยังไม่ถูกลมแดดกระทบ มีสาระ ถูกเก็บงำไว้ดีแล้ว ครั้นแล้วพึงทำให้เป็นเขม่า แล้วโปรยลงไปในลมพายุ หรือ ลอยเสียในแม่น้ำที่มีกระแสน้ำไหลเชี่ยว พึงเป็นพืชถูกถอนรากขึ้น ถูกทำให้ เหมือนตาลยอดด้วน ทำให้ไม่มีไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล กรรมที่ถูกอโลภะครอบงำ เกิดแต่อโลภะ มีอโลภะเป็นเหตุ มีอโลภะเป็นแดนเกิด เมื่อโลภะปราศไปแล้ว ย่อมเป็นอัน บุคคลละได้ ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิด ขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา กรรมที่ถูกอโทสะครอบงำ ฯลฯ กรรมที่ถูกอโมหะครอบ งำ เกิดแก่อโมหะ มีอโมหะเป็นเหตุ มีอโมหะเป็นแดนเกิด เมื่อโมหะปราศไป แล้ว ย่อมเป็นอันบุคคลละได้เด็ดขาด ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติ ๓ ประการนี้แล เป็นเหตุให้เกิดกรรม ฯ ผู้รู้จักกรรมอันเกิดแต่โลภะ เกิดแต่โทสะและเกิดแต่โมหะ เขาทำกรรมใด จะน้อยหรือมากก็ตาม เขาจะต้องเสวยผล กรรมนั้นในอัตภาพนี้แหละ วัตถุชนิดอื่นย่อมไม่มี เพราะ ฉะนั้น ภิกษุผู้รู้แจ้งความโลภ ความโกรธ และความหลง ทำให้วิชชาบังเกิดขึ้น พึงละทุคติเสียได้ทั้งหมด ฯ หัตถกสูตร [๔๗๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่บนที่ลาดใบไม้ ใน สีสปาวัน ข้างทางโค ใกล้เมืองอาฬวี ครั้งนั้นแล หัตถกราชกุมารชาวเมือง อาฬวี เที่ยวเดินพักผ่อนอยู่ เมื่อกำลังเดินพักผ่อน ได้เห็นพระผู้มีพระภาค ประทับนั่งอยู่บนที่ลาดใบไม้ในป่าสีสปาวันข้างทางโค ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้เจริญ พระองค์ทรงเป็นสุข ดีหรือ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรกุมาร ฉันอยู่เป็นสุขดี ก็แหละฉัน เป็นคนหนึ่งในจำนวนคนที่เป็นสุขในโลก ฯ ห. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ราตรีฤดูเหมันต์เยือกเย็น ระหว่าง ๘ วัน เป็น สมัยหิมะตก พื้นดินแข็งแตกระแหง ที่ลาดใบไม้บาง ใบต้นไม้ห่าง ผ้ากาสายะ เย็น ทั้งลมเวรัมพวาตอันเยือกเย็นก็กำลังพัด ฯ ก็แหละลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสอย่างนี้ว่า อย่างนั้นกุมาร ฉันเป็นสุขดี ก็แหละฉันเป็นคนหนึ่งในจำนวนคนที่อยู่เป็นสุขในโลก แล้วตรัส ต่อไปว่า ดูกรกุมาร ถ้าเช่นนั้นฉันจักย้อนถามท่านในข้อนี้ ท่านพึงพยากรณ์ ปัญหานั้นตามที่ท่านชอบใจ ดูกรกุมาร ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีในโลกนี้ พึงมีเรือนยอดที่เขาฉาบทาทั้งภายในภายนอก ลมพัดเข้าไม่ได้ มีบานประตูมิดชิด มีหน้าต่างปิดสนิท ในเรือนยอดนั้นพึงมี บัลลังก์ ซึ่งลาดด้วยผ้าลาดมีขนยาว ลาดด้วยเครื่องลาดขาว ทอด้วยขนสัตว์ยาว ลาดด้วยเครื่องลาดขาวด้วยดอกไม้ ลาดด้วยเครื่องลาดชั้นสูงคือหนังชมด ข้างบน มีเพดาน มีหมอนสีแดงวางไว้ทั้งสองข้าง ตามประทีปน้ำมันไว้สว่างไสว ปชาบดี สี่นางพึงบำรุงบำเรอด้วยวิธีที่น่าชอบอกชอบใจ ดูกรกุมาร ท่านจะสำคัญความข้อ นั้นเป็นไฉน คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีนั้น อยู่เป็นสุขหรือหาไม่ หรือท่านมี ความคิดเห็นเป็นไฉนในเรื่องนี้ ฯ
[ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับหัตกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี ซึ่งเวลานั้นยังเป็นเด็กว่า ดูก่อนกุมาร แม้เป็นคืนราตรีในฤดูหนาว มีหิมะตกติดต่อกันหลายวัน พื้นดินแข็งแตกระแหง ใบไม้เบาบางบนพื้น ใบต้นไม้บนต้นก็ห่าง ผ้ากาสายะเย็น ทั้งลมเย็นก็พัดอยู่ แต่พระองค์ก็เป็นสุขดี และพระองค์นั้นเป็นคนหนึ่งในจำนวนคนที่เป็นสุขในโลก แต่พระองค์มิได้มีความเร่าร้อนในจิตหรือในกาย ซึ่งเกิดจากราคะ โทสะ โมหะ อันเป็นเหตุทำให้ผู้ถูกมันเผาอยู่เป็นทุกข์]
ห. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีนั้น พึงอยู่เป็นสุข และเขาเป็นคนหนึ่งในจำนวนคนที่อยู่เป็นสุขในโลก ฯ พ. ดูกรกุมาร ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน คฤหบดีหรือบุตร คฤหบดี พึงเกิดความเร่าร้อนที่เป็นไปทางกายหรือทางจิต ซึ่งเกิดแต่ราคะอันเป็น เหตุทำให้ผู้ที่ถูกมันเผาอยู่เป็นทุกข์มิใช่หรือ ห. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรกุมาร คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีนั้น ถูกความเร่าร้อนอันเกิดแต่ ราคะใดแผดเผาอยู่ จึงอยู่เป็นทุกข์ ราคะนั้นตถาคตละได้เด็ดขาดแล้ว ถอนราก ขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วน ไม่ให้มีไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น เราจึงอยู่เป็นสุข ดูกรกุมาร ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีนั้น พึงเกิดความเร่าร้อนที่เป็นไปทางกายหรือทางจิต ซึ่ง เกิดแต่โทสะ ฯลฯ ซึ่งเกิดแต่โมหะ อันเป็นเหตุทำให้ผู้ที่ถูกมันเผาอยู่เป็นทุกข์ มิใช่หรือ ฯ ห. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ พ. ดูกรกุมาร คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีนั้น ถูกความเร่าร้อนอันเกิดแต่ โทสะ ฯลฯ เกิดแต่โมหะใดแผดเผาอยู่ จึงอยู่เป็นทุกข์ โทสะ โมหะนั้น ตถาคตละได้เด็ดขาดแล้ว ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วน ไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น เราจึงอยู่เป็นสุข ฯ พราหมณ์ผู้ดับกิเลสได้แล้ว อยู่สบายทุกเมื่อแล ผู้ใดไม่ติด อยู่ในกาม ผู้นั้นเป็นผู้เยือกเย็นหมดอุปธิ ตัดธรรมชาติ เครื่องมาข้องเสียทุกอย่าง ปราบปรามความกระวนกระวายใน หทัยได้ เข้าไปสงบแล้ว ถึงความสงบใจอยู่สบาย ฯ ทูตสูตร [๔๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวทูต ๓ จำพวกนี้ ๓ จำพวก เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ประพฤติทุจริตทางกาย ประพฤติทุจริตทางวาจา ประพฤติทุจริตทางใจ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก เขาย่อมถูกนายนิรยบาลฉุดแขนไปแสดงต่อพระยายม ว่า ขอเดชะ ชายผู้นี้เป็นคนไม่เกื้อกูลแก่มารดา ไม่เกื้อกูลแก่บิดา ไม่เกื้อกูลแก่ สมณะ ไม่เกื้อกูลแก่พราหมณ์ ไม่อ่อนน้อมต่อผู้หลักผู้ใหญ่ในสกุล ขอพระองค์ จงลงอาชญาแก่ชายผู้นี้เถิด เขาย่อมถูกพระยายมสอบสวนซักไซ้ไล่เลียงถึงเทวทูต ที่หนึ่งว่า ดูกรพ่อ ท่านไม่ได้พบเทวทูตที่หนึ่งซึ่งปรากฏในหมู่มนุษย์หรือ เขาได้ ตอบว่า ไม่พบ พระเจ้าข้า พระยายมจึงได้ถามเขาต่อไปว่า ดูกรพ่อ สตรีหรือ บุรุษมีอายุได้ ๘๐ ปี ๙๐ ปี หรือ ๑๐๐ ปีก็ดี อันเป็นคนชรา มีโครงคดเหมือน กลอน หลังโกง ถือไม้เท้า เดินงกๆ เงิ่นๆ ผ่านความเป็นหนุ่มสาวแล้ว ฟันหัก ผมหงอก ศีรษะล้าน หนังเหี่ยว ตัวตกกระ ท่านไม่ได้พบในพวกมนุษย์บ้างหรือ ชายนั้นได้ตอบว่า ได้พบ พระเจ้าข้า พระยายมจึงถามต่อไปว่า ดูกรพ่อ ท่าน ซึ่งเป็นผู้รู้เดียงสา เป็นผู้ใหญ่ไม่ได้คิดเห็นเช่นนี้บ้างหรือว่า แม้เราก็จักต้องมีความ แก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ ผิฉะนั้น เราจักทำความดีทาง กาย วาจา ใจ ชายนั้นตอบว่า ไม่อาจที่จะคิดเห็นได้เช่นนั้น เพราะมัวประมาทเสีย พระยายม ได้พูดกะเขาเช่นนี้ว่า ดูกรพ่อ ท่านไม่ทำความดีทาง กาย วาจา ใจ เพราะ มัวประมาทเสีย ดีละพ่อ ท่านจักถูกทำจนสาสมกับที่ท่านประมาท ก็กรรมชั่วนี้นั้น มารดามิได้ทำให้ บิดามิได้ทำให้ พี่ชายน้องชายมิได้ทำให้ พี่สาวน้องสาวมิได้ทำ ให้ มิตรอำมาตย์มิได้ทำให้ ญาติสาโลหิตมิได้ทำให้ เทพยดามิได้ทำให้ สมณ- *พราหมณ์มิได้ทำให้ ท่านทำของท่านเอง ท่านนั่นแหละจักเสวยวิบากของกรรมชั่ว นั้นเอง ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระยายมครั้นสอบสวนซักไซ้ไล่เลียงถึงเทวทูตที่หนึ่ง กะผู้นั้นแล้ว จึงสอบสวนซักไซ้ไล่เลียงถึงเทวทูตที่สองต่อไปว่า ดูกรพ่อ ท่าน ไม่ได้พบเทวทูตที่สองซึ่งปรากฏในหมู่มนุษย์บ้างหรือ เขาได้ตอบว่า ไม่พบ พระเจ้าข้า พระยายมจึงได้ถามต่อไปว่า ดูกรพ่อ สตรีหรือบุรุษที่ป่วย ได้ทุกข์ เป็นไข้หนัก นอนจมอยู่ในมูตรคูถของตน อันคนอื่นต้องช่วยพยุงลุก ช่วยป้อน อาหาร ท่านไม่ได้พบในพวกมนุษย์บ้างดอกหรือ ชายนั้นได้ตอบว่า ได้พบ พระเจ้าข้า พระยายมจึงถามต่อไปว่า ดูกรพ่อ ท่านนั้นซึ่งเป็นผู้รู้เดียงสา เป็นผู้ ใหญ่ ไม่ได้คิดเห็นเช่นนี้บ้างหรือว่า แม้ตัวเราก็จักต้องป่วยไข้เป็นธรรมดา ไม่ ล่วงพ้นความป่วยไข้ไปได้ ผิฉะนั้น เราจักทำความดีทางกาย วาจา ใจ เขาตอบ ว่า ไม่อาจที่จะคิดเห็นได้เช่นนั้น เพราะมัวประมาทเสีย พระยายมได้พูดกะเขา เช่นนี้ว่า ดูกรพ่อ ท่านไม่ทำความดีทางกาย วาจา ใจ เพราะมัวประมาทเสีย ดีละพ่อ ท่านจักถูกทำจนสาสมกับที่ท่านประมาท ก็บาปกรรมนี้นั้น มารดามิได้ ทำให้ บิดามิได้ทำให้ พี่ชายน้องชายมิได้ทำให้ พี่สาวน้องสาวมิได้ทำให้ มิตร อำมาตย์มิได้ทำให้ ญาติสาโลหิตมิได้ทำให้ เทพยดามิได้ทำให้ สมณพราหมณ์ มิได้ทำให้ ท่านทำของท่านเอง ท่านนั่นแหละจักเสวยวิบากกรรมชั่วนั้นเอง ดูกร ภิกษุทั้งหลาย พระยายมครั้นสอบสวนซักไซ้ไล่เลียงถึงเทวทูตที่สองกะบุคคลนั้น แล้ว จึงสอบสวนซักไซ้ไล่เลียงถึงเทวทูตที่สามต่อไปว่า ดูกรพ่อ ท่านไม่ได้พบ เทวทูตที่สามซึ่งปรากฏในพวกมนุษย์บ้างหรือ เขาตอบว่า ไม่พบ พระเจ้าข้า พระยายมจึงถามต่อไปว่า ดูกรพ่อ สตรีหรือบุรุษที่ตายได้วันหนึ่ง สองวัน หรือ สามวันก็ดี ขึ้นพองเป็นสีเขียว ชุ่มด้วยน้ำเหลือง ท่านไม่ได้พบในพวกมนุษย์ บ้างหรือ ชายนั้นได้ตอบว่า ได้พบ พระเจ้าข้า พระยายมจึงถามต่อไปว่า ดูกร พ่อ ท่านนั้นซึ่งเป็นผู้รู้เดียงสา เป็นผู้ใหญ่ ไม่ได้คิดเห็นเช่นนี้บ้างหรือว่า แม้ เราก็จะต้องมีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ ผิฉะนั้น เราจัก ทำความดีทางกาย วาจา ใจ เขาตอบว่า ไม่อาจที่จะคิดเห็นได้เช่นนั้น เพราะ มัวประมาทเสีย พระยายมได้พูดกะเขาเช่นนี้ว่า ดูกรพ่อ ท่านไม่ทำความดีทาง กาย วาจา ใจ เพราะมัวประมาทเสีย ดีละพ่อ ท่านจักถูกทำจนสาสมกับที่ท่าน ประมาท อันบาปกรรมนี้นั้น มารดามิได้ทำให้ บิดามิได้ทำให้ พี่ชายน้องชายมิได้ ทำให้ พี่สาวน้องสาวมิได้ทำให้ มิตรอำมาตย์มิได้ทำให้ ญาติสาโลหิตมิได้ทำให้ เทพยดามิได้ทำให้ สมณพราหมณ์มิได้ทำให้ ท่านทำของท่านเอง ท่านนั่นแหละ จักเสวยวิบากกรรมชั่วนั้นเอง ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระยายมครั้นสอบสวนซักไซ้ ไล่เลียงถึงเทวทูตที่สามกะบุคคลนั้นดังนี้แล้ว ก็นิ่งเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้นั้นถูกนายนิรยบาลทั้งหลายทำกรรมกรณ์ อันมีเครื่อง ผูก ๕ อย่าง คือ เอาตาปูเหล็กแดงตอกที่มือ ที่เท้าที่ท่ามกลางอก เขาได้เสวย ทุกขเวทนาอันกล้าแสบเผ็ดร้อน แต่ก็ยังไม่ตายตราบเท่าที่บาปกรรมนั้นยังไม่สิ้น เขาถูกนายนิรยบาลทั้งหลายเอาผึ่งถาก เขาได้เสวยทุกขเวทนาอันกล้าแสบเผ็ดร้อน แต่ก็ยังไม่ตายตราบเท่าที่กรรมนั้นยังไม่สิ้น เขาถูกนายนิรยบาลจับเอาเท้าขึ้นเอาหัว ลงแล้วเอามีดเฉือน เขาถูกนายนิรยบาลยกขึ้นใส่ในรถ แล้วพาแล่นไปมาบนภูมิภาค อันไฟติดแดงลุกโชน ... เขาถูกนายนิรยบาลไล่ต้อนให้ขึ้นบนภูเขาถ่านเพลิงลูกใหญ่ ซึ่งไฟติดแดงลุกโชนบ้าง ไล่ต้อนให้ลงจากภูเขาถ่านเพลิงลูกใหญ่ ซึ่งไฟติดแดง ลุกโชนบ้าง เขาถูกนายนิรยบาลทั้งหลายจับเอาเท้าขึ้นเอาหัวลง แล้วโยนลงในหม้อ เหล็กแดงไฟติดลุกโชน เขาถูกไฟไหม้เดือดเป็นฟองน้ำอยู่ในหม้อเหล็กแดงนั้น เมื่อเขาถูกไฟไหม้เดือดเป็นฟองน้ำอยู่ในหม้อเหล็กแดงนั้น ลอยขึ้นข้างบนครั้งหนึ่ง บ้าง จมลงภายใต้ครั้งหนึ่งบ้าง ไปตามขวางครั้งหนึ่งบ้าง เขาได้เสวยทุกขเวทนา อันกล้าแสบเผ็ดร้อนอยู่ในหม้อเหล็กแดงนั้น แต่ยังไม่ตายตราบเท่าที่บาปกรรมนั้น ยังไม่สิ้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มหานรกนั้น มี ๔ มุม ๔ ประตู จัดแบ่งออกเป็นห้องๆ มีกำแพงเหล็ก ล้อมรอบ ครอบด้วยฝาเหล็กแดง มีพื้นแล้วด้วยเหล็ก ไฟลุกโชนประกอบด้วยเปลว แผ่ไปไกลร้อยโยชน์โดยรอบ ตั้งอยู่ทุกเมื่อ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว พระยายมได้มีความคิดว่า ดูกร ท่านผู้เจริญ ได้ทราบว่าผู้ใดกระทำบาปกรรมไว้ในโลก ผู้นั้นต้องถูกนายนิรยบาล ทำกรรมกรณ์ต่างๆ เห็นปานนี้ โอหนอ เราพึงได้ความเป็นมนุษย์ พระตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพึงเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ขอให้เราได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มี- *พระภาคพระองค์นั้น ขอให้พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นพึงทรงแสดงธรรม และขอ ให้เราพึงรู้ทั่วถึงธรรมของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เรา มิได้ฟังข้อความนั้นต่อสมณะหรือพราหมณ์อื่น แล้วจึงกล่าวอย่างนี้ แต่ว่าเราได้รู้ มาเอง เห็นมาเอง ทราบมาเอง จึงได้กล่าวดังนั้น ฯ มาณพเหล่าใดอันเทวทูตทั้งหลายตักเตือนแล้ว ยังมัวเมา ประมาท มาณพเหล่านั้น เป็นคนเข้าถึงหมู่ที่เลวทราม ย่อมเศร้าโศกตลอดกาลนาน ส่วนสัตบุรุษผู้สงบระงับในโลก นี้ อันเทวทูตตักเตือนแล้ว ย่อมไม่มัวเมาประมาทในอริย ธรรมในกาลไหนๆ เห็นภัยในความถือมั่น อันเป็นแดนเกิด แห่งชาติและมรณะ ย่อมหลุดพ้นในธรรมเป็นที่สิ้นชาติและ มรณะ เพราะไม่ถือมั่น สัตบุรุษเหล่านั้นเป็นผู้ถึงความเกษม มีความสุข ดับสนิทในปัจจุบัน ล่วงพ้นเวรและภัยทั้งปวง ข้ามพ้นทุกข์ทั้งสิ้น ฯ ราชสูตรที่ ๑ [๔๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในดิถีที่ ๘ ของปักษ์ เทวดาผู้เป็น บริวารของท้าวจาตุมหาราชย่อมเที่ยวตรวจดูโลกนี้ว่า ในหมู่มนุษย์ มนุษย์ที่เกื้อกูล แก่มารดา เกื้อกูลแก่บิดา เกื้อกูลแก่สมณะ เกื้อกูลแก่พราหมณ์ อ่อนน้อมต่อ ผู้หลักผู้ใหญ่ในสกุล อธิษฐานอุโบสถ ปฏิบัติ ทำบุญ มีอยู่มากแลหรือ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ในดิถีที่ ๑๔ ของปักษ์ พวกโอรสของท้าวจาตุมหาราชย่อมเที่ยวตรวจ ดูโลกนี้ว่า ในหมู่มนุษย์ มนุษย์ที่เกื้อกูลแก่มารดา ... ทำบุญ มีอยู่มากแลหรือ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำนั้น ท้าวจาตุมหาราชย่อมเที่ยวตรวจดูโลก นี้ด้วยตนเองทีเดียวว่า ในหมู่มนุษย์ มนุษย์ที่เกื้อกูลแก่มารดา เกื้อกูลแก่บิดา เกื้อกูลแก่สมณะ เกื้อกูลแก่พราหมณ์ อ่อนน้อมต่อผู้หลักผู้ใหญ่ในสกุล อธิษ- *ฐานอุโบสถ ปฏิบัติ ทำบุญ มีอยู่มากแลหรือ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าในหมู่ มนุษย์ มนุษย์ที่เกื้อกูลแก่มารดา ... ปฏิบัติ ทำบุญมีอยู่น้อย ท้าวจาตุมหาราช ย่อมบอกถึงเหตุที่กล่าวมานั้น แก่พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ซึ่งมาประชุมกันอยู่ ณ สุธรรมาสภาว่า ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ในหมู่มนุษย์ มนุษย์ที่เกื้อกูลแก่มารดา ... ปฏิบัติ ทำบุญ มีน้อย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น พวกเทวดาชั้น ดาวดึงส์ย่อมพากันเสียใจว่า ดูกรผู้เจริญทั้งหลาย กายทิพย์จักเสื่อมหาย อสุรกาย จักเต็มบริบูรณ์ ดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าในหมู่มนุษย์ มนุษย์ที่เกื้อกูลแก่ มารดา ... ปฏิบัติ ทำบุญ มีอยู่มาก ท้าวจาตุมหาราชย่อมบอกถึงเหตุที่กล่าวมา นั้น แก่พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ซึ่งมาประชุมกัน ณ สุธรรมาสภาว่า ดูกรท่านผู้ นิรทุกข์ทั้งหลาย ในหมู่มนุษย์ มนุษย์ที่เกื้อกูลแก่มารดา เกื้อกูลแก่บิดา เกื้อกูล แก่สมณะ เกื้อกูลแก่พราหมณ์ อ่อนน้อมต่อผู้หลักผู้ใหญ่ในสกุล อธิษฐาน อุโบสถ ปฏิบัติ ทำบุญ มีอยู่มากแล เพราะเหตุนั้น พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ ย่อมพากันดีใจว่า ดูกรผู้เจริญทั้งหลาย กายทิพย์จักเต็มบริบูรณ์ อสุรกายจัก เสื่อมสูญ ฯ ราชสูตรที่ ๒ [๔๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อแนะนำเทวดาชั้นดาวดึงส์ ได้ตรัสคาถาไว้ในเวลานั้นว่า ฯ แม้นรชนใดพึงเป็นเช่นเรา ก็พึงเข้าจำอุโบสถ อันประกอบ ด้วยองค์ ๘ ประการ สิ้นดิถีที่ ๑๔ ที่ ๑๕ ที่ ๘ ของปักษ์ และสิ้นปาฏิหาริยปักษ์ด้วย ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คาถานี้แล ท้าวสักกะจอมเทพขับผิด ไม่ถูก ภาษิต ไว้ผิด ไม่ถูก ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะท้าวสักกะจอมเทพยังเป็นผู้ไม่ปราศจาก ราคะ โทสะ และโมหะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ เสร็จกิจที่ต้องทำแล้ว ปลงภาระลงแล้ว บรรลุถึงประโยชน์ของตนแล้ว มีสังโยชน์ ในภพหมดสิ้นแล้ว พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้โดยชอบ ควรที่จะกล่าวคาถาว่า แม้นรชนใดพึงเป็นเช่นเรา ก็พึงเข้าจำอุโบสถ อันประกอบ ด้วยองค์ ๘ ประการ สิ้นดิถีที่ ๑๔ ที่ ๑๕ ที่ ๘ ของปักษ์ และสิ้นปาฏิหาริยปักษ์ด้วย ฯ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้ปราศจากราคะ โทสะ และโมหะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อแนะนำเทวดาชั้น ดาวดึงส์ ได้ตรัสคาถาไว้ในเวลานั้นว่า แม้นรชนใดพึงเป็นเช่นเรา ก็พึงเข้าจำอุโบสถ อันประกอบ ด้วยองค์ ๘ ประการ สิ้นดิถีที่ ๑๔ ที่ ๑๕ ที่ ๘ ของปักษ์ และสิ้นปาฏิหาริยปักษ์ด้วย ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็คาถานี้นั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพขับผิด ไม่ถูก ภาษิตไว้ผิด ไม่ถูก ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะท้าวสักกะจอมเทพยังเป็นผู้ไม่พ้น ไปจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เรากล่าว ว่า ยังไม่พ้นจากทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้อรหันตขีณาสพ อยู่จบ พรหมจรรย์ เสร็จกิจที่ต้องทำแล้ว ปลงภาระลงแล้ว บรรลุถึงประโยชน์ของตน แล้ว มีสังโยชน์ในภพหมดสิ้นแล้ว พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้โดยชอบ ควรที่จะกล่าว คาถาว่า แม้นรชนใดพึงเป็นเช่นเรา ก็พึงเข้าจำอุโบสถ อันประกอบ ด้วยองค์ ๘ ประการ สิ้นดิถีที่ ๑๔ ที่ ๑๕ ที่ ๘ ของปักษ์ และสิ้นปาฏิหาริยปักษ์ด้วย ฯ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้พ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เรากล่าวว่า พ้นไปจากทุกข์แล้ว ฯ สุขุมาลสูตร [๔๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราเป็นผู้ไม่มีทุกข์ ไม่มีทุกข์อย่างยิ่ง ไม่มีทุกข์โดยส่วนเดียว ได้ยินว่า พระชนกรับสั่งให้ขุดสระโบกขรณีไว้เพื่อเรา ภายในนิเวศน์ ให้ปลูกอุบลไว้สระหนึ่ง ปทุมไว้สระหนึ่ง ปุณฑริกไว้สระหนึ่ง เพื่อประโยชน์แก่เรา แต่เราไม่ได้ใช้ไม้จันทน์เมืองกาสีเท่านั้น ผ้าโพก เสื้อ ผ้านุ่ง ผ้าห่มของเรา ล้วนเกิดในเมืองกาสี มีคนคอยกั้นเศวตฉัตรให้เราตลอดคืน ตลอดวัน ด้วยหวังว่า หนาว ร้อน ธุลี หญ้า หรือน้ำค้าง อย่าเบียดเบียน พระองค์ท่านได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรามีปราสาท ๓ หลัง ปราสาทหนึ่งเป็นที่อยู่ ในฤดูหนาว ปราสาทหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูร้อน ปราสาทหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูฝน เรานั้นแลถูกบำเรอด้วยดนตรีซึ่งไม่มีบุรุษปนตลอด ๔ เดือนในฤดูฝน บนปราสาท อันเป็นที่อยู่ในฤดูฝน มิได้ลงมาข้างล่างปราสาทเลย ในนิเวศน์แห่งพระชนกของ เรา เขาให้ข้าวสาลีระคนด้วยมังสะแก่ทาสกรรมกรบุรุษ ทำนองเดียวกับที่ใน นิเวศน์ของเขาอื่น เขาให้ข้าวป่นอันมีน้ำส้มเป็นที่สอง ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นซึ่งประกอบด้วยความสำเร็จเห็นปานดังนี้ เป็นสุขุมาลชาติอย่างยิ่ง ก็ยังคิด เห็นดังนี้ว่า ปุถุชนผู้ยังไม่ได้สดับ เมื่อตนเป็นผู้มีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วง พ้นความแก่ไปได้ เห็นคนอื่นแก่ ก็ล่วงตนเองเสียแล้วอึดอัด ระอา รังเกียจ ไม่คิดว่า แม้เราก็เป็นผู้มีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ ก็และ การที่เราซึ่งเป็นคนมีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ ได้เห็นคนแก่ เข้าแล้ว พึงอึดอัด ระอา รังเกียจ ข้อนั้นเป็นการไม่สมควรแก่เราเลย ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรานั้นสำเหนียกอยู่ดังกล่าวมา ย่อมละความเมาในความเป็นหนุ่ม เสียได้โดยประการทั้งปวง ปุถุชนผู้มิได้สดับ เมื่อตนเป็นผู้มีความเจ็บไข้เป็น ธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ เห็นคนอื่นเจ็บไข้ ก็ล่วงตนเองเสียแล้ว อึดอัด ระอา รังเกียจ ไม่คิดว่า แม้เราก็เป็นผู้มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ ก็และการที่เราซึ่งเป็นคนมีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ ได้เห็นคนเจ็บไข้เข้าแล้ว พึงอึดอัด ระอา รังเกียจ ข้อนั้นเป็นการไม่สมควรแก่เราเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรานั้นสำเหนียกอยู่ ดังกล่าวมา ย่อมละความเมาในความไม่มีโรคเสียได้โดยประการทั้งปวง ปุถุชนผู้ มิได้สดับ เมื่อตนเป็นผู้มีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ เห็น คนอื่นที่ตายแล้ว ก็ล่วงตนเองเสียแล้ว อึดอัด ระอา รังเกียจ ไม่คิดว่า แม้เรา ก็เป็นผู้มีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ ก็และการที่เราซึ่งเป็น คนมีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ ได้เห็นคนอื่นที่ตายไปแล้ว พึงอึดอัด ระอา รังเกียจ ข้อนั้นไม่เป็นการสมควรแก่เราเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อ เรานั้นสำเหนียกอยู่ดังกล่าวมา ย่อมละความเมาในชีวิตเสียได้โดยประการทั้งปวง ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเมา ๓ ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน คือ ความเมาในความเป็นหนุ่มสาว ๑ ความเมาในความไม่มีโรค ๑ ความเมาในชีวิต ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ ผู้เมาด้วยความเมาในความเป็นหนุ่มสาว ย่อมประพฤติทุจริตทางกาย ทางวาจา ทางใจ ครั้นแล้ว เมื่อกายแตกตายไป ย่อม เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ ผู้เมา แล้วด้วยความเมาในความเมาไม่มีโรค ฯลฯ หรือปุถุชนผู้มิได้สดับ ผู้เมาแล้วด้วย ความเมาในชีวิต ย่อมประพฤติทุจริตทางกาย ทางวาจา ทางใจ ครั้นแล้ว เมื่อกาย แตกตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เมาแล้วด้วยความเมาในความเป็นหนุ่มสาว ย่อมลาสิกขาสึกไป ภิกษุผู้เมาแล้วด้วยความเมาในความไม่มีโรค ฯลฯ หรือภิกษุ ผู้เมาแล้วด้วยความเมาในชีวิตย่อมลาสิกขาสึกไป ฯ ปุถุชนเป็นผู้มีความป่วยไข้ ความแก่ และความตายเป็น ธรรมดา มีอยู่ตามธรรมดา แต่พากันรังเกียจ ก็การที่เราพึง รังเกียจความป่วยไข้ ความแก่ และความตายนี้ ในหมู่สัตว์ ซึ่งมีธรรมดาอย่างนี้ ข้อนั้นไม่สมควรแก่เราผู้มีปรกติอยู่เช่นนี้ เรานั้นเป็นอยู่เช่นนี้ รู้จักธรรมที่หมดอุปธิ เห็นเนกขัมมะโดย ความเป็นธรรมเกษม ย่อมครอบงำความเมาในความไม่มีโรค ในความเป็นหนุ่มสาวและในชีวิตเสียได้ทั้งหมด ความ อุตสาหะได้เกิดแล้วแก่เราผู้เห็นนิพพานด้วยปัญญาอันยิ่ง บัดนี้ เราไม่ควรที่จะกลับไปเสพกาม เราจักเป็นผู้ไม่ถอยหลัง จัก เป็นผู้มีพรหมจรรย์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า ฯ อธิปไตยสูตร [๔๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อธิปไตย ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน คือ อัตตาธิปไตย ๑ โลกาธิปไตย ๑ ธรรมาธิปไตย ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ อัตตาธิปไตยเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี ย่อมสำเหนียกดังนี้ว่า ก็เราออกบวชเป็นบรรพชิต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งจีวร ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่ง เสนาสนะ เราออกบวชเป็นบรรพชิต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งความมีและความไม่มี เช่นนั้น ก็แต่ว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ครอบงำแล้ว ชื่อว่าเป็นผู้มีทุกข์ครอบงำแล้ว มีทุกข์ท่วมทับแล้ว ไฉน ความทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะพึงปรากฏ ก็การที่เราจะพึงแสวงหากามที่ละ ได้แล้วออกบวชเป็นบรรพชิตนั้น เป็นความเลวทรามอย่างยิ่ง ข้อนั้นไม่เป็นการ สมควรแก่เราเลย เธอย่อมสำเหนียกว่า ก็ความเพียรที่ปรารภแล้ว จักไม่ย่อหย่อน สติที่เข้าไปตั้งมั่นแล้วจะไม่หลงลืม กายที่สงบระงับแล้วจักไม่ระส่ำระสาย จิตที่ เป็นสมาธิแล้วจักมีอารมณ์แน่วแน่ ดังนี้ เธอทำตนเองแลให้เป็นใหญ่ แล้วละ อกุศล เจริญกุศล ละกรรมที่มีโทษ เจริญกรรมที่ไม่มีโทษ บริหารตนให้บริสุทธิ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอัตตาธิปไตย ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โลกาธิปไตยเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี ย่อมสำเหนียกว่า ก็เราออกบวชเป็นบรรพชิต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งจีวร ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ เราออกบวชเป็นบรรพชิต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่ง ความมีและความไม่มีเช่นนั้น ก็แต่ว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ครอบงำแล้ว ชื่อว่าเป็นผู้มีทุกข์ครอบงำแล้ว มีทุกข์ ท่วมทับแล้ว ไฉนความทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะพึงปรากฏ ก็การที่เราออก บวชเป็นบรรพชิตเช่นนี้ พึงตรึกกามวิตกก็ดี พึงตรึกพยาบาทวิตกก็ดี พึงตรึก วิหิงสาวิตกก็ดี ก็โลกสันนิวาสนี้ใหญ่โต ในโลกสันนิวาสอันใหญ่โต ย่อมจะมี สมณพราหมณ์ที่มีฤทธิ์ มีทิพยจักษุ รู้จิตของคนอื่นได้ สมณพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมมองเห็นได้แม้แต่ไกล แม้ใกล้ๆ เราก็มองท่านไม่เห็น และท่านย่อมรู้ชัด ซึ่งจิตด้วยจิต สมณพราหมณ์แม้เหล่านั้น ก็พึงรู้เราดังนี้ว่า ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย ดูกุลบุตรนี้ซี เขาเป็นผู้มีศรัทธาออกบวชเป็นบรรพชิตแล้ว แต่เกลื่อนกล่นไปด้วย ธรรมที่เป็นบาปอกุศลอยู่ ถึงเทวดาที่มีฤทธิ์ มีทิพยจักษุ รู้จิตของคนอื่นได้ก็มีอยู่ เทวดาเหล่านั้นย่อมมองเห็นได้แต่ไกล แม้ใกล้ๆ เราก็มองท่านไม่เห็น และท่าน ย่อมรู้ชัดซึ่งจิตด้วยจิต เทวดาเหล่านั้นก็พึงรู้เราดังนี้ว่า ดูกรท่านผู้เจริญ ทั้งหลาย ดูกุลบุตรนี้ซี เขาเป็นผู้มีศรัทธาออกบวชเป็นบรรพชิตแล้ว แต่เกลื่อน กล่นไปด้วยธรรมที่เป็นบาปอกุศลอยู่ เธอย่อมสำเหนียกว่า ความเพียรที่เรา ปรารภแล้วจักไม่ย่อหย่อน สติที่เข้าไปตั้งมั่นแล้วจักไม่หลงลืม กายที่สงบระงับ แล้วจักไม่ระส่ำระสาย จิตที่เป็นสมาธิแล้วจักมีอารมณ์แน่วแน่ ดังนี้ เธอทำโลก ให้เป็นใหญ่ แล้วละอกุศล เจริญกุศล ละกรรมที่มีโทษ เจริญกรรมที่ไม่มี โทษ บริหารตนให้บริสุทธิ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าโลกาธิปไตย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมาธิปไตยเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี ย่อมสำเหนียกว่า ก็ เราออกบวชเป็นบรรพชิต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งจีวร ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งเสนาสนะเราออกบวชเป็นบรรพชิต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งความ มีและความไม่มีเช่นนั้น ก็แต่ว่าเราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ครอบงำแล้ว ชื่อว่าเป็นผู้มีทุกข์ท่วมทับแล้ว ไฉนความทำที่สุด แห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะพึงปรากฏ พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว อันบุคคล พึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชน จะพึงรู้เฉพาะตน ก็เพื่อนสพรหมจารีผู้ที่รู้อยู่ เห็นอยู่ มีอยู่แล ก็และการที่เราได้ออก บวชเป็นบรรพชิต ในธรรมวินัยอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว จะพึงเป็นผู้เกียจ คร้านมัวเมาประมาทอย่างนี้ ข้อนั้นไม่เป็นการสมควรแก่เราเลย ดังนี้ เธอย่อม สำเหนียกว่า ก็ความเพียรที่เราปรารภแล้วจักไม่ย่อหย่อน สติที่เข้าไปตั้งมั่นแล้ว จักไม่หลงลืม กายที่สงบระงับแล้วจักไม่ระส่ำระสาย จิตที่เป็นสมาธิแล้วจักมี อารมณ์แน่วแน่ ดังนี้ เธอทำธรรมนั่นแหละให้เป็นใหญ่ แล้วละอกุศล เจริญ กุศล ละกรรมที่มีโทษ เจริญกรรมที่ไม่มีโทษ บริหารตนให้บริสุทธิ์ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย นี้เรียกว่าธรรมาธิปไตย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อธิปไตย ๓ อย่างนี้แล ฯ ขึ้นชื่อว่าความลับไม่มีในโลก สำหรับผู้ทำบาปกรรม ดูกร บุรุษ จริงหรือเท็จ ตัวของท่านเองย่อมจะรู้ได้ แน่ะผู้เจริญ ท่านสามารถที่จะทำความดีได้หนอ แต่ท่านดูหมิ่นตนเองเสีย อนึ่ง ท่านได้ปกปิดความชั่วซึ่งมีอยู่ในตนท่านนั้นซึ่งเป็นคน พาล ประพฤติตึงๆ หย่อนๆ อันเทวดาและพระตถาคต ย่อมเห็นได้ เพราะฉะนั้นแหละ คนที่มีตนเป็นใหญ่ ควรมีสติ เที่ยวไป คนที่มีโลกเป็นใหญ่ ควรมีปัญญาและเพ่งพินิจ และคนที่มีธรรมเป็นใหญ่ ควรเป็นผู้ประพฤติโดยสมควรแก่ ธรรม มุนีผู้มีความบากบั่นอย่างจริงจัง ย่อมจะไม่เลวลง อนึ่ง บุคคลใดมีความเพียร ข่มขี่มาร ครอบงำมัจจุ ผู้ทำที่สุดเสีย ได้แล้ว ถูกต้องธรรมอันเป็นที่สิ้นชาติ บุคคลผู้เช่นนั้น ย่อม เป็นผู้รู้แจ้งโลก มีเมธาดี เป็นมุนี ผู้หมดความทะยานอยาก ในธรรมทั้งปวง ฯ ----------------- รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ - ๑. พรหมสูตร ๒. อานันทสูตร ๓. สาริปุตตสูตร ๔. นิพพานสูตร ๕. หัตถกสูตร ๖. ทูตสูตร ๗. ราชสูตรที่ ๑ ๘. ราชสูตรที่ ๒ ๙. สุขุมาลสูตร ๑๐. อธิปไตยสูตร ฯ
*******************************************
ชอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่านครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น